ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๘ (คริก)

ปฎิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๘ 

 ๒๘ พ.ย.ถึง ๑๖ ธ.ค. ๖๑ (๑๙วัน)

 

 

 

 งานสาธยายพระไตรปิฏกนานาชาติครั้งที่ ๑๔
๒ - ๑๒ ธ.ค. ๒๕๖๑
 
 
 
 

 

 

 

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในสติปัฎฐานสูตร
"ฐิโต วา  ฐิโตมฺหีติ  ปชานาติ"  "คัจฺฉันโต วา  คจฺฉามีติ  ปชานาติ" 
"นิสีทติ  ปลฺลงฺกํ   อาภุชิตฺวา  อุชุํ  กายํ  ปณิธาย  ปริมุขํ  สตึ  อุปฏฺฐเปตวา" 
"สยาโน วา  สยาโนมหีติ  ปชานาติ" 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 พุทธคยามหาสังฆาราม

          เมือง... บำเพ็ญทุกรกิริยา                                     เมือง...ตำรามธุปายาส

          เมือง...ลอยถาดอธิษฐาน                                     เมือง...ศาสดาจารย์ตรัสรู้

เมือง...บรมครูชนะมาร                                        เมือง...อธิษฐานแล้วสำเร็จ

เมือง...๗ สถานอันศักดิ์สิทธิ์                                 เมือง...สถิตพุทธเมตตา

เมือง...ภาวนาใต้โพธิ์ศรี                                       เมือง...มหาเจดีย์สูงเสียดฟ้า

เมือง...ลอยชฎาสามฤาษี                                     เมือง...หรหมโยนีน่าศึกษา

เมือง...เนรัญชรานทีทราย                                     เมือง...น้อมใจ-กายแนบพระธรรม

เมือง...เวรกรรมย้ำชาดก                                      เมือง...สวรรค์บนบก-นรกบนดินฯ

 
 ประวัติศาสตร์พุทธคยา

-            พุทธคยา คือสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมห่างจากฝั่งออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่ด้านทิศตะวันตก บริเวณเป็นที่เนินสูง เพราะเป็นซากของมหาสังฆารามโบราณ ที่นี่เคยเป็นที่พักของพระสงฆ์ถึง ๒,๐๐๐ รูป ล้วนใฝ่ใจในการศึกษา ปฏิปทางดงามตามพระธรรมวินัย  มหาชนศรัทธาเลื่อมใสมาก พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทได้เจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ถึง พ.ศ.๗๐๐ หลังจากนั้นก็เริ่มอ่อนกำลังลง

-            ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้เล่าว่า ท่านเป็นศิษย์ของพระเรวตะแห่งพุทธคยามหาสังฆราม ได้เดินทางไปแปลพระคัมภีร์พระไตรปิฏกจากภาษาสิงหล  กลับมาเป็นภาษามคธที่เกาะลังกา

-            พุทธคยาเป็นเขตอิทธิพลของพวกฮินดู คยาเกษตร ใช้เป็นที่บูชาถวายบิณฑ์ ๑ ใน ๑๖ แห่ง เป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ที่นี่จึงเรียก “พุทธคยา”

-            ปัจจุบัน เป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่มีนักแสวงบุญจากทั่วโลกมาไหว้พระสวดมนต์ตลอดทั้งปี

 
 -            หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วจึงได้เสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ แล้วเสด็จไปเมืองพาราณสี เมื่อมีสาวกมารกขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาเพื่อโปรดขฏิลสามพี่น้อง พร้อมบริวารจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ จากนั้นพระองค์ก็บำเพ็ญพุทธกิจยังแคว้นต่างๆ จนเข้าสู่การปรินิพพาน

-            พ.ศ.๒๒๘-๒๔๐  พระเจ้าอโศกได้เสด็จมาสักการะ ณ สถานที่ตรัสรู้ ได้สร้างพระสถูปขนาดย่อมๆ เพื่อบูชาและปักเสาศิลาไว้เป็นเครื่องหมาย สร้างพระแท่นวัชรอาสน์นี้ รั่วทำด้วยหินล้อมรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์

-            พ.ศ.๖๗๔-๖๙๔ พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบเป็นสถูปใหญ่ หลวงจีนถังซัมจั๋ง เรียกว่า “มหาโพธิ์วิหาร”

-            เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยม ทรงกรวย ห่างจากต้นโพธิ์ ๒ เมตร มีพระแท่นวัชรอาสน์คั่นกลาง ขนาดสูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐานขนาด ๘๕ ฟุตเศษ มี ๒ ชั้น มีเจดีย์บริวารอีก ๔ องค์ ทรงเดียวกับอยู่บนฐานชั้นที่ ๒ สูง ๔๕ฟุต ส่วนชั้นล่างนั้นประดิษฐานพระพุทธเมตตา “ปางมารวิชัย”  สร้างจากหินแกรนิตสีดำ สมัยของปาละอายุประมาณ ๑,๔๐๐ ปีเศษ  ชั้นบนประดิษฐานพระพุทธปฏิมาปางประทานพร สร้างในสมัยเดียวกัน

 
 -            พ.ศ.๙๔๕-๙๕๐ หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาสักการะสถานที่ตรัสรู้และได้พรรณนาถึงความงดงามของพระมหาเจดีย์พุทธคยา เห็นพระสงฆ์เถรวาทและพุทธศาสนิกชนมาสักการะกันอย่างมิขาดสาย

-            พ.ศ. ๑๑๔๕ กษัตริย์รัฐเบงกอล นามสสางกา ได้ประกาศอิสระจากมคธยกทัพมาทำลายพุทธสถานอย่างย่อยยับ

-            พ.ศ. ๑๑๔๕ กษัตริย์ปูรณวรมา ดีทัพเบงกอลแตกแล้วทำการบูรณะซ่อมแซม

-            พ.ศ.๑๔๙๑ อมรเทวพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งเมืองมัลวาบอกไว้ในหนังสืออมรโฆษว่าออกแบบวิหารโพธิ์ใหม่ให้เป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

-            พ.ศ.๑๕๗๘ พม่าส่งคณะช่าง นำโดย ธรรมราชครู เพื่อบูรณะแต่เกิดข้อพิพาทกันกับอินเดีย พม่าเลยต้องหยุดการซ่อมแซม

-            พ.ศ.๑๖๒๒ พม่าส่งช่างชุดที่ ๒ มาฟื้นฟูบูรณะใช้เวลา ๗ ปี เสร็จเมื่อ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๑๖๒๙ พุทธคยามีชีวิตกลับมาอีกครึ่งหนึ่ง

 

-            พ.ศ.๑๗๔๓ พระธัมมรักขิตรับทุนจากพระเจ้าอโศกมัลละแห่งแคว้นสิวะสิกะอินเดียมาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น

-            พ.ศ.๑๗๖๐ อิสลามกองทัพเติร์กยึดครองมคธรัฐทำลายล้างพุทธสถานทั้งหมด พร้อมยกพุทธคยานี้ให้อยู่ในการดูแลของฮินดูนิกายมหันต์ โดยอ้าง เมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๗ จักรพรรดิโมกุนนามมูฮัมหมัดซาห์ ได้มอบพุทธคยา ทั้งหมดเป็นสมบัติของมหันต์องค์ที่สี่ชื่อว่า “ลาลคีรี” จากนั้นพุทธคยาก็ถูกทอดทิ้งหลายร้อยปีไม่มีการบูรณะ มีชาวพุทธมาสักการะเพียงเล็กน้อย

-            พ.ศ.๒๑๓๓ พุทธคยามหาสังฆราช ถูกมุสลิมคุกคามถูกพวกพราหมณ์รังแก ในที่สุดหลุดจากมือขาวพุทธอย่างเด็ดขาดตกอยู่ในความคุ้มครองของนักบวชมหันต์นิกายทัสนามิสัยาสีที่ชื่อโคสายฆมันดีร์คีรี

-            พ.ศ.๒๑๓๕ อังกฤษยึดครองอินเดีย

-            พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้าแผ่นดินพม่าเสด็จมาเห็น จึงได้ส่งทูตมาเจรจาขอบูรณะ ตามบันทึกของ ดร.บุคานัน แฮมินตัน บอกว่าพุทธคยาอยู่ในสภาพย่อยยับไม่ได้รับการดูแล

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 อนุโมทนาสาธุบุญร่วมกัน
อาตมาและโยมสุขสรรค์ เหมือนประสิทธิเวช
ได้สร้างพระซึ่งแกะสลักจากหินทรายทั้งหมด 8 องค์
ถวายให้เป็นพระประธานในโบสถ์ให้แก่ชุมชนชาวอินเดียที่เป็นพุทธ 

ขอให้พวกเราอนุโมทนาบุญร่วมกัน เจริญพร

 -            พ.ศ.๒๔๑๗ พระเจ้ามินดงเจรจาผ่านรัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษแล้ว อังกฤษส่งคนมาช่วย ๒ นาย เพื่อกำกับคือ “อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ดร. ราเชนทร ลาลมิตระ”

-            พ.ศ. ๒๔๑๙ พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษงานบูรณะจึงต้องหยุด

-            พ.ศ. ๒๔๒๓ เชอร์อเล็กซานเดอร์  ดร.ราเชนทร  เซอร์อีแดน  แต่งตั้งให้นาย เจ ดี เบคลาร์ ทำการปฏิสังขรณ์  เสร็จในปี พ.ศ.๒๔๒๗  (๔ ปี)

-            พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านเชอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์  ฝรั่งอังกฤษชาวพุทธได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “The Light of Asia

-            พ.ศ.๒๔๓๔ อนาคาริกธัมมปาละ ชาวศรีลังกามากราบพุทธคยาเกิดศรัทธาปรารถนาเรียกร้องสิทธิของความเป็นเจ้าของพุทธคยา ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ประชุมชาวพุทธสากลที่พุทธคยา มีพม่า, ลังกา,จีน, ญี่ปุ่น และญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะหาเงินมาซื้อพุทธคยาคืน อังกฤษระแวงญี่ปุ่นเพราะเพิ่งรบชนะรัสเซียจึงไม่ยอมให้ครอบครองจึงเกิดขบวนการกอบกู้พุทธคยา (แม็กมึล, เอ็ดวินฯ, วิลเลี่ยม, พ.ศ.โอลคอตต์) ออกปราศรัยที่ พม่า - อังกฤษ – สิงคโปร์ – ไทย – ลังกา หาผู้สนับสนุน

-            พ.ศ.๒๔๓๖ อนาคาริกธัมมปาละ กลับมาพุทธคยาพร้อมกับ โอลคอตต์ และ MR.เอดช์  นักเทววิทยาได้เห็นพระ ๔ รูป ถูกพวกมหันต์ทุบตีเกือบตาย ซ้ำร้ายเขายังกีดกันมิให้พวกธรรมยาตราเข้าสักการะพุทธคยา

 -            พ.ศ.๒๔๓๘ ชาวพุทธขอนำพระพุทธรูปอายุ ๗๐๐ ปี เข้าไปประดิษฐานแต่พวกมหันต์ก็ไม่เห็นด้วย อ้างว่า “พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอวตารปางที่ ๙ ของพระนารายณ์”

-            พ.ศ.๒๔๔๕ มีความเคลื่อนไหวทั่วโลก โดยเอดวิน อาร์โนล, ดร.ริดเดวิค, ศ.แม็กมีลเลอร์  ชาวพุทธเริ่มมีพลัง พวกมหันต์เพิ่มความรังเกียจชาวพุทธมากขึ้น

-            พ.ศ.๒๔๖๗ ชาวพุทธพม่า, ลังกา, เนปาล ร้องเรียนรัฐบาลพรรคคองเกรสส์ตั้งคณะกรรมธิการขึ้นพิจารณา โดยมี ดร.ราเชนทร์ ประสาท (ประธานาธิบดีเป็นประธาน) ตั้งกรรมการชาวพุทธ ๕ คน ฮินดู ๕ คน ดูแลพุทธคยา โดยออกกฎหมายบังคับ

 

 §  ความเห็นของ มหาตมคานธี คือ “วิหารพุทธคยาขึ้นควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรมการนำสัตว์ไปฆ่าทำพลีกรรมในวิหามหาโพธิ์ไม่สมควร เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจของชาวพุทธทั่วไป”

 

 §  ความเห็นของ ระพินทรนาถฐากูร คือ “ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้  เพราะศาสนาอื่นไม่เกี่ยวข้องอะไรและไม่มีเยื้อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา

 -            พ.ศ. ๒๔๙๐ อินเดียเป็นเอกราชจากอังกฤษ มหาโพธิ์สมาคมรบเร้าสิทธิพุทธคยา

-            พ.ศ. ๒๔๙๑ ดร.ศรีกฤษณะ ซิงห์ นายกรัฐมนตรีพิหาร ได้เสนอให้ร่างรัฐบัญญัติวหารพุทธคยา

-            พ.ศ. ๒๔๙๒ เดือนพฤษภาคม จัดตั้งคณะกรรมการดูแล ๙ คน มีผู้ว่าจังหวัดคยาเป็นประธาน และมีกรรมการ ๘ คน เป็นชาวพุทธ ๔ คน ฮินดู ๔ คน

-            พ.ศ. ๒๔๙๖ นายกรัฐมนตรีพม่ามาเยือน พวกมหัสต์บอกว่าได้ยกพุทธคยาให้ชาวพุทธ

