ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 (คริก)


ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ครั้งที่ 11
26 ก.พ. - 3 มี.ค. 59

 เทียนเต็ก ซินแสนำพระบรมสุข
(พระพุทธรูป 4 อิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน)
มาอธิษฐานจิตในสถานที่จริงเพื่อให้ญาติโยมได้มีไว้บูชา
เพื่อความเป็นศิริมงคล
ที่พุทธคยา (ประเทศอินเดีย)

 
หน้าวิหารพระพุทธเมตตา
พุทธคยา
ประเทศอินเดีย


 


 พระพุทธรูปเก่าแก่อีกองค์หนึ่งที่ได้มีวาสนามากราบไหว้ บูชา
 
 
 
...พ.ศ. ๒๔๐๔  อเล็กซานเดอร์
ได้ขุดพบ "มถากัวร์"  และได้พบพระพุทธรูป
ปฏิมาปางภูมิสัมผัส (คนไทยเรียกปางพิชิตมาร")  
สมัยพระเจ้ากนิษกะสูง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว
 
 
มาอินเดีย 10 กว่าครั้งเพิ่งจะมีวาสนาได้มากราบ
พระพุทธรูปเก่าแก่องค์นี้
 
 
 "มถากัวร์"

วิหารแห่งนี้อยู่ริมถนน ห่างจากสถูปที่ปรินิพพาน ประมาณ ๕๐๐ เมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า มาถา บาบากิ มูรติ มณฑีร (มณฑบพระตาย) หรือ ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางภูมิสัมผัส(ปางมารวิชัย) สร้างด้วยหินสีดำ สมัยปาละ ขุดพบโดยเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ขุดค้นพบพระพุทธร๔ปนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นพระพุทธรูปมหายาน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากณิษกะ สูง ๕ ฟุต ๙ นิ้ว ได้ประดิษฐานไว้บนแท่นหินที่เดิม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๙ นางอู โฟ เที้ยว เศรษฐินีชาวพม่า ผู้บูรณะปรินิพพานสถูป ได้มาสร้างวิหารมถากัวร์นี้ขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น

 

 

 


 ต้องขอบคุณ และขอบใจ กัลยาณมิตรทุกคน
มาคราวนี้ตั้งใจมาปฎิบัติธรรมจริงๆ
ไม่มีเวลาถ่ายรูป
เพราะถือว่าเป็นภาระอย่างหนึ่ง
แต่ที่สำคัญคือไม่มีความรู้ในการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ดี
 
แต่ญาติโยมได้ส่งภาพมาให้เป็นจำนวนมาก
เมื่อเห็นภาพที่ส่งมาแล้วยอมรับว่า
ถ่ายได้ดีมากๆ ดีกว่าที่คิด
ตั้งใจว่าจะลงให้ทุกภาพที่ส่งมาให้
อาจต้องแบ่งเป็นสองตอน
ขอขอบคุณและขอบใจอีกครั้งหนึ่ง
 เมืองสาวัตถี

มหานครแห่งคนดี

                    เมือง...เศรษฐีลือนาม                      เมือง...หญิงงามลือชื่อ

                    เมือง...มหาวิหารล่ำลือ                    เมือง...เลื่องลือโพธิ์อานนท์

                    เมือง...เดียรถีย์เสียท่า                     เมือง...๒๕ จำกาลฝน

                    เมือง...ปราบโหราจารย์พาลชน          เมือง...แสดงมงคล ๓๘ ประการ

                    เมือง...กฐินถูกยอยก                       เมือง...แสดงยมกปาฏิหาริย์

                    เมือง...จอมโจรรองคุลีมาล               เมือง...ตำนานพระสิวลี

                    เมือง...ธรณีสูบคนบาป                    เมือง...กำราบคนหมองศรี

                    เมือง...มากหมู่พระกุฎี                     เมือง...สร้างบารมี ศีล ทาน ภาวนาฯ

 

ประวัติศาสตร์เมืองสาวัตถี

-            เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล เจ้าผู้ครองนคร คือพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธองค์ได้เสด็จมานั่งประทับที่นี่ทั้งหมด ๒๕ พรรษา อยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ๑๘ พรรษา และอยู่ที่บุพพาราม ๖ พรรษา มีประชากร ๗ โกฏิ ปัจจุบันเหลือเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ๓๒ เอเคอร์

-            พระพุทธเจ้าเสด็จไปสาวัตถีครั้งแรกปลายพรรษาที่ ๒ ต้นพรรษาที่ ๓

-            สิ้นสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล อำนาจแคว้นโกศลก็ลดลง

-            สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช  วัดเชตะวันก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ พระองค์ได้เสด็จมาในปี พ.ศ.๒๓๖  พ.ศ.๒๔๐ ปักเสาอโศกไว้ที่นี้ มีหลักฐาน ๖ ต้น คือ ณ สถานที่แสดงยมกปกฏิหาริย์, เชตะวันมหาวิหาร บุพพาราม, บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี, บ้านขององคุลีมาล, ที่พระสารีบุตรได้แสดงธรรม

 -            พ.ศ.๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียน ได้มาจาริกธรรม บันทึกว่าตัวเมืองถูกทิ้งร้างแต่พระเชตะวันยังเป็นสำนักสำคัญที่มีถึง ๗ขั้น

-            พ.ศ.๑๑๗๓-๑๑๘๖ หลวงจีนถังซัมจั๋งมาบันทึกว่าตัวเมืองร้างมานาน พระเชตะวันก็เริ่มมีพระสงฆ์น้อยลง ผู้คนก็น้อยลง

-            พ.ศ.๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ ได้ทำการบูรณะวัดเชตะวันขึ้นมาใหม่

-            พ.ศ.๑๕๖๐ กองทพอิสลาม นำโดย มะหะหมัด ดัชนี ได้ยทัพมาทำลายล้างพระเชตะวัน

-            พ.ศ.๑๖๕๐ พระนางกุมาราชเทวี พระมเหสีของพรเจ้าโควินทจันทร์แห่งมหานครกาโนช ได้ทำการบูรณะใหม่

-            พ.ศ.๑๖๗๑ อิสลามในราชวงศ์ทาสปกครองอินเดีย ได้ยกทัพมาตีทำลายทุกสิ่งทุกอย่างฝังลงไว้ใต้พื้นปฐพีจนไม่เหลือซากใด ๆ ร้างหายไปเกือบ ๗๐๐ ปี

-            พ.ศ.๒๔๐๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจเมืองสาวัตถีขุดค้นหลักฐานตามบันทึกของท่านฟาเหียน และพระถังซัมจั๋ง

-            พ.ศ.๒๔๕๒ เซอร์จอร์น มาร์แชล ได้ขุดค้นพบหลักฐานทั้งหมดจนปรากฏ ณ ปัจจุบันนี้

 

 

ต้นโพธิ์พระอานนท์ (อานันทโพธิ์)
มีอายุยืนมากที่สุดในโลก

 
 สถานที่สำคัญ

          ๑) วัดเชตะวันมหาวิหาร คนท้องถิ่นเรียกว่า “สาเหตุ” ๘) วัดบุพพาราม

          ๒) พระมูลคันธกุฎี                                             ๙) มิลลิกาอาศรม

          ๓) กุฎิเหล่าพระอรหันต์                                       ๑๐) บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

          ๔) สังฆสภา                                                      ๑๑) สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          ๕) ต้นโพธิ์อานนท์                                              ๑๒) ที่ธรณีสูบคนบาป

          ๖) ศาลาโรงธรรม                                               ๑๓) บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดา

องคุลีมาล

          ๗) ตัวเมืองสาวัตถีเป็นเขตพระราชฐานของพระเจ้าปเสนทิโกศล คนท้องถิ่นเรียกว่า “มาเหต”

 
 ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          เป็นจุดที่พระพุทธองค์แสดงยมกปกฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือลัทธิเชนนั่นเอง ตั้งอยู่ริมถนนเข้าเมืองสาวัตถี ห่างจากพระเชตะวันประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นสภาพเนินดินที่ใหญ่โต เดิมเป็นสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการขุดค้นไปแล้วบางส่วน

 
 พระเชตะวัน, อานนทโพธิ์

          เป็นอารามที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณแถบนี้ สร้างในบริเวณที่เดิมของเจ้าเชต  ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล อนาถปิณฑิกะมีนามเดิมว่า สุทัตตะ เป็นพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี ได้ไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาจนบรรลุโสดาบัน จึงอาราธนาพระองค์มาโปรดชาวเมืองสาวัตถี เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว จึงได้ซื้อที่ของเจ้าเชต ในเบื้องต้นถูกโก่งราคาอย่างหนักด้วยการให้เศรษฐีปูทองคำเต็มบริเวณเศรษฐ๊ทำตามจนเจ้าเชตทึ่งเห็นใจจึงขายให้พร้อมกับขอร้องให้ใช้นามตนเองตั้ง จนกลายเป็นเชตวนาราม พระองค์ประทับอยู่ที่นี่นานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองสราวัสดี จังหวัดสราวัสดี รัฐอุตตรประเทศ ปัจจุบันนิยมเรียกว่าศราวัสดี อันเป็นนามตามภาสันสกฤต ส่วนคำว่า สาวัตถี ตามนามบาลีมีคนรู้จักน้อยมาก ส่วนภายในพระเชตะวัน มีกุฎิปลูกสร้างอยู่มากมาย ทั้งพระมูลคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า และอานนทโพธิ์ซึ่งพระมหาโมคคัลลานะนำมาจากพุทธคยามาปลูกไว้ที่นี่ จึงนับว่าเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่มากที่สุดต้นหนึ่ง

