เทียนเต็ก ซินแส
เศร้าใจต้นโพธิ์พุทธคยาหักโค่น
http://www.henghengheng.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539931644&Ntype=8
 |
 |
 |
 |
บริเวณกลุ่มพุทธสถานพุทธคยา อันเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช4
และสร้างต่อเติมเรื่อยมาโดยกษัตริย์ชาวพุทธในอินเดีย พระองค์ต่อ ๆ มา จนกระทั่ง เมื่อกองทัพมุสลิมบุกเข้ามาโจมตีอินเดีย พุทธคยาจึงถูกปล่อยให้รกร้างไม่มีผู้คอยเฝ้าดูแล
............สำหรับความเป็นไปขององค์พระมหาโพธิเจดีย์นั้น พระเจ้าหุวิชกะ (: Huvishka) มีพระราชศรัทธาสร้างมหาเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ในปี พ.ศ. 694 เพื่อเป็นสถานที่สักการะสำหรับพุทธบริษัท โดยได้สร้างเป็นพระเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมทรงรีสวยงามติดกับพระแท่นวัชรอาสน์ทางทิศตะวันออก มี 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นสถานที่กราบนมัสการและชั้นบนเป็นห้องเจริญภาวนา ลักษณะของพระมหาโพธิเจดีย์มีเอกลักษณ์เฉพาะและตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ของมหาโพธิมณฑลมากว่าสองพันปี ในบางช่วงพระราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ ได้เข้ามาทำนุบำรุงอยู่เสมอ และได้รับการบูชารักษาจากชาวพุทธมาตลอด แต่มาขาดตอนไปเมื่อช่วงพันกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากแผ่นดินอินเดียแถบนี้ถูกคุกคามจากสงครามและการเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนา พุทธคยาจึงถูกปล่อยทิ้งร้างและถูกชาวฮินดูเข้าครอบครอง รวมทั้ง แปลงมหาโพธิเจดีย์เป็นเทวสถาน |
 |
พระเทพโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา
กำลังสำรวจความเสียหาย
|
 |
โดยเหตุการณ์ที่พุทธคยาถูกชาวฮินดูครอบครองนั้น เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2133 ซึ่งการที่พราหมณ์มหันต์เข้ามาครอบครองพุทธคยานั้นก็ไม่ได้ดูแลพุทธคยาแต่อย่างไร
จากบทความของท่านเซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ (Sir Edwin Arnold) กล่าวกันว่า เป็นพุทธประวัติฉบับภาษาอังกฤษ ที่มีความไพเราะ และน่าเลื่อมใสมาก
คือ ประทีบแห่งเอเชีย (The Light of Asia) ซึ่งท่านเซอร์ ได้เดินทางไปที่พุทธคยา และได้พบกับความน่าเศร้าสลดใจหลายประการ ท่านได้เขียนบทความไว้ตอนหนึ่งว่า
เขียนโดย ท่านเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์
ในความเป็นจริง ไม่มีข้อกังขาสงสัยใดๆ ในความเป็นจริง ของสถานที่ สังเวชนียสถาน 4 ตำบลของชาวพุทธ คือ กบิลพัสดุ์ (ปัจจุบัน Bhuila) ซึ่ง เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ, ป่าอิสิปตนะ ภายนอกเมืองพาราณสี ซึ่งพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนา กุสินารา ที่พระองค์ได้ปรินิพพาน และสถานที่ตรัสรู้ซึ่งมี ต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมาย ในวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อ 2383 ปี มาแล้ว พระองค์ได้บำเพ็ญเพียรทางจิตและมีศรัทธาเป็นอย่างมาก ซึ่งพระองค์ได้นำ ความเจริญทางอาารยธรรม มาสู่เอเชีย บรรดาสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา คือสิ่งที่มีค่าและศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธทั่วทั้งเอเชีย ทำไมหรือ เพราะว่า ปัจจุบันตกอยู่ในมือของนักบวชพราหมณ์ ผู้ไม่ได้ดูแลวัดเลย นอกจากว่าจะถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์เท่านั้น และพวกเขา ได้ตักตวงเอาผลประโยชน์ เป็นอย่างมาก