-            พ.ศ. ๒๕๓๐ ภิกษุไซไซ ชาวญี่ปุ่นนำชาวพุทธจากนาคปูร์ ในรัฐมหารชตะเรียกร้องให้นำศพมหันต์ที่ฝังไว้และปัญจปาณฑปพร้อมศิวลึงค์ที่กลางวิหารออกไปที่อื่น

-            พ.ศ.๒๔๙๙ บูรณะเล็กน้อยเพื่อฉลองพุทธคยาชยันตีพุทธศาสนาอายุ ๒๕๐๐ ปี

-            พ.ศ. ๒๕๑๒ พระสุเมธาธิบดี ได้นำพุทธบริษัทชาวไทยประดับไฟแสงจันทร์

-            พ.ศ.๒๕๑๙ พุทธบริษัทชาวไทย สร้างกำแพงแก้ว ๘๐ ช่อง ซุ้มประตูแบบอโศก ๒ ซุ้ม เสร็จในปี ๒๕๒๐

-            พ.ศ.๒๕๓๑ ชาวพุทธเนปาลปูหินอ่อน

 

 

เนื่องจากวันที่ ๕ ธ.ค. ของทุกปีเป็นวันสำคัญที่คนไทยทุกคนรู้จักดี 
ถวายพระพุทธรูปให้กับวัดที่อยู่ในชนบทห่างไกลในแดนพุทธภูมิ
ที่สำคัญคือวัดที่ยังไม่มีพระพุทธรูปให้เคารพบูชากราบไหว้
บางแห่งมีแค่รูปถ่ายเพียงใบเดียวเท่านั้น

 สิ่งสำคัญที่พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้

          ๑. พระมหาเจดีย์พุทธคยา สูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐาน ๘๕ เมตรเศษ เป็นเจดีย์ ๒ ชั้น มีเจดีย์รอบฐาน ๔ องค์ สูง ๔๕ ฟุต ขั้นบนประดิษฐาน พระปางประทานพร ส่วนชั้นล่าง ประดิษฐานพระปางมารวิชัยหรือพระพุทธเมตตา อายุ ๑,๔๐๐ ปีเศษ

          ๒. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (โพธิบัลลังก์) ปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔ ปลูกเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓  ปัจจุบันอายุได้......ปี (เอาปีปัจจุบันลบด้วย ๒๔๒๓)  ที่อธิษฐานปลูกโดย “คันนิ่งแฮม”

                    ๒.๑ ต้นที่ ๑ เป็นสหชาติเกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า มีอายุได้ ๓๕๒ ปี สาเหตุหมดอายุ เพราะพระชายาของพระเจ้าอโศกให้หญิงสาวใช้มาทำลาย

                    ๒.๒ ต้นที่ ๒ เกิดจากแรงอธิษฐานของพระเจ้าอโศกมหาราช อายุได้ ๘๙๑ ปี ถูกกษัตริย์ศสางกา สั่งทหารทำลายประมาณปี พ.ศ. ๑๑๐๐ เศษ

                    ๒.๓ ต้นที่ ๓ เกิดจากแรงอธิษฐานของกษัตริย์ปูรณะวรมา มีอายุประมาณ ๑,๒๕๘ ปี หมดอายุขัยเอง

 
 ๓. พระแท่นวัชรอาสน์ พระเจ้าอโศกสร้างแทนรัตนบัลลังก์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักจากหินทราย มีขนาดยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว และกว้าง ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว หนา ๑ ฟุต ๖ นิ้ว ส่วนด้านบนจะแกะสลักเหมือนหัวแหวนเพชร  ด้านข้างมีดอกบัว หงส์ และดอกมณฑารพ

๔. อนิมิสสเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๒ เป็นเจดีย์สีขาวอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นโพธิ์

๕. รัตนจงกรมเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุข สัปดาห์ที่ ๓ อยู่ทางทิศเหนือ เป็นหินทรายแกะสลักเป็นดอกบัวบาน ๑๙ ดอก

๖. รัตนฆรเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสัปดาห์ที่ ๔ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคา พระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาชิกเพชร  พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก และสมันตปัฏฐานอนันตนัย

 
 ๗. อชปาลนิโครธเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๕ อยู่ระหว่าง แม่น้ำโมหะนีกับแม่น้ำเนรัญชราเป็นที่รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ที่พิจารณาบุคคลเหมือนอุบล ๔ เหล่า ที่ท้าวสหัมบดีพรหมอารมธนาแสดงธรรม ที่นางมารมาเล้าโลมพระพุทธเจ้า

๘. พระมุจลินทร์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๖ เกิดพายุฝนตลอด ๗ วัน พญามุจลินทร์นาคราชได้ถวายอารักขา พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า “ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สินโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก”

๙. ต้นราชายตนะ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๗ พานิช ๒ พี่น้อง คือ “ตปุสสะและภัลลิกะ” จากอุกกลชนบทได้ถวายสัตตุชนิดผงและชนิดก้อน ท้าวเทวราชทั้ง ๔ นำบาตรศิลามาถวายให้รับ พานิช ๒ พี่น้องประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสอง คือ “พระพุทธกับพระธรรม” เป็นสรณะ

ในอรรถกถาพระวินัยปิฏก มหาวรรค กล่าวว่า พระพุทธองค์ ทรงลูบพระเศียร เส้นพระเกศาติดที่พระหัตถ์ทรงมอบให้พานิช ๒ พี่น้อง นำพระเกศาธาตุไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ในนครของตน

ต่อมาทั้ง ๒ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ฟังธรรมและบรรลุเป้นพระโสดาบัน ตปุสสะอยู่เป็นอุบาสกภัลลิกะบวชได้บรรลุดรหัสต์พร้อามอภิญญา ๖ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้เลิศกว่าอุบาสกผู้ถึงรัตนะก่อนผู้ใด”

 

๑๐. พระพุทธเมตตา เป็นพระปฏิมากร สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ  สมัยปาละ ปางมารวิชัย อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี เป็นพระปฏิมาที่คนทุกศาสนามาสักการะด้วยความศรัทธา

๑๑. แม่น้ำเนรัญชรา ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์มาทางตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่กลางหมู่บ้าน

๑๒. บ้านนางสุชาดา อยู่ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๒๐๐ เมตร  อยู่กลางหมู่บ้าน

๑๓. ท่าสุปปติฏฐะ คือ สถานที่ลอยถาดอธิฐาน รับหญ้ากุสะจากโสตถิยมานพ และเสวยข้าวมธุปายาสก่อนตรัสรู้

๑๔. คงคสิริเขาบำเพ็ญเพียร คือ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของพระมหาบุรุษ ห่างจากพุทธคยาประมาณ ๗-๙ กิโลเมตร ปัจจุบันรถยนต์สามารถส่งถึงเชิงเขาแล้ว

๑๕. คยาสีสประเทศ  พุทธกาล คือ เขาคยาสีสะ ปัจจุบันเรียกว่า “พรหมโยนี” เป็นสถานที่แสดงอาทิตตปริยายสูตร ที่เทวทัตต์ก่อการปฏิวัติพระศาสดาแล้วมาตั้งสำนักที่นี่

๑๖. อาศรมชฎิล คือสถานที่พักของอุลุเวลกัสสปะ พระศาสดาได้ทรงทรมานจนละทิฏฐิพร้อมน้อง คือ นทีกัสสปะและคยากัสสปะ รวมทั้งบริวาร ๑,๐๐๐ บวชในพระพุทธศาสนา

๑๗. วัดไทยพุทธคยา ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม นามเจ้าอาวาส คือ สมเด็จพระธีรญาณ, พระสุเมธาธิบดี  และปัจจุบัน คือ พระเทพโพธิวิเทศ

 
 สาระธรรมสำคัญ

๑. ปฎิจจสมุปบาท                          ๔. พระญาณ ๓ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

๒. อาทิตตปริยายสูตร                     ๕. ปฐมพุทธวจนะ

๓. พุทธอุทาน                               ๖. บุคคลเปรียบด้วยดอกบัวสี่เหล่า

 

 

 

 

 

 

ราคาตั๋วไป-กลับกรุงเทพฯ พุทธคยาราคา 16,800 บาท

วัดพุทธนานาชาติ

  ๑. วัดญี่ปุ่น               ๒. วัดธิเบต               ๓. วัดภูฎาน

 

 

วัดญี่ปุ่น

       สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓  แบ่งเป็น ๒ โซน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส เขตพุทธาวาส มีหลวงพ่อไดโจบุตซึ สูง ๘๐ ฟุต  วัดจากฐานถึงพระบาทได้ ๒๔ ฟุต จากฐานชุกชีถึงพระเศียรได้ ๕๖ ฟุตเขตสังฆาวาส เรียกไดจอกเจียว ทั้งหมดสร้าง ๔ ปี เสร็จ สร้างด้วยหินทรายแดงจากเมืองจูน่า หินอ่อนจากเมืองชัยปูร์ รอบหลวงพ่อได้โจบุดซี มีพระอรหันต์ ๑๐ ทิศ คือ  ๑. พระอานนท์ ๒. พระสารีบุตร ๓. พระปุณณมันตานีบุตร ๔. พระมหากัจจายนะ ๕. พระราหุล ๖. พระสูภูติ ๗. พระอุบาลี ๘. พระมหาโมคคัลลานะ ๙ พระอนุรุทธะ ๑๐. พรามหากัสสปะ

 

วัดทิเบต

          สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓ ธิเบต มีละมะ ๔ นิกายคือ

          ๑. นิกายนิงมะ สามหมวกแดง เกิดปี พ.ศ.๑๓๖๓ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ไบเลาคุมเบ มีท่านออลิมบูเซ่ เป็นประมุขนิกาย สามารถไว้ผมยาวและหนวดเคราได้

          ๒. นิกายศักยะ สวมหมวดสีน้ำเงิน เกิดปี พ.ศ.๑๕๗๘ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ดุลหาโหตรัง ราชปูร์ ปูนสุดโฟตรัง สหรัฐอเมริกา มีนควัง กุนคา เตเคเฮน ลิมปูเช่ เป็นประมุข  สามารถมีครอบครัวได้

          ๓. นิกายกายุค สวมหมวดสีดำ เกิดปี พ.ศ. ๑๕๙๓ สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองรุมเต็ก รัฐสิขิม มีอูเป็นดอร์เลย์  โดเจ การมาปะ องค์ที่ ๑๗ เป็นประมุข

          ๔. นิกายเกลุค สวมหมวดสีเหลือง เกิดปี พ.ศ.๑๙๒๘ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ธรรมศาลา หิวันตประเทศ มีองค์ดาไลลามะเป็นประมุข องค์ที่ ๑๔

 

วัดภูฎาน

          สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ปัจจุบัน ท่านจิกมี่ วังจุก เป็นประมุข

 

คำอธิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์พุทธยา

      ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ได้จาริกมาบูชาสักการะ สถานที่ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันนี้ ขอจงเป็นบารมี เป็นพลวปัจจัย เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้เกิดปัญญาณ มีความรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ หากแม้นว่าข้าพระพุทธเจ้า ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฎฎสงสาร ขออำนาจแห่งบุญกุศลนี้ จงเป็นเหตุอำนวยให้ ได้ไปบังเกิดแต่ในสุคติภูมิ ขอให้เกิดในตระกูลที่ดี มีรูปร่างดี มีปัญญาดี มีสุขภาพดี มีฐานะดี มีพ่อแม่ดี มีครูบาอาจารย์ดี ขอให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติธรรม ได้บรรลุธรรม สมควรแก่การปฏิบัตินั้น จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในกาลอันควรด้วยเทอญฯ

 

 

 

 

 
 ประวัติศาสตร์เมืองพาราณสี

-            พาราณสี เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่ไม่เคยล่มสลาย กระทั่งชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของวัฒนธรรมแห่งภารตชน

-            สมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา เป็นเมืองถูกเสนอชื่อให้มาปรินิพพาน ๑ ใน ๖ เมือง

-            คำว่า พาราณสี มาจากคำว่า วรุณะ + อสี ทั้ง ๒ คำนี้ เป็นชื่อของแม่น้ำ เมื่อนำมารวมกันจึงได้คำว่า พาราณสี

-            ในกปิลชาดก มาจากคำว่า วานร + สีสะ = วานรสีละ  = วานรสี

-            เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๗ เมืองของอินเดีย คือ ๑.หริทวาร์ ๒.อุชเชนี ๓.อโยธยา ๔.มถุรา ๕.ทวารก ๖.กาญจีปุรัม และ ๗.พาราณสี

-            ในชาดกยังพบว่า มีชื่อเรียกอีก คือ สุรุนธนคร – สุทรรศนนคร – ปุปผาวดีนคร – พรหมวัฒนนคร – รัมมนคร – กาสีสุระ – รามนคร

-            สมัยอังกฤษปกครอง เรียกว่า บนารัส หรือเบนาเรส

 
 
 
 
 "มหาปรินิพพานสูตร"
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.........
เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเฝ้าพระตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมได้พบ ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ(อีก)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า........
“อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ (เป็นศูนย์รวม) ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู
สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตประสูติในที่นี้’
๒.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้’
๓.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้’
๔.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้’อานนท์....สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดูด้วยระลึก ว่า "ตถาคตประสูติ ในที่นี้" ว่า "ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมสัมโพธิญาณในที่นี้" ว่า "ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้" ว่า "ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้"
อานนท์...ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จาริกไปยังเจดีย์ จักมีจิตเลื่อมใส ตายไป ชนเหล่านั้นทั้งหมด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์"
 