 
 

บ้านอนาถปิณฑิกเศรษฐี

          เป็นซากบ้านโบราณภายในเขตพระราชฐานเมืองสาวัตถี คำว่า อนาถปิณฑิกะ แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวสำหรับผู้ไม่มีที่พึ่ง เป็นเศรษฐีที่มั่งคั่งที่สุดและยากจนที่สุดในคราวเดียวกัน เป็นมหาอุบาสกที่ค้ำชูพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า  เป็นผู้สร้างเชตะวันมหาวารถวายพระพุทธองค์ ปัจจุบันเหลือเพียรซากโบราณสถานให้เราได้เห็นกฎแห่งอนิจจัง

 
 

สถูปพระสารีบุตร

     อาตมาจะมากราบที่สถูปพระสารีบุตรทุกครั้งที่มานารันทา    

 

 

 

 

 

 

บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดาองคุลีมาล

          เชื่อกันว่าเป็นซากคฤหาสน์ของพราหมณ์ปุโรหิต  ผู้เป็นบิดาของจอมโจรองคุลีมาลหรืออหิงสกะ หลังจาก ๗ ขวบ  บิดาจึงให้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา

วัดบุพพาราม

          สร้างโดยวิสาขามหาอุบาสิกา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่สมบูรณ์ด้วยเบญจกัลยาณี อายุได้ ๗ ขวบ บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธองค์มาประทับที่วัดนี้ถึง ๖ พรรษา ตรัสพระธรรมเทศนาหลายพระสูตร ปัจจุบันนี้ อารามถูกแม่น้ำอจิรวดีเซาะจนพังเกือบไม่เหลืออะไรเป็นหลักฐาน

 พระสูตรต่างๆ

          พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรที่เมืองสาวัตถีทั้งสิ้น ๘๗๑ พระสูตร คือ เชตะวันมหาวิหาร ๘๔๔ พระสูตร นอกนั้นเป็นของบุพพาราม ๒๓ พระสูตร และของอื่นๆ อีก ๔ พระสูตร เป็นพระสูตรในสังยุตตนิกาย ๗๓๖ พระสูตร, มัชฌิมนิกาย ๗๕ พระสูตร, อังคุตตรนิกาย ๕๔ พระสูตร อละทีฆนิกาย ๖ พระสูตร เช่น มงค,สูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานิสังสสูตร, ศิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนาถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปสาทสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อริยชนสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร ฯลฯ


บุคคลสำคัญ

          ๑) พระเจ้าปเสนทิโกศล                                       ๗) พระกุมารกัสสปะ

          ๒) อนาถบิณฑิกเศรษฐี                                       ๘) พระพาหิยะเถระ

          ๓) วิสาขามหาอุบาสิกา                                       ๙) พระสิวสีเถระ

          ๔) องคุลีมาล                                                    ๑๐) เศรษฐีตีนแมว

          ๕) ปฏาจาราเถรี                                                ๑๑) ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยรัฐ ๓๐ รูป

          ๖) กีสาโคตรมี                                                   ๑๒) วังคีสพราหมณ์


การเดินชมเชตะวันฯ

          เขตสังฆวาส

          ๑) หมู่กฎิภิกษุชาวโกสัมพี                                    ๗) กุฎิพระโมคคัลลานะ

          ๒) หมู่กุฎิพระอุบาสี – ราหลุ                                 ๘) กุฏิพระองคุลีมาล

          ๓) ธัมมิการามที่พิจารณาอธิกรณ์ประจำวัด             ๙) กุฏิพระอานนท์

          ๔) เจดีย์อรหันต์ ๘ ทิศ ต้นกำเนิดสรภัญญะ             ๑๐) กุฏิพระสารีบุตร

          ๕) กุฎิพระสิวลีเถระ                                            ๑๑) อานนทโพธิ์

          ๖) กุฎิพระมหากัสสปะ                                        ๑๒) ราชิการาม คือ สำนักของภิกษุณี

 เขตพุทธาวาส

          ๑) พระคันธกุฎีฤดูหนาว                            ๔) ศาลาโรงธรรม (อุโบสถ)

          ๒) พระคันธกุฎีฤดูร้อน                              ๕) ธรรมสภา (สถานที่ฟังธรรมของชาวเมือง)

          ๓) พระคันธกุฎีฤดูฝน                               ๖) บ่อน้ำพุทธมนต์

 พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา

สาระธรรมสำคัญ

          ๑) มงคล ๓๘ ประการ                                         ๖) พรจากการถวายผ้ากฐิน

          ๒) อานิสงค์เมตตา ๑๑ ประการ                            ๗) การถวายผ้าอาบน้ำฝน

          ๓) เบญจกัลยาณี ๕ ประการ                                ๘) อาคันตุกภัตต์

          ๔) โอวาท ๑๐ ข้อ ที่ธนัญชัยเศรษฐีสอนวิสาขา         ๙) คมิกภัตต์

          ๕) ไม่ควรดูหมิ่น ๔ อย่างว่าเล็กน้อย (กษัตริย์ – งู – ไฟ – ภิกษุ        ๑๐) ศิลานภัตต์

 คำอธิษฐาน ที่พระมูลคันธกุฎี วัดพระเชตะวันมหาวิหาร

          ขอเดชะ ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้มาบูชาสักการะ พระมูลคันธกุฎี ที่พระเชตะวันมหาวิหารในวันนี้ ขอจงเป็นบารมีให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๘ ประการ

          ๑) ขอให้มีรูปร่างผิวพรรณวรรณะดี                        ๒) ขอให้เป็นเศรษฐีมหาศาล

          ๓) ขอให้มีหลักฐานการงานมั่นคง                          ๔) ขอให้ดำรงในศีลทานภาวนา

          ๕) ขอให้มีปัญญาเยี่ยมยอด                                 ๖) ขอให้ปลอดภัยไร้ทุกข์โศก

          ๗) ขอให้โชคดีมีเกียรติยศ                                    ๘) ขอให้ลดละเลิกจองเวรกรรม

 
 นิ้วชี้มือขวาชี้ไปทีนิ้วกลางมือซ้าย 
หมายถึงทางสายกลาง (มัชฌิมาปฎิปทา)

 
 
 
 หลวงพ่อดำ
(พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยและอินเดียเคารพนับถือ)
เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่เมืองนาลันทา

 

 

 

 

 
 
 
 
 
เจดีย์เกสรียา หรือเกสเรีย
เป็นสถานที่บรรจุบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประทานแก่ชาววัชชี
เป็นเจดีย์ใหม่ล่าสุดที่ขุดพบในประเทศอินเดีย

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 วิหาร "มถากัวร์"

วิหารแห่งนี้อยู่ริมถนน ห่างจากสถูปที่ปรินิพพาน ประมาณ ๕๐๐ เมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า มาถา บาบากิ มูรติ มณฑีร (มณฑบพระตาย) หรือ ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางภูมิสัมผัส(ปางมารวิชัย) สร้างด้วยหินสีดำ สมัยปาละ ขุดพบโดยเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ขุดค้นพบพระพุทธร๔ปนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นพระพุทธรูปมหายาน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากณิษกะ สูง ๕ ฟุต ๙ นิ้ว ได้ประดิษฐานไว้บนแท่นหินที่เดิม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๙ นางอู โฟ เที้ยว เศรษฐินีชาวพม่า ผู้บูรณะปรินิพพานสถูป ได้มาสร้างวิหารมถากัวร์นี้ขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น
 
 
 

 

 
 ราชอาณาจักรเนปาล

          เมือง...พุทธคุทยานุลุมพินี                          เมือง...มายาเทวีวิหาร

          เมือง...พระมหาบุรุษประสูติกาล                  เมือง...ปาฏิหาริย์ ๗ ก้าวบาทเดินจร

          เมือง...เปล่งอาสภิวาจา                              เมือง...เสาศิลาอโศกนุสรณ์

          เมือง...เสด็จนิวัติพระนคร                          เมือง...เวสสันตรบำเพ็ญบารมีทาน

          เมือง...เย็นกาย – ใจใต้ร่มโพธิ์ศรี                 เมือง...โบกขณีสุขเกษมศานดิ์

          เมือง...มรดกโลกจักรวาล                           เมือง...ภาพโบราณล้ำค่าคู่บุรินทร์

          เมือง...ราชกุมารีบารมีล้ำ                           เมือง...หัตถกรรมงามศาสตร์ – ศิลป์

