เสริมดวง แก้ชง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา
ที่วัดแดงประชาราษฎร์
เสริมดวง แก้ชง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา
วัดแดงประชาราษฏร์
 |
เตรียมตัวปิดทอง ปี่เซียะเงินล้าน
|
 |
โยมเดินทางมาปิดทองปี่เซียะเงินล้าน
ตลอดทั้งวัน
|
 |
ปิดทองปี่เซียะเสริมดวง
|
 |
เฮง เฮง รวย รวย
|
 |
heng heng heng
รวย รวย รวย |
หลวงพ่อทอง พระประธาน วิหารเศรษฐี
พระพุทธรูปเก่า
สมัยเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดแดงประชาราษฏร์
 |
รำถวายหลวงพ่อทอง ที่วิหารเศรษฐี |
 |
สมัยก่อนยังใช้ชื่อว่าวัดแดงเปรมประชาราษฏร์
ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดแดงประชาราษฏร์
ตัดคำว่าเปรมออกไป
|
 |
และรำถวายพระประจำวันเกิดทั้ง ๙ องค์
๑.วันอาทิตย์ ปางถวายเนตร ท่ายืนเอามือขวาทับมือซ้ายไขว้
๒.วันจันทร์ ปางห้ามญาติ ท่ายืนเอามือยันไปข้างหน้า
๓.วันอังคาร ปางไสยาสน์ หรือปางนิพพาน
|
 |
๔.วันพุธกลางวัน ปางอุ้มบาตร ท่ายืน
๕.วันพฤหัสบดี ปางสมาธิ
๖.วันศุกร ปางรำพึง ท่ายืนมือแตะอก
|
 |
๗.วันเสาร์ ปางนาคปรก
๘.วันพุธกลางคืน ปางป่าเรไลย์
๙.พระเกศ ใช้ได้ทุกวัน
|
 |
พระประจำวันอาทิตย์ ปางถวายเนตร
พระพุทธรูปยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า
พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก)
พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตร
ดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
ความเป็นมา
เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสาน
ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดย
ไม่กระพริบพระเนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้
ได้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้าง
พระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูป
เพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์
|
 |
พระประจำวันจันทร์ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น
เสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม
เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติจะยกมือขวาขึ้น
ห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทร จะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม
แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ และนิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง
ความเป็นมา
ปางห้ามญาติเกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ์
และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่งของ
แม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ำเพื่อไปเพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาด
จะยกทัพทำสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ คือ
ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน
|
 |
พระประจำวันอังคาร ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้าง
ซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้น
รับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวาง
อยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
ความเป็นมา
ปางไสยาสน์ หรือบางทีก็เรียก ปางปรินิพพาน เป็นพุทธประวัติ
ตอนที่พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะลงที่ระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง
แล้วทรงประทับบรรมทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยไม่เสด็จลุกขึ้นอีก
แต่ก็ยังได้โปรดสุภัททะปริพาชกเป็นอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนเสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่ำไห้
คร่ำครวญถึงพระองค์ พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระได้แสดงธรรม
เพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพาน
ของพระองค์ จึงได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์
|
 |
พระประจำวันพุธ (กลางวัน) ปางอุ้มบาตร
พระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตร
ความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าได้สำแดงอิทธิปาฏิหารย์ เหาะขึ้นไปในอากาศ
ต่อหน้าพระประยูรญาติทั้งหลาย เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็น และละทิฐิ
ถวายบังคมแล้ว จึงได้ตรัสเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก
ครั้นแล้วพระญาติทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับโดยไม่มีใครทูลอาราธนา
ฉันพระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น
ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าพระองค์เป็นราชโอรสและพระสงฆ์ก็เป็นศิษย์
คงต้องฉันภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์เอง
แต่พระพุทธองค์กลับพาพระภิกษุสงฆ์สาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวง
ในเมือง เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ อันเป็นกิจของสงฆ์
นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสชมพระพุทธจริยาวัตร
ขณะทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ ประชาชนจึงต่างแซ่ซ้องอภิวาทอย่างสุดซึ้ง
แต่ปรากฏว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดาทรงทราบเข้า ก็เข้าใจผิด
และโกรธพระพุทธองค์ หาว่าออกไปขอทานชาวบ้าน ไม่ฉันภัตตาหารที่เตรียมไว้
พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงอธิบายว่า การออกบิณฑบาตรเป็นการไปโปรดสัตว์
มิใช่การขอทาน จึงเป็นที่เข้าใจกันในที่สุด
|
 |
พระประจำวันพฤหัสบดี ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้
พระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนตัก
พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ความเป็นมา
ปางตรัสรู้ คือ ปางที่เจ้าชายสิทธัตถะหรือพระโพธิสัตว์ทรงประทับ
นั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาใต้ต้นมหาโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และได้ตรัสรู้
พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ซึ่งก็ตรงกับวันวิสาขบูชานั่นเอง
|
 |
พระประจำวันศุกร์ ปางรำพึง
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกัน
ยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ความเป็นมา
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้น
อชปาลนโครธ ก็ได้ทรงรำพึงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียด
ลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์ปุถุชนจะรู้ตามได้ จึงเกิดความท้อพระทัยที่จะไม่สั่งสอนชาวโลก
ด้วยรำพึงว่าจะมีใครสักกี่คนที่ฟังธรรมะของพระองค์เข้าใจ ร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหม
ได้มากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมว่าในโลกนี้บุคคลที่มีกิเลสเบาบาง
พอฟังธรรมได้ยังมีอยู่
พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วก็เห็นชอบด้วย อีกทั้งทรงรำพึงถึงธรรมเนียม
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ว่าตรัสรู้แล้วก็ย่อมแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทั้งปวง จึงได้น้อมพระทัยในอันที่จะแสดงธรรมต่อชาวโลก
ตามคำอาราธนานั้น และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้
ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์
แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดง
โปรดผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง
|
 |
พระประจำวันเสาร์ ปางนาคปรก
พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนด
ร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ความเป็นมา
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ และประทับบำเพ็ญสมาบัติเสวยวิมุตติสุข
อันเกิดจากความพ้นกิเลสอยู่ ณ อาณาบริเวณที่ไม่ไกลจากต้นพระศรีมหาโพธิ์
แห่งละ 7 วันนั้น ในสัปดาห์ที่ 3 นี้เอง ก็ได้ไปประทับใต้ต้นมุจลินท์
ขณะนั้นฝนได้ตกลงมาไม่หยุด พญานาคตนหนึ่งชื่อ "มุจลินท์นาคราช" ก็ได้
ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์เข้าไปวงขนด 7 รอบ แผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าไว้มิให้
ฝนตกต้องพระวรกาย เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกัน
เหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย จนฝนหาย
จึงได้แปลงร่างเป็นมาณพเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์
|
 |
พระประจำวันพุธ กลางคืน ปางป่าเรไรย์ |
 |
พระเกศ เหมาะสมใช้ได้กับทุกคน
คือไม่รู้ว่าตัวเองเกิดวันไหน |
|
|
ปีที่แล้วเพิ่งซ่อมแซม และลงลักปิดทองหลวงพ่อแดงใหม่
จึงสร้างห้องกระจกป้องกันฝุ่นละออง
เนื่องจากวิหารอยู่ติดถนน
 |
แต่มาปีนี้เปิดให้ญาติโยมปิดทองหลวงพ่อแดง
ปิดทองหลวงพ่อทอง
และปิดทองพระประจำวันเกิดได้อย่างสะดวก
จึงได้รู้ว่าคนไทยชอบทำบุญ และต้องการปิดทองที่องค์พระด้วย
|
 |
พระประธานคือหลวงพ่อทอง
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่วัดยังชื่อวัดแดงเปรมประชาราษฏร์
|
 |
ถ้ามาวัดทำบุญแล้วไม่ได้ปิดทอง เหมือนกับขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง
คนไทยถ้าได้ทำบุญและปิดทองจะมีความสุข |
 |
บูชาพระธาตุ
|
 |
|
ถวายสังฆทาน
 |
ใส่บาตร 108
|
 |
คนไทยชอบการทำบุญ
เป็นประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม มาแต่โบราณ |
 |
ท้าวมหาพรหม ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในประเทศไทย
|
 |
วัตถุมงคลของวัดแดงตั้งโชว์และแจก
|
 |
ภายในวิหารหลวงพ่อแดง
|
 |
ปีนี้เมื่อเปิดให้ญาติโยมที่มาทำบุญ และได้ปิดทององค์พระ
การทำให้ญาติโยมมีความสุข เราก็มีความสุขไปด้วย |
 |
การทำบุญ ไหว้พระ และปิดทองแล้ว
ก็ยังมีการไหว้พระธาตุอีกด้วย |
 |
หลวงพ่อแดง
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำวัดแดง
|
 |
ถวายสังฆทาน
|
 |
เติมน้ำมันตะเกียง เสริมดวง
|
 |
|
 |
พระบรมสุข
พระพุทธรูป 4 อิริยาบท (ยืน เดิน นั่ง นอน)
วัดแดงประชาราษฎร์
มีแห่งเดียวในประเทศไทย
|
 |
ชาวบ้านที่นับถือและศรัทธา
เดินทางกันมาไหว้พระ ปิดทองกันตลอดวัน |
 |
ญาติโยมที่มีจิตศรัทธา
มาปิดทอง กราบไหว้ หลวงพ่อแดง
|
 |
พ่อแม่พาลูกหลานมาทำบุญ ที่วัดแดงประชาราษฏร์ |
 |
ทำบุญใส่บาตร 108 ตามกำลังศรัทธา
ไม่มีเงิน ก็ทำได้ แค่หยิบเหรียญที่ทางวัดจัดไว้ แล้วนำไปใส่บาตร
|
 |
ดอกไม้ธูปเทียน ทำบุญตามกำลังศรัทธา
แผ่นทองมี 2 ชุด (ชุดละ 10 แผ่น) รวมเป็น 20 แผ่น
ชุดแรก นำไปปิด หลวงพ่อแดง และพระพุทธรูปในวิหารหลวงพ่อแดง
ชุดที่สอง นำไปปิดหลวงพ่อทอง และพระประจำวัน ในวิหารหลวงพ่อทอง
อยู่บริเวณด้านข้างวิหารหลวงพ่อแดงวิหาร
|
 |
ใส่บาตร 108
ตามกำลังศรัทธา (ไม่มีเงินก็ทำได้)
แค่มีใจก็ได้บุญ
|
 |
การทำบุญไม่จำเป็นจะต้องทำมาก ทำน้อยๆ แต่ทำบ่อยๆ |
 |
การทำสังฆทาน
ทุกบาท ทุกสตางค์ เข้าวัดทั้งหมด |
 |
โชว์ปี่เซียะแก้ชง |
 |
ตักบาตร 108
เติมน้ำมันตะเกียง |
 |
ปีนี้เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง |
 |
เติมกำลังวังชา |
 |
กองทัพเดินได้ด้วยท้อง |
 |
ปีนี้ต้องเงินทองต้องใช้อย่างประหวัด |
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
ปี่เซียะเงินล้าน ประจำวัดแดงประชาราษฏร์
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|