 
 -            ปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า (ผุสสะ)  อุบัติที่นครกาสิกะ (พาราณสี) เป็นโอรสของพระเจ้าชันเสนกับพระนางสิริมามีพระชายาชื่อกีสาโคตมี พระราชโอรสชื่ออนุปมะ ตรัสรู้ใต้ต้นมะขามป้อม และกันสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้าบิดาชื่อพรหมทัตต์พราหมณ์ มารดาชื่อธนวดี ภรรยาชื่อสุนันทา บุตรชื่อวิชิตเสน ทรงตรัสรู้ใต้ต้นไทรในรัชสมัยพระเจ้ากิกีเป็นเจ้าเมือง

-            พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยมาเสวยพระชาติเป็นพระโพธสัตว์ ณ เมืองนี้ ๔๒๗ ชาติ (๕๔๗) เกิดเป็นนกพิราบ, นกยูง, แขกเต้า, แร้ง, กา, หงส์, ช้าง, ม้า, โค, หมู, เสือ, ลิง, ราชสีห์, สุนัข, กวาง, ลา, มนุษย์, ราชา, อำมาตย์, ปุโรหิต, พ่อค้า,มานพ, ฤาษี, ดาบส, และนายครวญช้าง  ฯลฯ

-            ในทศชาติ เกิด ๒ ครั้งคือ พระเตมีย์ และสุวรรณสาม

-            ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พาราณสีจะมีนามว่า “เกตุมดี” ราชานามว่า “สังขะ”  พระศรีอาริยะเมตไตรยจะอุบัติในตระกูลพราหมณ์ พระเจ้าเสขะก็ได้อุปสมบทสำเร็จอรหัสต์ มนุษย์จะมีอายุ ๘ หมื่นปี ส่วนผู้หญิงสาวมีอายุ ๘ พันปีจึงจะมีสามี

 

  

 

 เมืองสารนาถ

-            สารนาถ คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็น ๑ ใน ๔ สังเวชนียสถาน เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” อยู่ห่างจากเมืองพาราณสี ๘ กิโลเมตร

-            ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คือ อิสิ + มฤค + ทาย + วน คือ ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อเป็นสถานที่ประชุมตกลงของเหล่าฤาษี

-            สารนาถ คือ สารังค + นาถ = สารนาถ แปลว่า “ที่พึ่งของกวาง”  (สารังคะ – กวาง)

-            เป็นที่แสดงปฐมเทศนา ชื่อ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”

-            เป็นที่เกิดสังฆรัตนะ  ครบพระรัตนตรัย และแสดงพระสูตรมากถึง ๓๓ พระสูตร

-            ที่เกิดของวันอาสาฬหบูชา

-            ที่ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

 
 ประวัติศาสตร์เมืองสารนาถ

-            ก่อนพุทธกาลเป็นสวนป่าของพระเจ้าหรหมทัตต์ เป็นที่อาศัยของกวางทั้งหลาย   

-            ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และแสดงธรรม

-            หลังพระพุทธองค์ปรินิพาน ถวายเป็นสังฆรามให้พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอยู่อาศัย

-            พ.ศ. ๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จธรรมยาตรา สร้างสถูปใหญ่และปักเสาอโศกไว้

-            พ.ศ. ๓๙๕ พระเจ้าอัคนิมิตร ราชวงศ์สุงคะ สร้างกำแพงหินทรายแดงแกะสลักรอบสารนาถ

-            พ.ศ.๖๔๕ พระเจ้ากนิษกะมหาราช ราชวงศ์กุษาณะ (พระพาลา) สร้างรูปแกะสลักพระพุทธรูป และพระโพธิ์สัตว์ ทำร่มจากหินทรายถวายไว้ที่นี่

-            พ.ศ.๙๔๓ หลวงจีนฟาเหียน มาเยือนและได้เขียนจดหมายเหตุไว้ ได้เล่าเกี่ยวกับป่าอิสิปตนะไว้ด้วย

 
 -            พ.ศ.๙๙๘ พวกหูนะจากเอเชียกลาง ตีอินเดียถึงสารนาถอารามถูกทำลายเสียหาย

-            พ.ศ.๑๑๕๕ พระเจ้าหรรษวรรธนะทำการฟื้นฟูบูรณะสารนาถใหม่

-            พ.ศ.๑๑๗๔ พระถังซัมจั๋งได้เยือนสารนาถแล้วบันทึกเรื่องสารนาถไว้อย่างละเอียด

-            พ.ศ.๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ บูรณะอารามและพระสถูป

-            พ.ศ.๑๕๖๐ มาหมุด กาชะนี อิสลามทำสงคราม ทำลายอารามและสถูปอย่างหนัก

-            พ.ศ.๑๖๕๗ พระนางกุมาราชเทวี ทำการฟื้นฟูบูรณะอีกครั้งหนึ่ง

-            พ.ศ.๑๗๓๖ อิลตุชมิท อิสลาม โจมตีพาราณสี – สารนาถ พระสงฆ์ได้หนีตาย

-            พ.ศ.๒๓๓๖ ชคัต ซิงห์ อำมาตย์ของ เจตซิงห์ รื้อธัมมราชิกสถูป

-            พ.ศ.๒๓๖๘ ศาสนิกเชน รื้อพุทธสถานแล้วสร้างวัดเชนครอบ

-            พ.ศ.๒๓๗๘ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้ทำการขุดค้นสารนาถ

-            พ.ศ.๒๓๘๒ นายเดวิคสัน นำพระพุทธรูป – โบราณวัตถุ ไปถมที่ทำสะพานคันแดน แม่น้ำวารุณะ

-            พ.ศ.๒๔๑๔ (๒๔๑๕ของไทย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสารนาถ

-            พ.ศ.๒๔๓๔ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยือนสารนาถ

 
 โบราณสถาน – สถานที่สำคัญ

          ๑. ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ สูง ๓๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ เมตร

                    -   พ.ศ.๒๓๔ พระเจ้าอโศกสร้าง

                    -   พ.ศ.๒๓๖๕ อเล็กซานเดอร์คันนิ่งแฮมได้ขุดค้นพิสูจน์

          ๒. ธัมมราชิกสถูป สถานที่แสดงอนัตตลักขณสูตร สูง ๖๐ เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓ เมตร (ปัจจุบัน ๑ เมตร) พระเจ้าอโศกฯ สร้าง

          ๓. พระมูลคันธกุฎี ที่จำพรรษาแรกของพระพุทธองค์ สูง ๖๑ เมตร กว้าง ๑๘ เมตร

          ๔. เสาอโศกฯ สูง ๑๕.๒๕ เมตร ด้านบนเป็นสิงห์ ๔ หัว หันหลังชนกัน

          ๕. ยสเจดีย์ สถานที่โปรด ยสะลูกเศรษฐี แสดงอนุปุพพิกถา

ภาพที่เห็นด้านล่างคือโบสถ์ 
ของชุมชนชาวพุทธที่ประเทศอินเดีย

 
 ๖. เจาคัณฑีสถูป ที่มี ๔ มุม พระเจ้าอโศกสร้าง พ.ศ.๒๓๖ สูง ๒๑ เมตร

                    -  พ.ศ.๒๐๗๕ หุมายุนมาหลบภัย เป็นเวลา ๑๕ ปี

                    -  พ.ศ.๒๑๑๙ อักบาร์มหาราชย์ดัดแปลงเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมศิลปะอีสลาม

          ๗. พิพิธภัณฑ์สารนาถ เก็บพระพุทธปฏิมา – โบราณวัตถุมากมาย

          ๘. วัดไทยสารนาถ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๔ ไร่ โดยพระครูประกาศสมาธิคุณ ปัจจุบันหลวงพ่อพระครูสรวิชัยเป็นเจ้าอาวาส

          ๙. วัดพุทธนานาชาติ  คือ วัดจีน, วัดธิเบต, วัดเกาหลี, วัดญี่ปุ่น, วัดพม่า และวัดศรีลังกา

          ๑๐. แม่น้ำคงคา

          ๑๑. มหาวิทยาลัย

          ๑๒. เทศกาลต่างๆ

 

 

 

 

 บุคคลสำคัญ

          ๑) ปัญจวัคคีย์                            ๕) ธัมมทินนาอุบาสก

          ๒) ยสกุลบุตรและสหาย                           ๖) อนาคาริกธัมมปาละ

          ๓) นางสุปปิยา                                        ๗) มหาทุคตะ

          ๔) นันทิยมานพ

 
 สาระธรรมสำคัญ

          ๑) ธัมมจักกัปปวัตนสูตร                            ๔) นิโครธชาดก

          ๒) อนัตตลักขนสูตร                                 ๕) กปิลชาดก

          ๓) สุวรรณสามชาดก                                ๖) เนื้อ ๑๐ อย่าง ที่ห้ามภิกษุฉัน

 
 คำอธิษฐาน ณ สารนาถ

          ขอเดชะ ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ข้าพระพุทธเจ้า ได้บูชาสักการะ สถานที่แสดงพระปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ของพระพุทธองค์ ในครั้งนี้ ขอจงเป็นบารมีให้เต็มเปี่ยมด้วยพร ๘ ประการ

                    ๑. ขอให้ธุรกิจของข้าพเจ้า...เดิน                 

                    ๒. ขอให้การเงินของข้าพเจ้า.....ดี

                    ๓. ขอให้ไมตรีของข้าพเจ้า.....เบิกบาน

                    ๔. ขอให้การงานของข้าพเจ้า......ก้าวหน้า

                    ๕. ขอให้การค้าของข้าพเจ้า.......รุ่งเรือง

                    ๖. ขอให้ชื่อเสียงของข้าพเจ้า.......งามปรากฏ

                    ๗. ขอให้เกียรติยศของข้าพเจ้า........ไพบูลย์

                    ๘. ขอให้เกียรติคุณของข้าพเจ้า....แผ่ไพศาล

          ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าตลอดชาติอย่างยิ่งจนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน เทอญฯ

***********

 
 
 
 

 

 

 

 ตำนานคงคา ตามคัมภีร์ปูราณะ (โดยสังเขป)

          คงคา เป็นเทพธิดา พระธิดาของราชาหิมวัดและพระนางเมนาแห่งภูผาหิมาลัย เป็นสายน้ำบนสรวงสวรรค์จึงมีชื่อเรียกว่า สุรสรวันตีบ้าง สุรนทีบ้าง สุรนิมนคาบ้าง วโยคงคาบ้าง

          สมัยราชวงศ์ อิศวากุ มีพระราชาพระนามว่า “สาคร” ทรงมีพระมเหสี ๒ พระองค์ ทั้ง ๓ ไม่มีรัชทายาท จึงมอบราชบัลลังก์ให้มหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการแทน แล้วออกประพฤติพรตบำเพ็ญเพียรอยู่เชิงเขาไกรลาส เพื่อขอรัชทายาทจากเทพผู้ทรงฤทธิ์ศักดิ์ คือท้าวมหาเทพ

          ต่อมา ท้าวศิวะมหาเทพ ได้ประทานพรให้พระมเหสีองค์แรกมีพระโอรสเป็นน้ำเต้าทอง พระมเหสีองค์รองมีพระโอรสรูปงาม

          น้ำเต้าทอง พอแตกออกมีพระโอรสอยู่ภายในถึงหกหมื่น ล้วนมีนิสัยเกเรทำการระราน เป็นอันธพาลต่อมนุษย์และเทวดา ส่วนพระกุมารจากพระมเหสีรอง รูปงามเลยเป็นคนมักมากในเรื่องเพศตรงข้าม โดยไม่เลือกลูกเขาเมียใคร สุดท้ายต้องอาญาถูกประหารชีวิต โดยมีทายาทเกิดจากหญิงนางหนึ่ง นามอังศุมานตรา ราชาสาคร นำมาอุปการะในฐานะพระนัดดา

 
 ราชาสาคร ทำพิธีอัศวเมธ (บูชาม้า) ปล่อยม้าอุปการท่องเที่ยวไป ม้าไปถึงเมืองไหนเจ้าเมืองนั้นๆ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเป็นสัญญาณแห่งการยอมเป็นเมืองขึ้น ถ้ามิส่งมา แสดงว่าประสงค์จะทำสงคราม ก็จะให้พระโอรสทั้งหกหมื่น ยกทัพไปตีเมืองนั้น ปรากฏว่า พิธีอัศวเมธ ครั้งหลัง ม้าอุปการได้สูญหาย ม้าไม่กลับมา บรรณาการก็ไม่มี จึงบัญชาให้พระโอรสทั้งหกหมื่นออกติดตาม โอรสเหล่านั้นคุกคามไปทั่วตามหัวเมืองน้อยใหญ่ลุกลามไปถึงทวยเทพรากษสและคนธรรพ์ แต่ก็ไม่พบม้าอุปการ วันหนึ่งไปพบหลุมลึกลับจึงพากันขุดค้นตามไปได้เห็นม้าอุปการอยู่ข้างๆ ฤาษีกบิล ด้วยความยโสโอหัง มิยอมฟังเหตุผลใด ใช้วาจาดูหมิ่นฤาษีกบิลอย่างหยาบหยามกระด้าง

