ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๕ (คริก)

ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๕

๒๘-๓๐ ต.ค. ๖๐

ปฏิบัติธรรมนำพ่อขึ้นประดิษฐานบนพระมหาเจดีย์ชั้นสอง
๒๘-๓๐ ต.ค. ๖๐

 

 

 

 

 

พุทธคยามหาสังฆาราม

          เมือง... บำเพ็ญทุกรกิริยา                                     เมือง...ตำรามธุปายาส

          เมือง...ลอยถาดอธิษฐาน                                     เมือง...ศาสดาจารย์ตรัสรู้

เมือง...บรมครูชนะมาร                                        เมือง...อธิษฐานแล้วสำเร็จ

เมือง...๗ สถานอันศักดิ์สิทธิ์                                 เมือง...สถิตพุทธเมตตา

เมือง...ภาวนาใต้โพธิ์ศรี                                       เมือง...มหาเจดีย์สูงเสียดฟ้า

เมือง...ลอยชฎาสามฤาษี                                     เมือง...หรหมโยนีน่าศึกษา

เมือง...เนรัญชรานทีทราย                                     เมือง...น้อมใจ-กายแนบพระธรรม

เมือง...เวรกรรมย้ำชาดก                                      เมือง...สวรรค์บนบก-นรกบนดินฯ

 
 ประวัติศาสตร์พุทธคยา

-            พุทธคยา คือสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมห่างจากฝั่งออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่ด้านทิศตะวันตก บริเวณเป็นที่เนินสูง เพราะเป็นซากของมหาสังฆารามโบราณ ที่นี่เคยเป็นที่พักของพระสงฆ์ถึง ๒,๐๐๐ รูป ล้วนใฝ่ใจในการศึกษา ปฏิปทางดงามตามพระธรรมวินัย  มหาชนศรัทธาเลื่อมใสมาก พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทได้เจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ถึง พ.ศ.๗๐๐ หลังจากนั้นก็เริ่มอ่อนกำลังลง

-            ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้เล่าว่า ท่านเป็นศิษย์ของพระเรวตะแห่งพุทธคยามหาสังฆราม ได้เดินทางไปแปลพระคัมภีร์พระไตรปิฏกจากภาษาสิงหล  กลับมาเป็นภาษามคธที่เกาะลังกา

-            พุทธคยาเป็นเขตอิทธิพลของพวกฮินดู คยาเกษตร ใช้เป็นที่บูชาถวายบิณฑ์ ๑ ใน ๑๖ แห่ง เป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ที่นี่จึงเรียก “พุทธคยา”

 

-            ปัจจุบัน เป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่มีนักแสวงบุญจากทั่วโลกมาไหว้พระสวดมนต์ตลอดทั้งปี

-            หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วจึงได้เสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ แล้วเสด็จไปเมืองพาราณสี เมื่อมีสาวกมารกขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาเพื่อโปรดขฏิลสามพี่น้อง พร้อมบริวารจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ จากนั้นพระองค์ก็บำเพ็ญพุทธกิจยังแคว้นต่างๆ จนเข้าสู่การปรินิพพาน

-            พ.ศ.๒๒๘-๒๔๐  พระเจ้าอโศกได้เสด็จมาสักการะ ณ สถานที่ตรัสรู้ ได้สร้างพระสถูปขนาดย่อมๆ เพื่อบูชาและปักเสาศิลาไว้เป็นเครื่องหมาย สร้างพระแท่นวัชรอาสน์นี้ รั่วทำด้วยหินล้อมรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์

-            พ.ศ.๖๗๔-๖๙๔ พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบเป็นสถูปใหญ่ หลวงจีนถังซัมจั๋ง เรียกว่า “มหาโพธิ์วิหาร”

 

-            เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยม ทรงกรวย ห่างจากต้นโพธิ์ ๒ เมตร มีพระแท่นวัชรอาสน์คั่นกลาง ขนาดสูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐานขนาด ๘๕ ฟุตเศษ มี ๒ ชั้น มีเจดีย์บริวารอีก ๔ องค์ ทรงเดียวกับอยู่บนฐานชั้นที่ ๒ สูง ๔๕ฟุต ส่วนชั้นล่างนั้นประดิษฐานพระพุทธเมตตา “ปางมารวิชัย”  สร้างจากหินแกรนิตสีดำ สมัยของปาละอายุประมาณ ๑,๔๐๐ ปีเศษ  ชั้นบนประดิษฐานพระพุทธปฏิมาปางประทานพร สร้างในสมัยเดียวกัน

-            พ.ศ.๙๔๕-๙๕๐ หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาสักการะสถานที่ตรัสรู้และได้พรรณนาถึงความงดงามของพระมหาเจดีย์พุทธคยา เห็นพระสงฆ์เถรวาทและพุทธศาสนิกชนมาสักการะกันอย่างมิขาดสาย

-            พ.ศ. ๑๑๔๕ กษัตริย์รัฐเบงกอล นามสสางกา ได้ประกาศอิสระจากมคธยกทัพมาทำลายพุทธสถานอย่างย่อยยับ

-            พ.ศ. ๑๑๔๕ กษัตริย์ปูรณวรมา ดีทัพเบงกอลแตกแล้วทำการบูรณะซ่อมแซม

 
 -            พ.ศ.๑๔๙๑ อมรเทวพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งเมืองมัลวาบอกไว้ในหนังสืออมรโฆษว่าออกแบบวิหารโพธิ์ใหม่ให้เป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

-            พ.ศ.๑๕๗๘ พม่าส่งคณะช่าง นำโดย ธรรมราชครู เพื่อบูรณะแต่เกิดข้อพิพาทกันกับอินเดีย พม่าเลยต้องหยุดการซ่อมแซม

-            พ.ศ.๑๖๒๒ พม่าส่งช่างชุดที่ ๒ มาฟื้นฟูบูรณะใช้เวลา ๗ ปี เสร็จเมื่อ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๑๖๒๙ พุทธคยามีชีวิตกลับมาอีกครึ่งหนึ่ง

-            พ.ศ.๑๗๔๓ พระธัมมรักขิตรับทุนจากพระเจ้าอโศกมัลละแห่งแคว้นสิวะสิกะอินเดียมาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น

-            พ.ศ.๑๗๖๐ อิสลามกองทัพเติร์กยึดครองมคธรัฐทำลายล้างพุทธสถานทั้งหมด พร้อมยกพุทธคยานี้ให้อยู่ในการดูแลของฮินดูนิกายมหันต์ โดยอ้าง เมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๗ จักรพรรดิโมกุนนามมูฮัมหมัดซาห์ ได้มอบพุทธคยา ทั้งหมดเป็นสมบัติของมหันต์องค์ที่สี่ชื่อว่า “ลาลคีรี” จากนั้นพุทธคยาก็ถูกทอดทิ้งหลายร้อยปีไม่มีการบูรณะ มีชาวพุทธมาสักการะเพียงเล็กน้อย

 

 

 

 

 -            พ.ศ.๒๑๓๓ พุทธคยามหาสังฆราช ถูกมุสลิมคุกคามถูกพวกพราหมณ์รังแก ในที่สุดหลุดจากมือขาวพุทธอย่างเด็ดขาดตกอยู่ในความคุ้มครองของนักบวชมหันต์นิกายทัสนามิสัยาสีที่ชื่อโคสายฆมันดีร์คีรี