          เมือง...EVEREST สุดยอดศิขรินทร์              เมือง..น้อมจินต์กราบที่ประสูติพระพุทธองค์ฯ

 ข้อมูลเนปาลโดยสังเขป

-            ปี พ.ศ.๒๔๙๓ ได้แบ่งปันดินแดน ลุมพีนีจึงตกอยู่ในเขตปกครองของเนปาล

-            เนปาลเป็นดินแดนของชาวเนวารี มีประชากรประมาณ ๒๓ ล้านเศษ

-            คนในประเทศพูดภาษาเนปาลี ๕๒% มีพื้นที่ ๑๔๕,๓๑๙ ตารางกิโลเมตร

-            ความยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก ๔๘๕ กิโลเมตร และเหนือจรดใต้ ๑๖๐ กิโลเมตร

-            พื้นที่เป็นภูเขา ๓๒%, ป่า ๑๔ % ,ที่เพาะปลูก ๑๓ %, แม่น้ำ ๔๑%

-            ผู้คนนับถือฮินดู ๗๖%, พุทธ ๘%, อิสลาม ๓%, คริสต์ ๕๐,๐๐๐ คน

-            องค์กรอิสระกล่าวว่า คนนับถือพุทธสูงกว่า ๔๐%

 -            รายได้เข้าประเทศปีละ ๖๐ ล้าน US จากนักท่องเที่ยว, หัตถกรรม, ทหารกูรซ่า และนักรบรับจ้าง

-            มีเขาสูงที่สุดในโลกคือ EVEREST สูง ๘,๘๔๘ เมตร = ๒๙,๐๒๘ ฟุต

-            เวลาเร็วกว่าอินเดีย ๑๕ นาที ไม่มีทางออกทะเล

-            อัตราการแลกเปลี่ยน ๑๐๐ RS. อินเดีย = ๑๖๐ RS. เนปาล

-            เงินอินเดียนำไปใช้ในเนปาลได้ แต่เงินเนปาลนำมาใช้ในอินเดียไม่ได้

-            เนปาลภูมิใจในความเป็นเนปาล ๒ ประการ คือ

๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติในประเทศนี้     

๒) ภูเขาที่สูงที่สุดในโลกอยู่ในประเทศนี้

 
 ลุมพินี  เป็นสถานที่ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นเป็นพระราชอุทยาใช้สอยร่วมกันระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ดังปรากฏในพุทธประวัติที่เราทราบชัด และศึกษากันมาแล้ว

ลุมพินี  ปัจจุบัน ได้ค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๘ โดย เซอร์อะเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม อธิบดีกรมการโบราณสถานของอินเดีย เพราะเหตุที่ได้พบหลักศิลาจารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชปักไว้ อักษรพรหมีที่จารึกอยู่แปลเป็นไทย ได้ความว่า “ในปีที่ ๒๐ แห่งราชการพระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี พระองค์ได้เสด็จมาด้วยพระองค์เอง กระทำสักการบูชา ณ สถานที่นี้ ซึ่งเป็นที่ประสูติองค์พุทธศากยมุนี ทรงสร้างรูปวิคฑะด้วยศิลา และทรงปักหลักศิลานี้ขึ้นไว้ เพื่อแสดงว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประสูติ ณ ที่นี้ โปรดให้งดเก็บภาษีอากรที่หมู่บ้านลุมพินีและโปรดให้เรียกเก็บพืชผลแต่เพียง ๑ ใน ๘ ส่วน”

รูปวิคฑะนั้น ตามจดหมายของหลวงจีนถังซำจั๋ง ว่าเป็นรูปม้า ซึ่งหักตกลงมาอยู่กับพื้น

 

 มายาเทวีวิหาร เป็นอาคารใหญ่ สร้งครอบแผ่นศิลารอยพระพุทธบาทที่ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ และมีศิลาแกะสลักรูปการประสูติของสิทธัตถราชกุมาร พระนางสิริมหามายาพุทธมารดายืนเหนี่ยวกิ่งสาละ

 สระโบกขรณี เป็นสระน้ำใสสะอาด ได้รับการบูรณะดูแลเป็นอย่างดี เชื่อว่าเป็นที่สรงสนามพระวรกายแห่งมหาบุรุษและพุทธมารดา ในวันประสูติกาล

 ประวัติศาสตร์ลุมพีนี       

-            ลุมพินี คือ พุทธอุทยานแห่งชาติ สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในตำบลรุมมินเด จังหวัดไพราว่า หรือสิทธัตถนคร

-            สมัยปฐมโพธิกาล ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกษิลพัสดุ์และเทวทหะต่อกัน

-            ก่อนพุทธศก ๔๐ ปีเศษ พระบรมศาสดาเสด็จผ่านเพื่อเดินทางไปกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระประยูรญาติ

-            ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จธรรมยาตรา โดยมีพระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระนำเสด็จ มาสักการะสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์ ปักเสาศิลาพร้อมสลักภาษาพรหมี พร้อมสร้างสถูปบูชาสักการะไว้

 -            ประมาณ พ.ศ.๙๔๒-๙๕๗ หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาจาริกธรรม มีบันทึกว่า มาถึงลุมพินีวันเห็นพระสงฆ์ทรงวัตร ปฏิบัติน่าศรัทธาเลื่อมใสอยู่เป็นจำรวนมาก เห็นพระเจดีย์เก่าและสังฆาราม บ่อน้ำใสสะอาด ข้างๆ พระเจดีย์มีเสาอโศกปักอยู่

-            ประมาณ พ.ศ. ๑๒๘๐-๑๓๐๐ หลวงจีนถึงซัมจั๋งมาสืบพระศาสนา เดินทางมาสักการะสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า พบเสาอโศก บันทึกว่า เดิมมีรูปม้าหินตั้งอยู่บนฐานบัว

-            พ.ศ. ๒๓๗๓-๒๓๘๐ MR.เจมส์ ปริ้นเชป นักโบราณคดีอังกฤษ เป็นผู้อ่านอักษรพรหมี ที่จารึกบนเสาหินพระเจ้าอโศกสำเร็จ ต้องใช้เวลานานถึง ๗ ปี

 -            ประมาณ พ.ศ. ๑๒๘๐-๑๓๐๐ หลวงจีนถึงซัมจั๋งมาสืบพระศาสนา เดินทางมาสักการะสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า พบเสาอโศก บันทึกว่า เดิมมีรูปม้าหินตั้งอยู่บนฐานบัว

-            พ.ศ. ๒๓๗๓-๒๓๘๐ MR.เจมส์ ปริ้นเชป นักโบราณคดีอังกฤษ เป็นผู้อ่านอักษรพรหมี ที่จารึกบนเสาหินพระเจ้าอโศกสำเร็จ ต้องใช้เวลานานถึง ๗ ปี

-            เสาอโศกที่ลุมพินี ค้นพบครั้งแรกเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๓๘ โดย ดร.ฟีอห์เรอร์ แฮนตั้น ขณะพบถูกอิฐ หิน ดิน ปูนเก่า ทับถมสูงหลายฟุต อักษรพรหมีอยู่สูงเหนือระดับดินปกติถึง ๑๔ ฟุต เสาสูง ๒๖ ฟุต ๖ นิ้ว, ๘ ฟุต ๖ นิ้ว ฝังอยู่ในดิน เดิมสูงถึง ๗๐ ฟุต ส่วนกลมวัดได้ ๗ ฟุต ๓ นิ้ว

-            พ.ศ.๒๕๓๙ (๔ ก.พ.) รื้อมายาเทวีวิหารหลังเก่า เพื่อค้นหาโบราณวัตถุสำคัญ และพบแผ่นศิลาขนาด ๕ x ๕ นิ้ว นักสำรวจเชื่อว่า เป็นหลักฐานสำคัญสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชสร้าง ยืนยันการเสด็จพระราชดำเนิน ๗ ก้าว ตอกย้ำความชัดเจนทางประวัติศาสตร์

-            พ.ศ.๒๕๔๗ เปิดมายาเทวีวิหารหลังใหม่ให้เข้าสักการะ แผ่นศิลาพระพุทธบาทที่พระเจ้าอโศกมหาราชนำมาประดิษฐานไว้

 

 

 
 สถานที่สำคัญ

          ๑) เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช                  ๗) มณีโบกขรณี

          ๒) แม่น้ำโรหินี                                         ๘) สระโบกขรณี

          ๓) มายาเทวีวิหาร                                    ๙) นิโครธาราม

          ๔) กุรงเทวทหะ                                        ๑๐) วัดพุทธนานาชาติ

          ๕) กรุงกบิลพัสดุ์                                      ๑๑) พุทธอุทานแห่งชาติลุมพินี

          ๖) วัดไทยลุมพินีวัน (๒๕ ศตวรรษ) อูถั่น ชาวพุทธพม่าเลขาธิการองค์การสหประชาชาติปรารถเชิญ

 
 บุคคลสำคัญ

          ๑) เจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร-พระนางพิมพา-พระราหุล                  ๗) อสิตดาบส

