ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๔
๘-๑๙ มี.ค.๖๐
ปฎิบัติธรรมที่ "พระมหาเจดีย์" พุทธคยาบนชั้นสอง
ถวายผ้าไตรพระพุทธเมตตา(ปางยืน)
พระพุทธรูป "ปางประทานพร"
สร้างจากหินแกรนิตสีดำสมัยปาละอายุประมาณ ๑,๔๐๐ ปีเศษ
ภาพนี้เป็นภาพมาปฏิบัติธรรมที่อินเดียครั้งที่ 11
นำพระบรมสุขมาด้วย
 |
 |
ด้านหลังคือต้นพระศรีมหาโพธิ์
ที่แผ่กิ่งก้านขึ้นมาบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง |
 |
ขึ้นมาบนนี้แล้วรู้สึกว่ามีความสุขมาก
ยิ่งครั้งที่สองและครั้งที่สาม
ยิ่งแฮปปี้มากๆ |
 |
บริเวณบรรไดทางขึ้นไปชั้นที่สอง
มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางประทานพร
|
 |
ต้องขอขอบคุณและขอบใจโยมวิรัช ว่องวิชญ์พล
นั่งกลางที่เมตตาถ่ายรูปมาให้
โยมบุญนะ ดาราเย็น (ผ้าแดงพาดไหล่) ซ้ายมือ
โยมตุ้ม ดาราเย็น (น้องชายโยมบุญนะ)ขวา
เพราะมาคราวนี้มาคนเดียว
คนเราถ้ามีวาสนาร่วมกันถึงอย่างไรก็จะต้องได้พบกัน |
 |
บริเวณด้านในพระมหาเจดีย์พุทธคยา
พบหลวงพ่อพระครูวิบูลธรรมกิจ
เจ้าอาวาสวัดปางกิ๊ด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ที่ชั้นสองด้วย |
 |
เพื่อนสามคนนี้่คนซ้ายมือคือจำนงค์
คนกลางคือพิศมัย ส่วนคนขวาคือหน่อย อยู่เยอรมัน
สามคนนี้เป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยเรียนพาณิชยการพระนครมาด้วยกัน
ถึงแม้ไม่ได้มาแต่ก็มีน้ำใจซื้อยาหม่องตราลิงถือลูกท้อมาแจกลูกหลานพระพุทธเจ้าหลายกิโล แม้แต่ฤษีก็ยังได้อานิสงค์ไปด้วย ขอบคุณหลายๆ |
วัดไทยสารนาถ ตั้งอยู่ที่ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย พระครูประกาศสมาธิคุณ (สังเวียน ญาณเส วี) คณะ 25 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ได้ดำริให้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และตอบแทนพระคุณพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงเผยแผ่พระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปยังประเทศไทย ทำให้ชาวไทยได้รับความร่มเย็นเป็นสุขจากการนับถือพระพุทธศาสนามาจนทุกวันนี้ โครงการอันดับแรก ปี พ.ศ. 2512 ได้ซื้อที่ดิน 1,310 เอเคอร์ ประมาณ 32 ไร่ และมอบหมายให้กัลยาณมิตรชาวอินเดีย คือภิกษุศาสนรัศมี หรือพระครูสรวิชัยเป็นเจ้าอาวาส
|
ภาพนี้เป็นภาพสามมิติ
สี่อิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในสติปัฎฐานสูตร
"ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ" (เมื่อยืนอยู่ ก็รู้ว่ายืนอยู่)
"คัจฺฉันโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ" (เมื่อเดินอยู่ ก็รู้ว่ากำลังเดินอยู่)
"นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตวา"
(นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า)
"สยาโน วา สยาโนมหีติ ปชานาติ" (เมื่อนอนอยู่ ก็รู้ว่ากำลังนอนอยู่)
 |
๕. มีผู้นำ ที่ให้คำแนะนำ และจัดโปรแกรมการเดินทาง เป็นภาระในการเดินทางเพื่อการเดินทางโดยสะดวกไม่มีอุปสรรค |
 |
