ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๙ (คริก)

ปฏิบัติธรรมที่บนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่๑๙
และร่วมบุญสร้างวัดอนันต์ วิหาร รัฐพิหาร

 21 ก.พ.-21มี.ค.62  (รวม 29 วัน)

 

 

 

 

การปฏิบัติธรรมที่พุทธคยาครั้งที่ ๑๙
และร่่วมบุญสร้างวัดอนันต์วิหาร รัฐพิหาร

 

ทีแรกนึกว่าเป็นม๊อบปิดถนน
ที่ไหนได้เป็นพวกชาวบ้านมาต้อนรับคณะของพวกเรา
 
https://www.facebook.com/TiantekPro/videos/336735496971602/


                           อาตมาขอบอกก่อนว่า
ที่สร้างวัดพุทธในแดนพุทธภูมิ
(วัดพุทธ แต่ไม่ใช่วัดไทย เป็นวัดพุทธของคนอินเดีย)
ถวายเป็นพุทธบูชา
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 คำขอขมา

พระรัตนตรัย / ครูบาอาจารย์

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ, ทวาระตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต,

อาจะริเย ปะมาเทนะ, ทวาระตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะตุ โน ภันเต,

 

 

 
 คำขอขมา

          กรรมชั่วอันใดที่ข้าพเจ้า, ได้กระทำล่วงเกินต่อคุณพระรัตนตรัย, และครูบาอาจารย์, ในอดีตก็ดีในปัจจุบันก็ดี, ด้วยกายก็ดี, ด้วยวาจาก็ดี, ด้วยใจก็ดี, มีเจตนาหรือไม่เจตนา, ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี, รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี, ทั้งในที่ลับ และในที่แจ้ง, ซึ่งได้กระทำกรรมอันนั้นด้วยความประมาท,

          ขอพระรัตนตรัย และครูบาอาจารย์, จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย, เพื่อมิให้เป็นเวรภัย เป็นบาปอกุศล, และ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ.

 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

  

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
ห้องน้ำ สำหรับคนอินเดียไม่มีปัญหา แต่พวกเรามีปัญหา
โชคดีที่พวกเราสร้างไว้ล่วงหน้า ไม่ต้องไปเข้าห้องน้ำกลางท้องนา
เรียบง่าย ไม่หรูหรา 

 บริษัทงี่ฮวดเฮง (สีตราระฆัง)
โยมทองดี พัชราวลัย เป็นเจ้าภาพถวาย
 

 

เบื้องหลังแม้ว่าจะไม่น่าดู แต่จำเป็นต้องรู้ 
เพราะว่าเราจำเป็นต้องสั่งช่างให้แก้ไข ต่อเติม 
ตามที่เราต้องการ เช่นสัญลักษณ์ หรือลักษณะมหาบุรุษ 
แม้ว่าจะเป็นเพียงวัตถุแต่ก็เป็นสิ่งที่เราเคารพ 

และจะได้กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจครับ 

 
 
 

 ทีแรกนึกว่าเป็นม๊อบปิดถนน 
ที่ไหนได้เป็นพวกชาวบ้านมาต้อนรับคณะของพวกเรา

 https://www.facebook.com/TiantekPro/videos/336735496971602/

 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
ถวายพระพุทธรูปองค์ที่ ๒  
วัดอโศกวิหาร  วัดที่ไม่มีพระพุทธรูป

 
 
 
 
 

 

 


ถวายพระพุทธรูปองค์ที่ ๓ 
วัดมังคละ วิหาร
วัดที่ไม่มีพระพุทธรูป

 
 
 
 
 

 

 

 

ถวายพระพุทธรูปองค์ที่ ๔
วัดบิลลา วิหาร
วัดที่ไม่มีพระพุทธรูป
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

วันนี้ภาระกิจสุดท้ายของทริปอินเดียในครั้งนี้ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว
ด้วยการถวายพรมแดง 900 ตารางฟุต ให้กับ วัดพุทธ  ในเมืองสิทธิเตก
จังหวัดปูเน่ ประเทศอินเดีย  ด้วยการร่วมปัจจัยของทุกท่าน

ขออนิสงค์ผลบุญที่ได้ร่วมกับผมในครั้งนี้ ทำให้ชีวิตของทุกท่าน
พบแต่ความสำเร็จในสิ่งที่คิด ที่ปรารถนา ทั้งทางโลกและทางงธรรม

มีแต่คนคอยปูพรมแดงไว้ต้อนรับ
พบแต่สิ่งดีๆในชีวิตตลอดไปนะครับ

สุขสันต์ครับ สุขสรรค์ 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 

 ยอดเงินคงเหลือยกมาจากการสร้างวัดอนันต์ วิหาร
๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนบาท)


 
 ร่วมบุญด้วยกันนะครับ

พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม เจ้าอาวาสวัดแดงประชาราษฎร์ บางกรวย นนทบุรี กับผม จะร่วมกันสร้างวัดให้กับชุมชนชาวอินเดีย ที่มีรายได้น้อย ปีละ 1 วัด ใช้เงินก่อสร้างโดยประมาณ 200,000 - 300,000 บาท ต่อ 1 วัด

ที่ดินแปลงข้างต้นเป็นที่ดินของวัดสังฆมิตร วิหาร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพุทธคยา ห่างจากที่ประดิษฐานของพระพุทธเมตตาประมาณ 2.0 กม.
ที่ดินแปลงดังกล่าว มีขนาดพื้นที่ 1 กะตะ ( กะตะเป็นหน่วยวัดพื้นที่ของชาวอินเดีย)
   1  กะตะมีขนาดพื้นที่ โดยประมาณ    23 x35 ฟุต 

โดยพื้นที่ดังกล่าวจะถูกสร้างเป็นศาลาการเปรียญของวัดสังฆมิตร วิหาร  มีภันเต วิมาลา ธรรมะ เป็นพระผู้ปกครองวัดดังกล่าว

ทางวัดจะเริ่มลงมือก่อสร้างเป็นศาลาการเปรียญ ประมาณต้นเดือนเมษายน กำหนดแล้วเสร็จประมาณตุลาคม 2562    ซึ่งเงินก่อสร้างทั้งหมดเป็นเงินจากการร่วมบุญของพวกเราทั้งสิ้น  เงินทุกบาททุกสตางค์ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นนะครับ

จึงขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญด้วยการสร้างวัดพุทธให้แก่ชาวอินเดีย โดยร่วมบุญไม่จำกัดขั้นต่ำ  

ทำมากทำน้อยไม่สำคัญเท่าได้ทำ

ทุกๆท่านจะได้มีกำลังร่วมสร้างวัดพุทธในประเทศอินเดียกับพระอาจารย์ธงชัย และกับผมไปในทุกปีไปเรื่อยๆ

ร่วมกันสร้างวัดให้กับพระสงฆ์และชาวพุทธที่มีรายได้น้อย และที่สำคัญเขายังขาดแคลนวัด สถานที่ที่เป็นที่พึ่งและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ 

การร่วมบุญในครั้งนี้ น่าจะเป็นกุศลผลบุญที่ยิ่งใหญ่ของผู้ที่ได้ร่วมบุญนะครับ เพราะเราให้ในสิ่งที่เขาขาด และสิ่งที่เราให้นั้น เป็นการต่อลมหายใจของพระพุทธศาสนาในดินแดนของพระพุทธองค์เอง เพราะเนื่องจากในปัจจุบันมีคนนับถือศาสนาพุทธในประเทศอินเดียเพียง 5%  เท่านั้นเอง ร่วมบุญด้วยกันนะครับ

ร่วมบุญกันคนละนิด จิตแจ่มใส

                         ขอบพระคุณครับ
 

 
Bhante  Bimala  Dhamma
ภันเต วิมาลา

 

 

     รายชื่อผู้ร่วมบุญสร้าง

   ศาลาการเปรียญวิมาลา ธงชัย โพธิพุทธ

                                  วัดสังฆมิตรวิหาร  พุทธคยา

                                      รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

List of Thai Donators for construction of

    Vimala Thongchai Bodhi Buddha Hall  

                          Sanghamitra Buddhist Temple

 

พระธงชัย จุลศรีไกวัล             พระมหาวัฒนา จนฺทโชโต            พระศิริเดช คู่สมรัตน์

พระปลัดเจริญ ชุตินฺธโร          บริษัท สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) SMM.TV

คุณวิทูรย์ นิรันตราย และครอบครัว          

คุณอัญชลีพร ธีระสินธุ์ และครอบครัว

คุณสมชาต อินทรทูต และครอบครัว         

ด.ร. วรุตม์ สีบุญเรือง และครอบครัว

นพ. ปรัชญ์  โฆสรัสวดี  และครอบครัว             

นพ. จักรวุธ อยู่ดี และครอบครัว

คุณเรณู ฉวีรัตน์  และครอบครัว

คุณณัฎฐ์ณิฐา จรัสสิริภักดี และครอบครัว

คุณวิชิต คุณจารุณี นับวันดี และครอบครัว

คุณธีรเดช วุฒิพราหมณ์ และครอบครัว    

คุณญานิศา อยู่ยงสินธุ์ และครอบครัว

งี่ฮวดเฮง สีทองระฆัง                              

คุณอัจฉรา (เจ้งิ้ม สามย่าน) และครอบครัว

คุณวิจิตร สุขลิ้ม และครอบครัว                

คุณมัฆวา (เดวา) ศิลปสาคร และครอบครัว

คุณขนิษฐา แก้วมณี และครอบครัว          

คุณเชาว์ คุณมาลี โตยะวณิชและครอบครัว

คุณพิมพ์พิศา รัศมีสังข์ และครอบครัว      

สำนักพิมพ์สูตรไพศาล และ บริษัทพิมพ์ถูก พิมพ์ดี จำกัด

คุณวสันต์ นฤนาทไพศาล และครอบครัว               

คุณอนัญญา จันดาวรรณ์ และครอบครัว       

คุณอนันต์ ศุภศรีรุ่งเจริญ และครอบครัว         

คุณแม่สมพร กาญจนะศรีวรรณ และครอบครัว

คุณสมชาย งามกิจเจริญลาภ และคุณกนกวรรณ ศรประทุม และครอบครัว

คุณอัยย์   คุณอันน์  คุณอฤณ และ คุณกุลนิษฐ์ งามกิจเจริญลาภ และครอบครัว

.ไซแอนติฟิค ซัพพลาย จำกัด   บ.สยามอินเตอร์ควอลิตี้  จำกัด

คุณสุรศักดิ์  คุณเสาวลักษณ์  คุณธนัย คุณพิชชาพร ธนโชติวรพงศ์  และครอบครัว

คุณสุภาภรณ์ แซ่โค้ว และครอบครัว

คุณวสันต์ คุณฐิระวรรณ คุณชนกานต์ วงศ์กิตติขจร

คุณรัชดา ธีรพัฒนกุล คุณเกศนภา โฆษวิทิตกุล

คุณขวัญชัย สุวัฒน์สุจริตกุล และครอบครัว

คุณไพเรียม สุขสิทธิ์ และครอบครัว

คุณวรกมล จันทร์สม และครอบครัว

คุณภัทรมลณ์ ธนาธนอนันต์ และครอบครัว

คุณชุติญา วีระสอนเดชาและครอบครัว

คุณวัชรพัฒน์ ศรีอนันต์ และครอบครัว

คุณวนาพร ธรรมธีระ และครอบครัว

คุณมนิชยา วรดิษฐ์ฤทธิกุล และครอบครัว

พันโทมนตรี  คุณอรัญญี คุณเขมิกา สตีวงศ์

คุณเถิง คุณแม่มนัส คุณนิตาระดอน

คุณพรพจน์ คุณพินิจ มธุรพจน์ และครอบครัว

คุณวัลย์นภา รัชเดช และครอบครัว

คุณพงศ์ภัทร แสงจินดาวงษ์ และครอบครัว

คุณเปรมมิกา คุณจิตา ปภาวินพงศ์ และครอบครัว

คุณพชรเดช บุญพร้อม และครอบครัว

คุณพิมพ์นิภา ธาวุฒิสกุลฐิติ และครอบครัว

คุณพิสิฐชัย เตชะกฤตเมโธดมและครอบครัว

คุณชมพู ตาดชื่นและครอบครัว

คุณพัฒนเชษฐ์ น้อยโกมุทและครอบครัว

อาจารย์ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำและครอบครัว

คุณสนิท คุณสายหยุด ธีรพัฒนกุล

คุณครูดนตรี มณีรัตน์และครอบครัว คุณสุนีย์ จันทร์นุช และครอบครัว

คุณสมชาย รัตนโกวินและครอบครัว

คุณวีระวัฒน์ คุณชญานุตน์ รัตนทัศนีย และครอบครัว

คุณสมคิด คุณวิลาวัลย์ คุณภาณี นายสุขสรรค์ นางเสาวภา นางสาวนันท์นภัส นายกษิดิศ เหมือนประสิทธิเวช