          ฤาษีกบิลจึงลืมตาเป็นเปลวไฟเผาไหม้โอรสทั้งหกหมื่น กลายเป็นเถ้าถ่านในพราตา ท่านนารถฤาษีเห็นเหตุการณ์นี้จึงเข้าเฝ้าเจ้าสาคร แล้วเล่าเรื่องราวให้สดับเจ้าสาคร เศร้าโศกเสียพระทัยมากรับสั่งให้อังศุมนตราไปนำม้ากลับมา

 
 อังศุมนตรา จรรยาดีมีสัมมาคารวะไปหาฤาษีกบิลด้วยความอ่อนน้อม ฤาษีมอบม้าให้แล้วบอกว่าถ้าราชาสาครอยากให้พระโอรสทั้งหกหมื่นขึ้นสู่สวรรค์ ต้องนำน้ำคงคาจากสวรรค์มาชำระล้างเถ้าถ่าน บาปจะหมดไป

          ราชาสาครได้สดับจึงมอบราชสมบัติให้นัดดาอังศุมนตรา แล้วออกบำเพ็ญตบะที่เขาหิมาลัย เพื่ออ้อนวอนให้คงคาเทพธิดาไหลมาสู่โลกมนุษย์ แม้จะบำเพ็ญอย่างแรงกล้าแต่คงคาเทวีก็ยังมิปรากฏ ผลจนที่สุดก็สิ้นอายุขัย

          อังศุมนตราเห็นพระอัยยิกาธิราชพากเพียรอย่างยวดยิ่งเพียรนั้น ก็พระราชทานราชสมบัติให้พระโอรสดีลิปะสืบสันติวงศ์ ตนเองก็ออกบำเพ็ญพรตเพื่อนอ้อนวอนพระแม่เทพคงคา จนสิ้นอายุขัยก็ไม่เป็นผล

          ดิลิปะได้สละราชสมบัติให้ภังคีรส พระโอรสสืบสันติวงศ์ ตนจึงออกมาบำเพ็ญพรต จนหมดอายุขัย ก็ไม่สำเร็จ

 
 ภังคีรส ได้มอบราชสมบัติให้ผู้สำเร็จราชการแทน แล้วตนเองออกบำเพ็ญเพียรตามบรรพบุรุษ สุดท้ายคงคาเทพนารีก็ปรากฏกาย ยินดีไหลลงสู่โลกมนุษย์ แต่กระแสน้ำจะแรงมากยากที่โลกทั้ง ๓ จะรับได้ ควรให้ท้าวมหาเทพศิวะมารับกระแสแห่งคงคา

          ภังคีรส จึงบำเพ็ญพรตต่อเพื่อขอความเมตตาจากท่านท้าวมหาเทพให้เป็นผู้มารับสายกระแสแม่คงคา ท่านท้าวมหาเทพก็เมตตายินดีรับคงคาที่ไหลจากสวรรค์ ลงมาสู่โลกมนุษย์โดยผ่านมวยผมของพระองค์

          สุดซาบซึ้งถึงตำนานการไหลมาของพระแม่คาคง มิน่าเล่า....! ชาวอินเดียพันกว่าล้าน จึงเชื่อมั่นวาคือบันไดไปสู่สวรรค์ ล้างบาปอาบดื่ม บูชากราบไว้ได้อย่างสนิทใจ บางคณะมาจากแดนไกล ลำบากพากเพียรมา ขอให้ได้สัมผัสสักครั้งหนึ่งก็ซึ้งใจ แม้ชีพวายก็ไม่หวั่น นั่นคือ “ศรัทธา”

                    เพียรหนึ่งครั้งในชีวิต                       สมคิดสมมาตรปรารถนา

                    ได้ลงอาบ – ดื่มในคงคา                  แม้วายชีวาข้าฯ ก็ยอมฯ

 

 
 

 

 

 

การถวายปัจจัยกับพระต่างประเทศ 

เมืองสาวัตถี

มหานครแห่งคนดี

                    เมือง...เศรษฐีลือนาม                      เมือง...หญิงงามลือชื่อ

                    เมือง...มหาวิหารล่ำลือ                    เมือง...เลื่องลือโพธิ์อานนท์

                    เมือง...เดียรถีย์เสียท่า                     เมือง...๒๕ จำกาลฝน

                    เมือง...ปราบโหราจารย์พาลชน          เมือง...แสดงมงคล ๓๘ ประการ

                    เมือง...กฐินถูกยอยก                       เมือง...แสดงยมกปาฏิหาริย์

                    เมือง...จอมโจรรองคุลีมาล               เมือง...ตำนานพระสิวลี

                    เมือง...ธรณีสูบคนบาป                    เมือง...กำราบคนหมองศรี

                    เมือง...มากหมู่พระกุฎี                     เมือง...สร้างบารมี ศีล ทาน ภาวนาฯ

 

ประวัติศาสตร์เมืองสาวัตถี

-            เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล เจ้าผู้ครองนคร คือพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธองค์ได้เสด็จมานั่งประทับที่นี่ทั้งหมด ๒๕ พรรษา อยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ๑๘ พรรษา และอยู่ที่บุพพาราม ๖ พรรษา มีประชากร ๗ โกฏิ ปัจจุบันเหลือเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ๓๒ เอเคอร์

-            พระพุทธเจ้าเสด็จไปสาวัตถีครั้งแรกปลายพรรษาที่ ๒ ต้นพรรษาที่ ๓

-            สิ้นสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล อำนาจแคว้นโกศลก็ลดลง

สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช  วัดเชตะวันก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ พระองค์ได้เสด็จมาในปี พ.ศ.๒๓๖  พ.ศ.๒๔๐ ปักเสาอโศกไว้ที่นี้ มีหลักฐาน ๖ ต้น คือ ณ สถานที่แสดง
 

-            ยมกปกฏิหาริย์, เชตะวันมหาวิหาร บุพพาราม, บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี, บ้านขององคุลีมาล, ที่พระสารีบุตรได้แสดงธรรม

-            พ.ศ.๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียน ได้มาจาริกธรรม บันทึกว่าตัวเมืองถูกทิ้งร้างแต่พระเชตะวันยังเป็นสำนักสำคัญที่มีถึง ๗ขั้น

-            พ.ศ.๑๑๗๓-๑๑๘๖ หลวงจีนถังซัมจั๋งมาบันทึกว่าตัวเมืองร้างมานาน พระเชตะวันก็เริ่มมีพระสงฆ์น้อยลง ผู้คนก็น้อยลง

-            พ.ศ.๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ ได้ทำการบูรณะวัดเชตะวันขึ้นมาใหม่

-            พ.ศ.๑๕๖๐ กองทพอิสลาม นำโดย มะหะหมัด ดัชนี ได้ยทัพมาทำลายล้างพระเชตะวัน

-            พ.ศ.๑๖๕๐ พระนางกุมาราชเทวี พระมเหสีของพรเจ้าโควินทจันทร์แห่งมหานครกาโนช ได้ทำการบูรณะใหม่

-            พ.ศ.๑๖๗๑ อิสลามในราชวงศ์ทาสปกครองอินเดีย ได้ยกทัพมาตีทำลายทุกสิ่งทุกอย่างฝังลงไว้ใต้พื้นปฐพีจนไม่เหลือซากใด ๆ ร้างหายไปเกือบ ๗๐๐ ปี

-            พ.ศ.๒๔๐๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจเมืองสาวัตถีขุดค้นหลักฐานตามบันทึกของท่านฟาเหียน และพระถังซัมจั๋ง

-            พ.ศ.๒๔๕๒ เซอร์จอร์น มาร์แชล ได้ขุดค้นพบหลักฐานทั้งหมดจนปรากฏ ณ ปัจจุบันนี้

 

สถานที่สำคัญ

          ๑) วัดเชตะวันมหาวิหาร คนท้องถิ่นเรียกว่า “สาเหตุ” ๘) วัดบุพพาราม

          ๒) พระมูลคันธกุฎี                                             ๙) มิลลิกาอาศรม

          ๓) กุฎิเหล่าพระอรหันต์                                       ๑๐) บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

          ๔) สังฆสภา                                                      ๑๑) สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          ๕) ต้นโพธิ์อานนท์                                              ๑๒) ที่ธรณีสูบคนบาป

          ๖) ศาลาโรงธรรม                                               ๑๓) บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดา

องคุลีมาล

          ๗) ตัวเมืองสาวัตถีเป็นเขตพระราชฐานของพระเจ้าปเสนทิโกศล คนท้องถิ่นเรียกว่า “มาเหต”

 

ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          เป็นจุดที่พระพุทธองค์แสดงยมกปกฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือลัทธิเชนนั่นเอง ตั้งอยู่ริมถนนเข้าเมืองสาวัตถี ห่างจากพระเชตะวันประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นสภาพเนินดินที่ใหญ่โต เดิมเป็นสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการขุดค้นไปแล้วบางส่วน

 

 

 

การทาทองคำที่องค์พระพุทธเมตตาที่อยู่บริเวณชั้นล่าง
และพระศรีอาริยเมตไตยที่อยู่บริเวณชั้นสองของ
พระวิหารพุทธคยา
จะกระทำในเวลาประมาณ ๑๙.๐๐น. เป็นต้นไป
เพราะต้องการเวลาให้สีแห้งสนิทในวันรุ่งขึ้น

พระเชตะวัน, อานนทโพธิ์

          เป็นอารามที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณแถบนี้ สร้างในบริเวณที่เดิมของเจ้าเชต  ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล อนาถปิณฑิกะมีนามเดิมว่า สุทัตตะ เป็นพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี ได้ไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาจนบรรลุโสดาบัน จึงอาราธนาพระองค์มาโปรดชาวเมืองสาวัตถี เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว จึงได้ซื้อที่ของเจ้าเชต ในเบื้องต้นถูกโก่งราคาอย่างหนักด้วยการให้เศรษฐีปูทองคำเต็มบริเวณเศรษฐ๊ทำตามจนเจ้าเชตทึ่งเห็นใจจึงขายให้พร้อมกับขอร้องให้ใช้นามตนเองตั้ง จนกลายเป็นเชตวนาราม พระองค์ประทับอยู่ที่นี่นานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองสราวัสดี จังหวัดสราวัสดี รัฐอุตตรประเทศ ปัจจุบันนิยมเรียกว่าศราวัสดี อันเป็นนามตามภาสันสกฤต ส่วนคำว่า สาวัตถี ตามนามบาลีมีคนรู้จักน้อยมาก ส่วนภายในพระเชตะวัน มีกุฎิปลูกสร้างอยู่มากมาย ทั้งพระมูลคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า และอานนทโพธิ์ซึ่งพระมหาโมคคัลลานะนำมาจากพุทธคยามาปลูกไว้ที่นี่ จึงนับว่าเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่มากที่สุดต้นหนึ่ง

 

บ้านอนาถปิณฑิกเศรษฐี

          เป็นซากบ้านโบราณภายในเขตพระราชฐานเมืองสาวัตถี คำว่า อนาถปิณฑิกะ แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวสำหรับผู้ไม่มีที่พึ่ง เป็นเศรษฐีที่มั่งคั่งที่สุดและยากจนที่สุดในคราวเดียวกัน เป็นมหาอุบาสกที่ค้ำชูพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า  เป็นผู้สร้างเชตะวันมหาวารถวายพระพุทธองค์ ปัจจุบันเหลือเพียรซากโบราณสถานให้เราได้เห็นกฎแห่งอนิจจัง

 

บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดาองคุลีมาล

          เชื่อกันว่าเป็นซากคฤหาสน์ของพราหมณ์ปุโรหิต  ผู้เป็นบิดาของจอมโจรองคุลีมาลหรืออหิงสกะ หลังจาก ๗ ขวบ  บิดาจึงให้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา

 

วัดบุพพาราม

          สร้างโดยวิสาขามหาอุบาสิกา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่สมบูรณ์ด้วยเบญจกัลยาณี อายุได้ ๗ ขวบ บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธองค์มาประทับที่วัดนี้ถึง ๖ พรรษา ตรัสพระธรรมเทศนาหลายพระสูตร ปัจจุบันนี้ อารามถูกแม่น้ำอจิรวดีเซาะจนพังเกือบไม่เหลืออะไรเป็นหลักฐาน

 

พระสูตรต่างๆ

          พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรที่เมืองสาวัตถีทั้งสิ้น ๘๗๑ พระสูตร คือ เชตะวันมหาวิหาร ๘๔๔ พระสูตร นอกนั้นเป็นของบุพพาราม ๒๓ พระสูตร และของอื่นๆ อีก ๔ พระสูตร เป็นพระสูตรในสังยุตตนิกาย ๗๓๖ พระสูตร, มัชฌิมนิกาย ๗๕ พระสูตร, อังคุตตรนิกาย ๕๔ พระสูตร อละทีฆนิกาย ๖ พระสูตร เช่น มงค,สูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานิสังสสูตร, ศิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนาถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปสาทสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อริยชนสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร ฯลฯ

 

 

 
เจ้าภาพที่ต้องการทาสีองค์พระพุทธเมตตาแต่ละครั้ง
จะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยประมาณ ๑๒๕,๐๐๐ บาท
(หนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

 
 
 
 
 

 

 

 คณะกรรมการสมาคมมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา

 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 

 

 

 (ภาพที่พักภายในบริเวณวัดป่าพุทธคยา)
รูปปั้นนางวิสาขามองเห็นแต่ไกล

นางวิสาขาสร้างวัด 

 



  โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า- เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้าไปเวลาเช้าก็จะต้องมีของเคี่ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณรและอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนจึงกลับบ้าน

 

 

  วันหนึ่ง เมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์มอบให้หญิงสาวผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมเเละเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้วขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงบอกให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่า ถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอามาคืนมา ให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสำผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลือไว้เสมอ

  และได้เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “ เครื่องประดับนี้ไม่มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อเอาไว้ได้ นางจึงต้องซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่านั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้าง ดำเนินการสร้างถวายเป็นพระอารามที่ประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดา รับสั่งให้พระมหาโมคคัลลนะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า “ พระวิหารบุพพาราม”


 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 "มีคนเขาว่ามาอินเดีย  เพื่อไหว้พระรับพร  
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"

วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ  
ตามรอยพระศาสดา  
  สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า

เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
 ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
      
ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
    ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ

  
ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
เขาคิดว่า 
(ของแพงต้องดี)

 

 

 

 
 บุคคลสำคัญ

          ๑) พระเจ้าปเสนทิโกศล                                       ๗) พระกุมารกัสสปะ

          ๒) อนาถบิณฑิกเศรษฐี                                       ๘) พระพาหิยะเถระ

          ๓) วิสาขามหาอุบาสิกา                                       ๙) พระสิวสีเถระ

          ๔) องคุลีมาล                                                    ๑๐) เศรษฐีตีนแมว

          ๕) ปฏาจาราเถรี                                                ๑๑) ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยรัฐ ๓๐ รูป

          ๖) กีสาโคตรมี                                                   ๑๒) วังคีสพราหมณ์

 
 การเดินชมเชตะวันฯ

          เขตสังฆวาส

          ๑) หมู่กฎิภิกษุชาวโกสัมพี                                    ๗) กุฎิพระโมคคัลลานะ

          ๒) หมู่กุฎิพระอุบาสี – ราหลุ                                 ๘) กุฏิพระองคุลีมาล

          ๓) ธัมมิการามที่พิจารณาอธิกรณ์ประจำวัด             ๙) กุฏิพระอานนท์

          ๔) เจดีย์อรหันต์ ๘ ทิศ ต้นกำเนิดสรภัญญะ             ๑๐) กุฏิพระสารีบุตร

          ๕) กุฎิพระสิวลีเถระ                                            ๑๑) อานนทโพธิ์

          ๖) กุฎิพระมหากัสสปะ                                        ๑๒) ราชิการาม คือ สำนักของภิกษุณี

 
 เขตพุทธาวาส

          ๑) พระคันธกุฎีฤดูหนาว                            ๔) ศาลาโรงธรรม (อุโบสถ)

          ๒) พระคันธกุฎีฤดูร้อน                              ๕) ธรรมสภา (สถานที่ฟังธรรมของชาวเมือง)

          ๓) พระคันธกุฎีฤดูฝน                               ๖) บ่อน้ำพุทธมนต์

 
 สาระธรรมสำคัญ

          ๑) มงคล ๓๘ ประการ                                         ๖) พรจากการถวายผ้ากฐิน

          ๒) อานิสงค์เมตตา ๑๑ ประการ                            ๗) การถวายผ้าอาบน้ำฝน

          ๓) เบญจกัลยาณี ๕ ประการ                                ๘) อาคันตุกภัตต์

          ๔) โอวาท ๑๐ ข้อ ที่ธนัญชัยเศรษฐีสอนวิสาขา         ๙) คมิกภัตต์

          ๕) ไม่ควรดูหมิ่น ๔ อย่างว่าเล็กน้อย (กษัตริย์ – งู – ไฟ – ภิกษุ        ๑๐) ศิลานภัตต์

 
 คำอธิษฐาน ที่พระมูลคันธกุฎี วัดพระเชตะวันมหาวิหาร

          ขอเดชะ ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้มาบูชาสักการะ พระมูลคันธกุฎี ที่พระเชตะวันมหาวิหารในวันนี้ ขอจงเป็นบารมีให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๘ ประการ

          ๑) ขอให้มีรูปร่างผิวพรรณวรรณะดี                        ๒) ขอให้เป็นเศรษฐีมหาศาล

          ๓) ขอให้มีหลักฐานการงานมั่นคง                          ๔) ขอให้ดำรงในศีลทานภาวนา

          ๕) ขอให้มีปัญญาเยี่ยมยอด                                 ๖) ขอให้ปลอดภัยไร้ทุกข์โศก

          ๗) ขอให้โชคดีมีเกียรติยศ                                    ๘) ขอให้ลดละเลิกจองเวรกรรม

 

 

 

 
 ราชอาณาจักรเนปาล

          เมือง...พุทธคุทยานุลุมพินี                          เมือง...มายาเทวีวิหาร

          เมือง...พระมหาบุรุษประสูติกาล                  เมือง...ปาฏิหาริย์ ๗ ก้าวบาทเดินจร

          เมือง...เปล่งอาสภิวาจา                              เมือง...เสาศิลาอโศกนุสรณ์

          เมือง...เสด็จนิวัติพระนคร                          เมือง...เวสสันตรบำเพ็ญบารมีทาน

          เมือง...เย็นกาย – ใจใต้ร่มโพธิ์ศรี                 เมือง...โบกขณีสุขเกษมศานดิ์

          เมือง...มรดกโลกจักรวาล                           เมือง...ภาพโบราณล้ำค่าคู่บุรินทร์

          เมือง...ราชกุมารีบารมีล้ำ                           เมือง...หัตถกรรมงามศาสตร์ – ศิลป์

          เมือง...EVEREST สุดยอดศิขรินทร์              เมือง..น้อมจินต์กราบที่ประสูติพระพุทธองค์ฯ

 
 ข้อมูลเนปาลโดยสังเขป

-            ปี พ.ศ.๒๔๙๓ ได้แบ่งปันดินแดน ลุมพีนีจึงตกอยู่ในเขตปกครองของเนปาล

-            เนปาลเป็นดินแดนของชาวเนวารี มีประชากรประมาณ ๒๓ ล้านเศษ

-            คนในประเทศพูดภาษาเนปาลี ๕๒% มีพื้นที่ ๑๔๕,๓๑๙ ตารางกิโลเมตร

-            ความยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก ๔๘๕ กิโลเมตร และเหนือจรดใต้ ๑๖๐ กิโลเมตร

-            พื้นที่เป็นภูเขา ๓๒%, ป่า ๑๔ % ,ที่เพาะปลูก ๑๓ %, แม่น้ำ ๔๑%

-            ผู้คนนับถือฮินดู ๗๖%, พุทธ ๘%, อิสลาม ๓%, คริสต์ ๕๐,๐๐๐ คน

-            องค์กรอิสระกล่าวว่า คนนับถือพุทธสูงกว่า ๔๐%

-            รายได้เข้าประเทศปีละ ๖๐ ล้าน US จากนักท่องเที่ยว, หัตถกรรม, ทหารกูรซ่า และนักรบรับจ้าง

-            มีเขาสูงที่สุดในโลกคือ EVEREST สูง ๘,๘๔๘ เมตร = ๒๙,๐๒๘ ฟุต

-            เวลาเร็วกว่าอินเดีย ๑๕ นาที ไม่มีทางออกทะเล

-            อัตราการแลกเปลี่ยน ๑๐๐ RS. อินเดีย = ๑๖๐ RS. เนปาล

-            เงินอินเดียนำไปใช้ในเนปาลได้ แต่เงินเนปาลนำมาใช้ในอินเดียไม่ได้

-            เนปาลภูมิใจในความเป็นเนปาล ๒ ประการ คือ

๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติในประเทศนี้     

๒) ภูเขาที่สูงที่สุดในโลกอยู่ในประเทศนี้

 
 ลุมพินี  เป็นสถานที่ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นเป็นพระราชอุทยาใช้สอยร่วมกันระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ดังปรากฏในพุทธประวัติที่เราทราบชัด และศึกษากันมาแล้ว

ลุมพินี  ปัจจุบัน ได้ค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๘ โดย เซอร์อะเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม อธิบดีกรมการโบราณสถานของอินเดีย เพราะเหตุที่ได้พบหลักศิลาจารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชปักไว้ อักษรพรหมีที่จารึกอยู่แปลเป็นไทย ได้ความว่า “ในปีที่ ๒๐ แห่งราชการพระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี พระองค์ได้เสด็จมาด้วยพระองค์เอง กระทำสักการบูชา ณ สถานที่นี้ ซึ่งเป็นที่ประสูติองค์พุทธศากยมุนี ทรงสร้างรูปวิคฑะด้วยศิลา และทรงปักหลักศิลานี้ขึ้นไว้ เพื่อแสดงว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประสูติ ณ ที่นี้ โปรดให้งดเก็บภาษีอากรที่หมู่บ้านลุมพินีและโปรดให้เรียกเก็บพืชผลแต่เพียง ๑ ใน ๘ ส่วน”

รูปวิคฑะนั้น ตามจดหมายของหลวงจีนถังซำจั๋ง ว่าเป็นรูปม้า ซึ่งหักตกลงมาอยู่กับพื้น

 
 มายาเทวีวิหาร เป็นอาคารใหญ่ สร้งครอบแผ่นศิลารอยพระพุทธบาทที่ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ และมีศิลาแกะสลักรูปการประสูติของสิทธัตถราชกุมาร พระนางสิริมหามายาพุทธมารดายืนเหนี่ยวกิ่งสาละ

 
 สระโบกขรณี เป็นสระน้ำใสสะอาด ได้รับการบูรณะดูแลเป็นอย่างดี เชื่อว่าเป็นที่สรงสนามพระวรกายแห่งมหาบุรุษและพุทธมารดา ในวันประสูติกาล

 

 

 

 

การให้ทานอย่างมีสติ
ให้คนรับทานนั่งเฉยๆ นั่งโดยสงบ ไม่ส่งเสียง ไม่ลุกขึ้น
การให้ทาน และการรับทานก็จะเป็นไปโดยราบรื่น เป็นระเบียบ สวยงาม

 เคลียร์ปัญหาสารพัดคือวิสัยทัศน์นักเผยแผ่

โดย.. พระมหา ดร.ปรีชา กตปุญโฌ

          ปัญหา คือ อุปสรรค มักมาชัดขวางระหว่างการทำงาน การเผยแผ่ของพระธรรมวิทยากร

มีมากมายหลายรูปแบบ ทั้งแอบแฝงและแบบโดยตรง  ทั้งเกิดจากตน เกิดจากคนที่มา จากพาหนะที่ใช้ จากปัจจัยรอบด้าน และจากเหตุการณ์รอบตัว

          เคลียร์ปัญหา คือ อุบายแก้ไขอุปสรรคให้ทุเลาเบาลง หรือขจัดให้หมดสิ้นไป
เพื่อให้งานการเผยแผ่ดำเนินไปได้ด้วยดี มีคุณค่า พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระรารัตนรังษี
(วีรุยุทธ์ วีรยุทโธ) ผู้ประสิทธิ์วิทยาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ ได้ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า ปัญหา คืออุปกรณ์สอนให้เกิดปัญญา พระนักเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ลูกพระตถาคต อย่าได้หวั่นเรื่องปัญหา เพราะปัญหาคือตำราทดสอบระบอบงาน ลองภูมิปฏิภาณมนุษย์ ฝึกกลยุทธ์ เคล็ดลับ
พิสูจน์ฝีมือการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ให้รู้ว่า ข้าฯ แน่ แกเจ๊ง
! หรือ ข้าฯแย่แกเฮ็ง!

          เคลียร์ปัญหาสารพัด คือ การพร้อมลงมือปฏิบัติ ยืนหยัดในหลักการ มิสะท่านต่อปัญหา
กล้าฝ่าทุกสถานการณ์ ด้วยจิตที่มั่นคง ไม่หลงคำเยิน ไม่เพลินคำยอ ไม่ก่อทางผิด ไม่ติดลาภยศ
มีแม่บทกฎเกณฑ์ ในการปฏิบัติงาน

          วิสัยทัศน์นักเผยแผ่ คือ แง่คิดมุมมองของนักการศาสนา ที่กล้ามองไกล เข้าใจตน  เข้าใจคนที่มา เข้าใจปัญหาที่มี ยินดีรับฟัง รู้ทางแก้ไข เพื่อให้งานสำเร็จเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์
จบลงอย่างสวยงาน อย่างถ้อยที ถ้อยอาศัย ผู้บรรยายก็สง่า ผู้ที่มาก็ถึงธรรม บริษัทนำมาก็สบายใจ

          เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้าสัมมนา จึงนำเสนอลักษณะปัญหา พร้อมด้วยวิธีแก้ไข พอได้แนวทางโดยสังเขป ดังนี้

ก.    ปัญหาจาผู้บรรยาย

ข.    ปัญหาจากคนไทยที่มา

ค.    ปัญหาสถานการณ์ที่เจอ

 
 ก.ปัญหาจากผู้บรรยาย

จำแนกได้ ๘ ประการ

          ๑. อ่อนประสบการณ์

          ๒. วิชาการไม่เด่น

          ๓. บริหารงานไม่เป็น

          ๔. ไม่เคยเห็นพิธีการ

          ๕. จิตวิญญาณไม่กำเนิด

          ๖. โรคภัยเกิดแก่สังขาร

          ๗. ล้มเหลวประสานงาน

          ๘. จรรยาบรรณไม่น่าชม

 
 ๑. ประสบการณ์

          คือการได้พบได้เห็นได้สัมผัส จนเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ สถานที่นั้นๆ  เหตุการณ์นั้นๆ
มี ๒ ประสบการณ์คือ ประสบการณ์โดยตรง และประสบการณ์โดยอ้อม

          ประสบการณ์โดยตรง คือ ลงพื้นที่โดยตนเอง ศึกษาวิเคราะห์เจาะลึก สืบค้นด้วยตนเอง
ในสถานที่จริง เหตุการณ์จริง ปฏิบัติการจริง

          ประสบการณ์โดยอ้อม คือ ได้ยินได้ฟัง  จากท่านผู้รู้ ศึกษาจากตำรา คัมภีร์ต่างๆ
แล้วบันทึกจดจำนำมาเป็นองค์ความรู้ของตน

 
 ๒. วิชาการ

          คือ ความรู้ข้อมูล เชิงคุณภาพ ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และสารัตถะ
ทางพุทธธรรม ถูกต้องแม่นยำ นำมาอ้างอิงได้

 
 ๓. บริหาร

          คือ การจัดวางอย่างเป็นระบบ ครบถ้วนสมควรด้วยเหตุผล ทั้งบุคคล เวลา  และสถานที่
จำแนกเป็น ๔ คือ ๑) บริหารตน  ๒) บริหารคนที่มา  ๓) บริหารเวลาที่เหมาะสม  ๔)  บริหารอารมณ์กับบรรยากาศ

          ๓.๑ บริหารตน คือ การวางตนในฐานะใด... กับใคร...ที่ไหน...เมื่อไร...