ความจริงในเรื่องนี้ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 กล่าวคือ 1400 ปีมาแล้ว สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พิเศษสุดและชาวพุทธรักษาไว้ แต่ได้ทรุดโทรมลงและถูกปล่อยปละละเลย เหมือนกับวัดพุทธศาสนาแห่งอื่น ๆ จากการอันตรธานสูญหายของพุทธศาสนาจากอินเดีย 300 ปีต่อมา นักบวชศาสนาพราหมณ์ที่ นับถือพระศิวะมาถึงที่นี้ และตั้งหลักปักฐาน ณ ที่ตรงนี้ ได้เริ่มครอบครองสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ซึ่งได้เห็นและก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นมา พวกเขามีกำลังมากจึงเข้ายึดครองเป็นเจ้าของวัดพุทธคยา ซึ่งรัฐบาลเบงกอลได้เข้ามาบูรณะ และพื้นที่รอบพุทธคยา ในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และได้ขอส่วนหนึ่งของรั้วเสาหินสมัยพระเจ้าอโศก จากพวกมหันต์ ซึ่งพวกเขาได้นำไปสร้างบ้าน เพื่อนำกลับมาตั้งไว้ ณ ที่เดิม แต่พวกมหันต์ไม่ได้คืนมา และท่านเซอร์ อาชเลย์ เอเดน (Sir Ashley Eden) ก็ไม่สามารถผลักดันการบูรณะให้แล้วเสร็จได้ |
 |
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ของศรัทธา ดังเช่นนครเมกกะ และเยรูซาเลม (Mecca and Jeruzaiem) เป็นศูนย์กลางศรัทธาของผู้ศรัทธานับล้านคน-เมื่อข้าพเจ้าได้พักที่โรงแรมที่พุทธคยาปีสองปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้ารู้สึกเศร้าใจที่เห็นเครื่องบูชา สาร์ท (Shraddh) ของพวกฮินดูในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ และวัตถุโบราณที่มีค่าจำนวนมากหลายพันชิ้น ซึ่งจารึกด้วยภาษาสันสกฤตได้ถูกทิ้งจมอยู่ในดิน ข้าพเจ้าได้ถามนักบวชฮินดูว่า
“ข้าพเจ้าจะขอใบโพธิ์จากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ได้หรือไม่”
“เจ้านาย จงหักเอาเท่าที่คุณชอบ มันไม่มีค่าอะไรสำหรับเรา” นี้เป็นคำตอบจากพวกเขา
ไม่มีความละอายจากอาการที่พวกเขาไม่สนใจใยดี ข้าพเจ้าเก็บใบโพธิ์ 3-4 ใบอย่างเงียบ ๆ ซึ่งพวกมหันต์ได้หักมาจากกิ่งบนหัวของพวกเขา และข้าพเจ้าได้นำใบโพธิ์ไปยังศรีลังกา เมื่อได้คัดลอกจารึกที่เป็นภาษาสันสกฤต ที่นั้น (ศรีลังกา) ข้าพเจ้าได้พบว่า ใบโพธิ์เป็นสิ่งมีค่าสำหรับชาวพุทธที่ศรีลังกา ซึ่งต้อนรับด้วยความกระตือรือร้นและศรัทธา ใบโพธิ์ที่ข้าพเจ้าถวาย ได้ถูกนำไปที่เมืองแคนดี้ และได้ใส่ไว้ในผอบที่มีค่าและได้รับการบูชาทุก ๆ วัน |
 |
พระสงฆ์ไทยกำลังทำวัตรสวดมนต์อยู่ด้านข้าง |
 |
 |
ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งพม่า ได้ส่งคณะทูตมายังอินเดียเพื่อขอบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและจัดการบางประการเพื่อดูแลรักษาพุทธสถานแห่งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากพวกมหันต์และรัฐบาลอินเดีย จึงได้เริ่มทำการบูรณะ ทางรัฐบาลอินเดียได้ส่งนายพล เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ด.ร.ราเชนทรลาละ มิตระ เข้าเป็นผู้ดูแลกำกับการบูรณะ หลังจากนั้นคณะผู้แทนจากพม่าจำเป็นต้องเดินทางกลับ ทางรัฐบาลอินเดียจึงรับงานบูรณะ ทั้งหมดมาทำแทน และเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2427
จนในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดีย โดยการนำของ ฯพณฯ เยาวหรลาล เนรูห์ นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี (วิสาขบูชา) โดยเชิญชวนประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก มาสร้างวัดไว้ในดินแดนต้นพุทธอุบัติภูมิ ซึ่งประเทศไทยโดยการนำของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำเนินการสร้างวัดเป็นชาติแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และประเทศชาวพุทธอื่น ๆ (เช่น ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี จีน ศรีลังกา ธิเบต ฯลฯ) ได้ดำเนินการสร้างวัดต่อมาตามลำดับ และรัฐบาลอินเดียได้มีส่วนสำคัญในการบูรณะพุทธคยาอย่างต่อเนื่องจนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน
จุดแสวงบุญและสภาพของพุทธคยาในปัจจุบัน |
 |
พุทธคยาในปัจจุบันเป็นพื้นที่อยู่ต่ำกว่าพื้นปกติ เหมือนหลุมขนาดใหญ่ เนื่องจากผ่านระยะเวลากว่าสองพันปี ดินและตะกอนจากแม่น้ำได้ทับถมจนพื้นที่ในบริเวณนี้สูงขึ้นกว่าในสมัยพุทธกาลหลายเมตร ทำให้ในปัจจุบันผู้ไปนมัสการสังเวชนียสถานแห่งนี้ต้องเดินลงบันไดกว่าหลายสิบขั้น เพื่อถึงระดับพื้นดินเดิมที่เป็นฐานที่ตั้งพุทธสถานโบราณ
ปัจจุบันพุทธคยาได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุที่สำคัญ ๆ ที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะคือ พระมหาโพธิเจดีย์ อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีลักษณะเป็นเจดีย์ 4 เหลี่ยม สูง 170 ฟุต วัดโดยรอบฐานได้ 121.29 เมตร ภายในประดิษฐาน พระพุทธเมตตา พระพุทธรูปที่รอดจากการถูกทำลายจากพระเจ้าศศางกา พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบศิลปะปาละ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั่วโลก พระแท่นวัชรอาสน์ แปลว่าพระแท่นมหาบุรุษใจเพชร สร้างด้วยวัสดุหินทรายเป็นรูปหัวเพชรสี่เหลี่ยม กว้าง 4.10 นิ้ว 7.6 นิ้ว หนา 5 นิ้วครึ่ง ประดิษฐานอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นพระแท่นจำลองขึ้นทับพระแท่นเดิมเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ณ จุดนี้ ปัจจุบัน ประชาชนและรัฐบาลประเทศศรีลังกาได้อุทิศสร้างกำแพงแก้ว ทำด้วยทองคำแท้ ประดิษฐานรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นวัชรอาสน์ และนอกจากนี้ บริเวณพุทธคยาและโดยรอบยังมีสถานที่สำคัญมากมาย เช่น กลุ่มพระเจดีย์เสวยวิมุตติสุข สระมุจลินทร์ บ้านนางสุชาดา ถ้ำดงคสิริ (สถานที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญทุกกรกิริยา) วัดพุทธนานาชาติ เป็นต้น
และ...ต่อมา ชาวพุทธทั่วโลกจึงได้ร่วมเสนอขอให้พุทธคยาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จนในที่สุด ในปี พ.ศ. 2545 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจึงได้พิจารณาให้พุทธคยาเป็นมรดกโลก
|
 |
พุทธคยามหาสังฆาราม
เมือง... บำเพ็ญทุกรกิริยา เมือง...ตำรามธุปายาส
เมือง...ลอยถาดอธิษฐาน เมือง...ศาสดาจารย์ตรัสรู้