 

 

 

บริษัทกอดี้ อาร์ต จำกัด บริษัทยีราฟ เอเจนซี่ จำกัด


  มีวาสนาได้ขึ้นไปอธิษฐานจิต
บนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้น ๒
ครบ ๙ ครั้ง

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

พาโยมไปนาลันทา และเขาคิชเฒอกูฏ

 
 
 
 
 

 

 

 


พระอรหันต์โมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า

 
 
พบ อ. เล็ก  วัดพุทธเมตตา
จึงรู้ว่าเป็นผู้จัดหา


พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า 
พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา
และพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย

ทั้ง ๓ องค์เป็นเนื้อเงิน ๗๐เปอเซนต์ ผสมกับทองเหลือง
กำลังทะยอยให้คนงานชาวอินเดียแบกขึ้นเขามา

โยมเจ้าภาพยังกระซิบบอกอีกว่ายังมีอีก ๑ องค์
คือพระอานนท์ กำลังหล่ออยู่ที่ประเทศไทย
จะนำมาตั้งไว้หน้าคันธกุฏีพระพุทธเจ้า

 
 
ส่วนเจ้าภาพคือสองสามี-ภรรยา ชื่อ
โยมธนกิตต์  และ โยมแอนด์  ขวัญมนัส  สว่างในธรรม
ใช่้งบประมาณไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท
(เห็นแค่นามสกุลก็ปลื้มใจแล้ว)

 

 

 

 
 ห้องกรรมฐานพระสารีบุตร
 
 
 
 ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ
ที่พระสถูปพระสารีบุตร
 
 ด้านหลังคือสถูปพระสารีบุตร
 
 

 

 

 

 ปฏิบัติธรรมที่พระสถูปพระสารีบุตร
อัครสาวกเบื้องขวาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
 
 
 พระพุทธรูปที่ขุดพบที่มหาวิทยาลัยนาลันทา
ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์นาลันทา
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 มอบถวายพระพุทธรูปหินทราย
เพื่อเป็นพระประธานให้วัดอนันต์ วิหาร

 

วัดอนันต์วิหาร หรือ ชาวอินเดียที่นับถือพุทธศาสนา
เรียกว่า
Buddha house ตั้งอยู่เมืองอาวัล รัฐพิหาร
อยู่ห่างจากพุทธคยาไปประมาณ
100 กิโลเมตรเศษ.

วัดนี้ตั้งอยู่กลางทุ่งนาในหมู่บ้านอาวัล
เป็นบ้านหลังเล็กๆ ขนาดประมาณ
16 ตารางเมตร
สำหรับให้ชาวบ้านในหมู่บ้านใช้เป็นที่สวดมนต์ 
เป็นที่พี่งพา หาความสงบในจิตใจ. 


 

ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเงินคนละเล็กคนละน้อยเพื่อสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมา 
วัดนี้ได้ดำเนินการสร้างมาหลายปีแล้ว แต่ไม่มีวี่แววจะแล้วเสร็จ
เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ค่อนข้างมีรายได้น้อยมาก



พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม เจ้าอาวาสวัดแดงประชาราษฎร์
ได้เคยชวนผมไปสร้างวัดที่พุทธคยากัน
แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่ต้องใช้แล้ว
เป็นจำนวนมาก
พระอาจารย์กับผมจึงหยุดโครงการนี้ไปก่อน
เพราะไม่ประสงค์จะรบกวนเงินของใครในการสร้างวัดที่นั่น


 

แต่โลกนี้ไม่มีความบังเอิญ 

พระอาจารย์กับผมพร้อมกับเงินทำบุญ
ของกัลยาณมิตรทุกท่าน ที่เคยให้ผมไป เราได้นำไป
สร้างพระพุทธรูปถวายแก่วัดในชุมชนห่างไกลในรัฐพิหาร
จนได้มีโอกาสพบวัดอนันต์วิหารแห่งนี้ 


 

 
พระอาจารย์กับผม
จึงได้เปลี่ยนเจตนาในการสร้างวัดที่พุทธคยา
มาเป็นการสร้างวัดพุทธให้แก่ชาวอินเดียที่อยู่ห่างไกลในชนบท
ให้ได้มีโอกาสสวดมนต์
และได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

พระอาจารย์ธงชัยกับผม
ได้ตั้งใจที่จะสร้างวัดพุทธให้แก่ชุมชนชาวอินเดียในชนบท ปีละ
1 วัด

หากกัลยาณมิตรท่านได้สนใจร่วมบุญได้นะครับ

ป.ล.(วัด 1 แห่งใช้เงินประมาณ 200,000 - 250,000 บาทครับ)

 

เงินทุกบาท ทุกสตางค์ เข้าวัดทั้งหมด ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นครับ  หากมีใครสนใจเดินทางไปด้วยก็ยินดีนะครับ

              

 

 

ด้านในโบสถ์อนันต์ วิหาร
ฉาบเรียบร้อยแล้ว
 
 

 รายชื่อผู้ร่วมบุญสร้างวัดอนันต์ วิหาร


พระธงชัย
  จุลศรีไกวัล
พระมหาวัฒนา  จนฺทโชโต
พระศิริเดช  คู่สมรัตน์
พระปลัดเจริญ  ชุตินฺธโร
  

บริษัท สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) SMM.TV
คุณวิทูรย์ นิรันตราย และครอบครัว
คุณอัญชลีพร ธีระสินธุ์
  และครอบครัว
คุณสมชาต อินทรทูต
  และครอบครัว
ด.ร. วรุตม์
  สีบุญเรือง  และครอบครัว
คุณเรณู
  ฉวีรัตน์  และครอบครัว
คุณหมอจักรวุธ อยู่ดี
  และครอบครัว
คุณณัฎฐ์ณิฐา จรัสสิริภักดี
  และครอบครัว
 

คุณอนันต์ ศุภศรีรุ่งเจริญ และครอบครัว
คุณวสันต์ นฤนาทไพศาล และครอบครัว

คุณอนัญญา จันดาวรรณ์  และครอบครัว
คุณสมพร กาญจนะศรีวรรณ  และครอบครัว
คุณวิชิต คุณจารุณี นับวันดี  และครอบครัว

คุณสมชาย งามกิจเจริญลาภ  และครอบครัว
คุณกนกวรรณ ศรประทุม  และครอบครัว
คุณอัยย์ งามกิจเจริญลาภ  และครอบครัว
คุณอันน์ งามกิจเจริญลาภ  และครอบครัว
คุณอฤณ งามกิจเจริญลาภ  และครอบครัว
คุณกุลนิษฐ์ งามกิจเจริญลาภ  และครอบครัว

คุณณธัช ศรีหาชัย  และครอบครัว 

คุณธีรเดช  วุฒิพราหมณ์  และครอบครัว
คุณญานิศา
  อยู่ยงสินธุ์  และครอบครัว

คุณภคพงศ์  เหล่าศิริลือชาไกล
คุณนิตยา  เหล่าศิริลือชาไกล
โยมชนินทร์  เหล่าศิริลือชาไกล
โยมสุรีย์พร  โตวิกกัย
โยมอัจฉราพรรณ  โตวิกกัย
โยมนันทวรรณ  โตวิกกัย
โยมฐิตาภรณ์  โตวิกกัย

คุณทองดี พัชราวลัย
คุณบุญรอด พัชราวลัย  และครอบครัว
งี่ฮวดเฮง  สีทองระฆัง  081-48822-486  02-2252964

คุณสมบูรณ์  บัวทอง
คุณแสงมณี
  บัวทอง
คุณณัฐกมล
  บัวทอง
คุณวรรณี
  เกตุอินทรีย์  และครอบครัว
คุณประเทือง
  ภัทรางกูร  และครอบครัว
โยมศรุดา
  ชยาภากฤติพงษ์  และครอบครัว
คุณจันมอญ
  โมคำ  และครอบครัว
คุณเพชรชมพู
  ภุมรินทร์  และครอบครัว
นางสาวผ่องอำไพ
  นาคเอก  และครอบครัว
คุณชญานี
  ทนุธรรมฐปกร  และครอบครัว
คุณสุจิตรา  หวังชัยเจริญกิจ  และครอบครัว
คุณวัลลภ  มานะ  และครอบครัว
คุณวรีวรรณ์  นาคกิติกูลทวี  และครอบครัว
คุณรัชกร  สบายยิ่ง  และครอบครัว
คุณสมศรี กิตติเจริญฤกษ์  และครอบครัว
คุณเบญญพรรณ์  ปิยะพันธุ์ชัย
คุณเพ็ญศรี  ปิยะพันธุ์  และครอบครัว
พ.ต.ท.  ธนกัณฑ์  ไชยรส  และครอบครัว
คุณวันชัย  ตั้งกุลพาณิชย์  และครอบครัว
คุณอนันต์  แสงจันทร์ และครอบครัว
น.ส.อณุตรา พืชพงษ์
นางรัชนี  พืชพงษ์ 
นายนิกกร  ลิ้มทองเจริญ  และครอบครัว
น.ส.สรินญพร  เศรษฐนิโรจน์  และครอบครัว
คุณสราวุธ  กาญจนวัฒน์ศิริ  และครอบครัว
คุณจันทร์  นางแส  ทองเอี่ยม  
คุณปาริดา  ทองเอี่ยม
คุณธีรพัฒน์  เอื้ออารักษ์
คุณฉวี เล็กมาก  และครอบครัว
คุณอุไร เพ็งขำ  

คุณจารุณี นับวันดี
  และครอบครัว
คุณหมุยเน้ย แช่ตั้ง
  และครอบครัว
นายเป็งเส็ง
  แซ่ตั้ง  นางเซี่ยมเช็ง  แซ่เฮ้ง
คุณนลินรัตน์
  พลเรืองฤทธิ์  และครอบครัว
คุณรุจิรดา สุพะศิลป์
  และครอบครัว
คุณศิริธนามาศ
  ชัยสุขหิรัญโภคิน  และครอบครัว
คุณอัจฉรา (เจ้งิ้ม สามย่าน)
 
น.ส. อัฐภิญญา  ศิริคำ  และครอบครัว
น.ส. อรอุมา
  นาคเอก  และครอบครัว
คุณประภัสสร
  ศิริคำ  และครอบครัว
คุณวรรณริชฎา  กิตติธงโสภณ  และครอบครัว
คุณกัญญา
  บรรจงศิลป์  และครอบครัว
คุณลิปิกร
  จรียภาส และครอบครัว
คุณสุนันทา
  กลิ่นพูน และครอบครัว
คุณมัฆวา (เดวา) ศิลปสาคร
คุณสมชาย ตั้งจิตปิยะนนท์  และครอบครัว
คุณลัดดา แซ่โง้ว และครอบครัว
คุณบุรีโชค มงคลพรอุดม  และครอบครัว
คุณไท หงส์ลาวัณย์  และครอบครัว
คุณชาคริสต์  บู่แก้ว และครอบครัว
คุณเภากนก ดิษฐด้วย  และครอบครัว
โยมพรหมเวียง  กลิ่นศรีสุข  และครอบครัว

คุณสมบัติ หมู่ศิริเลิศ
คุณเชาว์  และคุณมาลี  โตยะวณิช  และครอบครัว
คุณเกษมสุข บรรเทา  และครอบครัว
คุณวิจิตร
  สุขลิ้ม  และครอบครัว
คุณพิมพ์พิศา  รัศมีสังข์  และครอบครัว
คุณขนิษฐา
  แก้วมณี  และครอบครัว
คุณรัชนี มณีพงษ์  และครอบครัว
คุณชาญชัย หรรษมนต์  และครอบครัว