-            พ.ศ.๒๑๓๕ อังกฤษยึดครองอินเดีย

-            พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้าแผ่นดินพม่าเสด็จมาเห็น จึงได้ส่งทูตมาเจรจาขอบูรณะ ตามบันทึกของ ดร.บุคานัน แฮมินตัน บอกว่าพุทธคยาอยู่ในสภาพย่อยยับไม่ได้รับการดูแล

-            พ.ศ.๒๔๑๗ พระเจ้ามินดงเจรจาผ่านรัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษแล้ว อังกฤษส่งคนมาช่วย ๒ นาย เพื่อกำกับคือ “อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ดร. ราเชนทร ลาลมิตระ”

-            พ.ศ. ๒๔๑๙ พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษงานบูรณะจึงต้องหยุด

 -            พ.ศ. ๒๔๒๓ เชอร์อเล็กซานเดอร์  ดร.ราเชนทร  เซอร์อีแดน  แต่งตั้งให้นาย เจ ดี เบคลาร์ ทำการปฏิสังขรณ์  เสร็จในปี พ.ศ.๒๔๒๗  (๔ ปี)

-            พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านเชอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์  ฝรั่งอังกฤษชาวพุทธได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “The Light of Asia

-            พ.ศ.๒๔๓๔ อนาคาริกธัมมปาละ ชาวศรีลังกามากราบพุทธคยาเกิดศรัทธาปรารถนาเรียกร้องสิทธิของความเป็นเจ้าของพุทธคยา ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ประชุมชาวพุทธสากลที่พุทธคยา มีพม่า, ลังกา,จีน, ญี่ปุ่น และญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะหาเงินมาซื้อพุทธคยาคืน อังกฤษระแวงญี่ปุ่นเพราะเพิ่งรบชนะรัสเซียจึงไม่ยอมให้ครอบครองจึงเกิดขบวนการกอบกู้พุทธคยา (แม็กมึล, เอ็ดวินฯ, วิลเลี่ยม, พ.ศ.โอลคอตต์) ออกปราศรัยที่ พม่า - อังกฤษ – สิงคโปร์ – ไทย – ลังกา หาผู้สนับสนุน

 -            พ.ศ.๒๔๓๖ อนาคาริกธัมมปาละ กลับมาพุทธคยาพร้อมกับ โอลคอตต์ และ MR.เอดช์  นักเทววิทยาได้เห็นพระ ๔ รูป ถูกพวกมหันต์ทุบตีเกือบตาย ซ้ำร้ายเขายังกีดกันมิให้พวกธรรมยาตราเข้าสักการะพุทธคยา

-            พ.ศ.๒๔๓๘ ชาวพุทธขอนำพระพุทธรูปอายุ ๗๐๐ ปี เข้าไปประดิษฐานแต่พวกมหันต์ก็ไม่เห็นด้วย อ้างว่า “พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอวตารปางที่ ๙ ของพระนารายณ์”

-            พ.ศ.๒๔๔๕ มีความเคลื่อนไหวทั่วโลก โดยเอดวิน อาร์โนล, ดร.ริดเดวิค, ศ.แม็กมีลเลอร์  ชาวพุทธเริ่มมีพลัง พวกมหันต์เพิ่มความรังเกียจชาวพุทธมากขึ้น

-            พ.ศ.๒๔๖๗ ชาวพุทธพม่า, ลังกา, เนปาล ร้องเรียนรัฐบาลพรรคคองเกรสส์ตั้งคณะกรรมธิการขึ้นพิจารณา โดยมี ดร.ราเชนทร์ ประสาท (ประธานาธิบดีเป็นประธาน) ตั้งกรรมการชาวพุทธ ๕ คน ฮินดู ๕ คน ดูแลพุทธคยา โดยออกกฎหมายบังคับ

 §  ความเห็นของ มหาตมคานธี คือ “วิหารพุทธคยาขึ้นควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรมการนำสัตว์ไปฆ่าทำพลีกรรมในวิหามหาโพธิ์ไม่สมควร เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจของชาวพุทธทั่วไป”

  §  ความเห็นของ ระพินทรนาถฐากูร คือ “ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้  เพราะศาสนาอื่นไม่เกี่ยวข้องอะไรและไม่มีเยื้อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา

 

 

 

 

 
 -            พ.ศ. ๒๔๙๐ อินเดียเป็นเอกราชจากอังกฤษ มหาโพธิ์สมาคมรบเร้าสิทธิพุทธคยา

-            พ.ศ. ๒๔๙๑ ดร.ศรีกฤษณะ ซิงห์ นายกรัฐมนตรีพิหาร ได้เสนอให้ร่างรัฐบัญญัติวหารพุทธคยา

-            พ.ศ. ๒๔๙๒ เดือนพฤษภาคม จัดตั้งคณะกรรมการดูแล ๙ คน มีผู้ว่าจังหวัดคยาเป็นประธาน และมีกรรมการ ๘ คน เป็นชาวพุทธ ๔ คน ฮินดู ๔ คน

-            พ.ศ. ๒๔๙๖ นายกรัฐมนตรีพม่ามาเยือน พวกมหัสต์บอกว่าได้ยกพุทธคยาให้ชาวพุทธ

-            พ.ศ. ๒๕๓๐ ภิกษุไซไซ ชาวญี่ปุ่นนำชาวพุทธจากนาคปูร์ ในรัฐมหารชตะเรียกร้องให้นำศพมหันต์ที่ฝังไว้และปัญจปาณฑปพร้อมศิวลึงค์ที่กลางวิหารออกไปที่อื่น

-            พ.ศ.๒๔๙๙ บูรณะเล็กน้อยเพื่อฉลองพุทธคยาชยันตีพุทธศาสนาอายุ ๒๕๐๐ ปี

-            พ.ศ. ๒๕๑๒ พระสุเมธาธิบดี ได้นำพุทธบริษัทชาวไทยประดับไฟแสงจันทร์

-            พ.ศ.๒๕๑๙ พุทธบริษัทชาวไทย สร้างกำแพงแก้ว ๘๐ ช่อง ซุ้มประตูแบบอโศก ๒ ซุ้ม เสร็จในปี ๒๕๒๐

-            พ.ศ.๒๕๓๑ ชาวพุทธเนปาลปูหินอ่อน

 
 สิ่งสำคัญที่พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้

          ๑. พระมหาเจดีย์พุทธคยา สูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐาน ๘๕ เมตรเศษ เป็นเจดีย์ ๒ ชั้น มีเจดีย์รอบฐาน ๔ องค์ สูง ๔๕ ฟุต ขั้นบนประดิษฐาน พระปางประทานพร ส่วนชั้นล่าง ประดิษฐานพระปางมารวิชัยหรือพระพุทธเมตตา อายุ ๑,๔๐๐ ปีเศษ

          ๒. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (โพธิบัลลังก์) ปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔ ปลูกเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓  ปัจจุบันอายุได้......ปี (เอาปีปัจจุบันลบด้วย ๒๔๒๓)  ที่อธิษฐานปลูกโดย “คันนิ่งแฮม”