          ๒) พระเจ้าสุทโธทนะ-พระนางสิริมหามายา-พระนางปชาบดีโคตรมี  ๘)พระเทวทัตต์

          ๓) เจ้าชายนันทะ                                               ๙) สันดุสิตเทพบุตร

          ๔) กาฬุทายีอำมาตย์                                    ๑๐)พระอัญญาโกณทัญญะ

          ๕) เหล่าศากยราชออกบวช                                  ๑๑) กบิลดาบส ราชา

          ๖) เจ้าหญิงโรหินี                                                ๑๒) สุปปพุทธะ

 
 สาระธรรมสำคัญ

          ๑) พระเวสสันดรชาดก                                        ๘) การเสด็จพระราชดำเนิน ๗ ก้าว

          ๒) บุพพนิมิต ๕                                                 ๙) ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีป

          ๓) มหาวิโลกนะ ๕                                             ๑๐) ทำไมต้องเกิดที่ลุมพินีวัน

          ๔) สุบินนิมิตของพระแม่เจ้าสิริมหามายา                ๑๑) บารมี ๑๐ (พุทธการกธรรม)

          ๕) เหตุการณ์การประสูติกาล                                ๑๒) โกลาหล ๕

          ๖) พระดำรัสตรัสเกี่ยวกับการประสูติ                     ๑๓) ปัญจมหาบริจาค

          ๗) อาสภิวาจา

 
 ทวีป ๔       

          ทวีป คือ เกาะหรือแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสัตว์ ในจูฬนิกาสูตรได้แสดงไว้ในจักรวาลมี ๔ ทวีป คือ

          ๑. ชมพูทวีป  หรือประเทศอินเดียอยู่ทางทิศใต้ มีภูเขาสิเนรุเป็นจุดศูนย์กลาง ใบหน้ามนุษย์มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ลักษณะพิเศษ ๒ ประเภท

                    ๑.๑ เป็นทวีปที่มีพระอรหันต์ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า ได้มาบังเกิดในทวีปนี้เท่านั้น

                    ๑.๒ เป็นประเทศที่มีต้นหว้าเป็นสัญลักษณ์

 
 ๒. อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ใบหน้าของมนุษย์มีลักษณะค่อนข้างกลม

          ๓. อุตตรกุทวีป ตั้งอยู่ทางเหนือใบหน้าของมนุษย์มีลักษณะ ๔ เหลี่ยม พระพุทธเจ้าเคยเสด็จบิณฑบาตมายังทวีปนี้

          ๔. บุพพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสินเนรุ ใบหน้าของมนุษย์จะมีลักษณะเหมือนพระจันทร์ตัด หรือบาตรที่วางในลักษณะเอียงตะเคง

 

 โกลาหล ๕ (ปัญจโกลาหล)

          คำว่า “โกลาหล” คือ ความเอิกเกริกหรืออลหม่าน เกิดจากความสงสัยสบสนมี ๕ ประการคือ

          ๑. พุทธโกลาหล         หมายถึง         การเกิดความโกลาหล ก่อนพระพุทธเจ้าจะอุบัติ ๑ แสนปี

          ๒. กัปปโกลาหล        หมายถึง         การเกิดความโกลาหล ก่อนกัปจะพินาศ ๑ หมื่นปี

          ๓. มงคลโกลาหล       หมายถึง         การเกิดความโกลาหล ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะแสดงมงคล ๑๒ ปี

          ๔. จักรวรรดิโกลาหล   หมายถึง         การเกิดความโกลาหล ก่อนพระเจ้าจักรพรรดิจะอุบัติขึ้น ๑๐๐ ปี

          ๕. โมเนยยโกลาหล    หมายถึง         การเกิดความโกลาหล ก่อนที่จะมีคนถามถึงโมเนยยปฏิบัติ ๗ ปี

 

 ปัญจมหาบริจาค

          ๑) ทรัพย์        ๒) อวัยวะ      ๓) บุตร          ๔) ภรรยา       ๕) ชีวิต

การได้รับพยากรณ์

          พระสมณะโคดม ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๓ พระองค์

          ๑. ทีปังกร                 คราวเกิดเป็น   สุเมธดาบส                         ที่เมือง อมรวดีนคร

          ๒. โกณทัญญะ          คราวเกิดเป็น   พระเจ้าจักรพรรดิวิชิตาวี        ที่เมือง จันทวดีนคร

          ๓. มังคละ                คราวเกิดเป็น   สุรุจิพราหมณ์                      ที่เมือง หมู่บ้านสุรุจิ

          ๔. สุมนะ                  คราวเกิดเป็น   พญานาคอตุละ                   ที่เมือง นาคพิภพ

          ๕. เรวตะ                  คราวเกิดเป็น   อติเทวพราหมณ์                  ที่เมือง รัมมวดีนคร

 ๖. โสภิตะ                 คราวเกิดเป็น   สุชาตพราหมณ์         

          ๗. อโนมทัสสี            คราวเกิดเป็น   เสนาบดียักษ์

          ๘. ปทุมะ                 คราวเกิดเป็น   สีหนาคราช    

          ๙. นารทะ                คราวเกิดเป็น   ดาบสทรงอภิญญาสมบัติ ๘

          ๑๐. สุเมธะ               คราวเกิดเป็น   อุตตรมานพ

          ๑๑. สุชาตะ              คราวเกิดเป็น   พระเจ้าจักรพรรดิ

          ๑๒. ปิยทัสสี             คราวเกิดเป็น   พราหมณ์กัสสปะ

          ๑๓. อัตถทัสสี           คราวเกิดเป็น   สุสีมพราหมณ์มหาศาล

          ๑๔. ธัมมทัสสี           คราวเกิดเป็น   ท้าวสักกะเทวราช

 ๑๕. สิทธัตถะ           คราวเกิดเป็น   มังคลพราพมณ์                   ที่เมือง สุรเสนนคร

          ๑๖. ติสสะ                คราวเกิดเป็น   สุชาตราชา                          ที่เมือง ยสวดีนคร

          ๑๗. ปุสสะ               คราวเกิดเป็น   วิชิตาวีกษัตริย์                     ที่เมือง อมิทมนคร

          ๑๘. วิปัสสี                คราวเกิดเป็น   พญานาคอตุละ                  

          ๑๙. สีซี                    คราวเกิดเป็น   อมรินทมราชา                     ที่เมืองปริภูตนคร

          ๒๐. เวสสภู               คราวเกิดเป็น   สุทัสสนราชา                       ที่เมืองสรภตีนคร

          ๒๑. กกุสันธะ            คราวเกิดเป็น   เขมะราชา      

          ๒๒. โกนาคมนะ        คราวเกิดเป็น   ปัพพตราชา                        ที่เมือง มิถรา

          ๒๓. กัสสปะ             คราวเกิดเป็น   โชติลมานพ                         ที่เมือง พาราณสี

 พิธีกรรม

          ๑. อธิบายสถานที่

          ๒. การโน้มน้าวน้ำใจให้เกิดศรัทธา ก่อนสักการะ เช่น

          ณ สถานที่นี้ คือ ปฐพีที่รับรองพระบาทแห่งมหาบุรุษ เราพึงรักษาจิตให้ผ่องผุดบริสุทธิ์จากความโลภโกรธ หลง และมีความศรัทธาที่มั่นคงในองค์พระรัตนตรัย ภาคภูมิใจที่ได้มาเห็น นี่ถือว่าเป็นบุญกุศลแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล ที่ได้เทิดทูนคุณพระพุทธศาสนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังกุศลให้บังเกิดแก่ดวงปัญญาว่าเสาศิลาเบื้องหน้าเรานี้ คือ สถานที่อุบัติของพระศาสดาเอกของโลก ให้ชื่นอกชื่นใจปีติปราโมทย์ว่า

 

 
 -            เราได้กราบที่เกิดของลูกผู้ประเสริฐ เกิดมาไม่เคยทำให้แม่เสีย และเสียน้ำตา

-            เราได้กราบที่เกิดแห่งบิดา ผู้ให้อริยทรัพย์แก่ลูกได้

-            เราได้กราบที่เกิดของพี่ผู้มีน้ำใจพาน้องทั้งหลายข้ามวัฎสงสาร

-            เราได้กราบที่เกิดของสามีที่นำศรีภรรยาถึงฝั่งพระนิพพาน

-            เราได้กราบที่เกิดของพระบรมศาสดาจารย์ ปัญญาล้ำค้ำโลกทำให้พ้นโศกตรม

กราบให้สมกับความลำบากตรากตรำ ข้ามน้ำ ข้ามทะเล มาแสนไกล กราบให้เต็มอิ่มทุกห้วงดวงหทัยนำบุญใหญ่กลับไปฝากพ่อแม่ ลูกหลาน และว่านวงศ์ ของทุกท่านทำจิตมั่นคง ดำรงสติให้แน่วแน่ แผ่เมตตาให้กว้างไกล แล้วตั้งใจไหว้พระ โปรดว่าตาม ณ บัดนี้... (นำสักการะสถานที่ประสูติพระพุทธองค์ไปตามลำดับฯ)

 
 ๓. นำไหว้พระสักการะสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ, พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์, บารมี ๑๐ เป็นต้น

๔. นำนั่งสมาธประมาณ ๙ นาที แล้วอธิบายเรื่องการเกิด........