ชายเดช ไตรยะเมฆิน  และครอบครัว
รณชัย แซ่ซี  และครอบครัว  
ตระกานต์ แซ่เจีย  และครอบครัว
นันทนีย์ ผ่องพรหมราช  และครอบครัว
พิศมัยเคารพธรรม และครอบครัว
วาณี สายสุศิลป์
กัณหา
กลิ่นคง  และครอบครัว
คุณฐิติพร - ธนพร  วัลยะเพชร์  
คุณแม่ อมรา วัลยะเพชร์
โกศล วาราชนนท์  และครอบครัว
คุณวรยุทธ อินทรสุวรรณ  และครอบครัว
คุณเอื้อนบรรเลง เสงี่ยมพงศ์ชาญ

นายยงยุทธ น้อยรัชชุกร
นางวรนาถ น้อยรัชชุกร
น.ส. นวลพรรณ น้อยรัชชุกร
นายนิธิ น้อยรัชชุกร
น.ส.พนิตนาฏ น้อยรัชชุกร

นายประกิต เสริมสิทธิสิน  และครอบครัว
นายทวี ยอดเงิน และครอบครัว
น.ส. อารี ดวงสีแก้ว 
คุณสิริชัย ฉิมคล้าย  
ด.ช. ศิร ฉิมคล้าย
น.ส. รุ่งทิวา ยันตะบุตร
คุณบานเย็น  บูรณปรีชา
คุณศจี  จันทรสุข
คุณประสาน  พานเงิน
คุณ สมบัติ  บุตรเสือ  และครอบครัว
คุณชวนพิศ  จินดาพร  และครอบครัว
คุณสุนีย์  เอกวัฒนพันธ์  และครอบครัว
คุณสุภา  สุวรรณรักษ์  และครอบครัว
คุณกุลรัศมี  เพียรวิริยะ  และครอบครัว

น.ส.กาญจน์ชลี พยัฆชาญศิลป์
น.ส. สุวิด  บุตะเคียน
นายเอี่ยม สุขใส
ร้านชไมพร  บิวตี้

คุณชลัช  สุปัญญาโชติสกุล  และครอบครัว
คุณจุลจักร  นิมบุญจาช
คุณสิรอาภา   สุปัญญาโชติสกุล
 ่ดร. นพดล สุขแสงปัญญา
ดร. ชิสาพัชร์  สุปัญญาโชติสกุล
คุณฑาร์ราห์  ณัฏฐพัฒน์  สุปัญญาโชติสกุล
คุณคิม ชองค์
คุณอิทธิพงศ์  ภาสอนันต์วุฒิ  และครอบครัว

สำนักพิมพ์สูตรไพศาล และ บริษัทพิมพ์ถูก พิมพ์ดีจำกัด
คุณแม่พรทิพย์-คุณวีรศักดิ์-คุณสุภาภร ผดุงตันตระกูล
คุณรชยา ผดุงตันตระกูล และคุณอดิทัต ศุภจิระพล
คุณธนธัช ผดุงตันตระกูล และคุณภาวิดา
  ม้าลายทอง
คุณเปรมพิชานัน-คุณประพล-ด.ช.ปรเมตม์-ด.ช.เกสพิชิต
  
ฐานะโชติพันธ์
บริษัท เฟลคซ์-ไอเบิล พลาส จำกัด
บริษัท คอนทินิวส์ อัส จำกัด,
บริษัท อีซี่ แพค โปรดักส์ จำกัด
บริษัท ทีแมนฟาร์มา จำกัด

 

 

 

 

 

พระอาจารย์ครับ
ทางวัดอนันต์วิหารส่งรูปด้านใน กับการขุดดินทำห้องน้ำมาให้ครับ
 
 
 
 

 

 

ช่วงปลายปีนี้ประมาณเดือนตุลาคมจะยังมีอีก 1 รายการ

ศาลาการเปรียญ
ราคาประมาณ 150,000-170,000 บาทครับ
ขนาด 7.5 เมตร ยาว 13.5 เมตร
มีหน้าต่าง 2 บาน และ ประตู 1 บานครับ
ศาลานี้ จะชื่อ Thongchai Boddhi Buddha Hall ครับท่าน
 
 
 
 
 
 

 

 

 

ปีนี้ต้องจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า
ถ้าชักช้าที่นั่งอาจจะเต็มและราคาตั๋วจะแพง
จองตั๋วเครื่องบินข้ามปีไปกลับ กรุงเทพฯ-พุทธคยา 16,500 บาท

 พระพุทธวจนะ
“ดูก่อนอานนท์  สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู  สังเวชนียสถาน 4 แห่งอะไรบ้าง คือ
1. สถานที่พระตถาคตเจ้าบังเกิดแล้ว
2. สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
3.  สถานที่พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักร
4.  สถานที่พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพาน
สถานที่ทั้งสี่ตำบลนี้แลควรที่พุทธบริษัท คือภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกาผู้มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้าจะดูจะเห็นให้เกิดความสังเวชทั่วกัน  “อานนท์” ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ได้เที่ยวไปยังเจดีย์สังเวชนียสถานเหล่านี้ด้วยความเลื่อมใส  ชนเหล่านั้นครั้นทำกาลกิริยาลง  จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ฯ
มหาปรินิพพานสูตร
ทีฆ.มหาวรรค. 10/131
พระไตรปีฏกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 คำบูชาสถานที่ตรัสรู้
วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง โพธิรุกขะเจติยัง, สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุลละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อิธะ คะยาสีเส, ตะถาคะเตนะ สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพรหมมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อภิสัมพุทธัง สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะนะมามิ, มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล 
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ได้มาถึงแล้วต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระเจดีย์นี้  อันเป็นสังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรทัสสนา  เป็นสถานที่พระตถาคต  ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ณ ที่ตำบล คยาสีสะประเทศแห่งนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ขอบูชาโดยยิ่ง  ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้  และขอน้อมระลึกถึงพระธรรม  ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว  ขอการบูชาสักการะในครั้งนี้  จงเป็นไปเพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนาน เทอญฯ

 
  คาถานมัสการพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้
โพธิ ตัสสะ ภะคะวะโต          อัสสัตโถติ  ปะวุจจะติ.
โหติ โย โคตะโม พุทโธ      สะระณัง สัพพะปาณีนัจฐะปะยิตวานะ ธัมโมกกัง ปัจฉิมะ ชะนะโพธะนัง.

 

โส รุกโข โพธิคะยายัง          ฐิโต พิหาระคามะเก

 

มหาโพธิพุทธะคะยานาเม    ยัตถะ ทัยยัสสะ สันตะโก

 

อาวาโส ทัยยะภิกขูนัง         สัลเลขะ วุตติ โยคินัง

 

วันทิเต โพธิรุกขัมหิ             สัมพุทโธ ปุนะ วันทิโต

 

สัทธัมโม วันทิโต เยวะ       สุสังโฆ โหติ วันทิโต

 

วันทะนาชะนิตัง ปุญญัง      อิติยัง ระตะนัตตะเย.

 

อันตะรายา วิสัสสันตุ            โหตุ โสตถี จะ เตชะสา

 

โลเก รัฎฐัง สุขัง เสติ          นิมมะลัง สัพพะสาสะนัง

 

ทีฆายุกา ปะชา สัพเพ         อะนีฆา นิรุปัททะวาติ

 

คำแปล

 

ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมพุทธเจ้า  ผู้เป็นที่ระลึกถึงของสรรพสัตว์  เพราะทรงประดิษฐานพระธรรมไว้ให้ชนภายหลังได้รู้  ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นผู้คนขนานนามว่า อัสสัตถพฤกษ์

 

ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น  ตั้งอยู่ใกล้วัดไทยพุทธคยามหาวิหารซึ่งเป็นวัดไทยของชาวไทย  เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสของพระสงฆ์ไทยผู้ประกอบความเพียร

 

เมื่อเราทั้งหลายกราบไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ชื่อว่าได้กราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระสัทธรรมเจ้า  พระสงฆ์เจ้าผู้ปฏิบัติดี  บุญใดอันเกิดแล้วจากการกราบไหว้  พระรัตนตรัยด้วยประการฉะนี้ขอเดชแห่งบุญนั้น  บันดาลให้อันตรายทั้งหลายจงพินาศไป  ด้วยสวัสดีจงบังเกิดมี  ทุกประเทศในโลกนี้อยู่เป็นสุข  ทุกศาสนาในโลกนี้จงปราศจากมลทิน  ประชากรทุกหมู่เหล่า  จงมีอายุยืนยาว  ไม่มีทุกข์  ปราศจากอุปัทวะทุกประการฯ
 
ประวัติพระพุทธเมตตา

มีการเล่าประวัติพระพุทธรูปนี้ไว้ในบันทึกของหลวงจีนเสวียนจ้าง (พระถังซัมจั๋ง) ว่าคราวเมื่อศศางกากษัตริย์จากเบงกอล ได้เสด็จเข้าไปในพระวิหารมหาโพธิ์ ได้พบพระพุทธปฏิมากรตั้งไว้บูชาองค์หนึ่ง ทีแรกที่ได้เห็นก็คิดจะทำลายด้วยมือของตัวเอง แต่เมื่อทรงเห็นพระพักตร์ของพระพุทธปฏิมากรอันเปี่ยมด้วยพระเมตตา ก็ประหารไม่ลง จึงเสด็จกลับนคร ฯ ในระหว่างทางนั้นได้ทรงดำริว่า ถ้าขืนยังปล่อยให้พระพุทธรูปองค์นี้ตั้งอยู่ในพระวิหารต่อไปพุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็คงจะฟื้นฟูสถานที่นี้ขึ้น มาอีกได้เป็นแน่แท้ จึงรับสั่งให้นายทหารผู้หนึ่งไปทำลายพระพุทธรูปองค์นั้นเสีย แล้วให้ประดิษฐานรูปพระมเหศวรขึ้นแทนที่

นายทหารผู้นั้นครั้นได้รับคำสั่งก็มุ่งหน้าสู่วิหารมหาโพธิ์ เมื่อมาถึงได้แลดูพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นั้นก็ประหารไม่ลงอีก และรำพึงว่า “ถ้าหากทำลายพระพุทธรูปนี้ เราคงจะต้องตกนรกหมกไหม้ไปหลายกัปป์หลายกัลป์เป็นแน่ ซ้ำยังจะไร้โอกาสที่จะได้มาเกิดมาพบกับพระศรีอริยเมตไตยอีกด้วย แต่ถ้าเราไม่ทำลาย พระราชาคงจะทรงกริ้วพร้อมรับสั่งทำลายชีวิตเราและครอบครัวเป็นแน่” ฯ นายทหารผู้นั้น คิดกลับไปกลับมาหลายตลบว่า จะปฏิบัติตามพระบัญชาดี หรือ ขัดพระบัญชาดี

ในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะไม่ทำลายพระพุทธรูป แต่จะต้องซ่อนเสียให้พ้นจากสายตาประชาชน จึงได้ไปตามชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั้งหลายมาประชุมปรึกษากันแล้วก็พากันลงมือสร้างกำแพงขึ้นหน้าพระพุทธรูป กั้นไว้ไม่ให้คนภายนอกรู้ว่าข้างในพระวิหารนี้มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เอารูปพระมเหศวรตั้งไว้หน้ากำแพง และกลับไปกราบทูลศศางกากษัตริย์ให้ทรงทราบ ฯ

ศศางกากษัตริย์กลับได้รับทราบแทนที่จะทรงยินดีกลับทรงหวาดหวั่น หวาดกลัว ว้าวุ่นพระทัย ด้วยเกรงว่า เหตุร้ายจักเกิดขึ้นกับตนเป็นแน่แท้” จึงทรงประชวรนับแต่นั้นมาโดยมีอาการเจ็บปวดทั่วทั้งพระวรกาย ในไม่ช้าชิ้นเนื้อเริ่มหลุดออกจากพระวรกายของพระองค์เป็นชิ้น ในที่สุดพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยความทรมาน ฯ เมื่อศศางกากษัตริย์สิ้นพระชนม์แล้ว นายทหารผู้รับพระบัญชาให้ไปทำลายพระพุทธรูปพระองค์นั้นก็ได้กลับไปยังแดนพุทธคยา ณ มหาวิหารพุทธคยา และรีบทำลายกำแพงที่สร้างกั้นหน้าพระพุทธรูปนั้นออก เกิดความประหลาดใจยิ่งนักที่ “ตะเกียงน้ำมันที่ตั้งจุดบูชานั้นยังลุกโพลงอยู่เหมือนเดิม 