                    ๒.๑ ต้นที่ ๑ เป็นสหชาติเกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า มีอายุได้ ๓๕๒ ปี สาเหตุหมดอายุ เพราะพระชายาของพระเจ้าอโศกให้หญิงสาวใช้มาทำลาย

                    ๒.๒ ต้นที่ ๒ เกิดจากแรงอธิษฐานของพระเจ้าอโศกมหาราช อายุได้ ๘๙๑ ปี ถูกกษัตริย์ศสางกา สั่งทหารทำลายประมาณปี พ.ศ. ๑๑๐๐ เศษ

                    ๒.๓ ต้นที่ ๓ เกิดจากแรงอธิษฐานของกษัตริย์ปูรณะวรมา มีอายุประมาณ ๑,๒๕๘ ปี หมดอายุขัยเอง

 
 ๓. พระแท่นวัชรอาสน์ พระเจ้าอโศกสร้างแทนรัตนบัลลังก์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักจากหินทราย มีขนาดยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว และกว้าง ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว หนา ๑ ฟุต ๖ นิ้ว ส่วนด้านบนจะแกะสลักเหมือนหัวแหวนเพชร  ด้านข้างมีดอกบัว หงส์ และดอกมณฑารพ

๔. อนิมิสสเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๒ เป็นเจดีย์สีขาวอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นโพธิ์

๕. รัตนจงกรมเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุข สัปดาห์ที่ ๓ อยู่ทางทิศเหนือ เป็นหินทรายแกะสลักเป็นดอกบัวบาน ๑๙ ดอก

 
 ๖. รัตนฆรเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสัปดาห์ที่ ๔ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคา พระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาชิกเพชร  พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก และสมันตปัฏฐานอนันตนัย

๗. อชปาลนิโครธเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๕ อยู่ระหว่าง แม่น้ำโมหะนีกับแม่น้ำเนรัญชราเป็นที่รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ที่พิจารณาบุคคลเหมือนอุบล ๔ เหล่า ที่ท้าวสหัมบดีพรหมอารมธนาแสดงธรรม ที่นางมารมาเล้าโลมพระพุทธเจ้า

๘. พระมุจลินทร์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๖ เกิดพายุฝนตลอด ๗ วัน พญามุจลินทร์นาคราชได้ถวายอารักขา พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า “ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สินโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก”

 
 ๙. ต้นราชายตนะ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๗ พานิช ๒ พี่น้อง คือ “ตปุสสะและภัลลิกะ” จากอุกกลชนบทได้ถวายสัตตุชนิดผงและชนิดก้อน ท้าวเทวราชทั้ง ๔ นำบาตรศิลามาถวายให้รับ พานิช ๒ พี่น้องประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสอง คือ “พระพุทธกับพระธรรม” เป็นสรณะ

ในอรรถกถาพระวินัยปิฏก มหาวรรค กล่าวว่า พระพุทธองค์ ทรงลูบพระเศียร เส้นพระเกศาติดที่พระหัตถ์ทรงมอบให้พานิช ๒ พี่น้อง นำพระเกศาธาตุไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ในนครของตน

ต่อมาทั้ง ๒ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ฟังธรรมและบรรลุเป้นพระโสดาบัน ตปุสสะอยู่เป็นอุบาสกภัลลิกะบวชได้บรรลุดรหัสต์พร้อามอภิญญา ๖ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้เลิศกว่าอุบาสกผู้ถึงรัตนะก่อนผู้ใด”

๑๐. พระพุทธเมตตา เป็นพระปฏิมากร สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ  สมัยปาละ ปางมารวิชัย อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี เป็นพระปฏิมาที่คนทุกศาสนามาสักการะด้วยความศรัทธา

 

 

 

 
 ๑๑. แม่น้ำเนรัญชรา ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์มาทางตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่กลางหมู่บ้าน

๑๒. บ้านนางสุชาดา อยู่ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๒๐๐ เมตร  อยู่กลางหมู่บ้าน

๑๓. ท่าสุปปติฏฐะ คือ สถานที่ลอยถาดอธิฐาน รับหญ้ากุสะจากโสตถิยมานพ และเสวยข้าวมธุปายาสก่อนตรัสรู้

๑๔. คงคสิริเขาบำเพ็ญเพียร คือ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของพระมหาบุรุษ ห่างจากพุทธคยาประมาณ ๗-๙ กิโลเมตร ปัจจุบันรถยนต์สามารถส่งถึงเชิงเขาแล้ว

 
  ๑๕. คยาสีสประเทศ  พุทธกาล คือ เขาคยาสีสะ ปัจจุบันเรียกว่า “พรหมโยนี” เป็นสถานที่แสดงอาทิตตปริยายสูตร ที่เทวทัตต์ก่อการปฏิวัติพระศาสดาแล้วมาตั้งสำนักที่นี่

๑๖. อาศรมชฎิล คือสถานที่พักของอุลุเวลกัสสปะ พระศาสดาได้ทรงทรมานจนละทิฏฐิพร้อมน้อง คือ นทีกัสสปะและคยากัสสปะ รวมทั้งบริวาร ๑,๐๐๐ บวชในพระพุทธศาสนา

๑๗. วัดไทยพุทธคยา ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม นามเจ้าอาวาส คือ สมเด็จพระธีรญาณ, พระสุเมธาธิบดี  และปัจจุบัน คือ พระเทพโพธิวิเทศ

 
 สาระธรรมสำคัญ

๑. ปฎิจจสมุปบาท                          ๔. พระญาณ ๓ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

๒. อาทิตตปริยายสูตร                     ๕. ปฐมพุทธวจนะ

๓. พุทธอุทาน                               ๖. บุคคลเปรียบด้วยดอกบัวสี่เหล่า

 
 วัดพุทธนานาชาติ

          ๑. วัดญี่ปุ่น               ๒. วัดธิเบต               ๓. วัดภูฎาน

 วัดญี่ปุ่น

          สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓  แบ่งเป็น ๒ โซน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส เขตพุทธาวาส มีหลวงพ่อไดโจบุตซึ สูง ๘๐ ฟุต  วัดจากฐานถึงพระบาทได้ ๒๔ ฟุต จากฐานชุกชีถึงพระเศียรได้ ๕๖ ฟุตเขตสังฆาวาส เรียกไดจอกเจียว ทั้งหมดสร้าง ๔ ปี เสร็จ สร้างด้วยหินทรายแดงจากเมืองจูน่า หินอ่อนจากเมืองชัยปูร์ รอบหลวงพ่อได้โจบุดซี มีพระอรหันต์ ๑๐ ทิศ คือ  ๑. พระอานนท์ ๒. พระสารีบุตร ๓. พระปุณณมันตานีบุตร ๔. พระมหากัจจายนะ ๕. พระราหุล ๖. พระสูภูติ ๗. พระอุบาลี ๘. พระมหาโมคคัลลานะ ๙ พระอนุรุทธะ ๑๐. พรามหากัสสปะ

 