เมือง...บรมครูชนะมาร เมือง...อธิษฐานแล้วสำเร็จ
เมือง...๗ สถานอันศักดิ์สิทธิ์ เมือง...สถิตพุทธเมตตา
เมือง...ภาวนาใต้โพธิ์ศรี เมือง...มหาเจดีย์สูงเสียดฟ้า
เมือง...ลอยชฎาสามฤาษี เมือง...หรหมโยนีน่าศึกษา
เมือง...เนรัญชรานทีทราย เมือง...น้อมใจ-กายแนบพระธรรม
เมือง...เวรกรรมย้ำชาดก เมือง...สวรรค์บนบก-นรกบนดินฯ
|
 |
§ ความเห็นของ มหาตมคานธี คือ “วิหารพุทธคยาขึ้นควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรมการนำสัตว์ไปฆ่าทำพลีกรรมในวิหามหาโพธิ์ไม่สมควร เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจของชาวพุทธทั่วไป”
|
 |
§ ความเห็นของ ระพินทรนาถฐากูร คือ “ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้ เพราะศาสนาอื่นไม่เกี่ยวข้องอะไรและไม่มีเยื้อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา
|
 |
 |
สิ่งสำคัญที่พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้
๑. พระมหาเจดีย์พุทธคยา สูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐาน ๘๕ เมตรเศษ เป็นเจดีย์ ๒ ชั้น มีเจดีย์รอบฐาน ๔ องค์ สูง ๔๕ ฟุต ขั้นบนประดิษฐาน พระปางประทานพร ส่วนชั้นล่าง ประดิษฐานพระปางมารวิชัยหรือพระพุทธเมตตา อายุ ๑,๔๐๐ ปีเศษ
๒. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (โพธิบัลลังก์) ปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔ ปลูกเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ ปัจจุบันอายุได้......ปี (เอาปีปัจจุบันลบด้วย ๒๔๒๓) ที่อธิษฐานปลูกโดย “คันนิ่งแฮม”
๒.๑ ต้นที่ ๑ เป็นสหชาติเกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า มีอายุได้ ๓๕๒ ปี สาเหตุหมดอายุ เพราะพระชายาของพระเจ้าอโศกให้หญิงสาวใช้มาทำลาย
๒.๒ ต้นที่ ๒ เกิดจากแรงอธิษฐานของพระเจ้าอโศกมหาราช อายุได้ ๘๙๑ ปี ถูกกษัตริย์ศสางกา สั่งทหารทำลายประมาณปี พ.ศ. ๑๑๐๐ เศษ
๒.๓ ต้นที่ ๓ เกิดจากแรงอธิษฐานของกษัตริย์ปูรณะวรมา มีอายุประมาณ ๑,๒๕๘ ปี หมดอายุขัยเอง
|
 |
๓. พระแท่นวัชรอาสน์ พระเจ้าอโศกสร้างแทนรัตนบัลลังก์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักจากหินทราย มีขนาดยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว และกว้าง ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว หนา ๑ ฟุต ๖ นิ้ว ส่วนด้านบนจะแกะสลักเหมือนหัวแหวนเพชร ด้านข้างมีดอกบัว หงส์ และดอกมณฑารพ
๔. อนิมิสสเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๒ เป็นเจดีย์สีขาวอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นโพธิ์
๕. รัตนจงกรมเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุข สัปดาห์ที่ ๓ อยู่ทางทิศเหนือ เป็นหินทรายแกะสลักเป็นดอกบัวบาน ๑๙ ดอก
|
 |
๖. รัตนฆรเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสัปดาห์ที่ ๔ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคา พระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาชิกเพชร พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก และสมันตปัฏฐานอนันตนัย