สถานที่แห่งแรกที่คณะจาริกไปถึงก็คือพระมหาเจดีย์พุทธคยา มหาสังฆาราม อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรูพระสัมมาสัมโพธิญาณแห่งพระบรมศาสดา
อาตมาและหมู่คณะได้เข้าไปภายในวิหารพระเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรที่ทราบมาว่าสร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ สร้างในสมัยปาละ ปางมารวิชัย มีอายุประมาณ 1400 ปีเศษแล้ว ปิดทองเหลืองอร่าม สวยงามมาก ชาวไทยพากันเรียกว่า หลวงพ่อพุทธเมตตา (องค์หลวงพ่อตั้งอยู่ในห้องกระจก แต่มองเห็นได้อย่างชัดเจน) พวกเราได้กราบไหว้หลวงพ่อพุทธเมตตา และมีสิ่งหนึ่งที่ยังความปีติให้กับชาวคณะของเราจนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เป็นครั้งหนึ่งที่ได้จาริกมายังสังเวชนียสถานก็คือได้รับอนุเคาะห์จากพระสงฆ์ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่ทำหน้าที่ดูแลวิหารพระเจดีย์ อนุญาติให้คณะของเราได้เปลี่ยนผ้าไตรจีวร ซึ่งพวกเราได้เตรียมนำมาจากเมืองไทยให้กับองค์หลวงพ่อพุทธเมตตา ถึง 2 ครั้ง และที่สำคัญอาตมายังได้รับมอบผ้าไตรจีวรเก่าที่เคยใช้ห่มคลุมองค์หลวงพ่อพุทธเมตตาไว้เป็นอนุสรณ์และพุทธานุสติว่าครั้งหนึ่งผ้าไตรจีวรผืนนี้เคยใช้ห่มคลุมองค์หลวงพ่อพุทธเมตตา จึงถือว่าเป็นมหามงคลอย่างยิ่ง
พวกเราได้ไปกราบไหว้ เยี่ยมชมสัตตมหาสถาน (สถานที่ทรงยับยั้งอยู่เพื่อเสวยวิมุตติสุข หลังจากที่ทรงตรัสรู้แล้ว 7 แห่งๆ ละ 7 วัน รวม 49 วัน) คือ
1. โพธิบัลลัง
2. อนิมิสเจดีย์
3. รัตนจงกรมเจดีย์
4. รัตนฆรเจดีย์
5. ต้นอชปาลนิโคตร
6. ต้นมุจลินทร์
7. ต้นราชายตนะ
จากสถิติมีนักแสวงบุญต่างๆที่ได้เดินทางจาริกไปยังแดนพุทธภูมิเป็นอันดับหนึ่งก็คือนักแสวงบุญจากประเทศศรีลังกา ส่วนนักแสวงบุญจากประเทศไทยที่ได้เดินทางจาริกไปยังแดนพุทธภูมินั้นเป็นแค่อันดับ 7
เทียนเต็ก ซินแส
โทร.081-936-6908 |
 |
ความภาคภูมิใจในฐานะพุทธศาสนิกชนชาวไทย
๑. ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีชาวพุทธนับถือพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน
๒. เพราะเรามีบุญ เคยสร้างกุศลมาตั้งแต่อดีตชาติอันเป็นบุพเพกตปุญญตา มาในชาตินี้บุญกุศลจึงส่งหนุนนำให้มาเกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา
๓. ไทยเรามีความสงบร่มเย็น เป็นสุขได้ ก็เพราะภายใต้พระบารมีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ทรงเป็นพุทธมามกะ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองที่บ้านพุทธเมืองไทย มาตราบจนปัจจุบันนี้
|
 |
- วัดไทยสารนาถ สร้างขึ้นรูปแบบผสมไทยผสมศิลปะสถาปัตยกรรมแห่งยุคสมัยได้ดีเยี่ยม โดยท่านพระครูประกาศสมาธิคุณ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 เป็นอนุสรณ์ของชาวพุทธไทยในสังเวชนียสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพื้นที่ 34 ไร่ แบ่งเป็นเขตอุโบสถ ที่รับรอง ผู้แสวงบุญ กุฏิกรรมฐาน โรงเรียนและศาลาปฏิบัติธรรม เป็นต้น
|
 |
นี่ก็เรื่องแปลก
“นักท่องยุโรป-อเมริกา รวมทั้งนักท่องรอบโลกหลายท่าน...ให้ข้อคิดเห็นว่า...