วัดทิเบต

          สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓ ธิเบต มีละมะ ๔ นิกายคือ

          ๑. นิกายนิงมะ สามหมวกแดง เกิดปี พ.ศ.๑๓๖๓ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ไบเลาคุมเบ มีท่านออลิมบูเซ่ เป็นประมุขนิกาย สามารถไว้ผมยาวและหนวดเคราได้

          ๒. นิกายศักยะ สวมหมวดสีน้ำเงิน เกิดปี พ.ศ.๑๕๗๘ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ดุลหาโหตรัง ราชปูร์ ปูนสุดโฟตรัง สหรัฐอเมริกา มีนควัง กุนคา เตเคเฮน ลิมปูเช่ เป็นประมุข  สามารถมีครอบครัวได้

          ๓. นิกายกายุค สวมหมวดสีดำ เกิดปี พ.ศ. ๑๕๙๓ สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองรุมเต็ก รัฐสิขิม มีอูเป็นดอร์เลย์  โดเจ การมาปะ องค์ที่ ๑๗ เป็นประมุข

          ๔. นิกายเกลุค สวมหมวดสีเหลือง เกิดปี พ.ศ.๑๙๒๘ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ธรรมศาลา หิวันตประเทศ มีองค์ดาไลลามะเป็นประมุข องค์ที่ ๑๔

 

 

 

 

 
 วัดภูฎาน

          สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ปัจจุบัน ท่านจิกมี่ วังจุก เป็นประมุข

 
 คำอธิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์พุทธยา

          ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ได้จาริกมาบูชาสักการะ สถานที่ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันนี้ ขอจงเป็นบารมี เป็นพลวปัจจัย เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้เกิดปัญญาณ มีความรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ หากแม้นว่าข้าพระพุทธเจ้า ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฎฎสงสาร ขออำนาจแห่งบุญกุศลนี้ จงเป็นเหตุอำนวยให้ ได้ไปบังเกิดแต่ในสุคติภูมิ ขอให้เกิดในตระกูลที่ดี มีรูปร่างดี มีปัญญาดี มีสุขภาพดี มีฐานะดี มีพ่อแม่ดี มีครูบาอาจารย์ดี ขอให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติธรรม ได้บรรลุธรรม สมควรแก่การปฏิบัตินั้น จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในกาลอันควรด้วยเทอญฯ

 
 พาราณสี มหาราชธานีเพื่อความเป็นที่ ๑ (ปฐม)

                    ปฐม...เทศนาอริยสัจจ์                     ปฐม...อุบัติอริยสงฆ์

                    ปฐม...พรรษาพระพุทธองค์              ปฐม...วงศ์อุบาสิกา

                    ปฐม...บิดาอุบาสก                          ปฐม...ศกประกาศศาสนา

                    ปฐม...ความงามพระปฏิมา               ปฐม...พาราฯ พุทธสัญจร

                    ปฐม...มหาวิทยาลัย                        ปฐม...ยิ่งใหญ่คงคาชื่อกระฉ่อน

                    ปฐม...แพรไหมเลิศผ้าอาภรณ์           ปฐม...นครแห่งอารยธรรมฯ

 
 ประวัติศาสตร์เมืองพาราณสี

-            พาราณสี เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่ไม่เคยล่มสลาย กระทั่งชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของวัฒนธรรมแห่งภารตชน

-            สมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา เป็นเมืองถูกเสนอชื่อให้มาปรินิพพาน ๑ ใน ๖ เมือง

-            คำว่า พาราณสี มาจากคำว่า วรุณะ + อสี ทั้ง ๒ คำนี้ เป็นชื่อของแม่น้ำ เมื่อนำมารวมกันจึงได้คำว่า พาราณสี

-            ในกปิลชาดก มาจากคำว่า วานร + สีสะ = วานรสีละ  = วานรสี

-            เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๗ เมืองของอินเดีย คือ ๑.หริทวาร์ ๒.อุชเชนี ๓.อโยธยา ๔.มถุรา ๕.ทวารก ๖.กาญจีปุรัม และ ๗.พาราณสี

-            ในชาดกยังพบว่า มีชื่อเรียกอีก คือ สุรุนธนคร – สุทรรศนนคร – ปุปผาวดีนคร – พรหมวัฒนนคร – รัมมนคร – กาสีสุระ – รามนคร

-            สมัยอังกฤษปกครอง เรียกว่า บนารัส หรือเบนาเรส

 
 -            ปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า (ผุสสะ)  อุบัติที่นครกาสิกะ (พาราณสี) เป็นโอรสของพระเจ้าชันเสนกับพระนางสิริมามีพระชายาชื่อกีสาโคตมี พระราชโอรสชื่ออนุปมะ ตรัสรู้ใต้ต้นมะขามป้อม และกันสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้าบิดาชื่อพรหมทัตต์พราหมณ์ มารดาชื่อธนวดี ภรรยาชื่อสุนันทา บุตรชื่อวิชิตเสน ทรงตรัสรู้ใต้ต้นไทรในรัชสมัยพระเจ้ากิกีเป็นเจ้าเมือง

-            พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยมาเสวยพระชาติเป็นพระโพธสัตว์ ณ เมืองนี้ ๔๒๗ ชาติ (๕๔๗) เกิดเป็นนกพิราบ, นกยูง, แขกเต้า, แร้ง, กา, หงส์, ช้าง, ม้า, โค, หมู, เสือ, ลิง, ราชสีห์, สุนัข, กวาง, ลา, มนุษย์, ราชา, อำมาตย์, ปุโรหิต, พ่อค้า,มานพ, ฤาษี, ดาบส, และนายครวญช้าง  ฯลฯ

-            ในทศชาติ เกิด ๒ ครั้งคือ พระเตมีย์ และสุวรรณสาม

-            ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พาราณสีจะมีนามว่า “เกตุมดี” ราชานามว่า “สังขะ”  พระศรีอาริยะเมตไตรยจะอุบัติในตระกูลพราหมณ์ พระเจ้าเสขะก็ได้อุปสมบทสำเร็จอรหัสต์ มนุษย์จะมีอายุ ๘ หมื่นปี ส่วนผู้หญิงสาวมีอายุ ๘ พันปีจึงจะมีสามี

 

 

 เดือนพฤศจิกายนต์อาตมาได้ขึ้นไปปฏิบัติธรรม
ที่มหาวิหารพุทธคยาครั้งที่ 6 และ 7
ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพระวิหาร
ได้นำพระบรมรูปที่ประดิษฐานไว้
ย้ายไปอยู่ในที่สูงรองจากพระพุทธเมตตา

 
 และแสดงพระสูตรมากถึง ๓๓ เมืองสารนาถ

-            สารนาถ คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็น ๑ ใน ๔ สังเวชนียสถาน เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” อยู่ห่างจากเมืองพาราณสี ๘ กิโลเมตร

-            ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คือ อิสิ + มฤค + ทาย + วน คือ ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อเป็นสถานที่ประชุมตกลงของเหล่าฤาษี

-            สารนาถ คือ สารังค + นาถ = สารนาถ แปลว่า “ที่พึ่งของกวาง”  (สารังคะ – กวาง)

-            เป็นที่แสดงปฐมเทศนา ชื่อ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”

-            เป็นที่เกิดสังฆรัตนะ  ครบพระรัตนตรัย พระสูตร

-            ที่เกิดของวันอาสาฬหบูชา

-            ที่ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

 