๗. อชปาลนิโครธเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๕ อยู่ระหว่าง แม่น้ำโมหะนีกับแม่น้ำเนรัญชราเป็นที่รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ที่พิจารณาบุคคลเหมือนอุบล ๔ เหล่า ที่ท้าวสหัมบดีพรหมอารมธนาแสดงธรรม ที่นางมารมาเล้าโลมพระพุทธเจ้า
๘. พระมุจลินทร์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๖ เกิดพายุฝนตลอด ๗ วัน พญามุจลินทร์นาคราชได้ถวายอารักขา พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า “ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สินโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก”
|
 |
๙. ต้นราชายตนะ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขสัปดาห์ที่ ๗ พานิช ๒ พี่น้อง คือ “ตปุสสะและภัลลิกะ” จากอุกกลชนบทได้ถวายสัตตุชนิดผงและชนิดก้อน ท้าวเทวราชทั้ง ๔ นำบาตรศิลามาถวายให้รับ พานิช ๒ พี่น้องประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสอง คือ “พระพุทธกับพระธรรม” เป็นสรณะ
ในอรรถกถาพระวินัยปิฏก มหาวรรค กล่าวว่า พระพุทธองค์ ทรงลูบพระเศียร เส้นพระเกศาติดที่พระหัตถ์ทรงมอบให้พานิช ๒ พี่น้อง นำพระเกศาธาตุไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ในนครของตน
ต่อมาทั้ง ๒ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ฟังธรรมและบรรลุเป้นพระโสดาบัน ตปุสสะอยู่เป็นอุบาสกภัลลิกะบวชได้บรรลุดรหัสต์พร้อามอภิญญา ๖ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้เลิศกว่าอุบาสกผู้ถึงรัตนะก่อนผู้ใด”
|
 |
๑๐. พระพุทธเมตตา เป็นพระปฏิมากร สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ สมัยปาละ ปางมารวิชัย อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี เป็นพระปฏิมาที่คนทุกศาสนามาสักการะด้วยความศรัทธา
๑๑. แม่น้ำเนรัญชรา ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์มาทางตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่กลางหมู่บ้าน
๑๒. บ้านนางสุชาดา อยู่ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่กลางหมู่บ้าน
๑๓. ท่าสุปปติฏฐะ คือ สถานที่ลอยถาดอธิฐาน รับหญ้ากุสะจากโสตถิยมานพ และเสวยข้าวมธุปายาสก่อนตรัสรู้
|
 |
 |
๑๔. คงคสิริเขาบำเพ็ญเพียร คือ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของพระมหาบุรุษ ห่างจากพุทธคยาประมาณ ๗-๙ กิโลเมตร ปัจจุบันรถยนต์สามารถส่งถึงเชิงเขาแล้ว
๑๕. คยาสีสประเทศ พุทธกาล คือ เขาคยาสีสะ ปัจจุบันเรียกว่า “พรหมโยนี” เป็นสถานที่แสดงอาทิตตปริยายสูตร ที่เทวทัตต์ก่อการปฏิวัติพระศาสดาแล้วมาตั้งสำนักที่นี่
๑๖. อาศรมชฎิล คือสถานที่พักของอุลุเวลกัสสปะ พระศาสดาได้ทรงทรมานจนละทิฏฐิพร้อมน้อง คือ นทีกัสสปะและคยากัสสปะ รวมทั้งบริวาร ๑,๐๐๐ บวชในพระพุทธศาสนา
๑๗. วัดไทยพุทธคยา ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม นามเจ้าอาวาส คือ สมเด็จพระธีรญาณ, พระสุเมธาธิบดี และปัจจุบัน คือ พระเทพโพธิวิเทศ
|
 |
สาระธรรมสำคัญ
๑. ปฎิจจสมุปบาท ๔. พระญาณ ๓ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๒. อาทิตตปริยายสูตร ๕. ปฐมพุทธวจนะ
๓. พุทธอุทาน ๖. บุคคลเปรียบด้วยดอกบัวสี่เหล่า
|
 |
วัดพุทธนานาชาติ
๑. วัดญี่ปุ่น ๒. วัดธิเบต ๓. วัดภูฎาน
|
 |
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาไม่ได้โค่น!!