 
 เกิดชาติหน้าฉันใด
ขอให้ได้พบพระพุทธศาสนาหรือถ้าเป็นไปได้
ขอให้ได้มรรคผลนิพพานในชาตินี้

 

 

 

 

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในสติปัฎฐานสูตร
"ฐิโต วา  ฐิโตมฺหีติ  ปชานาติ"  "คัจฺฉันโต วา  คจฺฉามีติ  ปชานาติ" 
"นิสีทติ  ปลฺลงฺกํ   อาภุชิตฺวา  อุชุํ  กายํ  ปณิธาย  ปริมุขํ  สตึ  อุปฏฺฐเปตวา" 
"สยาโน วา  สยาโนมหีติ  ปชานาติ" 

 

 พุทธคยามหาสังฆาราม
เมือง.....บำเพ็ญทุกรกิริยา               เมือง.....ตำรามธุปายาส
เมือง.....ลอยถาดอธิษฐาน              เมือง.....ศาสดาจารย์ตรัสรู้
เมือง.....บรมครูชนะมาร                 เมือง.....อธิษฐานแล้วสำเร็จ
เมือง.....๗สถานอันศักดิ์สิทธิ์           เมือง.....สถิตพระพุทธเมตตา
เมือง.....ภาวนาใต้โพธิ์ศรี               เมือง.....มหาเจดีย์สูงเสียดฟ้า
เมือง.....ลอยชฏาสามฤาษี              เมือง.....พรหมโยนีน่าศึกษา
เมือง.....เนรัญชรานทีทราย              เมือง.....น้อมใจ-กายแนบพระธรรม
เมือง.....เวรกรรมย้ำชาดก               เมือง.....สวรรค์บนบก-นรกบนดิน

 ประวัติศาสตร์พุทธคยา

...พุทธคยา  คือสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร  อยู่ด้านทิศตะวันตก  บริเวณเป็นที่เนินสูง  เพราะเป็นซากของมหาสังฆารามโบราณ  ที่นี่เคยเป็นที่พักของพระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป  ล้วนใฝ่ใจในการศึกษา  ปฏิปทางดงามตามพระธรรมวินัย  มหาชนเลื่อมใส่ศรัทธามาก  พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ได้เจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ ถึงพ.ศ. ๗๐๐  หลังจากนั้นก็เริ่มอ่อนกำลังลง

...ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้เล่าว่า  ท่านเป็นศิษย์ของพระเรวตแห่งพุทธคยามหาสังฆาราม  ได้เดินทางไปแปลพระคัมภีร์ พระไตรปิฏกจากภาษาสิงหล  กลับมาเป็นภาษามคธที่เกาะลังกา

...พุทธคยาเป็นเขตอิทธิพลของพวกฮินดู  คยาเกษตรใช้เป็นที่ถวายบิณฑ์ ๑ ใน ๑๖ แห่ง  เป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์  ที่นี่จึงเรียก  "พุทธคยา"

...ปัจจุบัน  เป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่  มีนักแสวงบุญจากทั่วโลกมาไหวพระและสวดมนต์ตลอดทั้งปี

...หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว  จึงได้เสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์  แล้วเสด็จไปเมืองพาราณสี  เมื่อมีสาวกมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา  ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาเพื่อโปรดชฏิลสามพี่น้อง  พร้อมบริวารจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์  จากนั้นพระองค์ก็บำเพ็ญพุทธกิจยังแคว้นต่างๆ  จนเข้าสู่การปรินิพพาน

 ...พ.ศ. ๒๒๘-๒๔๐  พระเจ้าอโศกได้เสด็จมาสักการะ  ณ. สถานที่ตรัสรู้  ได้สร้างพระสถูปขนาดย่อมๆ เพื่อบูชา  และปักเสาศิลาไว้เป็นเครื่องหมาย  สร้างพระแท่นวัชรอาสน์นี้  รั้วทำด้วยหินล้อมรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์

...พ.ศ. ๖๗๔-๖๙๔  พระเจ้าหุวิชกะ  ทรงสร้างเสริมให้เป็นศิลปต้นแบบ  เป็นสถูปใหญ่  หลวงจีน "ถังซำจั๋ง" เรียกว่า "มหาโพธิ์วิหาร"

...เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมแหลม  ทรงกรวย  ห่างจากต้นโพธิ์ ๒ เมตร  มีพระแท่นวัชรอาสน์ขั้นกลาง  ขนาดสูง ๑๗๐ ฟุตวัดรอบฐานขนาด ๘๕ ฟุตเศษ  มี ๒ ชั้น  มีเจดีย์บริวารอีก ๔ องค์  ทรงเดียวกันอยู่บนฐานชั้นที่ ๒ สูง ๔๕ ฟุต  ส่วนชั้นล่างนั้นประดิษฐานพระพุทธเมตตา "ปางมารวิชัย" สร้างจากหินแกรนิตสีดำ  สมัยของปาละอายุประมาณ ๑,๔๐๐ ปีเศษ

...ชั้นบนประดิษฐานพระพุทธปฏิมาปางประทานพร  สร้างในสมัยเดียวกัน

...พ.ศ.  ๙๔๕-๙๕๐  หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาสักการะสถานที่ตรัสรู้  และได้พรรณาถึงความงดงาม ของพระมหาเจดีย์พุทธคยา  เห็นพระสงฆ์เถรวาทและพุทธศาสนิกชนมาสักการะกันอย่างมิขาดสาย

 
...พ.ศ. ๑๑๔๕ กษัตริย์รัฐเบงกอล นามสสางกาได้ประกาศอิสระภาพจากมคธยกทัพมาทำลายพุทธสถานอย่างย่อยยับ

...พ.ศ. ๑๑๔๕  กษัตริย์ปูรณวรมา  ตีทัพเบงกอลแตกแล้วทำการบูรณะซ่อมแซม

...พ.ศ. ๑๔๙๑  อมรเทวพราหมณ์  ปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์  แห่งเมืองมัลวาบอกไว้ในหนังสืออมรโฆษว่าออกแบบวิหารโพธิ์ใหม่ให้เป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

...พ.ศ.  ๑๕๗๘  พม่าส่งคณะช่าง  นำโดยธรรมราชครู  เพื่อบูรณะแต่เกิดข้อพิพาทกับอินเดีย  พม่าเลยต้องหยุดการซ่อมแซม

...พ.ศ. ๑๖๒๒  พม่าส่งช่างชุดที่ ๒ มาฟื้นฟูบูรณะใช้เวลา ๗ ปี เสร็จเมื่อ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๑๖๒๙  พุทธคยามีชีวิตกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

...พ.ศ. ๑๗๔๓  พระธัมมรักขิตรับทุนจากพระเจ้าอโศกมัลละแห่งแคว้นสีวะสิกะอินเดีย มาปฏิสังขรณ์ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

..พ.ศ. ๑๗๖๐  อิสลามกองทัพเติร์กยึดครองมคธทำลายล้างพุทธสถานทั้งหมด  พร้อมยกพุทธคยานี้ให้อยู่ในการดูแลของฮินดูนิกายมหันต์  โดยอ้างเมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๗  จักรพรรดิ์โมกุลนามมูฮัมหมัดชาห์  ได้มอบพุทธคยาทั้งหมดเป็นสมบัติของมหันต์  องค์ที่ ๔ ชื่อ โคสายฆมันดีคีรี

...พ.ศ. ๒๑๓๕  อังกฤษยึดครองอินเดีย

...พ.ศ. ๒๓๕๔  พระเจ้าแผ่นดินพม่าเสด็จมาเห็นจึงได้ส่งทูตมาเจรจาขอบูรณะ  ตามบันทึกของ ดร. บุคานัน  แฮมิตัล  บอกว่าพุทธคยา อยู่ในสภาพย่อยยับไม่ได้รับการดูแล

 

 


 ...พ.ศ. ๒๔๑๗  พระเจ้ามินดงเจรจาผ่านรัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษแล้ว อังกฤษส่งคนมาช่วย ๒ นาย เพื่อกำกับคือ  "อเล็กซานเดอร์  คันนิ่งแฮม กับ  ด.ร. ราเชนทร  ลาลมิตระ"

...พ.ศ. ๒๔๑๙  พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษ  งานบูรณะจึงต้องหยุด

...พ.ศ. ๒๔๒๓  เซอร์อเล็กซานเดอร์ , ดร. ราเชนทร, เซอร์อีแดน  แต่งตั้งให้นาย เจ ดี เบคลาร์  ทำการปฏิสังขรณ์  เสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ (ใช้เวลา ๔ปี)

...พ.ศ. ๒๔๓๓  ท่านเซอร์ เอ็ดวิน  อาร์โนลด์  ฝรั่งอังกฤษชาวพุทธได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า  "The Light  Of  Asia" 

...พ.ศ. ๒๔๓๔  อนาคาริก  ธัมมปาละ  ชาวศรีลังกามากราบพุทธคยาเกิดศรัทธาปรารถนาเรียกร้องสิทธิ์ของความเป็นเจ้าของพุทธคยา  ๓๑ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๓๔    ได้ประชุมชาวพุทธสากลที่พุทธคยา  มีพม่า, ลังกา, จีน, ญี่ปุ่น, แล้วญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะหาเงินมาซื้อพุทธคยาคืน  อังกฤษระแวงญี่ปุ่นเพราะเพิ่งรบชนะรัสเซียจึงไม่ยอมให้ครอบครอง  จึงเกิดขบวนการกอบกู้พุทธคยา  (แมคมึล, เอ็ดวินฯ, วิลเลี่ยม, พ.อ. โอลคอตต์) ออกปราศัยที่ พม่า - อังกฤษ - สิงคโปร์ - ไทย - ลังกา หาผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 

...พ.ศ. ๒๔๓๖  อนาคาริก ธัมมปาละ  กลับมาพุทธคยาพร้อมกับ โอลคอตต์  และ  MR. เอดซ์  นักเทววิทยาได้เห็นพระ ๔ รูป ถูกพวกมหันต์ทุบตีเกือบตาย  ซ้ำร้ายเขายังกีดกันมิให้พวกธรรมยาตราเข้าสักการะพุทธคยา

...พ.ศ.  ๒๔๓๘  ชาวพุทธขอนำพระพุทธรูปอายุ ๗๐๐ ปี เข้าไปประดิษฐานแต่พวกมหันต์ก็ไม่เห็นด้วย  อ้างว่า  "พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอวตาลปางที่ ๙ ของพระนารายณ์"

...พ.ศ. ๒๔๔๕  มีความเคลื่อนไหวทั่วโลก  โดยเอดวิน  อาร์โนล,  ดร. ริดเดวิด, ศ. แม็กมึลเลอร์   ชาวพุทธเริ่มมีพลัง  พวกมหันต์เพิ่มความรังเกียจชาวพุทธมากขึ้น

...พ.ศ. ๒๔๖๗  ชาวพุทธพม่า, ลังกา, เนปาล,  ร้องเรียนรัฐบาลพรรคคองเกรสส์  ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณา  โดยมี ดร.ราเชนทร์  ประสาท  (ประธานาธิบดีเป็นประธาน) ตั้งกรรมการชาวพุทธ ๕ คน ฮินดู ๕ คน ดูแลพุทธคยา  โดยออกกฏหมายบังคับ

 

 

 

...ความเห็นของ  มหาตมคานธี คือ  "วิหารพุทธคยานี้ควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรม  การนำสัตว์ไปฆ่าทำพลีกรรมในวิหารมหาโพธิ์ไม่สมควร  เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา  เป็นการประทุษร้ายต่อจิคใจของชาวพุทธทั่้วไป"

 

 

 

...ความเห็นของ  ระพินทรนาถฐากูร  คือ  "ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้   เพราะศาสนาอื่นไม่เกี่ยวข้องอะไร  และไม่มีเยื่อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา" 

 

 

 

 ...พ.ศ. ๒๔๙๐  อินเดียเป็นเอกราชจากอังกฤษ  มหาโพธิ์สมาคมรบเร้าสิทธิพุทธคยา

...พ.ศ. ๒๔๙๑  ดร. ศรีกฤษณะ  ซิงค์  นายกรัฐมนตรีพิหาร  ได้เสนอให้ร่างพระราชบัญญัติวิหารพุทธคยา