          ๓.๒ บริหารคนที่มา คือ รู้ว่า ใคร... จากไหน... ตำแหน่งอะไร... เหมาะสมไหม...

          ๓.๓ บริหารเวลา คือ รู้กาล กี่ชั่วโมง... ทำอะไร... เรื่องอะไร... เวลาเท่าใด...

                    “เวลาน้อยนิด แต่ตรึงจิต ติดใจนาน เวลาเนิ่นนาน แต่เบิกบาน  สำราญใจ”

          ๓.๔ บริหารอารมณ์ คือ หมั่นสังเกตบรรยายกาศรอบด้าน

                    “บรรยากาศดี เติมสีสันให้บันเทิงจิต บรรยากาศหงุดหงิด หมั่นสะกิดใจให้บรรเทา”

 

 

 

๔. พิธีการ

          คือ การนำเข้าสู่พิธีกรรมอย่างมีขั้นตอน เป็นระเบียบแบบแผน  “เริ่มต้นมีมนต์ขลัง ตอนกลางน่าเลื่อมใสตบท้ายมั่นใจในบุญ อบอุ่นด้วยเสียงธรรม ดื่มด่ำด้วยเสียงมนต์  ท่วมทันด้วยปีติ
สุดยอดพิธีกรรม” จำแนกเป็น ๓ คือ

          ๔.๑ พิธีการนำบรรยายในรถขณะเดินทาง

          ๔.๒ พิธีการในระหว่างนำชมสถานที่

          ๔.๓ พิธีการนำไหว้พระสวดมนต์ บำเพ็ญกุศลภาวนา  ศาสนพิธี

          หลักการมี     อยู่บนรถสดใสใจเบิกบาน                สู่สถานฯ ซาบซึ้งถึงกุศล

                              กราบไหว้พร้อมเพรียงเพราะเสียงมนต์          อิ่มล้นศรัทธาธรรมพระสัมมาฯ

 

๕. จิตวิญญาณ

          คือ ความสำนึก ระลึกคุณพระรัตนตรัยอย่างใหญ่หลวง พร้อมพลีกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาได้ ด้วยหัวใจรัก  (ฉันทะ)  เป็นนักต่อสู้ (วิริยะ) ดูกิจรอบคอบ (จิตตะ) ตรวจสอบเสมอ  (วิมังสา) 
สมดังสัจจะปฏิญญาว่า

          “พุทธัสสาหัสมิ ทาโสวะ พุทโธ เม สามิกิสสะโรฯ ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

 

๖. สังขาร

          คือ สุขภาพร่างกายของพระธรรมวิทยากร  ต้องหมั่นดูแลอย่างสม่ำเสมอ ให้มีความแข็งแรง
พร้อมจะปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ  และสวัสดิภาพ แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ

          ๖.๑ ภาคกายภาพ   “ต้องแข็งแรง ยืนทน นั่งทน พูดทน อดทน และทนอด”

          ๖.๒ ภาคจิตภาพ  “ใจไม่ท้อ ไม่งอแง  ไม่แชเชือน  ไม่บิดเบือนอุดมการณ์ ผันเป็นอุดมกิน”

 

๗. ประสานงาน

          คือ การติดตามข่าวสาร  ความเคลื่อนไหว ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ร้อยเรื่องให้ตรงกัน
สัมพันธ์ให้ลงตัว ตั้งแต่หัว  กลาง  หาง  ท้าย ไม่เหลาะแหละเหลวไหล  เข้าใจเนื้องานถูกต้อง แม่นยำ
นำประโยชน์ กำหนดไว้ ๓ ส่วน คือ

          ๗.๑ ประสานงานกับต้นสังกัด  คือ  วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

          ๗.๒ ประสานบริษัทที่มา  (ใคร... บริษัทอะไร...)

          ๗.๓ ประสานกับหัวหน้าที่นำ  (ใคร... ฐานะอะไร...)

 

๘. จรรยาบรรณ

          คือกิริยามารยาทอันดีงามเหมาะสมของพระธรรมวิทยากร ผู้จัดวรรคตอนการบรรยายธรรม
จำแนกเป็น  ๒  คือ

          ๘.๑  จรรยาบรรณทางกาย ในกิริยา การยืน เดิน นั่ง นอน สังวรอยู่เสมอ การแต่งกาย ไม่สะพายย่าม งามตาผ้าครอง รองเท่าไม่ฉูดฉาด ไม่คาดนาฬิกา ไม่ทาแป้งแต่งหน้า

          ๘.๒ จรรยาบรรณทางวาจา

                    ก. พูดจาสุภาพ สมกับเป็นสมณะ                          ข. พูดมีสาระ สมเป็นผู้นำ

                    ค. พูดชัดถ้อยชัดคำ สมเป็นวิทยากร             ง. พูดมีวรรคตอน ไม่ยอกย้อนวกวน

                    จ. พูดไร้เล่ห์กล ไม่ฉ้อฉนตบตา เพื่อหาทรัพย์ จับโยม ต้มโลก สร้างความวิปโยคแก่พระศาสนา

          ทั้ง ๘ ประการ  คือ ปัญหาของพระธรรมวิทยากร ผู้เป็นบุตรแห่งพุทธบิดร  จะพึงพิจารณาแก้ไข
ให้ตนเองจนเก่งกล้าสามารถ  ผงาดในเส้นทางสายธรรม ทำงานในแดนพระพุทธองค์ จนบรรลุวัตถุประสงค์ แห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

 

 

 

 ข. ปัญหาคนไทยที่มา

          คนไทยที่มา คือ ผู้มาอินเดียเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กราบพุทธสถาน
สำราญท่องเที่ยวเกี่ยวข้องธุรกิจ เพิ่มฤทธิ์เพิ่มบารมี  จึงมีปัญหาเกี่ยวกับคนที่มา พอสรุปได้ ดังนี้

          ๑.ผู้นำทัวร์                ๒.หัวหน้าคณะ                    ๓. พระผู้ใหญ่            ๔.มือไมค์แนวหน้า

          ๕.หนอนตำราตัวยง    ๖.ร่างทรงเทวราช       ๗.นักปราชญ์ร้อนวิชา  ๘.เจ้าศรัทธาตาบอด

          ๙.สุดยอดจอมวุ่ยวาย ๑๐.จับจ่ายทัวร์ธรรมะ

 
 ๑.ผู้นำทัวร์

          คือ เจ้าหน้าที่บริษัทการท่องเที่ยวจากเมืองไทย มาในนามตัวแทนบริษัท มีหน้าที่จัดรายละเอียดข้อมูลกำหนดการ อาหาร ที่พัก แก่สมาชิกที่มา และพระวิทยากร

๒.หัวหน้าคณะ

          คือ ท่านผู้เป็นประธาน ผู้นำแห่งหมู่คณะ ที่สมาชิกให้ความเคารพนับถือ เชื่อฟัง เป็นผู้มากด้วยบารมี เป็นสะพานบุญหนุนเนื่องสู่หมู่คณะ

 
 ๓. พระผู้ใหญ่

          คือพระมหาเถะ พระเกจิอาจารย์ ที่มีศิษยานุศิษย์ บริวารให้การศรัทธาเลชื่อมใส
เป็นร่มโพธิ์ใบใหญ่ เป็นร่มไทรใบหนา เป็นที่พึ่งพาอาศัยให้หมู่คณะ

๔. มือไมค์แนวหน้า

          คือ คนชอบพูด ชอบไมค์ ขึ้นชื่อลือนาม ช่ำของพิธีการ ชำนาญพิธีกรรม ลึกล้ำทั้งศาสตร์
และศิลป์ ชั่วโมงบินคร่ำหวอต เป็นสุดยอดนักบรรยาย

 
 ๕.หนอนตำราตัวยง

          คือ นักเขียน นักอ่าน นักวิจารณ์ นักค้นคว้า นักวิชาการชั้นครู  ผู้เป็นปราชญ์ชาติเมธี
มีความรู้ยิ่ง รู้จริงทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีฯ

๖. ร่างทรงเทวราช

          คือ บรรดาร่างทรงองค์เทพ เจ้าตำหนักสำนักอาศรม มาสร้างสมบารมีที่อินเดีย
มักมีบริวารมากมาย

 
 ๗. นักปราชญ์ร้อนวิชา

          คือ ผู้ทรงการศึกษามาเต็มภูมิ เกิดร้อนรุ่มอยากระบาย ชอบซ่อนหลุมพราง มักวางตาข่าย
ยื่นความฉิบหาย ขายหน้าแก่พระวิทยากร

๘. เจ้าศรัทธาตาบอด

          คือคนไทยใจเมตตา มีศรัทธาไร้ขอบเขต เตือนก็ไม่ฟัง รั้งก็ไม่หัน ความดันทุรังสูง
เห็นขอทานก็อยากแจก เห็นของแปลกก็อยากซื้อ เห็นต่างชาติก็อยากจับมือ รับข่าวลือก็อยากร่วมวง

 

 

 

๙. สุดยอดจอมวุ่ยวาย

          คือคนที่มาอย่างไม่พร้อม ไม่ยอมคน บ่นเก่ง เพ่งโทษ โกรธง่าย หน่ายไว ใจร้อน งอนสารพัด
ติดขัดสารพัน รำพันสารเพ เกเรสารพัด อึดอัดตลอดกาล รำคาญตลอดทาง

 

๑๐. จับจ่ายทัวร์ธรรมะ

          คือเป็นทัวร์หน้าร้าน ผสมผสานรวมกันมา ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก อีสานเมืองกรุง ลุง ป้า ย่า ยาย วัยสายหนุ่ม ลูกเล็ก เด็กน้อย สัมภาระห้อยอีรุงตุงนัง จะเดินหน้าก็ถูกรั้ง
จะถอยหลังก็ถูกดึง จะไปซ้ายมีเสียงด่า จะไปขวามีเสียงบ่น จะสวดมนต์ก็จ้อถาม
จะบรรยายธรรมก็ง่วงนอน ยามให้หลับกลับลุกจัดผ้าผ่อน ถึงยามต้องจรมัวต้มน้ำร้อนน้ำชา

          เหล่านี้คือปัญหาที่พระวิทยากร ต้องอดทนกับบุคคลที่มาทั้ง ๑๐ ประการ นี้  ควรหาวิธีขยับ
ปรับแก้ เพื่อให้งานเผยแผ่เดินหน้าได้ต่อไป

 

ค.ปัญหาสถานการณ์ที่เจอ

          ปัญหาสถานการณ์ คือ เหตุการณ์ที่มักเป็นปัญหาขณะปฎิบัติหน้าที่ของพระธรรมวิทยากร มักประสบพบเจอบ่อย ทั้งในที่พัก ที่ไหว้พระ ขณะเดินทาง กำลังบรรยาย จำแนกไว้ ๑๑ ประเภท

          ๑. บริษัททัวร์น่าทุเรศ ๒. เอสคอร์ตสุดงี่เง่า   ๓.กระเป๋าลืมจัด                  ๔. วัด-โรงแรม ลืมจอง                  ๕. ลืมข้าวของสุดรักหวง        ๖.เดินทางเกิดท้องร่วง           ๗.เจอประท้วงปิดถนน ๘.รถยนต์มีปัญหา     ๙.เวลาไม่แน่นอน       ๑๐.จราจรไม่ลื่นไหล     ๑๑.เจ็บ-ป่วย-ตาย ในรถทัวร์

 

๑.บริษัททัวร์น่าทุเรศ

          ทำทัวร์ไม่น่ารัก มักเอาเปรียบลูกค้า สร้างปัญหาแก่พระวิทยากร ได้แก่

                    ทัวร์หน้าใหม่  ไม่ทันแขก                  (น่าสงสาร ไม่รู้เรื่องอะไร)

                    ทัวร์หน้าแปลก ไม่ทันเกม                 (ไม่เตรียมอะไร เชื่องช้าอืดอาด)

                    ทัวร์หน้าเค็ม ประหยัดโหด               (หวังกำไรอย่างเดียว)

                    ทัวร์ลิงโลค โปรแกรมหรู                   (ชะโงกทัวร์ กำหนดการเพียบ)

                    ทัวร์บู๊  ไม่รู้จักกลัว                          (ไปไม่เลือกกาล)

                    ทัวร์มั่ว ลูกครัวหล่น                        (อ่อนบริหารจัดการ)

                    ทัวร์จน ปัจจัยน้อย                          (ขอตลอดทาง)

                    ทัวร์จ้อยร่อย  สำออยจ่าย                (หมายเบี้ยวค่าแรง)

                    ทัวร์ใหญ่ เสี่ยเงินถุง                        (โปรยทานตลอด)

                    ทัวร์ยุ่ง สารพัด                               (วัดไม่จอง ข้าวของไม่จัด  ปัจจัยไม่จ่าย

เรี่ยรายตลอดทางพักค้างไร้จุดหมาย เป็นตาย

ไม่แยแสอดอิ่มไม่เคยแคร์  สุดยอดแย่แต่

อยากมา และอยากได้วิทยากรดีๆ ฝีปากเจ๋งๆ

 เซ็งจริงๆ...)