ประวัติศาสตร์เมืองสารนาถ

-            ก่อนพุทธกาลเป็นสวนป่าของพระเจ้าหรหมทัตต์ เป็นที่อาศัยของกวางทั้งหลาย   

-            ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และแสดงธรรม

-            หลังพระพุทธองค์ปรินิพาน ถวายเป็นสังฆรามให้พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอยู่อาศัย

-            พ.ศ. ๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จธรรมยาตรา สร้างสถูปใหญ่และปักเสาอโศกไว้

-            พ.ศ. ๓๙๕ พระเจ้าอัคนิมิตร ราชวงศ์สุงคะ สร้างกำแพงหินทรายแดงแกะสลักรอบสารนาถ

-            พ.ศ.๖๔๕ พระเจ้ากนิษกะมหาราช ราชวงศ์กุษาณะ (พระพาลา) สร้างรูปแกะสลักพระพุทธรูป และพระโพธิ์สัตว์ ทำร่มจากหินทรายถวายไว้ที่นี่

-            พ.ศ.๙๔๓ หลวงจีนฟาเหียน มาเยือนและได้เขียนจดหมายเหตุไว้ ได้เล่าเกี่ยวกับป่าอิสิปตนะไว้ด้วย

-            พ.ศ.๙๙๘ พวกหูนะจากเอเชียกลาง ตีอินเดียถึงสารนาถอารามถูกทำลายเสียหาย

-            พ.ศ.๑๑๕๕ พระเจ้าหรรษวรรธนะทำการฟื้นฟูบูรณะสารนาถใหม่

 
 -            พ.ศ.๑๑๗๔ พระถังซัมจั๋งได้เยือนสารนาถแล้วบันทึกเรื่องสารนาถไว้อย่างละเอียด

-            พ.ศ.๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ บูรณะอารามและพระสถูป

-            พ.ศ.๑๕๖๐ มาหมุด กาชะนี อิสลามทำสงคราม ทำลายอารามและสถูปอย่างหนัก

-            พ.ศ.๑๖๕๗ พระนางกุมาราชเทวี ทำการฟื้นฟูบูรณะอีกครั้งหนึ่ง

-            พ.ศ.๑๗๓๖ อิลตุชมิท อิสลาม โจมตีพาราณสี – สารนาถ พระสงฆ์ได้หนีตาย

-            พ.ศ.๒๓๓๖ ชคัต ซิงห์ อำมาตย์ของ เจตซิงห์ รื้อธัมมราชิกสถูป

-            พ.ศ.๒๓๖๘ ศาสนิกเชน รื้อพุทธสถานแล้วสร้างวัดเชนครอบ

-            พ.ศ.๒๓๗๘ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้ทำการขุดค้นสารนาถ

-            พ.ศ.๒๓๘๒ นายเดวิคสัน นำพระพุทธรูป – โบราณวัตถุ ไปถมที่ทำสะพานคันแดน แม่น้ำวารุณะ

-            พ.ศ.๒๔๑๔ (๒๔๑๕ของไทย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสารนาถ

-            พ.ศ.๒๔๓๔ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยือนสารนาถ

 
 โบราณสถาน – สถานที่สำคัญ

          ๑. ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ สูง ๓๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ เมตร

                    -   พ.ศ.๒๓๔ พระเจ้าอโศกสร้าง

                    -   พ.ศ.๒๓๖๕ อเล็กซานเดอร์คันนิ่งแฮมได้ขุดค้นพิสูจน์

          ๒. ธัมมราชิกสถูป สถานที่แสดงอนัตตลักขณสูตร สูง ๖๐ เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓ เมตร (ปัจจุบัน ๑ เมตร) พระเจ้าอโศกฯ สร้าง

          ๓. พระมูลคันธกุฎี ที่จำพรรษาแรกของพระพุทธองค์ สูง ๖๑ เมตร กว้าง ๑๘ เมตร

          ๔. เสาอโศกฯ สูง ๑๕.๒๕ เมตร ด้านบนเป็นสิงห์ ๔ หัว หันหลังชนกัน

          ๕. ยสเจดีย์ สถานที่โปรด ยสะลูกเศรษฐี แสดงอนุปุพพิกถา

 
 ๖. เจาคัณฑีสถูป ที่มี ๔ มุม พระเจ้าอโศกสร้าง พ.ศ.๒๓๖ สูง ๒๑ เมตร

                    -  พ.ศ.๒๐๗๕ หุมายุนมาหลบภัย เป็นเวลา ๑๕ ปี

                    -  พ.ศ.๒๑๑๙ อักบาร์มหาราชย์ดัดแปลงเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมศิลปะอีสลาม

          ๗. พิพิธภัณฑ์สารนาถ เก็บพระพุทธปฏิมา – โบราณวัตถุมากมาย

          ๘. วัดไทยสารนาถ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๔ ไร่ โดยพระครูประกาศสมาธิคุณ ปัจจุบันหลวงพ่อพระครูสรวิชัยเป็นเจ้าอาวาส

          ๙. วัดพุทธนานาชาติ  คือ วัดจีน, วัดธิเบต, วัดเกาหลี, วัดญี่ปุ่น, วัดพม่า และวัดศรีลังกา

          ๑๐. แม่น้ำคงคา

          ๑๑. มหาวิทยาลัย

          ๑๒. เทศกาลต่างๆ

 

 

 

 

 
 บุคคลสำคัญ

          ๑) ปัญจวัคคีย์                                    ๕) ธัมมทินนาอุบาสก

          ๒) ยสกุลบุตรและสหาย                            ๖) อนาคาริกธัมมปาละ

          ๓) นางสุปปิยา                                        ๗) มหาทุคตะ

          ๔) นันทิยมานพ

 
 สาระธรรมสำคัญ

          ๑) ธัมมจักกัปปวัตนสูตร                            ๔) นิโครธชาดก

          ๒) อนัตตลักขนสูตร                                 ๕) กปิลชาดก

          ๓) สุวรรณสามชาดก                                ๖) เนื้อ ๑๐ อย่าง ที่ห้ามภิกษุฉัน

 
 คำอธิษฐาน ณ สารนาถ

          ขอเดชะ ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ข้าพระพุทธเจ้า ได้บูชาสักการะ สถานที่แสดงพระปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ของพระพุทธองค์ ในครั้งนี้ ขอจงเป็นบารมีให้เต็มเปี่ยมด้วยพร ๘ ประการ

                    ๑. ขอให้ธุรกิจของข้าพเจ้า...เดิน                 

                    ๒. ขอให้การเงินของข้าพเจ้า.....ดี

                    ๓. ขอให้ไมตรีของข้าพเจ้า.....เบิกบาน

                    ๔. ขอให้การงานของข้าพเจ้า......ก้าวหน้า

                    ๕. ขอให้การค้าของข้าพเจ้า.......รุ่งเรือง

                    ๖. ขอให้ชื่อเสียงของข้าพเจ้า.......งามปรากฏ

                    ๗. ขอให้เกียรติยศของข้าพเจ้า........ไพบูลย์

                    ๘. ขอให้เกียรติคุณของข้าพเจ้า....แผ่ไพศาล

          ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าตลอดชาติอย่างยิ่งจนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน เทอญฯ