ที่ไปทุกแห่งแสนสะดวกสบาย ประเทศสนุกก็ว่าแสนสนุก...
เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้วก็หมดกัน
แปลกเป็นพิเศษก็คือ...ท่องอินเดีย สะดวกก็ไม่สะดวก สบายก็ไม่สบาย
สนุกก็ไม่สนุก แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว กลับคิดถึงอินเดีย...แปลกจริงๆ
...อินเดียมีอะไรหรือ ?”
|
 |
 |
 |
อนาคาริก ธรรมปาละ
ท่านอนาคริกะ ธรรมปาละ เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดีย ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๐๗ ในครอบครัวผู้มั่งคั่งเมื่อราว พ.ศ.๒๔๓๖ บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอ็ดวิล อาร์โนล ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชิวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้
จากนั้นจึงเดินทางกลับลังกาและก่อตั้ง สมาคมมหาโพธิ ขึ้นที่โคลัมโบ หลังจากนั้นท่านก็ได้ส่งสมณทูตมาที่พุทธคยา แต่ธรรมทูตทั้ง ๔ กลับถูกมหันต์ที่ยึดครองพุทธคยา รังแกจนบางรูปบาดเจ็บและบางท่านมรณภาพ ท่านต้องเดินทางกลับอินเดียอีก แล้วรณรงค์เพื่อให้พุทธคยากลับเป็นของชาวพุทธเช่นเดิม ท่านเดินทางไปพุทธคยาและก็โดนมหันต์ห้ามเข้าพุทธคยา แต่ท่านดื้อแพ่งจนที่สุดถูกทำร้ายจนเรื่องขึ้นศาล สุดท้ายศาลชั้นต้นชี้ขาดให้ชาวพุทธชนะ แต่มหันต์ไม่ยอมจึงฟ้องฎีกา ศาลฎีกา กลับให้มหันต์ชนะ จึงทำให้มหันต์ยึดคืนอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นท่านและพระสงฆ์จึงโดนขับออกจากพุทธคยา แม้ว่าจะแพ้แต่ท่านก็ไม่ยอมแพ้ ยังรณรงค์แจกจ่ายบรรยายเขียนหนังสือแจกจ่ายให้ชาวอินเดียทั่วไปอ่าน ทำให้ชาวอินเดียคนสำคัญ ทั้งคานธี ราธกฤษณัน (อดีตประธานาธิบดีคนแรกของอินเดีย) ท่านรพินทนาถ ฐากูร เห็นใจแล้วกล่าวสนับสนุนท่านธรรมปาละ ทำให้พวกมหันต์เสียงอ่อนลง ต่อมาท่านดินทางไปอเมริกา เพื่อรณรงค์และบรรยายธรรมและทำให้นางแม่รี่ อี ฟอสเตอร์ที่ฮาวายเลื่อมใส ศรัทธาและได้ยอมตนเป็นพุทธมามกะ และบริจาคหนึ่งล้านรูปีแก่ท่านธรรมปาละต่อมาท่านธรรมปาละได้ก่อตั้งสมาคม มหาโพธิ์ขึ้นที่อินเดียหลายแห่ง
ในปัจฉิมวัยท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่สารนาถพาราณสี ก่อนมรณภาพท่านอธิษฐานว่า "ขอให้ข้าพเจ้าได้ตายไวๆ แล้วขอให้เกิดมาเผยแพร่ธรรมของพระพุทธองค์ตลอดไป"
ในสมัยที่ท่านยังมัชีวิตอยู่ ความพยายามในการโอนพุทธคยาจากมหันต์ให้เป็นของชาวพุทธยังไม่สำเร็จ จนได้เอกราช ท่านเนห์รูและรัฐบาลของท่าน จึงร่างกฏหมายโอนพุทธคยาเป็นของรัฐบาล แล้วแต่งตั้งคณะกรรมการ ๘ ท่านเป็นผู้บริหาร โดยเป็นฝ่ายฮินดู ๔ และพุทธ ๔ ส่วน ประธานเป็นนายอำเภอเมืองคยา แม้จะไม่สามารถทำให้ชาวพุทธเป็นผู้บริหารทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก
กฏหมายนี้สร้างความไม่พอใจให้มหันต์เป็นอย่างมาก จึงฟ้องร้องทางศาลให้ถือว่า กฎหมายนี้เป็นโมฆะ แต่ประธานาธิบดีของอินเดียและนักการเมืองหลายท่าน ได้ห้ามปรามให้มหันต์ถอนฟ้อง เพราะจะเป็นที่อับอายแก่อินเดียทั้งชาติ และมหันต์อาจจะเสียมากกว่านี้หลายเท่า มหันต์เชื่อฟังเพียงแต่ยับยั้งกฎหมายไว้แต่ก็ยังไม่ถอนฟ้อง ปัจจุบันพุทธคยายังใช้กฎหมายนี้อยู่ ในบั้นปลายชีวิตท่านได้อุปสมบท ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถเมืองพาราณสี และมรณภาพ ณ ที่นั้น เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ รวมอายุ ๖๙ ปี ๗ เดือน ๑๓ วัน
|
 |
 |
ความภาคภูมิใจในฐานะพุทธศาสนิกชนชาวไทย
๑. ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีชาวพุทธนับถือพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม ที่ยังพร้อมด้วยหลักธรรม หลักวินัย หลักปฏิบัติ ยังธำรงคงไว้ซึ่งแก่นแท้ของความเป็นพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบันกาลได้
|
 |
๒.เพราะเรามีบุญเคยสร้างกุศล บำเพ็ญบารมีกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีตชาติอันเป็นบุพเพกตปุญญตา มาในชาตินี้บุญกุศลจึงส่งหนุนนำให้มาเกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง ณ เมืองไทย พร้อมมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา และมีโอกาสได้เดินทางไปถึงต้นกำเนิดแห่งพระพุทธศาสนา คือที่อินเดีย เท่ากับว่าได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของตนเอง หากว่าชาตินี้ไปเกิดแผ่นดินที่อื่นๆ หรือแม้แต่ที่ประเทศอินเดียที่อดีตพระพุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรือง ปัจจุบันก็แทบจะไม่มีพระพุทธศาสนาให้รู้จักให้ศรัธาได้เลย |
 |
๓.ไทยเรามีความสงบร่มเย็นเป็นสุขได้ ก็เพราะภายใต้พระบารมีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ทรงเป็นพุทธมามะกะ เป็นร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองที่บ้านพุทธเมืองไทยมาตราบจนปัจจุบันนี้ |
 |
๔. ขอให้ชาวพุทธไทย จงภูมิใจว่า โลกปัจจุบันท่ามกลางการก่อการร้ายและภัยสงคราม ความโหดร้ายภัยพิบัติจากธรรมชาติ โลกของเรากลายเป็นสถานที่ที่ไม่น่าอยู่และไม่ปลอดภัยต่อการดำรงชีวิต พระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นดุจแสงทองแห่งความหวังของมวลมนุษย์และตลอดถึงชาวโลกทั้งหมดได้ประจักษ์ว่า พระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาเป็นหลักนำสันติภาพมาแก่มนุษย์โลกได้อย่างแท้จริง โลกตะวันตกกำลังหันมาให้ความสนใจ ศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติตนตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนาที่พวกเรารักษาไว้ให้จนถึงปัจจุบัน
และองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันวิสาขะบูชาเป็นวันสำคัญของโลก (The World's importance Day) เพื่อน้อมรำลึกนึกถึงองค์ศาสดาของชาวพุทธ และจักเป็นโอกาสแห่งการน้อมนำพระธรรมคำสอนมาร่วมใจกันปฏิบัติกันทั่วโลก เพื่อความสงบร่มเย็น ดับความทุกข์เข็ญและความเดือดร้อนของชาวโลกสืบไป
บทความโดย: ดร.พระมหาคมสรณ์ คุตฺตธมฺโม (ท่านคมสรัญญ์) |
 |
|
 |
 |
|
 |
|
 |
 |
รอบๆระเบียงบนชั้นสอง
ที่พุทธคยา
ที่เห็นด้านซ้ายคือสถูปพระอริยสงฆ์สมัยโบราณ
พระพุทธมหากรุณา
พระประธานที่อยู่บนชั้นสอง พุทธคยา
 |
บริเวณกลุ่มพุทธสถานพุทธคยา อันเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช4
และสร้างต่อเติมเรื่อยมาโดยกษัตริย์ชาวพุทธในอินเดีย พระองค์ต่อ ๆ มา จนกระทั่ง เมื่อกองทัพมุสลิมบุกเข้ามาโจมตีอินเดีย พุทธคยาจึงถูกปล่อยให้รกร้างไม่มีผู้คอยเฝ้าดูแล
............สำหรับความเป็นไปขององค์พระมหาโพธิเจดีย์นั้น พระเจ้าหุวิชกะ (: Huvishka) มีพระราชศรัทธาสร้างมหาเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ในปี พ.ศ. 694 เพื่อเป็นสถานที่สักการะสำหรับพุทธบริษัท โดยได้สร้างเป็นพระเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมทรงรีสวยงามติดกับพระแท่นวัชรอาสน์ทางทิศตะวันออก มี 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นสถานที่กราบนมัสการและชั้นบนเป็นห้องเจริญภาวนา ลักษณะของพระมหาโพธิเจดีย์มีเอกลักษณ์เฉพาะและตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ของมหาโพธิมณฑลมากว่าสองพันปี ในบางช่วงพระราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ ได้เข้ามาทำนุบำรุงอยู่เสมอ และได้รับการบูชารักษาจากชาวพุทธมาตลอด แต่มาขาดตอนไปเมื่อช่วงพันกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากแผ่นดินอินเดียแถบนี้ถูกคุกคามจากสงครามและการเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนา พุทธคยาจึงถูกปล่อยทิ้งร้างและถูกชาวฮินดูเข้าครอบครอง รวมทั้ง แปลงมหาโพธิเจดีย์เป็นเทวสถาน |
 |
ได้ตั้งจิตอธิษฐานทุกครั้งว่า
เกิดชาติหน้าฉันใด
ขอให้ได้พบพระพุทธศาสนา |
 |
หรือถ้าเป็นไปได้
ขอให้ได้มรรคผลนิพพาน
ในปัจจุบันชาตินี้ |
 |
หน้าสุดเห็นหน้าลางๆสงสัยว่า "ออร่า" จะออกคือแม่ชีพิมพ์แก้ว กานดากร
ถัดไปก็แม่ชีเพ็ญทรัพย์ แซ่ซิ้ม
ถัดไปเห็นลางๆ ไม่แน่ใจว่าเป็นท่านอ.พระนพดล
หรือว่าเป็นท่านดุสิด ประทุมวันกันแน่ |
 |
คนทางซ้ายคือโยมกฤติกา ใจบุญ สมชือ
คนต่อมาคือโยมสมจิต รินทะ
มือกล้องคือพระมหาทองอยู่
คนที่สี่คือ ร.อ. ธิติวัฒน์ วิวัฒน์จงวรกุล
คนสุดท้ายจำชื่อไม่ได้ต้องขออภัย |
คำบูชาพระพุทธมหากรุณา
วันทามิ อิมัง พุทธะเมตตาปะฏิมัง อิมัสมิง คะยาสีเส ปูชาระเห สักการะภูเต เจติเย สุปะติฏฐิตังฯ
อิมินา ปะนะ วันทะมาเนนะ มา เม ทะลิททิยัง อะหุ พะหุชะนานัง ปิโย โหมิ มะนาโป สาธุ โน ภันเต อิเมหิ สักกาเรหิ อภิปูชะยามิ.