 

๒. เอสคอร์ตงี่เง่า

          คือ เจ้าหน้าที่บริษัททัวร์จากอินเดีย ส่งมาเพื่อกำกับรถ กำหนดการเดินทาง ถ้าได้คนดี มีความชำนาญ พระธรรมวิทยากรก็เบิกบานใจ ถ้าได้คนงี่เง่า เจ้าปัญหา สมาธิของเรา ก็เบาแรง 
อังกฤษก็พูดไม่ได้ ภาษาไทยก็ไม่กระดิก  ถามอะไรได้แต่ทิกๆ เผลอก็ตุกติก  เอาเปรียบตลอดเวลา

 

 

 

๓. กระเป๋าไม่เคยจัด

          ปกติผู้นำทัวร์  หรือ  leader  จะแจ้งกำหนดการการเดินทาง บอกเวลาพัก-นอน-ตื่น จัดกระเป๋า เพื่อให้เอสคอร์ตโหลดหลังรถก่อนเดินทาง พอเจอลูกทัวร์เจ้าสำอาง สวยไม่สร่างซา มัวผัดหน้าแต่งองค์ทรงเครื่องกระเป๋าไม่ยอมวาง  สตังค์ไม่ยอมเก็บ  เดินทางก็ไม่ได้ ต้องทำใจอีกแล้วครับ

 

๔. วัด-โรงแรม ไม่เคยจอง

          พวกทัวร์มักง่ายกับมักได้ อาศัยกินแรงพระธรรมวิทยากร  มาแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
หวังน้ำบ่อหน้า พึ่งพาพระวิทยากรให้จองให้ รูปใดเจอแบบนี้ ต้องรีบแจ้งต้นสังกัด 
เพื่อเรียกมาดัดนิสัย  ให้มีวินัยในการทำทัวร์บุญ จุนเจือศาสนา

 

๕ ลืมข้าวของสุดรักหวง

          ของสุดรักสุดกวงในต่างแดน นอกจากชีวิตแล้ว ก็คือหนังสือเดินทาง และสตังค์ที่ต้องใช้
ถ้ามีการหล่นหายหรือหลงลืม  ต้องแจ้งตำรวจในเมืองใหญ่ๆ ที่มีสำนักตรวจคนเข้าเมือง  (
f.r.o.)
เช่นพุทธคยา พาราณสี โกลกัตตา มหานครเดลี เพื่อสะดวกรวดเร็ว ในการับแจ้งความ แล้วนำแจ้งต่อสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย ของหนังสือรับรองการเดินทางต่อไป

 

๖.เดินทางเกิดท้องร่วง

          คนไทยมาในอินเดีย เมื่อเจอสถาพดินฟ้าอากาศ อาหาร บรรยากาศ ไฟธาตุมักแปรปรวน
เกิดท้องร่วง ระหว่างเดินทาง ต้องเตรียมยา ใช้วาที กล่อมผู้ดีทั้งหลาย ให้ปลดทุกข์ข้างถนน จนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา

๗. ประท้วงปิดถนน

          เหตุการณ์เจอบ่อยจนชินชา แต่ว่าไทยมักตกใจกลัว ต้องอธิบายให้เข้าใจในเหตุผลของ
การประท้วงปิดถนนให้ทุกคนเพลิดเพลินเจริญใจในเหตุการณ์ เล่านิทานธรรมบท
กำหนดเรื่องหลักกรรม  นำมาขยาย  แสนสบายแฮ

 

๘.รถยนต์มีปัญหา

          นี่ก็ขาประจำ สำหรับปัญหารถ คือ รถก็แย่ แอร์ก็ไหม้ ไมค์ก็ห่วย  ซวยซ้ำหม้อน้ำทรุด ล้อก็หลุด
แตรก็เสีย เกียร์ก็ขาด ประสาทจะกินกบาล อย่ากังวล  พาสวดมนต์ลูกเดียว

                    รถเสียเสียอารมณ์ตรมใจเปล่า                    ฟังเรื่องเล่านิทานธรรมนำกุศล

                    นำชาดกยกมาล้วนน่ายล                           ถามร่ายมนต์มลคลสูตรกันภูตภัย

                    รถเสียจะเสียใจทำไมเล่า                            พานำเข้าสมาชิกซิแจ่มใส

                    ปฏิบัติวิปัสสนาค้นหาใจ                            เพิ่มกำไรหลายต่อนะพ่อคุณฯ

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 ภาพที่หาชมได้อยากสภาพมหาเจดีย์พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมืองพุทธคยาก่อนที่จะได้รับการบูรณครั้งใหญ่ในสมัยของพระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งพม่าและท่านอเล็กซานเดอร์ คาลนิ่งแฮม ได้บันทึกภาพเก่าเอาไว้ ราวพ.ศ. 2417-2427 

พุทธคยาหลังพุทธปรินิพพาน 

บริเวณกลุ่มพุทธสถานพุทธคยา อันเป็นอนุสรณียสถานระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช4 และสร้างต่อเติมเรื่อยมาโดยกษัตริย์ชาวพุทธในอินเดีย พระองค์ต่อ ๆ มา จนกระทั่งเมื่อกองทัพมุสลิมบุกเข้ามาโจมตีอินเดีย พุทธคยาจึงถูกปล่อยให้รกร้างไม่มีผู้คอยเฝ้าดูแล
 
 พระมหาโพธิเจดีย์ก่อนบูรณะ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2417 ในคราวที่พระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งพม่า พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อบูรณะพระมหาเจดีย์ หลังถูกทิ้งร้างไปกว่าพันปี
สำหรับความเป็นไปของต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้นั้น ต้นแรกเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (เกิดในวันเดียวกับวันที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ) มีอายุมาได้ 352 ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกทำลายโดยพระชายาของพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะความอิจฉาที่พระเจ้าอโศกรักและหวงแหนต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้จนไม่สนใจพระนาง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สองนั้น ปลูกโดยพระเจ้าอโศกมหาราชจากหน่อพระศรีมหาโพธิ์ต้นเดิม และมีอายุยืนมาประมาณ 871-891 ปี จนถูกทำลายในประมาณปี พ.ศ. 1143-1163 ด้วยน้ำมือของพระราชาฮินดูแห่งเบงกอลพระนามว่า ศศางกา ซึ่งพระองค์อิจฉาพระพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรืองมาก จึงทรงแอบนำกองทัพเข้ามาทำลายต้นโพธิ์ต้นนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามนั้นปลูกโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ และต้นที่สามนี้มีอายุยืนมากว่า 1,258-1,278 ปี จึงล้มลงในสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สี่ ที่ยังคงยืนต้นมาจนปัจจุบัน ปลูกโดยนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อ พ.ศ. 2423
 
 ภาพเขียนมหาโพธิเจดีย์ โดย ชาร์ลส์ ดอยล์ เมื่อ พ.ศ. 2370 บ่งบอกถึงสภาพของมหาโพธิ์เจดีย์ในสมัยที่ไม่ได้รับการดูแล
สำหรับความเป็นไปขององค์พระมหาโพธิเจดีย์นั้น พระเจ้าหุวิชกะ (อังกฤษ: Huvishka) มีพระราชศรัทธาสร้างมหาเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ในปี พ.ศ. 694 เพื่อเป็นสถานที่สักการะสำหรับพุทธบริษัท โดยได้สร้างเป็นพระเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมทรงรีสวยงามติดกับพระแท่นวัชรอาสน์ทางทิศตะวันออก มี 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นสถานที่กราบนมัสการและชั้นบนเป็นห้องเจริญภาวนา ลักษณะของพระมหาโพธิเจดีย์มีเอกลักษณ์เฉพาะและตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ของมหาโพธิมณฑลมากว่าสองพันปี ในบางช่วงพระราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ ได้เข้ามาทำนุบำรุงอยู่เสมอ และได้รับการบูชารักษาจากชาวพุทธมาตลอด แต่มาขาดตอนไปเมื่อช่วงพันกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากแผ่นดินอินเดียแถบนี้ถูกคุกคามจากสงครามและการเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนา พุทธคยาจึงถูกปล่อยทิ้งร้างและถูกชาวฮินดูเข้าครอบครอง รวมทั้ง แปลงมหาโพธิเจดีย์เป็นเทวสถาน

โดยเหตุการณ์ที่พุทธคยาถูกชาวฮินดูครอบครองนั้น เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2133 จากการที่นักบวชฮินดูชื่อ โคเสนฆมัณฑิคีร์ ได้เดินทางมาถึงพุทธคยาและได้ตั้งสำนักเล็ก ๆ ใกล้กับพระมหาโพธิเจดีย์ เมื่ออยู่ไปนาน ๆ จึงกลายเป็นเจ้าของที่ไปโดยปริยาย (มีผู้กล่าวว่า พราหมณ์มหันต์นี้ คือ นักธุรกิจการค้าที่มาในรูปนักบวชฮินดู กล่าวกันว่าติดอันดับมหาเศรษฐี 1 ใน 5 ของรัฐพิหาร ผู้นำของมหันต์องค์ที่ 15 ในปัจจุบันก็มีการสืบทอดมาตั้งแต่โคเสณฆมัณฑิคีร์) ซึ่งการที่พราหมณ์มหันต์เข้ามาครอบครองพุทธคยานั้นก็ไม่ได้ดูแลพุทธคยาแต่อย่างไร
 
 สภาพอันเสื่อมโทรมของพุทธคยานั้น อาจพิจารณาได้จากข้อความในบทความของท่านเซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ (Sir Edwin Arnold) ผู้เรียบเรียงหนังสือพุทธประวัติภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และกล่าวกันว่าเป็นพุทธประวัติฉบับภาษาอังกฤษที่มีความไพเราะ ละน่าเลื่อมใสมาก คือ ประทีปแห่งเอเชีย (The Light of Asia) ซึ่งท่านเซอร์ได้เดินทางไปที่พุทธคยาและพบกับความน่าเศร้าสลดใจหลายประการ ท่านได้เขียนบทความ "EAST and West ; A Splendid Opportunity" (ตะวันตกและตะวันออก โอกาสแจ่มจรัส โอกาสแห่งความรุ่งโรจน์) ไว้ โดยกล่าวถึงสาเหตุของการที่พุทธสถานในอินเดียถูกทอดทิ้งเพราะความเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านได้พรรณาถึงความเสื่อมโทรมอย่างหนักและการขาดการเอาใจใส่จากพราหมณ์มหันต์ซึ่งครอบครองพุทธคยาอยู่ ท่านกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "ชาวพุทธทั่วโลกได้ลืมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่แห่งศรัทธาของตน ที่มีความสำคัญได้เช่นเดียวกับนครเมกกะและเยรูซาเล็ม (Mecca and Jeruzaiem)" ซึ่งบทความนี้ได้ตีพิมพ์ไปทั่วโลกและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวพุทธทั่วโลกเริ่มเข้ามาหาทางบูรณะพุทธสถานต่าง ๆ ในอินเดีย

เซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ ผู้แต่งหนังสือ "ประทีปแห่งเอเชีย"
ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งพม่า ได้ส่งคณะทูตมายังอุปราชแห่งอินเดียเพื่อขอทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและจัดการบางประการเพื่อดูแลรักษาพุทธสถานแห่งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากพวกมหันต์และรัฐบาลอินเดีย จึงเริ่มทำการบูรณะ ทางรัฐบาลอินเดียได้ส่งนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ดร.ราเชนทรลาละ มิตระ เข้าเป็นผู้ดูแลกำกับการบูรณะ เมื่อคณะผู้แทนจากพม่าจำเป็นต้องเดินทางกลับ ทางรัฐบาลอินเดียจึงรับงานบูรณะทั้งหมดมาทำแทนและเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2427
 
 ปี พ.ศ. 2434 ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ชาวพุทธศรีลังกา ได้จัดตั้งสมาคมมหาโพธิ์และเริ่มดำเนินการเรียกร้องให้พุทธคยากลับมาเป็นของชาวพุทธ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องให้ประเทศพระพุทธศาสนาทั่วโลกให้ความสนใจในการบูรณะและฟื้นฟูพุทธคยา