***********

 

ตำนานคงคา ตามคัมภีร์ปูราณะ (โดยสังเขป)

          คงคา เป็นเทพธิดา พระธิดาของราชาหิมวัดและพระนางเมนาแห่งภูผาหิมาลัย เป็นสายน้ำบนสรวงสวรรค์จึงมีชื่อเรียกว่า สุรสรวันตีบ้าง สุรนทีบ้าง สุรนิมนคาบ้าง วโยคงคาบ้าง

          สมัยราชวงศ์ อิศวากุ มีพระราชาพระนามว่า “สาคร” ทรงมีพระมเหสี ๒ พระองค์ ทั้ง ๓ ไม่มีรัชทายาท จึงมอบราชบัลลังก์ให้มหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการแทน แล้วออกประพฤติพรตบำเพ็ญเพียรอยู่เชิงเขาไกรลาส เพื่อขอรัชทายาทจากเทพผู้ทรงฤทธิ์ศักดิ์ คือท้าวมหาเทพ

          ต่อมา ท้าวศิวะมหาเทพ ได้ประทานพรให้พระมเหสีองค์แรกมีพระโอรสเป็นน้ำเต้าทอง พระมเหสีองค์รองมีพระโอรสรูปงาม

          น้ำเต้าทอง พอแตกออกมีพระโอรสอยู่ภายในถึงหกหมื่น ล้วนมีนิสัยเกเรทำการระราน เป็นอันธพาลต่อมนุษย์และเทวดา ส่วนพระกุมารจากพระมเหสีรอง รูปงามเลยเป็นคนมักมากในเรื่องเพศตรงข้าม โดยไม่เลือกลูกเขาเมียใคร สุดท้ายต้องอาญาถูกประหารชีวิต โดยมีทายาทเกิดจากหญิงนางหนึ่ง นามอังศุมานตรา ราชาสาคร นำมาอุปการะในฐานะพระนัดดา

 

ราชาสาคร ทำพิธีอัศวเมธ (บูชาม้า) ปล่อยม้าอุปการท่องเที่ยวไป ม้าไปถึงเมืองไหนเจ้าเมืองนั้นๆ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเป็นสัญญาณแห่งการยอมเป็นเมืองขึ้น ถ้ามิส่งมา แสดงว่าประสงค์จะทำสงคราม ก็จะให้พระโอรสทั้งหกหมื่น ยกทัพไปตีเมืองนั้น ปรากฏว่า พิธีอัศวเมธ ครั้งหลัง ม้าอุปการได้สูญหาย ม้าไม่กลับมา บรรณาการก็ไม่มี จึงบัญชาให้พระโอรสทั้งหกหมื่นออกติดตาม โอรสเหล่านั้นคุกคามไปทั่วตามหัวเมืองน้อยใหญ่ลุกลามไปถึงทวยเทพรากษสและคนธรรพ์ แต่ก็ไม่พบม้าอุปการ วันหนึ่งไปพบหลุมลึกลับจึงพากันขุดค้นตามไปได้เห็นม้าอุปการอยู่ข้างๆ ฤาษีกบิล ด้วยความยโสโอหัง มิยอมฟังเหตุผลใด ใช้วาจาดูหมิ่นฤาษีกบิลอย่างหยาบหยามกระด้าง

          ฤาษีกบิลจึงลืมตาเป็นเปลวไฟเผาไหม้โอรสทั้งหกหมื่น กลายเป็นเถ้าถ่านในพริบตา ท่านนารถฤาษีเห็นเหตุการณ์นี้จึงเข้าเฝ้าเจ้าสาคร แล้วเล่าเรื่องราวให้สดับเจ้าสาคร เศร้าโศกเสียพระทัยมากรับสั่งให้อังศุมนตราไปนำม้ากลับมา

 

 

 

 

 
 อังศุมนตรา จรรยาดีมีสัมมาคารวะไปหาฤาษีกบิลด้วยความอ่อนน้อม ฤาษีมอบม้าให้แล้วบอกว่าถ้าราชาสาครอยากให้พระโอรสทั้งหกหมื่นขึ้นสู่สวรรค์ ต้องนำน้ำคงคาจากสวรรค์มาชำระล้างเถ้าถ่าน บาปจะหมดไป

          ราชาสาครได้สดับจึงมอบราชสมบัติให้นัดดาอังศุมนตรา แล้วออกบำเพ็ญตบะที่เขาหิมาลัย เพื่ออ้อนวอนให้คงคาเทพธิดาไหลมาสู่โลกมนุษย์ แม้จะบำเพ็ญอย่างแรงกล้าแต่คงคาเทวีก็ยังมิปรากฏ ผลจนที่สุดก็สิ้นอายุขัย

          อังศุมนตราเห็นพระอัยยิกาธิราชพากเพียรอย่างยวดยิ่งเพียรนั้น ก็พระราชทานราชสมบัติให้พระโอรสดีลิปะสืบสันติวงศ์ ตนเองก็ออกบำเพ็ญพรตเพื่อนอ้อนวอนพระแม่เทพคงคา จนสิ้นอายุขัยก็ไม่เป็นผล

          ดิลิปะได้สละราชสมบัติให้ภังคีรส พระโอรสสืบสันติวงศ์ ตนจึงออกมาบำเพ็ญพรต จนหมดอายุขัย ก็ไม่สำเร็จ

          ภังคีรส ได้มอบราชสมบัติให้ผู้สำเร็จราชการแทน แล้วตนเองออกบำเพ็ญเพียรตามบรรพบุรุษ สุดท้ายคงคาเทพนารีก็ปรากฏกาย ยินดีไหลลงสู่โลกมนุษย์ แต่กระแสน้ำจะแรงมากยากที่โลกทั้ง ๓ จะรับได้ ควรให้ท้าวมหาเทพศิวะมารับกระแสแห่งคงคา

          ภังคีรส จึงบำเพ็ญพรตต่อเพื่อขอความเมตตาจากท่านท้าวมหาเทพให้เป็นผู้มารับสายกระแสแม่คงคา ท่านท้าวมหาเทพก็เมตตายินดีรับคงคาที่ไหลจากสวรรค์ ลงมาสู่โลกมนุษย์โดยผ่านมวยผมของพระองค์

 
 สุดซาบซึ้งถึงตำนานการไหลมาของพระแม่คาคง มิน่าเล่า....! ชาวอินเดียพันกว่าล้าน จึงเชื่อมั่นว่าคือบันไดไปสู่สวรรค์ ล้างบาปอาบดื่ม บูชากราบไว้ได้อย่างสนิทใจ บางคณะมาจากแดนไกล ลำบากพากเพียรมา ขอให้ได้สัมผัสสักครั้งหนึ่งก็ซึ้งใจ แม้ชีพวายก็ไม่หวั่น นั่นคือ “ศรัทธา”