...พ.ศ. ๒๔๙๒  เดือนพฤษภาคม  จัดตั้งคณะกรรมการดูแล ๙ คน  มีผู้ว่าจังหวัดคยาเป็นประธาน  และมีกรรมการ ๘ คน  เป็นชาวพุทธ ๔ คน ฮินดู ๔ คน

...พ.ศ. ๒๔๙๖  นายกรัฐมนตรีพม่ามาเยือน  พวกมหันต์บอกว่าได้ยกพุทธคยาให้ชาวพุทธ

 

 

 

 ...พ.ศ. ๒๕๓๐  ภิกษุไซไซ  ชาวญี่ปุ่นนำชาวพุทธจากนาคปูร์  ในรัฐมหารชตะเรียกร้องให้นำศพมหันต์ที่ฝังไว้และปัญจปาณฑปพร้อมศิวลึงค์ที่กลางวิหารออกไปที่อื่น

...พ.ศ. ๒๔๙๙  บูรณะเล็กน้อยเพื่อฉลองพุทธคยาชยันตีพุทธศาสนาอายุ ๒๕๐๐ ปี

...พ.ศ. ๒๕๑๒  พระสุเมธาธิบดี  ได้นำชาวพุทธบริษัทชาวไทยประดับไฟแสงจันทร์

...พ.ศ. ๒๕๑๙  พุทธบริษัทชาวไทย  สร้างกำแพงแก้ว  ๘๐ ช่อง  ซุ้มประตูอโศก ๒ ซุ้ม เสร็จในปี ๒๕๒๐

...พ.ศ. ๒๕๓๑  ชาวพุทธเนปาลปูหินอ่อน

 

 

 

 

 

สิ่งสำคัญที่พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

     ๑.  พระมหาเจดีย์พุทธคยา สูง ๑๗๐ ฟุต  วัดรอบฐาน ๘๕ เมตรเศษ  เป็นเจดีย์ ๒ ชั้น  มีเจดีย์รอบฐาน     ๔ องค์  สูง ๔๕ ฟุต  ชั้นบนประดิษฐาน  พระปางประทานพร  ส่วนชั้นล่าง ประดิษฐานพระปางมารวิชัยหรือพระพุทธเมตตา  อายุ ๑,๔๐๐ ปีเศษ

       ๒.  ต้นพระศรีมหาโพธิ์  (โพธิ์บัลลังค์) ปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔ ปลูกเมื่อพ.ศ. ๒๔๒๓  ปัจจุบันอายุได้ ๑๓๘ ปี อธิษฐานปลูกโดย  "คันนิ่งแฮม"

               ๒.๑ ต้นที่ ๑ เป็นสหชาติ เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า มีอายุได้ ๓๕๒ ปี  สาเหตุที่หมดอายุเพราะ พระชายาของพระเจ้าอโศกให้หญิงสาวใช้มาทำลาย

                ๒.๒ ต้นที่ ๒ เกิดจากแรงอธิษฐานของพระเจ้าอโศกมหาราช  อายุได้ ๘๙๑ ปี  ถูกกษัตริย์ศสางกา  สั่งทหารทำลาย ประมาณปีพ.ศ. ๑,๑๐๐ เศษ

                 ๒.๓ ต้นที่ ๓ เกิดจากแรงอธิษฐานของกษัตริย์ปูรณะวรมา  มีอายุประมาณ ๑๒๕๘ ปี  หมดอายุขัยเอง

       

 

                 

      ๓. พระแท่นวัชรอาสน์  พระเจ้าอโศกสร้างแทนรัตนบัลลังก์  เมื่อพ.ศ. ๒๓๘ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แกะสลักจากหินทราย  มีขนาดยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว  และกว้าง ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว หนา ๑ ฟุต ๖ นิ้ว  ส่วนด้านบนจะแกะสลักเหมือนหัวแหวนเพชร  ด้านข้างมีดอกบัว หงส์ และดอกมณฑารพ

       ๔.อนิมิสสเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๒ เป็นเจดีย์สีขาวอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์

       ๕.รัตนจงกลมเจดีย์  คือ สถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๓ อยู่ทางทิศเหนือ เป็นหินทราบแกะสลัก เป็นดอกบัวบาน ๑๙ ดอก

       ๖.รัตนฆรเจดีย์  คือสถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๔ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคา  พระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาธิเพชร  พิจารณาพระอภิธรรมปิฏก  และสมันตปัฏฐานอนันตนัย

 

 

     

       ๗. อชปาลนิโครธเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ อยู่ระหว่าง แม่น้ำโมหะนีกับแม่น้ำเนรัญชรา  เป็นที่รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา  ที่พิจารณาบุคคลเหมือนอุบล ๔ เหล่า  ที่ท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม ที่นางมารมาเล้าโลมพระพุทธเจ้า

      ๘.สระมุจลินทร์  คือ สถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๖ เกิดพายุฝนตลอด ๗ วัน  พญามุจลินทร์นาคราชได้ถวายอารักขา  พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า  "ความสงัดเป็นสุขของบุคคลสันโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก"

       ๙.ต้นราชายตนะ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขในสัปดาห์ที่ ๗  พานิชสองพี่น้อง คือ "ตปุสสะและพัลลิกะ" จากอุกกลชนบทได้ถวายสัตตุชนิดผงและชนิดก้อน  ท้าวเทวราชทั้ง ๔ นำบาตรศิลามาถวายให้รับ   พานิชสองพี่น้องประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสอง คือ "พระพุทธกับพระธรรม" เป็นสรณะ

          ในอรรถกถาพระวินัยปีฏก  มหาวรรค  กล่าวว่าพระพุทธองค์  ทรงลูบพระเศียร  เส้นพระเกศาติดที่พระหัตถ์  ทรงมอบให้พานิช ๒ พี่น้อง  นำพระเกศาธาตุไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ในนครของตน

           ต่อมาทั้ง ๒ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ฟังธรรมและบรรลุเป็นพระโสดาบัน  ตปุสสะอยู่เป็นอุบาสก  ภัลลิกะบวชได้บรรลุอรหันต์พร้อมอภิญญา ๖ ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้เลิศกว่าอุบาสกผู้ถึงรัตนะก่อนผู้ใด"

 

 

     

     ๑๐. พระพุทธเมตตา เป็นพระปฏิมากร  สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ  สมัยปาละ ปางมารวิชัย  อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี  เป็นพระปฏิมากรที่คนทุกศาสนามาสักการะด้วยความศรัทธา

      ๑๑.แม่น้ำเนรัญชรา  ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์มาทางตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร  ไหลใสสะอาดจากใต้ไปเหนือ  ชฏิล ๓ พี่น้องอาศัยอยู่ลุ่มลำน้ำนี้

      ๑๒. บ้านนางสุชาดา  อยู่ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ  ๒๐๐ เมตร อยู่กลางหมู่บ้าน

      ๑๓. ท่าสุปปติฏฐะ  คือสถานที่ลอยถาดอธิษฐาน  รับหญ้ากุสะจากโสตถิยมานพ  และเสวยข้าวมธุปายาสก่อนตรัสรู้

 

 

     

       ๑๔. ดงคสิริเขาบำเพ็ญเพียร  คือสถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของพระมหาบุรุษ  ห่างจากพุทธคยาประมาณ  ๗-๘ กิโลเมตร  ปัจจุบันรถยนต์สามารถถึงเชิงเขาแล้ว

       ๑๕. คยาสีสะประเทศ  พุทธกาล คือเขาคยาสีสะ  ปัจจุบันเรียกว่า "พรหมโยนี" เป็นสถานที่แสดงอาทิตตปริยายสูตร  ที่พระเทวทัตต์ก่อการปฏิวัติพระศาสนา  แล้วมาตั้งสำนักที่นี่

       ๑๖. อาศรมชฏิล  คือสถานที่พักของอุรุเวลกัสสปะ  พระบรมศาสดาทรงทรมานจนละทิฏฐิพร้อมน้อง คือนทีกัสสปะและคยากัสสปะ  รวมทั้งบริวาร ๑,๐๐๐ บวชในพระพุทธศาสนา

      ๑๗. วัดไทยพุทธคยา ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒,๕๐๐  สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม  นามเจ้าอาวาสคือ  สมเด็จพระธีรญาณ, พระสุเมธาธิบดี  และปัจจุบันคือพระเทพโพธิวิเทศ

 

 

 

 

 
 
 
เมนูอาหารที่วัดไทยพุทธคยา 
 
 
 
 

 

 

 

 

 

 
 ฤดูร้อนเป็นช่วงที่ไม่ควรไปอินเดีย
เพราะอากาศที่อินเดียช่วงนี้ร้อนมาก เดือนเมษายน
ที่พุทธคยาอุณหภูมิประมาณ 44 องศาเซลเซียส
คนไทยไม่ชอบอากาศร้อน

 
 ตำนานลูกฆ่าพ่อ
พระเจ้าพิมพิสาร  ถูกอชาตศัตรูกุมารปลงพระชนม์
อชาตศัตรูกุมาร  ถูกอุทัยภัทร์ปลงพระชนม์
อุทัยภัทร์  ถูกอนุรุทธกุมารปลงพระชนม์
อนุรุทธกุมาร  ถูกมุณฑกุมารปลงพระชนม์
มุณฑกุมาร  ถูกนาคทสกกุมารปลงพระชนม์
นาคทสกกุมาร  ถูกสุสูนาคมหาอำมาตย์ปลงพระชนม์
 
 คำขวัญเมืองพาราณสี

เมืองฮินดูเรืองนาม
เมืองนามอมตะ
เมืองพระโพธิสัตว์
เมืองประวัติค้าไหม
เมืองมหาลัยเก่าแก่
เมืองแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์
เมืองสถิตพระศิวะ
เมืองฌาปนริมคงคา
เมืองศาสดาประกาศธรรม

 
 คำขวัญเมืองพาราณสี

เมืองเรืองนามความเก่าแก่                        เมืองแม่น้ำคงคาธาราสินธุ์
เมืองเคี้ยวหมากปากแดงแข่งกันกิน            เมืองผ้าซิ่นแพรไหม (ส่าหรี)
เมืองแม่ม่ายทูนหัวผัวตามปะ                      เมืองมรณะปละปล่อยที่ที่ลอย
เมืองหมุนล้อจักรหลักพระธรรม                  เมืองเลิศล้ำสรรพวิชามหาลัย
เมืองมหาเทพเสพองค์พระศิวะ                   เมืองมฤคทายวันไพรสณฑ์ใหญ่
เมืองมนต์ขลังติดตรึงจนฝังใจ

 
 สาเหตุที่มาคงคา

มา...บูชาพระบรมสารีริกธาตุ                     มา...ดูการประกาศศาสนา
มา...ดูคนอาบสรงในคงคา                        มา...ดูการน้อมวันทาดวงอาทิตย์
มา...ดูพิธีกรรมการเผาศพ                        มา...ดูการเคารพน้ำศักดิ์สิทธิ์
มา...ดูการปลงสัจจะแห่งชีวิต                     มา...เพ่งพินิจสองฟากฝั่งอย่างเห็นธรรม

 

 

 

 
 คำอธิษฐานที่สารนาถ

๑.ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนพระโกณฑัญญะ
๒.ให้สุขภาพแข็งแรง พลานามัยสมบูรณ์ อายุยืนเหมือนพระพากุละ
๓.ไปไกล้ไกลให้ปลอดภัยเหมือนพญากวางทอง
๔.ให้ศรัทธาตั้งมั่นเหมือนบิดาพระยสะ หรือ
๕.ให้ได้บริวารเป็นมิตร ปิดศัตรู ได้ความไม่วุ่นวายไม่ขัดข้อง ได้ดวงตาเห็นธรรมล้ำเลิศ

 
 ความสำคัญของสารนาถคือ เมืองปฐม

ปฐมเทศนาอริยสัจ                        ปฐมอุบัติพระอริยะสงฆ์
ปฐมพรรษาพระพุทธองค์                ปฐมวงศ์เหล่ากออุบาสิกา
ปฐมวงศ์เหล่ากออุบาสก                 ปฐมศกเผยแพร่พุทธศาสนา
ปฐมความงามแห่งปฏิมา                 ปฐมพาราพุทธสัญจร