๕. นำแผ่เมตตาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

๖. อธิฐานบารมี ไหว้พระ บันทึกาพ (เสร็จภาคพิธีกรรม)

 
 คำอธิษฐาน ณ สถานที่ประสูติ ลุมพินี

          อัคโคหะมัสมิ โลกัสสะ เสฎโฐหะมัสมิ โลกัสสะ เชฎโฐหะมัสมิ โลกัสสะฯ

          ขอเดชะ ข้าพระเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ได้บูชาสักการะ สถานที่ประสูติของพระพุทธองค์ ที่ลุมพินีวันในวันนี้ ขอจงเป็นบารมี ให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๗ ประการ

          ประการที่ ๑    ขอให้ธุรกิจก้าวหน้า

          ประการที่ ๒    ขอให้การค้าร่ำรวย

          ประการที่ ๓    ขอให้รูปสวยโสภา

          ประการที่ ๔    ขอให้ปัญญาเลิศล้ำ

          ประการที่ ๕    ขอให้ได้ต้ำชูวงศ์ตระกูล

          ประการที่ ๖    ขอให้ได้เทิดทูลพระพุทธศาสนา

          ประการที่ ๗    ขอให้บุตรธิดาเป็นคนดีมีศีลธรรม

          ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานเทอญฯ

 
 เมืองสาวัตถี

มหานครแห่งคนดี

                    เมือง...เศรษฐีลือนาม                      เมือง...หญิงงามลือชื่อ

                    เมือง...มหาวิหารล่ำลือ                    เมือง...เลื่องลือโพธิ์อานนท์

                    เมือง...เดียรถีย์เสียท่า                     เมือง...๒๕ จำกาลฝน

                    เมือง...ปราบโหราจารย์พาลชน          เมือง...แสดงมงคล ๓๘ ประการ

                    เมือง...กฐินถูกยอยก                       เมือง...แสดงยมกปาฏิหาริย์

                    เมือง...จอมโจรรองคุลีมาล               เมือง...ตำนานพระสิวลี

                    เมือง...ธรณีสูบคนบาป                    เมือง...กำราบคนหมองศรี

                    เมือง...มากหมู่พระกุฎี                     เมือง...สร้างบารมี ศีล ทาน ภาวนาฯ

 
 ประวัติศาสตร์เมืองสาวัตถี

-            เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล เจ้าผู้ครองนคร คือพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธองค์ได้เสด็จมานั่งประทับที่นี่ทั้งหมด ๒๕ พรรษา อยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ๑๘ พรรษา และอยู่ที่บุพพาราม ๖ พรรษา มีประชากร ๗ โกฏิ ปัจจุบันเหลือเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ๓๒ เอเคอร์

-            พระพุทธเจ้าเสด็จไปสาวัตถีครั้งแรกปลายพรรษาที่ ๒ ต้นพรรษาที่ ๓

-            สิ้นสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล อำนาจแคว้นโกศลก็ลดลง

-            สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช  วัดเชตะวันก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ พระองค์ได้เสด็จมาในปี พ.ศ.๒๓๖  พ.ศ.๒๔๐ ปักเสาอโศกไว้ที่นี้ มีหลักฐาน ๖ ต้น คือ ณ สถานที่แสดงยมกปกฏิหาริย์, เชตะวันมหาวิหาร บุพพาราม, บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี, บ้านขององคุลีมาล, ที่พระสารีบุตรได้แสดงธรรม

 

 -            พ.ศ.๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียน ได้มาจาริกธรรม บันทึกว่าตัวเมืองถูกทิ้งร้างแต่พระเชตะวันยังเป็นสำนักสำคัญที่มีถึง ๗ขั้น

-            พ.ศ.๑๑๗๓-๑๑๘๖ หลวงจีนถังซัมจั๋งมาบันทึกว่าตัวเมืองร้างมานาน พระเชตะวันก็เริ่มมีพระสงฆ์น้อยลง ผู้คนก็น้อยลง

-            พ.ศ.๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ ได้ทำการบูรณะวัดเชตะวันขึ้นมาใหม่

-            พ.ศ.๑๕๖๐ กองทพอิสลาม นำโดย มะหะหมัด ดัชนี ได้ยทัพมาทำลายล้างพระเชตะวัน

-            พ.ศ.๑๖๕๐ พระนางกุมาราชเทวี พระมเหสีของพรเจ้าโควินทจันทร์แห่งมหานครกาโนช ได้ทำการบูรณะใหม่

-            พ.ศ.๑๖๗๑ อิสลามในราชวงศ์ทาสปกครองอินเดีย ได้ยกทัพมาตีทำลายทุกสิ่งทุกอย่างฝังลงไว้ใต้พื้นปฐพีจนไม่เหลือซากใด ๆ ร้างหายไปเกือบ ๗๐๐ ปี

-            พ.ศ.๒๔๐๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจเมืองสาวัตถีขุดค้นหลักฐานตามบันทึกของท่านฟาเหียน และพระถังซัมจั๋ง

-            พ.ศ.๒๔๕๒ เซอร์จอร์น มาร์แชล ได้ขุดค้นพบหลักฐานทั้งหมดจนปรากฏ ณ ปัจจุบันนี้

 สถานที่สำคัญ

          ๑) วัดเชตะวันมหาวิหาร คนท้องถิ่นเรียกว่า “สาเหตุ” ๘) วัดบุพพาราม

          ๒) พระมูลคันธกุฎี                                             ๙) มิลลิกาอาศรม

          ๓) กุฎิเหล่าพระอรหันต์                                       ๑๐) บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

          ๔) สังฆสภา                                                      ๑๑) สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          ๕) ต้นโพธิ์อานนท์                                              ๑๒) ที่ธรณีสูบคนบาป

          ๖) ศาลาโรงธรรม                                               ๑๓) บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดา

องคุลีมาล

          ๗) ตัวเมืองสาวัตถีเป็นเขตพระราชฐานของพระเจ้าปเสนทิโกศล คนท้องถิ่นเรียกว่า “มาเหต”

 ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          เป็นจุดที่พระพุทธองค์แสดงยมกปกฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือลัทธิเชนนั่นเอง ตั้งอยู่ริมถนนเข้าเมืองสาวัตถี ห่างจากพระเชตะวันประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นสภาพเนินดินที่ใหญ่โต เดิมเป็นสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการขุดค้นไปแล้วบางส่วน

 พระเชตะวัน, อานนทโพธิ์

          เป็นอารามที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณแถบนี้ สร้างในบริเวณที่เดิมของเจ้าเชต  ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล อนาถปิณฑิกะมีนามเดิมว่า สุทัตตะ เป็นพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี ได้ไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาจนบรรลุโสดาบัน จึงอาราธนาพระองค์มาโปรดชาวเมืองสาวัตถี เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว จึงได้ซื้อที่ของเจ้าเชต ในเบื้องต้นถูกโก่งราคาอย่างหนักด้วยการให้เศรษฐีปูทองคำเต็มบริเวณเศรษฐ๊ทำตามจนเจ้าเชตทึ่งเห็นใจจึงขายให้พร้อมกับขอร้องให้ใช้นามตนเองตั้ง จนกลายเป็นเชตวนาราม พระองค์ประทับอยู่ที่นี่นานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองสราวัสดี จังหวัดสราวัสดี รัฐอุตตรประเทศ ปัจจุบันนิยมเรียกว่าศราวัสดี อันเป็นนามตามภาสันสกฤต ส่วนคำว่า สาวัตถี ตามนามบาลีมีคนรู้จักน้อยมาก ส่วนภายในพระเชตะวัน มีกุฎิปลูกสร้างอยู่มากมาย ทั้งพระมูลคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า และอานนทโพธิ์ซึ่งพระมหาโมคคัลลานะนำมาจากพุทธคยามาปลูกไว้ที่นี่ จึงนับว่าเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่มากที่สุดต้นหนึ่ง

 บ้านอนาถปิณฑิกเศรษฐี

          เป็นซากบ้านโบราณภายในเขตพระราชฐานเมืองสาวัตถี คำว่า อนาถปิณฑิกะ แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวสำหรับผู้ไม่มีที่พึ่ง เป็นเศรษฐีที่มั่งคั่งที่สุดและยากจนที่สุดในคราวเดียวกัน เป็นมหาอุบาสกที่ค้ำชูพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า  เป็นผู้สร้างเชตะวันมหาวารถวายพระพุทธองค์ ปัจจุบันเหลือเพียรซากโบราณสถานให้เราได้เห็นกฎแห่งอนิจจัง

 

 
 บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดาองคุลีมาล

          เชื่อกันว่าเป็นซากคฤหาสน์ของพราหมณ์ปุโรหิต  ผู้เป็นบิดาของจอมโจรองคุลีมาลหรืออหิงสกะ หลังจาก ๗ ขวบ  บิดาจึงให้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา

 
 วัดบุพพาราม

          สร้างโดยวิสาขามหาอุบาสิกา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่สมบูรณ์ด้วยเบญจกัลยาณี อายุได้ ๗ ขวบ บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธองค์มาประทับที่วัดนี้ถึง ๖ พรรษา ตรัสพระธรรมเทศนาหลายพระสูตร ปัจจุบันนี้ อารามถูกแม่น้ำอจิรวดีเซาะจนพังเกือบไม่เหลืออะไรเป็นหลักฐาน

 
 เมืองกุสินารา

          กุสินารามมหานคร                                   เมือง...ตรัสสอนสังเวฯ ๔ สถาน

          เมือง...เสด็จดับขันธปรินิพพาน                   เมือง...ประทานปัจฉิมวาจา

          เมือง...สุทัสสนะมหาจักรพรรดิ                    เมือง...จอมปราชญ์โทณพราหมณ์งามภาษา

          เมือง...สตรีใจเพชรมัลลิกา                          เมือง...เสนาบดีศรีนาคร

          เมือง...ทรงโปรดปัจฉิมสาวก                       เมือง...มรดกพินัยกรรมคำสั่งสอน

          เมือง...สิ้นสุดพุทธกิจพระบิดร                     เมือง...อนุสรณ์มกุฎพันธนเจดีย์

          เมือง...เถระทัพพมัลลบุตร                          เมือง...เทพมนุษย์พร้อมภักดิ์ด้วยศักดิ์ศรี

          เมือง...ซาบซึ้งน้ำพระทัยพระภูมิ                  เมือง... ปฐมพีร่ำไห้อาลัยศาสดาฯ

 
 ประวัติศาสตร์เมืองกุสินารา

-            เป็นเมืองหลวงแคว้นมัลละ พระศาสดาทรงเสด็จหลายครั้ง

-            หลังจากพระบรมศาสดาทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ปี จึงได้ตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นมคธ

-            พ.ศ.๒๒๗-๒๔๑ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเสด็จมาสักการะและสละทรัพย์ทองคำ จำนวนแสนตำลึง สร้างพระเจดีย์และปักเสาหิน ๓ ต้น

-            พ.ศ.๙๔๒-๙๕๗ หลวงจีนฟาเหียนได้มา ณ สถานที่แห่งนี้ ในช่วงนั้นได้มีประชาชนอาศัยอยู่น้อย

-            พ.ศ.๙๕๐ สร้างพระปางปรินิพพานจากหินแดงก้อนเดียว ขนาดยาว ๒๓ ฟุต กว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว องค์พระยาว ๑๐ ฟุต  สูง ๒ ฟุต ๑ นิ้ว นายช่างผู้สร้างคือ นายถินา แห่งเมืองมถุรา

 
 -            พ.ศ. ๑๑๖๓-๑๑๘๗ พระถังซัมจั๋ง สภาพหักพังแล้วมีคนอาศัยอยู่น้อย เห็นเสาอโศก ๓ ต้น (ที่ปรินิพพาน – โทณพราหมณ์เจดีย์ – มกุฎพันธนเจดีย์

-            พ.ศ.๑๗๐๐ ถูกทำลายจากอิสลาม

-            พ.ศ.๒๓๙๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้ค้นพบกุสินารา

-            พ.ศ.๒๓๙๗ ท่านวิลสัน ได้ทำการพิสูจน์ว่าเป็นเมืองกุสินาราเดิมหรือไม่

-            พ.ศ.๒๔๐๔ อเล็กซานเดอร์ค้นพบ “มถากัวร์” พบพระพุทธรูปปฏิมาปางภูมิสัมผัส สมัยพระเจ้ากนิษกะสูง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว

-            พ.ศ.๒๔๑๘-๒๔๒๐ A.C.I. คาร์เลย์ พบพระปฏิมาปางปรินิพพานหักเป็น ๖ ท่อน กองอยู่ห้องสี่เหลี่ยม ณ ห้องสถูปปรินิพพาน

 สิ่งที่ทำให้ขัดใจ หรือหงุดหงิดสำหรับคนไทย
ที่มาแสวงบุญที่ประเทศอินเดียมี 2 อย่าง
1.ห้ามแจกเงิน หรือสิ่งของให้ขอทาน
2.ห้ามปิดทอง ของเก่า

§  สถูปสูง ๑๙๘๑ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐.๓๖ เมตร

§  ภายในสถูปเล็กสภาพสมบูรณ์ สูง ๒.๘๒ เมตร

§  ภายในสถูปเล็กบรรจุพระพุทธปฏิมาปางสมาธิ

-            พ.ศ.๒๔๔๓ หิรนันท์ ศาสตรี ได้ขุดพบมกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

-            พ.ศ.๒๔๖๗ บาบา ระฆะวะทัส ได้มาแสวงบุญ ณ เมืองกุสินารา

-            พ.ศ.๒๔๗๐ อูโปคยู กับ อูโปเหล่ง สร้างสถูปปริพิพานวิหาร

-            ประกอบพิธีเปิด วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๗๐ มีพระสงฆ์ ๑๗ รูป นำโดย อู จันทรมณี เจ้าอาวาสวัดพม่า ท่านำ ทอง เงิน ทองแดง แผ่นศิลาจารึกอธิบายรายละเอียดการขุดค้นฝังไว้

-            พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านอู จันทรมณี สร้างโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนา

-            พ.ศ.๒๔๘๕ ยุคล กิษอเร สร้างเบอร์ล่า ฮินดูธรรมศาลา

 
 -            พ.ศ.๒๔๘๙ นายอนาคาริก วิปศยนะ สร้างเนปาลีธรรมศาลาพุทธอาศรม

-            พ.ศ.๒๔๙๘ อินเดีย ตั้งคณะกรรมการพัฒนาสาลวโนทยานเตรียมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ

-            พ.ศ.๒๔๙๙ สถูปและวิหาร ถูกบูรณะครั้งใหญ่

-            พ.ศ.๒๕๐๗ สถูปได้พังลงมา

-            พ.ศ.๒๕๑๘ อินเดียได้บูรณปฏิสังขรณ์

-            พ.ศ.๒๕๒๔ ญี่ปุ่นให้ทุนในการตกแต่งจึงมีสภาพที่สมบูรณ์ได้ทุกวันนี้

 
 อโห พุทโธ พระพุทธเจ้าน่าอัศจรรย์

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดศาสดาผู้มีปัญญาเลิศ

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดลูกผู้ประเสริฐกตัญญต่อพ่อแม่

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดพี่ – น้อง ปกป้องดูแล

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดเพื่อนแท้มีแปรผันคำสัญญา

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดผู้นำความเป็นอยู่

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดครูผู้เพียรฝึกให้ศึกษา

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดพระธรรมราชา

          พระสัมมาสัมพุทธ                สุดยอดกตเวทิตาต่อแผ่นดิน

 
 สถานที่สำคัญ                                           บุคคลที่สำคัญ

          ๑) มหาปรินิพพานวิหาร                            ๑) พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ

          ๒) มหาปรินิพพานสถูป                             ๒) พันธุละเสนาบดี

          ๓) มกุฎพันธนเจดีย์                                  ๓) มัลลิกาเทวี

          ๔) มถากัวร์+โทณพราหมณ์เจดีย์                ๔) โทณพราหมณ์

          ๕) แม่น้ำหิรัญวดี                                     ๕) สุภัททะปัจฉิมสาวก

          ๖) แม่น้ำกกุธานที                                    ๖) จุนทกัมมารบุตร

          ๗) เมืองกุสินารา                                      ๗) ท่าวสักกะเทวราช

          ๘) เมืองกาเซีย                                        ๘) มัลลกษัตริย์

          ๙) หมู่บ้านอนุรุทธวา                                ๙) ทัพพมัลลบุตร

          ๑๐) เมืองโครักขปูร์                                  ๑๐) พระเจ้าอโศกมหาราช

          ๑๑) เมืองปาวา                                        ๑๑) พระฟาเหียน

          ๑๒) บ้านนายจุนทะ                                 ๑๒) พระถังซัมจั๋ง

          ๑๓) แม่น้ำอโนมานที                                ๑๓) คันนิ่งแฮม

สาลวโนทยาน

 
 พระสูตรต่างๆ

          พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรที่เมืองสาวัตถีทั้งสิ้น ๘๗๑ พระสูตร คือ เชตะวันมหาวิหาร ๘๔๔ พระสูตร นอกนั้นเป็นของบุพพาราม ๒๓ พระสูตร และของอื่นๆ อีก ๔ พระสูตร เป็นพระสูตรในสังยุตตนิกาย ๗๓๖ พระสูตร, มัชฌิมนิกาย ๗๕ พระสูตร, อังคุตตรนิกาย ๕๔ พระสูตร อละทีฆนิกาย ๖ พระสูตร เช่น มงค,สูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานิสังสสูตร, ศิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนาถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปสาทสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อริยชนสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร ฯลฯ

 