                    เพียรหนึ่งครั้งในชีวิต                       สมคิดสมมาตรปรารถนา

                    ได้ลงอาบ – ดื่มในคงคา                  แม้วายชีวาข้าฯ ก็ยอมฯ

 
 ท่าทศวเมธ

          เป็นท่าสำคัญที่สุดของท่าน้ำทั้งหมดของแม่น้ำคงคา คำว่า ทศวเมธ แปลว่า การบวงสรวงด้วยม้า ๑๐ ตัว ในสมัยโบราณพระเจ้าเมืองพาราณสีทรงทำพลีกรรมด้วยการนำม้า ๑๐ ตัว มาประกอบพิธีบูชายัญ แล้วปล่อยไปตามเมืองต่างๆ ถ้าผ่านเมืองใดต้องยอมอยู่ใต้อำนาจ มิเช่นนั้นจะต้องรบกัน และเมื่อเสร็จจะฆ่าม้าทั้ง ๑๐ ตัวเสียเพื่อเป็นการบูชายัญ ด้วยเหตุนี้ท่าน้ำจึงเรียกว่า ท่าทศวเมธ  แม่น้ำคงคาที่เมืองพาราณสีมีทั้ง ๘๔ ท่า ท่าทศวเมธเป็นท่าที่ใหญ่ที่สุด ท่าเผาศพคือ มณิกรรณิการ์ฆาต ท่าสุดท้ายคือ ท่าอสี แต่ท่าที่นิยมมีอยู่ด้วยกัน ๕ ท่า เรียกว่า ปัญจดีรถะหรือปัญจติตถะ คือ

          ๑) ท่าทศวเมธ  ๒) ท่าปัญจคงคา  ๓) ท่ามณิกรรณิการ์  ๔) ท่าอสีสังคม  ๕) ท่าหริจันทะ

          แม่น้ำนี้ยาวจากต้นหิมาลัยถึงปากอ่าวเบงกอล บังคลาเทศ รวม ๑,๕๕๑ ไมล์ ประมาณ ๒,๕๕๐ กิโลเมตร และที่แม่น้ำนี้ พระเจ้าราชาแมนสิงห์ กษัตริย์เมืองพาราณสีได้สร้างหูดูดาว ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๔๓  ปัจจุบันทรุดโทรมจนกรมโบราณคดีของอินเดียมาบูรณะ ต้องเสียค่าเข้าชม ๑๐๐ รูปี สำหรับชาวต่างชาติ

 
 มาทำไมคงคา

                    มา...บูชาพระบรมสารีริกธาตุ            มา...ดูการประกาศพระศาสนา

                    มา...ดูคนอาบ – สรงในคงคม           มา...ดูการวันทาดวงอาทิตย์

                    มา...ดูพิธีการปลงศพ                      มา...ดูการเคารพน้ำศักดิ์สิทธิ์

                    มา...ปลงสัจจะแห่งชีวิต                   มา...พินิจสองฝั่งอย่างเป็นธรรมฯ

-            คงคาที่เมืองพาราณสี มีลักษณะโค้งเสี้ยวพระจันทร์ คล้ายอยู่ที่พระนลาฏพระศิวะ

-            คงคาไหลจากใต้ – ไปเหนือ

-            แนวคิดการบูชาพระสุริยเทพแบบวิถีพุทธ

-            แนวคิดการบูชาคงคาแบบวิถีพุทธ

-            ลอยกระทงแบบวิถีพุทธ

 
 การเผาศพ

-            ท่ามณิกรรณิการ์ฆาต เผาศพมากที่สุด

-            คนทั่วไปผ้าห่อศพใช้สีเหลือง

-            หญิงสาวห่มผ้าขาว

-            คน ๕ ประเภท ไม่เผา คือ เด็ก – คนถูกงูกัด – ฟ้าผ่า – นักบวช และหญิงหม้ายตายทั้งกลมโดยศพถ่วงน้ำไปเลย

 

โยมสุขสรรค์ เหมือนประสิทธิเวทย์
และพวกเราร่วมกันเป็นเจ้าภาพสร้างพระพุทธรูป 2 องค์
มอบให้สำนักวัด "อุรุเวลา"

 


 

 
 เจ้าสำนักเป็นภิกษุณีจากประเทศเนปาล
 
 
 
 
 
 

 ชมวังมหันต์

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 ทีแรกนึกว่ากิ่งที่หักลงมาเป็นกิ่งเล็กๆ
แต่มองดูข้างในกลับไม่เล็ก
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 

 

 

 

 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 เทียนเต็ก ซินแส

"มีคนเขาว่ามาอินเดีย  เพื่อไหว้พระรับพร  
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"
วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ  
ตามรอยพระศาสดา  
  สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า
เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
 ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
      ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
    ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ
  ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
 ส่วนการบริการจะดีหรือไม่ดีไว้เป็นอันดับหลัง
(คิดว่าของแพงต้องดี)

 




โครงการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญบุญต่างๆ

เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชวนชาวพุทธร่วมสร้างเจดีย์ที่วัดแดงประชาราษฏร์ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส มอบพระพุทธรูปที่ประเทศอินเดีย
เทียนเต็ก ซินแส 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท ( 76 จังหวัด )
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดโสธรวรารามวรวิหาร)
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท"
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท" ภาคอีสาน
เทียนเต็ก ซฺนแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๓
เทียนเต็ก ซินแส โครงการ หลวงพ่อถวายพระสู่วัดป่า
เทียนเต็ก ซินแส ถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดจอมศรี ถวายเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส มอบรอยพระพุทธบาทที่อินเดีย
โครงการ "หลวงพ่อมาเยี่ยม"
โครงการ "วัดปันสุข"
"พระสังฆราชมีพระบัญชา" ตั้งโรงทานทั่วประเทศ
"พระสังฆราช" มีพระบัญชา ตั้ง"โรงทาน"ทั่วประเทศ
ทอดผ้าป่าสามัคคี มหากุศล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยา และสร้างวัดที่ 4 ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๒
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๙ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๘ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๗ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ๑๖ - ๒๑ พ.ค.๖๒. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๖ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๔ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 13 "ถ้ำอชันต้า เอลโลร่า" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๒ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 (คริก)
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรม นำพระบรมสุขขึ้นประดิษฐานบนพระธาตุพนม (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ถวายผ้าไตร "องค์พุทธเมตตา" 1ธ.ค.2552 ที่พุทธคยา(คริก) article
เทียนเต็ก ซินแส แนะนำชุมชนพุทธในประเทศอินเดีย (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ "ส่งแม่สู่สรวงสวรรค์" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเเกิดแผ่นดินไหวโอซาก้า (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศศรีลังกา ๒๑-๓๑ ม.ค. ๒๕๖๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 ตอน 2
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชาวพุทธดาวโหลด หนังสือธุดงค์อินเดียฟรี. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 1 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45 วัน ครั้งที่ 3. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค. 2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ เวียตนามใต้ครั้งแรก 4-7 ก.ค. 62 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค.2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมประเทศพม่าครั้งที่ 3 เยี่ยมชมพุกาม
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ 2
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมบนมหาเจดีย์พุทธคยา และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแส ร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 9 วันที่ 27ม.ค.-7ก.พ.57
เทียนเต็ก ซินแสร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ 30 พ.ย. - 9 ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรม แดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 8 วันที่30พ.ย.-8ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแส เศร้าใจต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาหักโค่น
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 7 เพื่อเป็นพุทธบูชา 25พ.ย.-4ธ.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่.6 เพื่อเป็นพุทธบูชา 20-27 มี.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ครั้งที่.5 วันที่ 29 ม.ค.-6 ก.พ. 55
เทียนเต็ก ซินแสอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากประเทศจีน พ.ศ.51 article
เทียนเต็ก ซินแสขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา 2553 (คริกดูรายละเอียด)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล หลั่งน้ำตาที่กุสินารา 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมพุทธคยา ถวายผ้าไตร "พระพุทธเมตตา" 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซฺนแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูตรพระพุทธเจ้า 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย- เนปาล สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมครั้งที่ ๓ ตามรอยบาทพระศาสดา วันที่ 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ มหาวิทยาลัยนาลันทาภาค 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เขาคิชฌกูฏ 2ธ.ค.52 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สู่แม่น้ำคงคา 4ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา article
นิลกาย สัตว์ป่าหิมพานต์ เชิงเขาหิมาลัย เนปาล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๒ article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินี สถานที่ประสูตร 5ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล วัดเชตวันมหาวิหาร บ้านอนาถะบิณทิกะเศรษฐี article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล กราบบาทพระศาสดา กุสินารา 7ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล (รอยพระพุทธบาท) article
เทียนเต็ก ซินแส เยี่ยมวิหารท่านธรรมะปาละ 3ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ขอเชิญร่วมต่อเศียรองค์พระประธาน
เทียนเต็ก ซินแส แจกพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา article
สมโภชวิหารเจ้าแม่กวนอิม 3 ปาง วัดแดงประชาราษฎร์
สมโภชศาลาพระพุทธเจ้า ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดแดงประชาราษฏร์
พิธีเททองหล่อ พระราหู
ทอดกฐินสามัคคี วัดแดงประชาราษฏร์
งานสมโภชน์ฉลองพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รอบอุโบสถ วัดแดงประชาราษฏร์
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมล้านนา
เทียนเต็ก ซินแส ถวายพระพุทธรูปในแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา
โครงการถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส จะถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยาสร้างวัดพุทธวัดที่ 3 เป็นพุทธบูชา (คริก)
ชาวสยามร่วมกันมอบพระประธานให้กับวัดพุทธ ในประเทศบังกลาเทศ
ปี่เซี๊ยะดีที่สุด 貔貅 ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รายได้ทุกบาท ทุกสตางค์เข้าวัดทั้งหมด article