 
  อโห พุทโธ พระพุทธเจ้าน่าอัศจรรย์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  
สุดยอดศาสดาผู้มีปัญญาเลิศ           
สุดยอดลูกผู้ประเสริฐกตัญญูต่อพ่อแม่
สุดยอดพี้-น้อง ปกป้องดูแล
สุดยอดเพื่อนแท้มิแปรผันคำสัญญา
สุดยอดผู้นำความเป็นอยู่
สุดยอดครูผู้เพียรฝึกให้ศึกษา
สุดยอดพระธรรมราชา
สุดยอดกตเวทิตาต่อแผ่นดิน
 
 คำบูชาสถานที่ตรัสรู้
วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง โพธิรุกขะเจติยัง, สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุลละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อิธะ คะยาสีเส, ตะถาคะเตนะ สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพรหมมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อภิสัมพุทธังฯสาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะนะมามิ, มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ
คำแปล
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ได้มาถึงแล้วต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระเจดีย์นี้  อันเป็นสังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรทัสสนา  เป็นสถานที่พระตถาคต  ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ณ ที่ตำบล คยาสีสะประเทศแห่งนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ขอบูชาโดยยิ่ง  ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้  และขอน้อมระลึกถึงพระธรรม  ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว  ขอการบูชาสักการะในครั้งนี้  จงเป็นไปเพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนาน เทอญฯ
 
  ลำดับเหตุการณ์พุทธประวัติ
๑.ตรัสรู้ เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ ตามหาคนสอน พิจารณาสัตว์โลกเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า
๒.ออกเดินทางไปพาราณสี พบอุปกาชีวกก่อน
๓.พบปัญจวัคคีย์ทั้ง๕
๔.แสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร, ตรัสอนัตตลักขณสูตร
๕.โปรดยสะและบิดา พร้อมทั้งเพื่อน ๕๕ คน
๖.วันอาสาฬหบูชา และเข้าพรรษา
๗.ออกพรรษาส่งพระไปประกาศศาสนา พระองค์โปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ คน
๘.นันทิยมาณพถวายทาน ได้ปราสาทบนสวรรค์
๙.นางสุปปิยาถวายเนื้อขา
๑๐.ธัมมทินนอุบาสก ฟังธรรม

 

 

 

 

สถานที่สำคัญ (บรรยายในสถานที่)
๑.ธัมมราชิกสถูป
๒.เสาอโศก
๓.มูลคันธกุฏี
๔.สถูปยสะ
๕.ธัมเมกขสถูป
๖.เจาคันธี
๗.พิพิธภัณฑ์
๘.วัดนานาชาติ
คำอธิษฐานที่สารนาถ
๑.ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนพระโกณฑัญญะ
๒.ให้สุขภาพแข็งแรง พลานามัยสมบูรณ์ อายุยืนเหมือนพระพากุละ
๓.ไปไกล้ไกลให้ปลอดภัยเหมือนพญากวางทอง
๔.ให้ศรัทธาตั้งมั่นเหมือนบิดาพระยสะ หรือได้บริวารเป็นมิตร ปิดศัตรู
    ได้ความไม่วุ่นวายไม่ขัดข้อง  ได้ดวงตาเห็นธรรมล้ำเลิศ
ธรรมะจากสารนาถ
๑.อริยสัจจ์ ๔
๒.มรรคมีองค์ ๘
๓.อนิจจลักษณะ
๔.คุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ที่คงคา

- เล่าตำนานคงคา ท่าน้ำมี ๘๔ ท่า ท่าเพื่อคนเป็น ๘๒ ท่า ท่าเพื่อคนตาย ๒ ท่า คือหริจันทระ
  และมณิกรรณิการ์ฆาฏ ตำนานพระศิวะ

- แมน้ำคงคายาว ๒๕๕๖ กิโลเมตร กำเนิดที่โคมุข ลงอ่าวที่เบงกอล

- สาเหตุที่มาคงคา  มาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ มาดูการประกาศพระศาสนา 
   มาดูคนอาบสรงในคงคา มาดูการน้อมวันทาดวงอาทิตย์  มาดูพิธีกรรมการเผาศพ  
   มาดูการเคารพน้ำศักดิ์สิทธิ์  มาดูการปลงสัจจะแห่งชีวิต  มาเพ่งพินิจสองฟากฝั่งอย่างเห็นธรรม

ที่สารนาถ

-อธิบายคำว่าสารนาถ, อิสิปตนมิคทายวัน อธิบายสาเหตุที่ได้ชื่อเหล่านี้

- ความสำคัญของสารนาถ คือเมืองปฐม เช่น ปฐมเทศนาอริยสัจจ์  ปฐมอุบัติพระอริยสงฆ์  ปฐมพรรษา      พระพุทธองค์  ปฐมวงศ์เหล่ากออุบาสิกา  ปฐมเหล่ากออุบาสก  ปฐมศกเผยแพร่พระพุทธศาสนา        ปฐม  ความงามแห่งปฏิมา  ปฐมพาราพุทธสัญจร

 

 

 

 พาราณสีที่เกี่ยวพันกับพุทธศาสนา

๑.เป็นที่ผลิตพระโพธิสัตว์  พระโพธิสัตว์กำเนิดที่นี่กว่า ๕๔๐ ชาติ  ในชาดก ๑๐ ชาติ (พระเจ้าสิบชาติ)
   เกิดเป็นสุวรรณสามและเตมีย์ใบ้

๒.เป็นเมืองที่รองรับพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก

๓.เป็นที่กำเนิดพระพุทธเจ้านามว่าศรีอริยเมตไตย

๔.เป็นที่กำเนิดตำนานสุรา

๕.เป็นที่กำเนิดบทสวดขันธโมรปริตรคาถา

๖.เป็นที่กำเนิดการจองเวรครั้งแรกระหว่างพระเทวทัตต์กับพระพุทธองค์

๗.เป็นที่กำเนิดมหาโจรกินเนื้อมนุษย์

 
พาราณสีที่เกี่ยวพันกับศาสนาฮินดู
๑.เป็นศูนย์กลางศาสนาฮินดู
๒.เป็นบ่อเกิดศาสนา ประเพณี พิธีกรรมหลายอย่าง
๓.เป็นที่แต่งเรื่องรามเกียรติ
 
ตำนานลูกฆ่าพ่อ
พระเจ้าพิมพิสาร  ถูกอชาตศัตรูกุมารปลงพระชนม์
อชาตศัตรูกุมาร  ถูกอุทัยภัทร์ปลงพระชนม์
อุทัยภัทร์  ถูกอนุรุทธกุมารปลงพระชนม์
อนุรุทธกุมาร  ถูกมุณฑกุมารปลงพระชนม์
มุณฑกุมาร  ถูกนาคทสกกุมารปลงพระชนม์
นาคทสกกุมาร  ถูกสุสูนาคมหาอำมาตย์ปลงพระชนม์
 
 สาเหตุที่มาคงคา

มา...บูชาพระบรมสารีริกธาตุ                     มา...ดูการประกาศศาสนา
มา...ดูคนอาบสรงในคงคา                        มา...ดูการน้อมวันทาดวงอาทิตย์
มา...ดูพิธีกรรมการเผาศพ                        มา...ดูการเคารพน้ำศักดิ์สิทธิ์
มา...ดูการปลงสัจจะแห่งชีวิต                     มา...เพ่งพินิจสองฟากฝั่งอย่างเห็นธรรม

 
 คำอธิษฐานที่สารนาถ

๑.ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนพระโกณฑัญญะ
๒.ให้สุขภาพแข็งแรง พลานามัยสมบูรณ์ อายุยืนเหมือนพระพากุละ
๓.ไปไกล้ไกลให้ปลอดภัยเหมือนพญากวางทอง
๔.ให้ศรัทธาตั้งมั่นเหมือนบิดาพระยสะ หรือ
๕.ให้ได้บริวารเป็นมิตร ปิดศัตรู ได้ความไม่วุ่นวายไม่ขัดข้อง ได้ดวงตาเห็นธรรมล้ำเลิศ

 

 

 

กุสินารามหานคร
เมือง.....ตรัสสอนสังเวชนีฯ ๔ สถาน                    เมือง.....เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
เมือง.....ประทานปัจฉิมวาจา                               เมือง.....สุทัศนะมหาจักรพรรด
เมือง.....จอมปราชญ์โทณพราหมณ์งามภาษา       เมือง.....สตรีใจเพชรมัลลิกา
เมือง.....เสนาบดีศรีนาคร                                    เมือง.....ทรงโปรดปัจฉิมสาวก
เมือง.....มรดกพินัยกรรมคำสั่งสอน                      เมือง.....สิ้นสุดพุทธกิจพระบิดร
เมือง.....อนุสรณ์มกุฏพันธนเจดีย์                         เมือง.....เถระทัพพมัลลบุตร
เมือง.....เทพมนุษย์พร้อมภักดิ์ด้วยศักดิ์ศรี             เมือง.....ซาบซึ้งน้ำพระทัยพระภูมี
เมือง.....ปฐพีร่ำไห้อาลัยศาสดา ฯ
 
คำอธิษฐาน ณ สาลวโนทยาน  สถานที่ปรินิพพาน  กุสินารา

๑. ขอให้มีศรัทธามั่นเหมือนมัลลิกาเทวี      ๒. ขอให้มีวาจาดีเหมือนโทณพราหมณ์
๓. ขอให้มีเกียรติงามเหมือนพันธุละ          ๔. ขอให้บรรลุธรรมะเหมือนทัพพมัลลบุตร
๕. ขอให้ถึงวิมุติเหมือนสุภัททะ                ๖. ขอให้ซึ้งสาระปัจฉิมโอวาท
๗. ขอให้ได้กราบแทบบาทพระศาสดา       ๘. ขอให้มีสติปัญญารักษาธรรมมรดก
๙. ขอให้อุปถัมภกยกย่องพระพุทธศาสนา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง

 
คำอธิษฐาน ณ มกุฎพันธนเจดีย์
๑. ขอให้ได้รับพระพุทธธาตุ คือธาตุแท้แห่งความเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
๒. ขอให้สิ่งไม่ดีทั้งหลาย คือโลภ โกรธ หลง ทุกข์ โศก โรค ภัย จงมอดไหม้ไป
ด้วยไฟทิพย์ คือเตโชธาตุที่นี่

๓. ขอให้ได้รับการคุ้มครองดูแล จากเหล่าเทพารักษ์ ผู้พิทักษ์พุทธภูมิ ตลอดกาลนานเทอญ ฯ
 

 ประวัติเมืองกุสินารา
...เป็นเมืองหลวงแคว้นมัลละ  พระศาสดาทรงเสด็จหลายครั้ง

...หลังจากพระบรมศาสดาทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ปี  จึงได้ตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นมคธ

...พ.ศ. ๒๒๗-๒๔๑  พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเสด็จมาสักการะและสละทรัพย์ทองคำ  จำนวนแสนตำลึงสร้างพระเจดีย์ และปักเสาหินสามต้น

...พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗  หลวงจีนฟาเหียนได้มา ณ. สถานที่แห่งนี้  ในช่วงนั้นได้มีประชาชนอาศัยอยู่น้อย

...พ.ศ. ๙๕๐ สร้างพระปางปรินิพพานจากหินแดงก้อนเดียว  ขนาดยาว ๒๓ ฟุต กว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว  องค์พระยาว ๑๐ ฟุต  สูง ๒ ฟุต ๑ นิ้ว  นายช่างผู้สร้างคือ นายถินา แห่งเมืองมถุรา

 ... พ.ศ. ๑๑๖๓ - ๑๑๘๗   พระถังซำจั๋ง เห็นสภาพหักพัง คนอาศัยอยู่น้อย เห็นเสาอโศก ๓ ต้น บริเวณ (ที่ปรินิพพาน - โฑณพราหมณ์เจดีย์ - มกุฏพันธนเจดีย์)

...พ.ศ. ๑๗๐๐  ถูกทำลายจากอิสลาม

...พ.ศ. ๒๓๙๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้ค้นพบกุสินารา

...พ.ศ. ๒๓๙๗ ท่านวิลสัน ได้ทำการพิสูจน์ว่าเป็นเมืองกุสินาราเดิมหรือไม่

...พ.ศ. ๒๔๐๔  อเล็กซานเดอร์ ได้ค้นพบ "มถากัวร์"  พบพระพุทธรูปปฏิมาปางภูมิสัมผัส  สมัยพระเจ้ากนิษกะสูง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว

...พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๔๒๐  A.C.I.  คาร์เลย์ พบพระปฏิมาปางปรินิพพานหักเป็น ๖ ท่อน กองอยู่ห้องสี่เหลี่ยม ณ ห้องสถูปปรินิพพาน

...สถูปสูง ๑๙.๘๑ เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐.๓๖ เมตร

...ภาพในสถูปเล็กสภาพสมบูรณ์ สูง ๒.๒๘ เมตร

...ภายในสถูปเล็กบรรจุพระพุทธปฏิมาปางสมาธิ

...พ.ศ. ๒๔๔๓  หิรนันท์  ศาสตรี  ได้ขุดพบมกุฏพันธเจดีย์  สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

...พ.ศ. ๒๔๖๗ บาบา  ระฆะวะทัส  ได้มาแสวงบุญณเมืองกุสินารา

...พ.ศ. ๒๔๗๐ อูโปคยู กับ อูโปเหล่ง  สร้างสถูปปรินิพพานวิหาร

...ประกอบพิธีเปิด วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๗๐   มีพระสงฆ์ ๑๗ รูป นำโดย  อู  จันทรมณี เจ้าอาวาสวัดพม่า  ท่านนำ ทอง เงิน ทองแดง  แผ่นศิลาจารึกอธิบายรายละเอียดของการขุดค้นฝังไว้

...พ.ศ. ๒๔๗๙  ท่าน อู  จันทรมณี  สร้างโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนา

...พ.ศ. ๒๔๘๕  ยุคล  กิษอเร  สร้างเบอร์ล่า  ฮินดูธรรมศาลา

...พ.ศ. ๒๔๘๙  นายอนาคาริก  วิปศษนะ  สร้างเนปาลีธรรมศาลาพุทธอาศรม

...พ.ศ. ๒๔๙๘  อินเดีย  ตั้งคณะกรรมการพัฒนาสาลวโนทยานเตรียมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ

...พ.ศ. ๒๔๙๙  สถูปและวิหาร  ถูกบูรณะครั้งใหญ่

...พ.ศ. ๒๕๐๗  สถูปได้พังลงมา

...พ.ศ. ๒๕๑๘  อินเดียได้บูรณะปฏิสังขรณ์

...พ.ศ. ๒๕๒๔  ญี่ปุ่นให้ทุนในการตกแต่งจึงมีสภาพที่สมบูรณ์ได้ทุกวันนี้

 
 

 

 

 

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในสติปัฎฐานสูตร
"ฐิโต วา  ฐิโตมฺหีติ  ปชานาติ" (เมื่อยืนอยู่  ก็รู้ว่ายืนอยู่)
"คัจฺฉันโต วา  คจฺฉามีติ  ปชานาติ" (เมื่อเดินอยู่  ก็รู้ว่ากำลังเดินอยู่)
"นิสีทติ  ปลฺลงฺกํ   อาภุชิตฺวา  อุชุํ  กายํ  ปณิธาย  ปริมุขํ  สตึ  อุปฏฺฐเปตวา" 
(นั่งคู้บัลลังก์  ตั้งกายตรง  ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า)
"สยาโน วา  สยาโนมหีติ  ปชานาติ" (เมื่อนอนอยู่  ก็รู้ว่ากำลังนอนอยู่)

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 (ภาพที่พักภายในบริเวณวัดป่าพุทธคยา)
รูปปั้นนางวิสาขามองเห็นแต่ไกล

นางวิสาขาสร้างวัด 

 



  โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า- เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้าไปเวลาเช้าก็จะต้องมีของเคี่ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณรและอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนจึงกลับบ้าน

 

 

  วันหนึ่ง เมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์มอบให้หญิงสาวผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมเเละเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้วขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงบอกให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่า ถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอามาคืนมา ให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสำผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลือไว้เสมอ

  และได้เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “ เครื่องประดับนี้ไม่มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อเอาไว้ได้ นางจึงต้องซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่านั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้าง ดำเนินการสร้างถวายเป็นพระอารามที่ประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดา รับสั่งให้พระมหาโมคคัลลนะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า “ พระวิหารบุพพาราม”


 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 สุดยอดวิชาหมอเดา
1.คุณเป็นคนดี แต่ทำคุณคนไม่ขึ้น
2.คุณเป็นคนมีน้ำใจ แต่ไม่มีใครเห็น
3.คุณเป็นคนขยัน ทำงานเก่ง แต่เพื่อนร่วมงานไม่ชอบ
4.คุณเป็นคนฉลาด ทำงานดี แต่เจ้านายมองไม่เห็น
5.คุณเป็นคนใจกว้าง แต่ห้ามไปค้ำประกันใคร
6.คุณเป็นคนดี รักพี่ร้กน้อง พี่น้องพึ่งพาอาศัยได้
7.คุณเป็นคนรักบ้าน รักครอบครัว แต่คู่ครองมองไม่เห็น
8.คุณเป็นคนใจบุญ แต่ถูกหลอกเสมอๆ
9.คุณเป็นคนดี รักเพื่อนฝูง แต่มักถูกเพื่อนหักหลัง
10.คุณได้ลูกกตัญญู แต่ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง
11.ดวงของคุณปีนี้ชง ระวังจะมีอุบัติเหตุ
12.คุณกำลังจะมีเคราะห์ ชะตาจะถึงฆาต และเขาบอกว่าเขาเก่งกว่า "ขงเบ้ง" สามารถต่อชะตาให้คุณได้ (คุณจะเชื่อเขาไหม)
     สรุปคือ ยังไม่ได้ทำนายอะไรเลย ใช้อยู่ 2 คำ คือ มักกับแต่ 
ขอถามว่าดูดวงแบบนี้จะได้ประโยชน์อะไร
 
 "มีคนเขาว่ามาอินเดีย  เพื่อไหว้พระรับพร  
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"

วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ  
ตามรอยพระศาสดา  
  สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า

เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
 ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
      
ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
    ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ

  
ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
 
เขาคิดว่า (ของแพงต้องดี)

 

ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือบทความทั้งหมด
ล้วนแต่เป็นของครูบาอาจารย์ พรรคพวก เพื่อนฝูง
ตลอดจนลูกศิษย์ที่นับถือทำให้ ใครจะนำไปใช้ก็ยินดีอนุญาติ
โดยไม่ต้องขออนุญาติจากอาตมาใดๆทั้งสิ้น สบายใจได้  

 เทียนเต็ก ซินแส

 

 
 คุณสมบัติของพระวิทยากร
เตรียมตัวให้พร้อม  ซักซ้อมให้ดี  ท่าทีให้สง่า  หน้าตาต้องสุขุม ทักที่ประชุมไม่วกวน  ขึ้นต้นให้โน้มน้าว  เรื่องราวต้องกระชับ  ตาจับที่ผู้ฟัง  เสียงดังต้องพอดี  อย่าให้มีเอ้อ. อ้า.  เวลาต้องให้ครบ  สรุปจบจับใจ  ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด

...การบรรยายบนรถ  ใช้แบบจัดรายการวิทยุ หรือโทรทัศน์

...เรื่องที่บรรยาย  เป็นพุทธประวัติ  พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์ อย่างน้อย ๖๐ เปอเซนต์  เรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมือง สภาพแวดล้อม ๔๐ เปอเซนต์
 
 พิธีการ
การนำเข้าสู่พิธีกรรมอย่างมีขั้นตอน  เป็นระเบียบแบบแผน  "เริ่มต้นมีมนต์ขลัง  ตอนกลางน่าเลื่อมใส  ตบด้ายมั่นใจในบุญ  อบอุ่นด้วยเสียงธรรม  ดื่มด่ำด้วยเสียงมนต์  ท่วมท้นด้วยปีติ  สุดยอดพิธีกรรม"
 
 หลักการ

อยู่บนรถสดใสใจเบิกบาน  สู่สถานฯ ซาบซึ้งถึงกุศล
กราบไหว้พร้อมเพรียงเพราะเสียงมนต์  อิ่มล้นศรัทธาธรรมพระสัมมาฯ
 
 จิตวิญญาณ
คือความสำนึก  ระลึกคุณพระรัตนตรัยอย่างใหญ่หลวง  พร้อมพลีกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาได้  ด้วยหัวใจรัก (ฉันทะ) เป็นนักต่อสู้ (วิริยะ) ดูกิจรอบครอบ (จิตตะ) ตรวจสอบเสมอ (วิมังสา) สมดังสัจจะปฏิภาณว่า  "พุทธัสสาหัสมิ ทาโสวะ พุทโธ เม สามิกิสสะโรฯ  ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า"
 

 

สังขาร
คือสุขภาพของพระธรรมวิทยากร  ต้องหมั่นดูแลอย่างสม่ำเสมอ  ต้องมีความแข็งแรง  พร้อมที่จะปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ  มีประสิทธิภาพ  และสวัสดิภาพ  

...กายภาพ  "ต้องแข็งแรง  ยืนทน  นั่งทน  พูดทน  อดทน  และทนอด"

...จิตภาพ  "ใจไม่ท้อ  ไม่งอแง  ไม่แชเชือน  ไม่บิดเบือนอุดมการณ์  เพื่อผันเป็นอุดมกิน"

 

 

 

 

 

จรรยาบรรณ
คือ  กิริยามารยาทอันดีงามเหมาะสมของพระธรรมวิทยากร  ผู้จัดวรรคตอนการบรรยายธรรม  จำแนกออกเป็น ๒ ประเภทคือ

...จรรยาบรรณทางกาย  ในกิริยา  การยืน เดิน นั่ง นอน  สังวรอยู่เสมอ  การแต่งกาย  ไม่สะพายย่าม  งามตาผ้าครอง  รองเท้าไม่ฉูดฉาด  ไม่คาดนาฬิกา  ไม่ทาแป้งแต่งหน้า

...จรรยาบรรณทางวาจา  
   ก. พูดจาสุภาพ  สมกับเป็นสมณะ 
   ข. พูดมีสาระ  สมกับเป็นผู้นำ
   ค. พูดชัดถ้อยชัดคำ  สมกับเป็นวิทยากร
   ง.  พูดมีวรรคตอน  ไม่ยอกย้อนวกวน
   จ.  พูดไร้เล่ห์กล  ไม่ฉ้อฉลตบตา  เพื่อหาทรัพย์  จับโยม  ต้มโลก  สร้างความวิปโยคแก่ศาสนา

 

 

 

 ถ้ารถยนต์มีปัญหา

สำหรับปัญหารถ  คือ  รถก็แย่  แอร์ก็ไหม้  ไมค์ก็ห่วย  ซวยซ้ำหม้อน้ำทรุด  ล้อก็หลุด  แตรก็เสีย  เกียร์ก็ขาด  ประสาทจะกินกบาล  อย่ากังวล  พาสวดมนต์ลูกเดียว     

     รถเสียเสียอารมณ์ตรมใจเปล่า     ฟังเรื่องเล่านิทานธรรมนำกุศล
    นำชาดกยกมาล้วนน่ายล             แถมร่ายมนต์มงคลสูตรกันภูตภัย
     รถเสียจะเสียใจทำไมเล่า             พานำเข้าสมาธิซิแจ่มใส
     ปฏิบัติวิปัสนาค้นหาใจ                 เพิ่มกำไรหลายต่อนะพ่อคุณฯ

 

 

 
การจราจรไม่ลื่นไหล

ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย  สำหรับรถติดในอินเดีย  เมื่อเจอปัญหารถติด  ต้องปลอบจิตสมาชิก  พลิกสถานการณ์  จากรำคาญให้เบิกบานใจ  ให้ฟังนิทานธรรม  นำสาธยายมนต์  สร้างกุศลเจริญธรรม  บำเพ็ญบารมี  พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

 รถติดหงุดหงิดใจทำไมนะ     เราติดในวัฏฏะมานานโข
 มัวเพลินวังวนจนผอมโซ     ตั้งนโม ตัสสะ ระวังภัย
 ติดบ่วงห้วงวัฏฏะมานานแล้ว     สร้างเกาะแก้วกันตนหลุดพ้นได้
 เชิญเถิด ร่ายมนต์มงคลชัย     เพื่อขับไล่หมู่มารพาลพาลา
 วัฏฏะหนึ่งคือกิเลสเป็นเหตุก่อ     กรรมวัฏฏะติดต่อตามตัณหา
 วิบากวัฏฏ์ประกาศผลโพนทะนา     วัฏฏะสามนี่แหละหนาพาติดวนฯ