คำแปล
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระพุทธมหากรุณาปฏิมานี้ ซึ่งประดิษฐานตั้งมั่นดีแล้วในองค์พระเจดีย์ที่คยาสีสะประเทศนี้ อันเป็นสถานที่ ควรแก่เครื่องบูชาสักการะ
ด้วยการกราบไหว้นี้ ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย ขอให้ข้าพเจ้าเป็นที่รักเป็นที่พอใจ ของคนทั่วไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้
 |
พระพรหมคุณาภรณ์
“การที่ได้มายังสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเกี่ยวข้อง
เคยปรากฏรูปกายของพระองค์นั้น เมื่อได้ทำใจให้ถูกต้องมีโยนิโสมนสิการแล้ว
ก็ย่อมเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่การที่จะปฏิบัติเพื่อการเห็นธรรมกายได้
เพราะว่าเมื่อได้เดินทางมายังสถานที่นี้แล้ว
บังเกิดความสังเวชตามหลักที่ถูกต้องว่า การกระตุ้นจิตสำนึกให้ได้เกิดความคิด
มีความไม่ประมาทก็ดี หรือเป็นเครื่องเจริญศรัทธาในคำสอนของพระองค์แล้ว
มีฉันทะ มีวิริยะ ในการที่จะบำเพ็ญปฏิบัติก็ดี
เกิดมีปีติความเอิบอิ่มปลาบปลื้มใจว่าได้มาเฝ้า
ณ สถานที่ที่พระองค์เคยประทับ แล้วมีจิตใจเบิกบานผ่องใส
เกิดความสุขสงบในใจ จนถึงเกิดเป็นสมาธิก็ดี อันนั้นล้วนเป็นเครื่องเกื้อหนุน
ให้เราสามารถเดินทางไปเฝ้าไปเห็นธรรมกายประจักษ์แจ้งในใจของตนได้ทั้งนั้น”
(จาก...ตามทางพุทธกิจ หน้า 97)
|
 |
อาตมามาปฏิบัติธรรมที่อินเดียในครั้งนี้
ต้องขอบคุณอ.นพดลเป็นอย่างยิ่ง เพราะการมาครั้งนี้ตั้งในมาปฏิบัติธรรมจริงๆ
บางครั้งแอบไปนั่งสมาธิคนเดียวบ้าง และตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกว่าจะไม่ให้เป็นภาระ
กับคนอื่นๆ
ขอขอบคุณอีกครั้งครับ |
 |
มือกล้องซ้ายสุดคือมหาทองอยู่
คนที่สองคือร.อ. ธิติวัฒน์ วิวัฒน์จงวรกุล
คนต่อมาสงสัยว่าจะเป็นพระสิงโต เกาะสูงเนิน
คนที่สี่คือพระอธิการไพโรจน์ พาเลิศชัยวงศ์ |
 |
"มหาปรินิพพานวิหาร" ตั้งอยู่ด้านหน้าในฐานเดียวกันกับสถูปปรินิพพาน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (คือพระพุทธรูปนอนบรรทมตะแคงเบื้องขวา) ศิลปะมถุรา มีอายุกว่า 1,500 ปี ในจารึกระบุผู้สร้างคือ หริพละสวามี โดยนายช่างชื่อ ทินะ ชาวเมืองมถุรา ในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถือได้ว่าเป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมา สักการะ เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันพิเศษคือเหมือนคนนอนหลับธรรมดา แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานจากไปอย่างผู้หมดกังวลใน โลกทั้งปวง
|
 |
กุสินารามหานคร
เมือง.....ตรัสสอนสังเวชนีฯ ๔ สถาน เมือง.....เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
เมือง.....ประทานปัจฉิมวาจา เมือง.....สุทัศนะมหาจักรพรรด