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดียได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2500 (วิสาขบูชากึ่งพุทธกาล) โดย ฯพณฯ เยาวหรลาล เนรูห์ นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนต้นพุทธอุบัติภูมิ ซึ่งประเทศไทยโดยการนำของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำเนินการสร้างวัดเป็นชาติแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และประเทศชาวพุทธอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี จีน ศรีลังกา ธิเบต ฯลฯ ได้ดำเนินการสร้างวัดต่อมาตามลำดับ โดยรัฐบาลอินเดียได้มีส่วนสำคัญในการบูรณะพุทธคยาอย่างต่อเนื่องจนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน

จุดแสวงบุญและสภาพของพุทธคยาในปัจจุบัน 

พุทธคยาในปัจจุบันเป็นพื้นที่อยู่ต่ำกว่าพื้นปกติเหมือนหลุมขนาดใหญ่ เนื่องจากผ่านระยะเวลากว่าสองพันปี ดินและตะกอนจากแม่น้ำได้ทับถมจนพื้นที่ในบริเวณนี้สูงขึ้นกว่าในสมัยพุทธกาลหลายเมตร ทำให้ในปัจจุบันผู้ไปนมัสการสังเวชนียสถานแห่งนี้ต้องเดินลงบันไดกว่าหลายสิบขั้น เพื่อถึงระดับพื้นดินเดิมที่เป็นฐานที่ตั้งพุทธสถานโบราณ

ปัจจุบัน พุทธคยาได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุที่สำคัญ ๆ ที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ "พระมหาโพธิเจดีย์" อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีลักษณะเป็นเจดีย์ 4 เหลี่ยม สูง 170 ฟุต วัดโดยรอบฐานได้ 121.29 เมตร ภายในประดิษฐาน "พระพุทธเมตตา" พระพุทธรูปที่รอดจากการถูกทำลายจากพระเจ้าศศางกา พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบศิลปะปาละ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั่วโลก "พระแท่นวัชรอาสน" แปลว่า พระแท่นมหาบุรุษใจเพชร สร้างด้วยวัสดุหินทรายเป็นรูปหัวเพชรสี่เหลี่ยม กว้าง 4.10 นิ้ว 7.6 นิ้ว หนา 5 นิ้วครึ่ง ประดิษฐานอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นพระแท่นจำลองขึ้นทับพระแท่นเดิมเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ณ จุดนี้ ปัจจุบัน ประชาชนและรัฐบาลประเทศศรีลังกาได้อุทิศสร้างกำแพงแก้ว ทำด้วยทองคำแท้ ประดิษฐานรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นวัชรอาสน์ นอกจากนี้ บริเวณพุทธคยาและโดยรอบยังมีสถานที่สำคัญมากมาย เช่น กลุ่มพระเจดีย์เสวยวิมุตติสุข สระมุจลินทร์ บ้านนางสุชาดา ถ้ำดงคสิริ (สถานที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญทุกกรกิริยา) วัดพุทธนานาชาติ เป็นต้น

ต่อมา ชาวพุทธทั่วโลกได้ร่วมเสนอขอให้พุทธคยาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จนในปี พ.ศ. 2545 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจึงพิจารณาให้พุทธคยาเป็นมรดกโลก ปัจจุบัน พุทธคยานับได้ว่าเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลก โดยแต่ละปีจะมีผู้แสวงบุญนับล้านคนเดินทางมานมัสการมหาพุทธสถานแห่งนี้ ในฐานะที่เป็นสังเวชนียสถานศักดิ์สิทธิ์และสำคัญที่สุดของชาวพุทธ สถานที่อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา และสถานที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมมหาศาสดาของชาวพุทธทั้งมวล

 




โครงการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญบุญต่างๆ

เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชวนชาวพุทธร่วมสร้างเจดีย์ที่วัดแดงประชาราษฏร์ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส มอบพระพุทธรูปที่ประเทศอินเดีย
เทียนเต็ก ซินแส 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท ( 76 จังหวัด )
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดโสธรวรารามวรวิหาร)
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท"
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท" ภาคอีสาน
เทียนเต็ก ซฺนแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๓
เทียนเต็ก ซินแส โครงการ หลวงพ่อถวายพระสู่วัดป่า
เทียนเต็ก ซินแส ถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดจอมศรี ถวายเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส มอบรอยพระพุทธบาทที่อินเดีย
โครงการ "หลวงพ่อมาเยี่ยม"
โครงการ "วัดปันสุข"
"พระสังฆราชมีพระบัญชา" ตั้งโรงทานทั่วประเทศ
"พระสังฆราช" มีพระบัญชา ตั้ง"โรงทาน"ทั่วประเทศ
ทอดผ้าป่าสามัคคี มหากุศล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยา และสร้างวัดที่ 4 ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๒
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๙ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๗ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ๑๖ - ๒๑ พ.ค.๖๒. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๖ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๕ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๔ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 13 "ถ้ำอชันต้า เอลโลร่า" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๒ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 (คริก)
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรม นำพระบรมสุขขึ้นประดิษฐานบนพระธาตุพนม (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ถวายผ้าไตร "องค์พุทธเมตตา" 1ธ.ค.2552 ที่พุทธคยา(คริก) article
เทียนเต็ก ซินแส แนะนำชุมชนพุทธในประเทศอินเดีย (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ "ส่งแม่สู่สรวงสวรรค์" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเเกิดแผ่นดินไหวโอซาก้า (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศศรีลังกา ๒๑-๓๑ ม.ค. ๒๕๖๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 ตอน 2
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชาวพุทธดาวโหลด หนังสือธุดงค์อินเดียฟรี. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 1 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45 วัน ครั้งที่ 3. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค. 2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ เวียตนามใต้ครั้งแรก 4-7 ก.ค. 62 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค.2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมประเทศพม่าครั้งที่ 3 เยี่ยมชมพุกาม
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ 2
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมบนมหาเจดีย์พุทธคยา และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแส ร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 9 วันที่ 27ม.ค.-7ก.พ.57
เทียนเต็ก ซินแสร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ 30 พ.ย. - 9 ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรม แดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 8 วันที่30พ.ย.-8ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแส เศร้าใจต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาหักโค่น
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 7 เพื่อเป็นพุทธบูชา 25พ.ย.-4ธ.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่.6 เพื่อเป็นพุทธบูชา 20-27 มี.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ครั้งที่.5 วันที่ 29 ม.ค.-6 ก.พ. 55
เทียนเต็ก ซินแสอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากประเทศจีน พ.ศ.51 article
เทียนเต็ก ซินแสขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา 2553 (คริกดูรายละเอียด)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล หลั่งน้ำตาที่กุสินารา 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมพุทธคยา ถวายผ้าไตร "พระพุทธเมตตา" 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซฺนแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูตรพระพุทธเจ้า 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย- เนปาล สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมครั้งที่ ๓ ตามรอยบาทพระศาสดา วันที่ 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ มหาวิทยาลัยนาลันทาภาค 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เขาคิชฌกูฏ 2ธ.ค.52 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สู่แม่น้ำคงคา 4ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา article
นิลกาย สัตว์ป่าหิมพานต์ เชิงเขาหิมาลัย เนปาล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๒ article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินี สถานที่ประสูตร 5ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล วัดเชตวันมหาวิหาร บ้านอนาถะบิณทิกะเศรษฐี article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล กราบบาทพระศาสดา กุสินารา 7ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล (รอยพระพุทธบาท) article
เทียนเต็ก ซินแส เยี่ยมวิหารท่านธรรมะปาละ 3ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ขอเชิญร่วมต่อเศียรองค์พระประธาน
เทียนเต็ก ซินแส แจกพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา article
สมโภชวิหารเจ้าแม่กวนอิม 3 ปาง วัดแดงประชาราษฎร์
สมโภชศาลาพระพุทธเจ้า ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดแดงประชาราษฏร์
พิธีเททองหล่อ พระราหู
ทอดกฐินสามัคคี วัดแดงประชาราษฏร์
งานสมโภชน์ฉลองพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รอบอุโบสถ วัดแดงประชาราษฏร์
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมล้านนา
เทียนเต็ก ซินแส ถวายพระพุทธรูปในแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา
โครงการถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส จะถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยาสร้างวัดพุทธวัดที่ 3 เป็นพุทธบูชา (คริก)
ชาวสยามร่วมกันมอบพระประธานให้กับวัดพุทธ ในประเทศบังกลาเทศ
ปี่เซี๊ยะดีที่สุด 貔貅 ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รายได้ทุกบาท ทุกสตางค์เข้าวัดทั้งหมด article



dot
www.henghengheng.com
dot
dot
Web Link
dot
bullettiantekpro.com
bullettiantek.net
bullettiantek.com
bullethorawej.com
dot
Llink
dot
bullethotmail.com
bulletyahoo.com
bulletgmail.com
bulletgoogle.co.th
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
Newsletter

dot
bulletแลก ลิ้ง ได้ที่นี่



อ.รุ่งนภา พยากรณ์
(แม้นเมือง
)

พิมพ์ปารีณา
รับพยากรณ์
จัดฮวงจุ้ยและรับสอน

ติดต่อได้ที่
โทร.
085-3253709

http://
pimandfriends.
blogspot.com/



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Best View 1024 x 768 pixels.............
พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม (เทียนเต็กซินแซ).....e-mail address tiantek@hotmail.com และ tiantek@henghengheng.com
วัดแดงประชาราษฎร์ ถ. บางกรวยไทรน้อย ต. บางสีทอง อ. บางกรวย จ.นนทบุรี รหัส 11130
โทร 0-2447-3593, 0-1936-6908

javascript hit counter

View My Stats


รวมสุดยอกของเฮง รับพยากรณ์ดวงชะตาและสอนเลข 7 ตัว 9 ฐานประยุกต์ ต้องการมีเวปไซด์ของตัวเอง คลิกที่นนี่ Enter to M T h
A ! 100HOT Sites and Vote for this Site!!! www.horawej.com เวปนิตยสาร โหราเวสม์  เพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งโปรแกรมผูกดวงต่าง ๆ มากมาย ทางเรายินดี เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ ความรู้ทางศาสตร์ แห่งโหรศาสตร์ และอื่น ๆ ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใดหากท่านใดต้องการรับการพยากรณ์เชิญในห้องกระทู้ มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิคอย ตอนรับท่าน อยู่หลายท่าน เรียนเชิญครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง webmaster horawej@horawej.com web 10 luckastro.com เป็นเว็ปเพื่อการศึกษาโหราศาสตร์ 10 ลัคนา และโหราศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทุกสาขาวิชา เว็ป 10 luckastro.com เป็นศูนย์รวมของนักพยากรณ์ทุกระดับทุกสาขาวิชา เป็นจุดนัดพบและสื่อสารในระหว่างนักศึกษาโหราศาสตร์ด้วยกัน และในระดับครูบาอาจารย์ เว็ป 10 luckastro.com ยินดีในการให้บริการตอบปัญหาทั้งปัญหาชิวิตและปัญหาทางโหราศาสตร์ www.tiantek.com เวปเพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์จีน และ เลือกหัวข้อที่ต้องการดู (ดูได้ทุกเรื่องโดยไม่จำกัด) บอกวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากตามหลักสากล และบอกเหตุการณ์ที่ผ่านมา...เช่นแต่งงาน...มีบุตร ทำงานหรือทำธุรกิจ.เมื่อปีพ.ศ....และข้อสุดท้ายช่วยแจ้งด้วยว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของดวง ข้อมูลยิ่งมากการทำนายยิ่งแม่น ถ้าภายใน 24 ชั่วโมง(หนึ่งวัน)ยังไม่ได้รับคำทำนาย อาตมาอนุญาติให้โทรเข้ามาถามดวงสดสดได้ 
เวปไซด์ของอาตมา เป็นเวป เพื่อการศึกษาและเผยแผ่ธรรมะ และถ้าโยมช่วยบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบมากเท่าใดยิ่งได้บุญมากเท่านั้น 
www.maleeseacon.com เวปเพื่อการสะสมพระเครื่อง บูชาเครื่องของขลัง ณ ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ ชั้น 3 โซนโลตัส ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กทม 10250 Wireless Home Automation 
ท่านไม่ต้องเป็นวิศวกรหรือมีความรู้ทางด้านอิเลคโทรนิคส์ และไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม ท่านก็สามารถออกแบบและติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยตัวท่านเอง  
ชุมนุมผู้เป็นปฏิปักษ์กับหัว ขโมย มหาหมอดู PostJung.com เวบเพลง Online เพลง Update Intrend, หาเพื่อน MSN, Diary, Webboad โพสท์รูปซะใจ, PhotoAlbum ฯลฯ...Click เลย ชุมชนคนช่างฝัน สุดยอดแห่งสาระ และ ความบันเทิง ศูนย์รวม CODE ทุกอย่าง โรจน์ จินตมาศ   จุ๊กกรู! ดอท คอม ..มุมสงบ ผ่อนคลาย ครื้นเครง ป็นกันเอง..ดูดวงฟรี หวย ฟังเพลง เกมส์ หาเพื่อน หากิ๊ก ข่าว ดูดวง  Give information about Thai orchids ตลาดนัดรถรถบ้านที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ Image Hosted by ImageShack.us ซื้อขายออนไลน์ 24 ชั่วโมง