 

 

 อินเดียเมืองสุขุมหลุมลึก

รถตกหลุมกลุ้มใจทำไมนะ     หลุมโอฆะทั้งสี่นี้ลึกกว่า
คือทิฏฐิ กาม-ภพ  อวิชา     ลึกยิ่งกว่าหลุมเหล่านี้กี่ล้านเท่า
เทียวถนนกระโจนหลุมลึกเพื่อฝึกจิต     ได้นิมิตเตือนใจคลายง่วงเหงา
ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยหลังพลอยสร่างเบา     เพราะหยิบเอาเทียบธรรมนำประคอง
ทิฏโฐฆะ ทะเลลึกความเห็นผิด     ภโวฆะ มหาสมุทรความยึดติดสิ่งทั้งผอง
กาโมฆะ เหวหายนะอย่าคิดลอง     อวิชโชฆ ความมืดหมองแห่งจิตเดินผิดทางฯ

 

 


 เจ็บ-ป่วย-ตายในรถทัวร์
เมื่อมีสมาชิกเจ็บป่วยระหว่างทาง  ต้องรีบแจ้งไปยังต้นสังกัด  วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์  ซึ่งมีขีดความสามารถจัดหาหมอ  หรือนำส่งโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที  โดยพระเดชพระคุณพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์  วีรยุทโธ)  มีนโยบายและแผนรองรับ  เพื่อประคับประคองผู้มาไหวพระ  ให้ได้รับความสะดวกสบาย  ในการดูแลรักษาอย่างดี  ที่จะฟื้นฟูร่างกายได้เร็ววันทันใจ  เพื่อให้กราบไหว้สังเวชนีย์สถานอย่างเต็มภาคภูมิ

ถ้าหากมีการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน  ไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม  พระธรรมวิทยากร  ต้องซ่อนอาการตื่นตระหนกตกใจกลัว  ทำจิตให้นิ่ง  ตั้งสติให้มั่น  อย่าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยเด็ดขาด  ต้องนำผู้เสียชีวิตติดรถไปด้วย  และรีบแจ้งต้นสังกัด  วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ให้ทราบในทันที  นำคณะเดินทางให้ถึงวัดไทย  ถ้าใกล้เมืองที่มีสถานทูตไทยหรือสถานกงศุลไทย  ต้องพาไปให้ถึง  และแจ้งเจ้าหน้าที่ไทยก่อน  เพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป.
 

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 




โครงการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญบุญต่างๆ

เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชวนชาวพุทธร่วมสร้างเจดีย์ที่วัดแดงประชาราษฏร์ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส มอบพระพุทธรูปที่ประเทศอินเดีย
เทียนเต็ก ซินแส 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท ( 76 จังหวัด )
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดโสธรวรารามวรวิหาร)
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท"
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท" ภาคอีสาน
เทียนเต็ก ซฺนแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๓
เทียนเต็ก ซินแส โครงการ หลวงพ่อถวายพระสู่วัดป่า
เทียนเต็ก ซินแส ถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดจอมศรี ถวายเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส มอบรอยพระพุทธบาทที่อินเดีย
โครงการ "หลวงพ่อมาเยี่ยม"
โครงการ "วัดปันสุข"
"พระสังฆราชมีพระบัญชา" ตั้งโรงทานทั่วประเทศ
"พระสังฆราช" มีพระบัญชา ตั้ง"โรงทาน"ทั่วประเทศ
ทอดผ้าป่าสามัคคี มหากุศล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยา และสร้างวัดที่ 4 ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๒
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๘ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๗ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ๑๖ - ๒๑ พ.ค.๖๒. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๖ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๕ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๔ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 13 "ถ้ำอชันต้า เอลโลร่า" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๒ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 (คริก)
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรม นำพระบรมสุขขึ้นประดิษฐานบนพระธาตุพนม (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ถวายผ้าไตร "องค์พุทธเมตตา" 1ธ.ค.2552 ที่พุทธคยา(คริก) article
เทียนเต็ก ซินแส แนะนำชุมชนพุทธในประเทศอินเดีย (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ "ส่งแม่สู่สรวงสวรรค์" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเเกิดแผ่นดินไหวโอซาก้า (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศศรีลังกา ๒๑-๓๑ ม.ค. ๒๕๖๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 ตอน 2
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชาวพุทธดาวโหลด หนังสือธุดงค์อินเดียฟรี. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 1 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45 วัน ครั้งที่ 3. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค. 2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ เวียตนามใต้ครั้งแรก 4-7 ก.ค. 62 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค.2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมประเทศพม่าครั้งที่ 3 เยี่ยมชมพุกาม
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ 2
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมบนมหาเจดีย์พุทธคยา และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแส ร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 9 วันที่ 27ม.ค.-7ก.พ.57
เทียนเต็ก ซินแสร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ 30 พ.ย. - 9 ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรม แดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 8 วันที่30พ.ย.-8ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแส เศร้าใจต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาหักโค่น
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 7 เพื่อเป็นพุทธบูชา 25พ.ย.-4ธ.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่.6 เพื่อเป็นพุทธบูชา 20-27 มี.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ครั้งที่.5 วันที่ 29 ม.ค.-6 ก.พ. 55
เทียนเต็ก ซินแสอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากประเทศจีน พ.ศ.51 article
เทียนเต็ก ซินแสขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา 2553 (คริกดูรายละเอียด)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล หลั่งน้ำตาที่กุสินารา 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมพุทธคยา ถวายผ้าไตร "พระพุทธเมตตา" 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซฺนแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูตรพระพุทธเจ้า 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย- เนปาล สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมครั้งที่ ๓ ตามรอยบาทพระศาสดา วันที่ 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ มหาวิทยาลัยนาลันทาภาค 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เขาคิชฌกูฏ 2ธ.ค.52 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สู่แม่น้ำคงคา 4ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา article
นิลกาย สัตว์ป่าหิมพานต์ เชิงเขาหิมาลัย เนปาล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๒ article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินี สถานที่ประสูตร 5ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล วัดเชตวันมหาวิหาร บ้านอนาถะบิณทิกะเศรษฐี article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล กราบบาทพระศาสดา กุสินารา 7ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล (รอยพระพุทธบาท) article
เทียนเต็ก ซินแส เยี่ยมวิหารท่านธรรมะปาละ 3ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ขอเชิญร่วมต่อเศียรองค์พระประธาน
เทียนเต็ก ซินแส แจกพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา article
สมโภชวิหารเจ้าแม่กวนอิม 3 ปาง วัดแดงประชาราษฎร์
สมโภชศาลาพระพุทธเจ้า ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดแดงประชาราษฏร์
พิธีเททองหล่อ พระราหู
ทอดกฐินสามัคคี วัดแดงประชาราษฏร์
งานสมโภชน์ฉลองพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รอบอุโบสถ วัดแดงประชาราษฏร์
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมล้านนา
เทียนเต็ก ซินแส ถวายพระพุทธรูปในแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา
โครงการถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส จะถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยาสร้างวัดพุทธวัดที่ 3 เป็นพุทธบูชา (คริก)
ชาวสยามร่วมกันมอบพระประธานให้กับวัดพุทธ ในประเทศบังกลาเทศ
ปี่เซี๊ยะดีที่สุด 貔貅 ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รายได้ทุกบาท ทุกสตางค์เข้าวัดทั้งหมด article



dot
www.henghengheng.com
dot
dot
Web Link
dot
bullettiantekpro.com
bullettiantek.net
bullettiantek.com
bullethorawej.com
dot
Llink
dot
bullethotmail.com
bulletyahoo.com
bulletgmail.com
bulletgoogle.co.th
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
Newsletter

dot
bulletแลก ลิ้ง ได้ที่นี่



อ.รุ่งนภา พยากรณ์
(แม้นเมือง
)

พิมพ์ปารีณา
รับพยากรณ์
จัดฮวงจุ้ยและรับสอน

ติดต่อได้ที่
โทร.
085-3253709

http://
pimandfriends.
blogspot.com/



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Best View 1024 x 768 pixels.............
พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม (เทียนเต็กซินแซ).....e-mail address tiantek@hotmail.com และ tiantek@henghengheng.com
วัดแดงประชาราษฎร์ ถ. บางกรวยไทรน้อย ต. บางสีทอง อ. บางกรวย จ.นนทบุรี รหัส 11130
โทร 0-2447-3593, 0-1936-6908

javascript hit counter

View My Stats


รวมสุดยอกของเฮง รับพยากรณ์ดวงชะตาและสอนเลข 7 ตัว 9 ฐานประยุกต์ ต้องการมีเวปไซด์ของตัวเอง คลิกที่นนี่ Enter to M T h
A ! 100HOT Sites and Vote for this Site!!! www.horawej.com เวปนิตยสาร โหราเวสม์  เพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งโปรแกรมผูกดวงต่าง ๆ มากมาย ทางเรายินดี เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ ความรู้ทางศาสตร์ แห่งโหรศาสตร์ และอื่น ๆ ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใดหากท่านใดต้องการรับการพยากรณ์เชิญในห้องกระทู้ มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิคอย ตอนรับท่าน อยู่หลายท่าน เรียนเชิญครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง webmaster horawej@horawej.com web 10 luckastro.com เป็นเว็ปเพื่อการศึกษาโหราศาสตร์ 10 ลัคนา และโหราศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทุกสาขาวิชา เว็ป 10 luckastro.com เป็นศูนย์รวมของนักพยากรณ์ทุกระดับทุกสาขาวิชา เป็นจุดนัดพบและสื่อสารในระหว่างนักศึกษาโหราศาสตร์ด้วยกัน และในระดับครูบาอาจารย์ เว็ป 10 luckastro.com ยินดีในการให้บริการตอบปัญหาทั้งปัญหาชิวิตและปัญหาทางโหราศาสตร์ www.tiantek.com เวปเพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์จีน และ เลือกหัวข้อที่ต้องการดู (ดูได้ทุกเรื่องโดยไม่จำกัด) บอกวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากตามหลักสากล และบอกเหตุการณ์ที่ผ่านมา...เช่นแต่งงาน...มีบุตร ทำงานหรือทำธุรกิจ.เมื่อปีพ.ศ....และข้อสุดท้ายช่วยแจ้งด้วยว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของดวง ข้อมูลยิ่งมากการทำนายยิ่งแม่น ถ้าภายใน 24 ชั่วโมง(หนึ่งวัน)ยังไม่ได้รับคำทำนาย อาตมาอนุญาติให้โทรเข้ามาถามดวงสดสดได้ 
เวปไซด์ของอาตมา เป็นเวป เพื่อการศึกษาและเผยแผ่ธรรมะ และถ้าโยมช่วยบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบมากเท่าใดยิ่งได้บุญมากเท่านั้น 
www.maleeseacon.com เวปเพื่อการสะสมพระเครื่อง บูชาเครื่องของขลัง ณ ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ ชั้น 3 โซนโลตัส ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กทม 10250 Wireless Home Automation 
ท่านไม่ต้องเป็นวิศวกรหรือมีความรู้ทางด้านอิเลคโทรนิคส์ และไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม ท่านก็สามารถออกแบบและติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยตัวท่านเอง  
ชุมนุมผู้เป็นปฏิปักษ์กับหัว ขโมย มหาหมอดู PostJung.com เวบเพลง Online เพลง Update Intrend, หาเพื่อน MSN, Diary, Webboad โพสท์รูปซะใจ, PhotoAlbum ฯลฯ...Click เลย ชุมชนคนช่างฝัน สุดยอดแห่งสาระ และ ความบันเทิง ศูนย์รวม CODE ทุกอย่าง โรจน์ จินตมาศ   จุ๊กกรู! ดอท คอม ..มุมสงบ ผ่อนคลาย ครื้นเครง ป็นกันเอง..ดูดวงฟรี หวย ฟังเพลง เกมส์ หาเพื่อน หากิ๊ก ข่าว ดูดวง  Give information about Thai orchids ตลาดนัดรถรถบ้านที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ Image Hosted by ImageShack.us ซื้อขายออนไลน์ 24 ชั่วโมง