 บุคคลสำคัญ

          ๑) พระเจ้าปเสนทิโกศล                                       ๗) พระกุมารกัสสปะ

          ๒) อนาถบิณฑิกเศรษฐี                                       ๘) พระพาหิยะเถระ

          ๓) วิสาขามหาอุบาสิกา                                       ๙) พระสิวสีเถระ

          ๔) องคุลีมาล                                                    ๑๐) เศรษฐีตีนแมว

          ๕) ปฏาจาราเถรี                                                ๑๑) ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยรัฐ ๓๐ รูป

          ๖) กีสาโคตรมี                                                   ๑๒) วังคีสพราหมณ์

 การเดินชมเชตะวันฯ

          เขตสังฆวาส

          ๑) หมู่กฎิภิกษุชาวโกสัมพี                                    ๗) กุฎิพระโมคคัลลานะ

          ๒) หมู่กุฎิพระอุบาสี – ราหลุ                                 ๘) กุฏิพระองคุลีมาล

          ๓) ธัมมิการามที่พิจารณาอธิกรณ์ประจำวัด             ๙) กุฏิพระอานนท์

          ๔) เจดีย์อรหันต์ ๘ ทิศ ต้นกำเนิดสรภัญญะ             ๑๐) กุฏิพระสารีบุตร

          ๕) กุฎิพระสิวลีเถระ                                            ๑๑) อานนทโพธิ์

          ๖) กุฎิพระมหากัสสปะ                                        ๑๒) ราชิการาม คือ สำนักของภิกษุณี

 เขตพุทธาวาส

          ๑) พระคันธกุฎีฤดูหนาว                            ๔) ศาลาโรงธรรม (อุโบสถ)

          ๒) พระคันธกุฎีฤดูร้อน                              ๕) ธรรมสภา (สถานที่ฟังธรรมของชาวเมือง)

          ๓) พระคันธกุฎีฤดูฝน                               ๖) บ่อน้ำพุทธมนต์

 
 สาระธรรมสำคัญ

          ๑) มงคล ๓๘ ประการ                                         ๖) พรจากการถวายผ้ากฐิน

          ๒) อานิสงค์เมตตา ๑๑ ประการ                            ๗) การถวายผ้าอาบน้ำฝน

          ๓) เบญจกัลยาณี ๕ ประการ                                ๘) อาคันตุกภัตต์

          ๔) โอวาท ๑๐ ข้อ ที่ธนัญชัยเศรษฐีสอนวิสาขา         ๙) คมิกภัตต์

          ๕) ไม่ควรดูหมิ่น ๔ อย่างว่าเล็กน้อย (กษัตริย์ – งู – ไฟ – ภิกษุ        ๑๐) ศิลานภัตต์

 
 คำอธิษฐาน ที่พระมูลคันธกุฎี วัดพระเชตะวันมหาวิหาร

          ขอเดชะ ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้มาบูชาสักการะ พระมูลคันธกุฎี ที่พระเชตะวันมหาวิหารในวันนี้ ขอจงเป็นบารมีให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๘ ประการ

          ๑) ขอให้มีรูปร่างผิวพรรณวรรณะดี                        ๒) ขอให้เป็นเศรษฐีมหาศาล

          ๓) ขอให้มีหลักฐานการงานมั่นคง                          ๔) ขอให้ดำรงในศีลทานภาวนา

          ๕) ขอให้มีปัญญาเยี่ยมยอด                                 ๖) ขอให้ปลอดภัยไร้ทุกข์โศก

          ๗) ขอให้โชคดีมีเกียรติยศ                                    ๘) ขอให้ลดละเลิกจองเวรกรรม

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

"มหาปรินิพพานสูตร"

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.........

เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเฝ้าพระตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมได้พบ ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ(อีก)

 

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า........

อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ (เป็นศูนย์รวม) ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู

 

สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ

๑.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตประสูติในที่นี้

๒.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้

๓.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้

๔.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้อานนท์....สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู


ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดูด้วยระลึก ว่า "ตถาคตประสูติ ในที่นี้" ว่า "ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมสัมโพธิญาณในที่นี้" ว่า "ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้" ว่า "ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้"

อานนท์...ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จาริกไปยังเจดีย์ จักมีจิตเลื่อมใส ตายไป ชนเหล่านั้นทั้งหมด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์"

 

ถ้ายังไม่ตาย
ต้องไปอินเดียทุกปี
  นี่คือสัญญาใจ


 
การไปอินเดียนั้นมีอุปสรรค์ทุกปีครับ แต่ไม่เคยเบื่อ
ถ้าใครคิดว่าจะไปเที่ยว
ขอบอกว่าอย่าไปครับ ไม่สนุก

 

 
พบพระสังฆราชลาว เสด็จไปเกือบทุกปี
ทั้งที่มีอายุมากแล้ว
 
นี่ก็เป็นโยมอีกท่านหนึ่งที่เป็นคนมีบุญ
ได้ลูกหลานกตัญญู
อุตสาห์พามาถึงพุทธคยา
ขอแสดงความนับถือไว้ณ. ที่นี้
 
 
ปีนี้เสียดาย ไปไม่ทันสาธยายพระไตรปิฏกนานาชาติ ครั้งที่ ๑๑
 
 
ติดเรียน ป.บส. ครับ
มีลูกศิษย์ถามว่าอาจารย์ ปีนี้อายุเท่าไหร่แล้ว
ตอบไปว่าอายุ 64 ปี แก่แล้ว
เป็นเรื่อง
 

เป็นตัวแทน ป.บส. รุ่นที่ 12
ถวายพระบรมสุข ให้กับอาจารย์ (พระราชปริยัติเวที)
รองเจ้าคณะ กทม.
ที่มาสอนวิชาการบริหารงบประมาณ

 

 


ขอให้ท่านอาจารย์มีความสุขทุกอิริยาบท
(ยืน เดิน นั่ง นอน)
ครับผม
 
 
 
การได้ปฎิบัติธรรมยังแดนพุทธภูมิครั้งนี้
ขอกุศลผลบุญที่ได้รับ  ส่งกลับมายังเพื่อนๆทุกรูป ทุกท่าน ทุกคนครับ
 
 
เขาให้ไปบรรยายเรื่อง ชง
ชนเป็น ชนตาย ชนร้าย ชนดี ชนแล้วรวยก็มี
 
  ปีนี้เดือน ก.พ. กับเดือน ส.ค.
อย่ากระพริบตาครับ
ปีนี้ลิง ชน เสือ
เดือน ก.พ. คือเดือนเสือ (เสือ ชน ลิง)
เดือน ส.ค. เดือนลิงครับ (ลิง ชน เสือ)


 เสือเป็นใหญ่อยู่ในป่า
ลิงเป็นใหญ่อยู่บนต้นไม้
หมูเป็นใหญ่อยู่ในเมือง
งูเป็นใหญ่บนพื้นปฏพี

สรุปคือต่างคนต่างใหญ่ แต่ใหญ่ในถิ่นของใครของมันครับ

แต่ในทางการเมือง
เสือคบกับหมู  งูคบกับลิง
หมูไม่ต้องออกหากิน  แต่เสือต้องออกหากิน
ลิงเก่งบนต้นไม้ งูตัวนิดเดียวแต่มีพิษครับ

 

สังเกตุดูให้ดีๆครับ
นี่คืออานิสงค์ของการปฎิบัติธรรม
และอานิสงค์ของการสาธยายพระไตรปิฏก

 

 
คนเราทำอะไรที่มันจำเจๆ 
ทำแล้วต้องมีความสุข
ถ้าไม่มีความสุขทำไม่ได้ 
หรือทำได้ก็ไม่นานครับ
 

 

ลูกศิษย์ไปสร้างพระพุทธรูป 2 องค์ถวายให้วัดพุทธในชนบท
ที่ประเทศอินเดีย เดินทางไปคนเดียว 
ชื่อโยมสุขสรรค์  เหมือนประสิทธิเวชย์

ฝากบุญมาให้กับพวกเราทุกรูป ทุกคนครับผม 

 
 
วัดราชกูรู พุทธวิหาร
เมืองสิทธิเตก จังหวัดปูเน่. อินเดีย
 
 
ขออนุโมทนาสาธุ  ในความตั้งใจอย่างแรงกล้านี้ 
ขอให้โยมสุขสรรค์และครอบครับสมความปรารถนาทุกประการ
 
 ความจริงแล้ว ครั้งแรกตั้งใจจะไปด้วยกัน 
แต่โยมสุขสรรค์กังวลเรื่องความปลอดภัย
เพราะไปในเขตชนบท
ประเทศอินเดีย ไม่เหมือนประเทศไทย
ต้องระมัดระวังเหมือนกัน

 

 


ชาวพุทธในประเทศอินเดีย น่าสงสาร ไม่กล้าเปิดเผยตัว
เพราะถ้าแสดงตัวจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
 
 นอกจากความสุขดังที่กล่าวแล้ว
ยังมีอีกอย่างหนึ่ง
ที่สำคัญที่สุดคือความศรัทธาครับ
คนเราที่ทำอะไรจำเจได้นอกจากความสุขแล้วคือความศรัทธา
 

 