เมือง.....จอมปราชญ์โทณพราหมณ์งามภาษา เมือง.....สตรีใจเพชรมัลลิกา
เมือง.....เสนาบดีศรีนาคร เมือง.....ทรงโปรดปัจฉิมสาวก
เมือง.....มรดกพินัยกรรมคำสั่งสอน เมือง.....สิ้นสุดพุทธกิจพระบิดร
เมือง.....อนุสรณ์มกุฏพันธนเจดีย์ เมือง.....เถระทัพพมัลลบุตร
เมือง.....เทพมนุษย์พร้อมภักดิ์ด้วยศักดิ์ศรี เมือง.....ซาบซึ้งน้ำพระทัยพระภูมี
เมือง.....ปฐพีร่ำไห้อาลัยศาสดา ฯ
|
 |
 |
 |
 |
 |
 |
พระสมภพ รางแรม |
 |
|
 |
ถ่ายตั้งสี่ห้าคน แต่เห็นหน้าอยู่คนเดียว
คือน.ส.กรลิตา ชูอัชฌา |
 |
ขวามือสุดคือโยมกุ้ง (นางอุษณีย์ ศรีสุวรรณ)
ส่วนมือกล้องที่เห็นไกลๆคือพระครูบรรพตธรรมคุณ
สมชื่อเพราะบรรพต แปลว่าเขา คืออยู่บนเขา ด่านซ้าย นาแห้ว จังหวัดเลย |
 |
|
วิหาร "มถากัวร์"
 |
วิหาร "มถากัวร์"
วิหารแห่งนี้อยู่ริมถนน ห่างจากสถูปที่ปรินิพพาน ประมาณ ๕๐๐ เมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า มาถา บาบากิ มูรติ มณฑีร (มณฑบพระตาย) หรือ ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางภูมิสัมผัส(ปางมารวิชัย) สร้างด้วยหินสีดำ สมัยปาละ ขุดพบโดยเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ขุดค้นพบพระพุทธร๔ปนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นพระพุทธรูปมหายาน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากณิษกะ สูง ๕ ฟุต ๙ นิ้ว ได้ประดิษฐานไว้บนแท่นหินที่เดิม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๙ นางอู โฟ เที้ยว เศรษฐินีชาวพม่า ผู้บูรณะปรินิพพานสถูป ได้มาสร้างวิหารมถากัวร์นี้ขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น
|
 |
คนหน้าหล่อๆ และขยันคือด.ช.เวสารัชช์ วงศ์นิรันดร์
โหงวเฮ้งซาซัวดี เก็บเงินอยู่ |
 |
ยืนใส่หมวกไหมพรหมคือ
พระตะวัน สิงห์สาวแห นามสกุลแปลกๆ
คนต่อมาเป็นคนอินเดีย ขยัน ทำงานเก่ง |
 |
ใครไปปฏิบัติธรรมที่อินเดีย
กลับมาแล้วไม่รู้สึกอะไร มีแต่ความรู้สึกว่าเหนื่อย
ก็ไม่ต้องไปอีกแล้ว |
 |
แต่ถ้าใครไปอินเดียกลับมาแล้วรู้สึกว่าอิ่มใจ มีปีติ คิดถึงอินเดีย
อยากจะไปอีก ก่อนนอนให้ทำสมาธิ
ค่อยๆย่อยสิ่งที่เราได้มาจากการไปปฏิบัติธรรมที่อินเดียจะค่อยๆเพิ่มขึ้นมาเอง
ไม่ต้องเร่ง
แต่ละคนได้มาไม่เหมือนกัน |
 |
โยมและพระที่มีความรู้สึกอย่างนี้
จะได้มาปฏิบัติธรรมที่อินเดียอีกอย่างแน่นอน |
เพราะอาตมาเคยไปอย่างนี้มาแล้ว
ตอนอยู่กุสินาราไม่กล้าเงยหน้ามองใคร
ได้แต่ก้มหน้าร้องไห้อยู่คนเดียว

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
สวยที่สุดในโลก
อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถาน
มัชฌิมาปฏิปทา
หมายถึงทางสายกลาง
ปฐมเทศนากัณฑ์แรกในพระพุทธศาสนา