จากข่าวด่วนที่ที่ส่งต่อกันไปอย่างมาก เรื่องต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒ โค่นล้มลงเมื่อหัวค่ำวานนี้ที่ผ่านมา ในฐานะพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ที่ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในวัดไทยพุทธคยา ซึ่งอยู่พื้นที่จริง ได้เห็นเหตุการณ์จริง จึงขอยืนยันว่า
"ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้จริงแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้โค่นล้มลง" แม้กระทั่ง "ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒ หรือ ต้นที่ท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม นำหน่อจริงแยกออกมาปลูกทางฝั่งทิศตะวันออกของพระมหาเจดีย์อีกต้นหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ ก็ไม่ได้โค่นล้มลงตามที่เป็นข่าว"
เพียงแค่ต้นโพธิ์ ต้นที่นำแยกออกมาปลูกทางฝั่งตะวันออกนี้ มีบางกิ่ง ซึ่งเป็นกิ่งใหญ่ ที่โน้มลงเพราะมีน้ำหนักมาก แต่ไม่มีเสาค้ำไว้ ได้หักลงมา เพราะช่วง ๓ วันที่ผ่านมา เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำหน้ากิ่งโพธิ์ใหญ่นี้รับน้ำไว้มาก จนในที่สุดก็ทานน้ำหนักไม่ไหว จึงหักลงมาทับสถูปเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
ซึ่งวันนี้ พระสงฆ์เตรียมธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ที่ได้เดินทางจากสุวรรณภูมิมาสู่พุทธภูมิถึงวัดไทยพุทธคยา เมื่อวันที่ ๕ ก.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้ออกไปเจริญพระพุทธมนต์ ด้วยบทพระธัมมจักรกัปปวัตนสูตร และ บทโพชฌงคปริตร เป็นต้น ตลอดจนได้ปฏิบัติบูชาตลอดทั้งวัน ภายใต้ต้นโพธิ์ต้นที่ ๒ นี้ ตามการมอบหมายของ พระธรรมโพธิวงศ์ หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความมั่นคง ที่แม้ไม้โพธิ์จะหักลงมาบ้าง แต่จิตใจของพระสงฆ์ในพระพุทธองค์ก็ยังคงมั่นคงตรงต่อพระศาสดา
พระครูปลัดเฉลิมชาติ ชาติวโร
พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล
ผู้ดูแลหลักสูตรเตรียมพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาลและงานการเผยแผ่ของพระธรรมวิทยากรไทยในแดนพุทธภูมิ
|
ข่าวสุดท้าย
ที่บอกว่าต้นศรีมหาโพธิ์
ที่พุทธคยาไม่ได้โค่น เป็นข่าวดีที่สุดของปีนี้
ทำให้ดีใจที่สุด
ขอบคุณครับที่ส่งข่าวมาบอก |
 |
 |
วัดญี่ปุ่น
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ แบ่งเป็น ๒ โซน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส เขตพุทธาวาส มีหลวงพ่อไดโจบุตซึ สูง ๘๐ ฟุต วัดจากฐานถึงพระบาทได้ ๒๔ ฟุต จากฐานชุกชีถึงพระเศียรได้ ๕๖ ฟุตเขตสังฆาวาส เรียกไดจอกเจียว ทั้งหมดสร้าง ๔ ปี เสร็จ สร้างด้วยหินทรายแดงจากเมืองจูน่า หินอ่อนจากเมืองชัยปูร์ รอบหลวงพ่อได้โจบุดซี มีพระอรหันต์ ๑๐ ทิศ คือ ๑. พระอานนท์ ๒. พระสารีบุตร ๓. พระปุณณมันตานีบุตร ๔. พระมหากัจจายนะ ๕. พระราหุล ๖. พระสูภูติ ๗. พระอุบาลี ๘. พระมหาโมคคัลลานะ ๙ พระอนุรุทธะ ๑๐. พรามหากัสสปะ
|
 |
วัดทิเบต
สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓ ธิเบต มีละมะ ๔ นิกายคือ
๑. นิกายนิงมะ สามหมวกแดง เกิดปี พ.ศ.๑๓๖๓ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ไบเลาคุมเบ มีท่านออลิมบูเซ่ เป็นประมุขนิกาย สามารถไว้ผมยาวและหนวดเคราได้
๒. นิกายศักยะ สวมหมวดสีน้ำเงิน เกิดปี พ.ศ.๑๕๗๘ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ดุลหาโหตรัง ราชปูร์ ปูนสุดโฟตรัง สหรัฐอเมริกา มีนควัง กุนคา เตเคเฮน ลิมปูเช่ เป็นประมุข สามารถมีครอบครัวได้
๓. นิกายกายุค สวมหมวดสีดำ เกิดปี พ.ศ. ๑๕๙๓ สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองรุมเต็ก รัฐสิขิม มีอูเป็นดอร์เลย์ โดเจ การมาปะ องค์ที่ ๑๗ เป็นประมุข
๔. นิกายเกลุค สวมหมวดสีเหลือง เกิดปี พ.ศ.๑๙๒๘ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ธรรมศาลา หิวันตประเทศ มีองค์ดาไลลามะเป็นประมุข องค์ที่ ๑๔
|
 |
วัดภูฎาน
สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ปัจจุบัน ท่านจิกมี่ วังจุก เป็นประมุข
|
 |
คำอธิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์พุทธยา
ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ได้จาริกมาบูชาสักการะ สถานที่ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันนี้ ขอจงเป็นบารมี เป็นพลวปัจจัย เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้เกิดปัญญาณ มีความรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ หากแม้นว่าข้าพระพุทธเจ้า ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฎฎสงสาร ขออำนาจแห่งบุญกุศลนี้ จงเป็นเหตุอำนวยให้ ได้ไปบังเกิดแต่ในสุคติภูมิ ขอให้เกิดในตระกูลที่ดี มีรูปร่างดี มีปัญญาดี มีสุขภาพดี มีฐานะดี มีพ่อแม่ดี มีครูบาอาจารย์ดี ขอให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติธรรม ได้บรรลุธรรม สมควรแก่การปฏิบัตินั้น จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในกาลอันควรด้วยเทอญฯ
|
 |
|
 |
 |
มหาเจดีย์พุทธคยาปัจจุบัน |
 |
มหาเจดีย์พุทธคยาในอดีต |
 |
ภายในมหาเจดีย์ชั้นล่าง สำหรับกราบนมัสการ
มีพระพุทธเมตตา พระพุทธรูปปางพิชิตมารเป็นพระประธาน |
 |
ชั้นสองเป็นห้องเจริญภาวนามีพระพุทธกรุณา
พระพุทธรูปปางประทานพร เป็นประธาน |
 |
ทางขึ้นชั้นสองพระมหาเจดีย์ |
 |
ระเบียงบนชั้นสองของมหาเจดีย์พุทธคยา |
 |
ทางขึ้นชั้นสองของมหาเจดีย์พุทธคยา |
 |
ถวายผ้าไตรพระมหากรุณา
บนชั้นสองของมหาเจดีย์พุทธคยา |
 |
ความภาคภูมิใจของนักบวชที่ได้มาเจริญภาวนาณ.สถานที่นี้
ไม่สามารถบอกกล่าวเป็นภาษาได้
รู้ได้เฉพาะตน |
 |
ประมาณปี 2554 ช่วงนั้นยังสามารถปฏิบัติธรรม
ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตลอดคืนได้
เวลาประมาณ 02.00น.นิมิตเห็นพระพุทธรูปยืนองค์นี้
หลังจากนั้นมาพุทธคยาทุกปีมาหลายครั้ง ตามหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ
แต่เมื่อมีวาสนาได้ขึ้นมาบนมหาเจดีย์ชั้นสองเท่านั้น
พูดไม่ออก บอกไม่ได้จริงๆ ว่ามีความรู้สึกอย่างไร
เทียนเต็ก ซินแส |