dot
www.henghengheng.com
dot
dot
Web Link
dot
bullettiantekpro.com
bullettiantek.net
bullettiantek.com
bullethorawej.com
dot
Llink
dot
bullethotmail.com
bulletyahoo.com
bulletgmail.com
bulletgoogle.co.th
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
Newsletter

dot
bulletแลก ลิ้ง ได้ที่นี่



อ.รุ่งนภา พยากรณ์
(แม้นเมือง
)

พิมพ์ปารีณา
รับพยากรณ์
จัดฮวงจุ้ยและรับสอน

ติดต่อได้ที่
โทร.
085-3253709

http://
pimandfriends.
blogspot.com/



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Best View 1024 x 768 pixels.............
พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม (เทียนเต็กซินแซ).....e-mail address tiantek@hotmail.com และ tiantek@henghengheng.com
วัดแดงประชาราษฎร์ ถ. บางกรวยไทรน้อย ต. บางสีทอง อ. บางกรวย จ.นนทบุรี รหัส 11130
โทร 0-2447-3593, 0-1936-6908

javascript hit counter

View My Stats


รวมสุดยอกของเฮง รับพยากรณ์ดวงชะตาและสอนเลข 7 ตัว 9 ฐานประยุกต์ ต้องการมีเวปไซด์ของตัวเอง คลิกที่นนี่ Enter to M T h
A ! 100HOT Sites and Vote for this Site!!! www.horawej.com เวปนิตยสาร โหราเวสม์  เพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งโปรแกรมผูกดวงต่าง ๆ มากมาย ทางเรายินดี เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ ความรู้ทางศาสตร์ แห่งโหรศาสตร์ และอื่น ๆ ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใดหากท่านใดต้องการรับการพยากรณ์เชิญในห้องกระทู้ มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิคอย ตอนรับท่าน อยู่หลายท่าน เรียนเชิญครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง webmaster horawej@horawej.com web 10 luckastro.com เป็นเว็ปเพื่อการศึกษาโหราศาสตร์ 10 ลัคนา และโหราศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทุกสาขาวิชา เว็ป 10 luckastro.com เป็นศูนย์รวมของนักพยากรณ์ทุกระดับทุกสาขาวิชา เป็นจุดนัดพบและสื่อสารในระหว่างนักศึกษาโหราศาสตร์ด้วยกัน และในระดับครูบาอาจารย์ เว็ป 10 luckastro.com ยินดีในการให้บริการตอบปัญหาทั้งปัญหาชิวิตและปัญหาทางโหราศาสตร์ www.tiantek.com เวปเพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์จีน และ เลือกหัวข้อที่ต้องการดู (ดูได้ทุกเรื่องโดยไม่จำกัด) บอกวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากตามหลักสากล และบอกเหตุการณ์ที่ผ่านมา...เช่นแต่งงาน...มีบุตร ทำงานหรือทำธุรกิจ.เมื่อปีพ.ศ....และข้อสุดท้ายช่วยแจ้งด้วยว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของดวง ข้อมูลยิ่งมากการทำนายยิ่งแม่น ถ้าภายใน 24 ชั่วโมง(หนึ่งวัน)ยังไม่ได้รับคำทำนาย อาตมาอนุญาติให้โทรเข้ามาถามดวงสดสดได้ 
เวปไซด์ของอาตมา เป็นเวป เพื่อการศึกษาและเผยแผ่ธรรมะ และถ้าโยมช่วยบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบมากเท่าใดยิ่งได้บุญมากเท่านั้น 
www.maleeseacon.com เวปเพื่อการสะสมพระเครื่อง บูชาเครื่องของขลัง ณ ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ ชั้น 3 โซนโลตัส ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กทม 10250 Wireless Home Automation 
ท่านไม่ต้องเป็นวิศวกรหรือมีความรู้ทางด้านอิเลคโทรนิคส์ และไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม ท่านก็สามารถออกแบบและติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยตัวท่านเอง  
ชุมนุมผู้เป็นปฏิปักษ์กับหัว ขโมย มหาหมอดู PostJung.com เวบเพลง Online เพลง Update Intrend, หาเพื่อน MSN, Diary, Webboad โพสท์รูปซะใจ, PhotoAlbum ฯลฯ...Click เลย ชุมชนคนช่างฝัน สุดยอดแห่งสาระ และ ความบันเทิง ศูนย์รวม CODE ทุกอย่าง โรจน์ จินตมาศ   จุ๊กกรู! ดอท คอม ..มุมสงบ ผ่อนคลาย ครื้นเครง ป็นกันเอง..ดูดวงฟรี หวย ฟังเพลง เกมส์ หาเพื่อน หากิ๊ก ข่าว ดูดวง  Give information about Thai orchids ตลาดนัดรถรถบ้านที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ Image Hosted by ImageShack.us ซื้อขายออนไลน์ 24 ชั่วโมง