แสดงกับปัญจวัคคีที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แควงเมืองพาราณสี

 |
 |
 |
 |
สถูปพระสารีบุตร
ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา
 |
สิ่งที่ทำให้คนไทยที่มาอินเดียหงุดหงิดมี 2 อย่างคือ
1.ห้ามแจกเงินขอทาน
2.ห้ามปิดทอง |
 |
เมื่อก่อนเข้าถึงองค์พระ
อาตมานำผ้าไตรถวายวางไว้ที่พระหัตถ์
เป็นการถวายตัวต่อพระพุทธศาสนา |
 |
ขอทำงานรับใช้ต่อพระพุทธศาสนา ต่อพระรัตนตรัยตราบจนตลอดชีวิต |
 |
แต่มาบัดนี้เข้าถึงยากซะแล้ว
เพราะมีรั้วแสตนเลสกั้นเอาไว้ ต้องเขย่งเท้าขึ้นไป
หรือให้แขกเอาของมารองขาจึงจะได้ |
 |
อาตมาไปร่วมสาธยายพระไตรปิฏกนานาชาติ
ที่พุทธคยาช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี
ใครไปช่วงนี้เจอกันแน่นอน |
 |
|
 |
|
 |
หน้าถ้ำดงคะสิริ
สถานที่พระโพธิสัตว์ทรงทรมารสังขารหกปี |
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
- ยสเจดีย์ เป็นสถานที่แห่งความไม่ขัดข้อง ไม่มีความวุ่นวาย เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก อาคารสี่เหลี่ยมมุงไว้อย่างดี เชื่อกันว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงอิทธาภินิหาร โปรดพระยสกุลบุตร ผู้เป็นบุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี ด้วยอนุปุพพิกถา ในข้อธรรมที่แสดงทาน ศีล สวรรค์ เนขัมมะ กามทีนพ พระยสมานพได้ดวงตาเห็นธรรมและนำให้บิดาได้เป็นปฐมอุบาสก มารดาและภรรยาได้เป็นปฐมอุบาสิกา มีพระพุทธวจนะที่ว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยสะ นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ” เมื่อเราเดินทางมาถึงจุดนี้ก็ควรนั่งลงฟังธรรม สักการบูชา อธิษฐานให้ชีวิตปราศจากความวุ่นวาย มีหน้าที่การงานรุ่งเรืองไม่ขัดข้อง
|
 |
|
 |
|
 |
เทียนเต็ก ซินแส
"มีคนเขาว่ามาอินเดีย เพื่อไหว้พระรับพร
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"
วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ
ตามรอยพระศาสดา
ณ สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า
เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ
ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
ส่วนการบริการจะดีหรือไม่ดีไว้เป็นอันดับหลัง
(คิดว่าของแพงต้องดี)งที่สุด
ต้องเป็นทัวร์ที่ดีที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความในใจ
อาตมาเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย
รวมทั้งหมด 14 ครั้ง
บางทีไปกับคณะทัวร์
บางครั้งไปกันเองกับเพื่อน
ขอบอกตรงๆว่าไปปฏิบัติธรรมครั้งนี้
เหนื่อยที่สุด
แต่
มีความสุขที่สุด
หวังว่าครั้งหน้ามีโอกาสได้พบกันอีก
ขอขอบคุณและขอบใจกัลยาณมิตรทุกท่าน.
|