 นอกจากถวายพระพุทธรูป 2 องค์แล้ว
โยมสุขสรรค์ยังได้บริจาคพรหมปูพื้นพระอุโบสถ
วัดราชกูรู พุทธวิหาร เมืองสิทธิเตก จังหวัดปูเน่. อินเดีย

ขอให้ท่านทั้งหลายร่วมอนุโมทนาบุญที่ฝากข้าพเจ้ามาสร้างในครั้งนี้ด้วย
และขอให้ผลบุญในครั้งนี้

จงส่งผลให้ทุกท่านมีกายและใจที่ร่มเย็นดั่งพัดลมที่ถวาย
และจะคิดจะเดินไปทางใด ขอให้มีแต่คนปูพรมแดงต้อนรับด้วยใจจริงตลอดไป สาธุ

 

 

 
 

 
 

 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 เทียนเต็ก ซินแส

"มีคนเขาว่ามาอินเดีย  เพื่อไหว้พระรับพร  
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"
วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ  
ตามรอยพระศาสดา  
  สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า
เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
 ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
      ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
    ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ
  ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
 ส่วนการบริการจะดีหรือไม่ดีไว้เป็นอันดับหลัง
(คิดว่าของแพงต้องดี)

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 




โครงการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญบุญต่างๆ

เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชวนชาวพุทธร่วมสร้างเจดีย์ที่วัดแดงประชาราษฏร์ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส มอบพระพุทธรูปที่ประเทศอินเดีย
เทียนเต็ก ซินแส 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท ( 76 จังหวัด )
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดโสธรวรารามวรวิหาร)
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท"
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท" ภาคอีสาน
เทียนเต็ก ซฺนแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๓
เทียนเต็ก ซินแส โครงการ หลวงพ่อถวายพระสู่วัดป่า
เทียนเต็ก ซินแส ถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดจอมศรี ถวายเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส มอบรอยพระพุทธบาทที่อินเดีย
โครงการ "หลวงพ่อมาเยี่ยม"
โครงการ "วัดปันสุข"
"พระสังฆราชมีพระบัญชา" ตั้งโรงทานทั่วประเทศ
"พระสังฆราช" มีพระบัญชา ตั้ง"โรงทาน"ทั่วประเทศ
ทอดผ้าป่าสามัคคี มหากุศล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยา และสร้างวัดที่ 4 ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๒
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๙ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๘ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๗ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ๑๖ - ๒๑ พ.ค.๖๒. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๖ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๕ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๔ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 13 "ถ้ำอชันต้า เอลโลร่า" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๒ (คริก)
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรม นำพระบรมสุขขึ้นประดิษฐานบนพระธาตุพนม (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ถวายผ้าไตร "องค์พุทธเมตตา" 1ธ.ค.2552 ที่พุทธคยา(คริก) article
เทียนเต็ก ซินแส แนะนำชุมชนพุทธในประเทศอินเดีย (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ "ส่งแม่สู่สรวงสวรรค์" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเเกิดแผ่นดินไหวโอซาก้า (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศศรีลังกา ๒๑-๓๑ ม.ค. ๒๕๖๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 ตอน 2
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชาวพุทธดาวโหลด หนังสือธุดงค์อินเดียฟรี. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 1 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45 วัน ครั้งที่ 3. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค. 2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ เวียตนามใต้ครั้งแรก 4-7 ก.ค. 62 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค.2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมประเทศพม่าครั้งที่ 3 เยี่ยมชมพุกาม
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ 2
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมบนมหาเจดีย์พุทธคยา และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแส ร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 9 วันที่ 27ม.ค.-7ก.พ.57
เทียนเต็ก ซินแสร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ 30 พ.ย. - 9 ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรม แดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 8 วันที่30พ.ย.-8ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแส เศร้าใจต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาหักโค่น
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 7 เพื่อเป็นพุทธบูชา 25พ.ย.-4ธ.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่.6 เพื่อเป็นพุทธบูชา 20-27 มี.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ครั้งที่.5 วันที่ 29 ม.ค.-6 ก.พ. 55
เทียนเต็ก ซินแสอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากประเทศจีน พ.ศ.51 article
เทียนเต็ก ซินแสขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา 2553 (คริกดูรายละเอียด)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล หลั่งน้ำตาที่กุสินารา 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมพุทธคยา ถวายผ้าไตร "พระพุทธเมตตา" 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซฺนแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูตรพระพุทธเจ้า 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย- เนปาล สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมครั้งที่ ๓ ตามรอยบาทพระศาสดา วันที่ 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ มหาวิทยาลัยนาลันทาภาค 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เขาคิชฌกูฏ 2ธ.ค.52 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สู่แม่น้ำคงคา 4ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา article
นิลกาย สัตว์ป่าหิมพานต์ เชิงเขาหิมาลัย เนปาล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๒ article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินี สถานที่ประสูตร 5ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล วัดเชตวันมหาวิหาร บ้านอนาถะบิณทิกะเศรษฐี article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล กราบบาทพระศาสดา กุสินารา 7ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล (รอยพระพุทธบาท) article
เทียนเต็ก ซินแส เยี่ยมวิหารท่านธรรมะปาละ 3ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ขอเชิญร่วมต่อเศียรองค์พระประธาน
เทียนเต็ก ซินแส แจกพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา article
สมโภชวิหารเจ้าแม่กวนอิม 3 ปาง วัดแดงประชาราษฎร์
สมโภชศาลาพระพุทธเจ้า ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดแดงประชาราษฏร์
พิธีเททองหล่อ พระราหู
ทอดกฐินสามัคคี วัดแดงประชาราษฏร์
งานสมโภชน์ฉลองพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รอบอุโบสถ วัดแดงประชาราษฏร์
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมล้านนา
เทียนเต็ก ซินแส ถวายพระพุทธรูปในแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา
โครงการถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส จะถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยาสร้างวัดพุทธวัดที่ 3 เป็นพุทธบูชา (คริก)
ชาวสยามร่วมกันมอบพระประธานให้กับวัดพุทธ ในประเทศบังกลาเทศ
ปี่เซี๊ยะดีที่สุด 貔貅 ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รายได้ทุกบาท ทุกสตางค์เข้าวัดทั้งหมด article



dot
www.henghengheng.com
dot
dot
Web Link
dot
bullettiantekpro.com
bullettiantek.net
bullettiantek.com
bullethorawej.com
dot
Llink
dot
bullethotmail.com
bulletyahoo.com
bulletgmail.com
bulletgoogle.co.th
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
Newsletter

dot
bulletแลก ลิ้ง ได้ที่นี่



อ.รุ่งนภา พยากรณ์
(แม้นเมือง
)

พิมพ์ปารีณา
รับพยากรณ์
จัดฮวงจุ้ยและรับสอน

ติดต่อได้ที่
โทร.
085-3253709

http://
pimandfriends.
blogspot.com/



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Best View 1024 x 768 pixels.............
พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม (เทียนเต็กซินแซ).....e-mail address tiantek@hotmail.com และ tiantek@henghengheng.com
วัดแดงประชาราษฎร์ ถ. บางกรวยไทรน้อย ต. บางสีทอง อ. บางกรวย จ.นนทบุรี รหัส 11130
โทร 0-2447-3593, 0-1936-6908

javascript hit counter

View My Stats


รวมสุดยอกของเฮง รับพยากรณ์ดวงชะตาและสอนเลข 7 ตัว 9 ฐานประยุกต์ ต้องการมีเวปไซด์ของตัวเอง คลิกที่นนี่ Enter to M T h
A ! 100HOT Sites and Vote for this Site!!! www.horawej.com เวปนิตยสาร โหราเวสม์  เพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งโปรแกรมผูกดวงต่าง ๆ มากมาย ทางเรายินดี เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ ความรู้ทางศาสตร์ แห่งโหรศาสตร์ และอื่น ๆ ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใดหากท่านใดต้องการรับการพยากรณ์เชิญในห้องกระทู้ มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิคอย ตอนรับท่าน อยู่หลายท่าน เรียนเชิญครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง webmaster horawej@horawej.com web 10 luckastro.com เป็นเว็ปเพื่อการศึกษาโหราศาสตร์ 10 ลัคนา และโหราศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทุกสาขาวิชา เว็ป 10 luckastro.com เป็นศูนย์รวมของนักพยากรณ์ทุกระดับทุกสาขาวิชา เป็นจุดนัดพบและสื่อสารในระหว่างนักศึกษาโหราศาสตร์ด้วยกัน และในระดับครูบาอาจารย์ เว็ป 10 luckastro.com ยินดีในการให้บริการตอบปัญหาทั้งปัญหาชิวิตและปัญหาทางโหราศาสตร์ www.tiantek.com เวปเพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์จีน และ เลือกหัวข้อที่ต้องการดู (ดูได้ทุกเรื่องโดยไม่จำกัด) บอกวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากตามหลักสากล และบอกเหตุการณ์ที่ผ่านมา...เช่นแต่งงาน...มีบุตร ทำงานหรือทำธุรกิจ.เมื่อปีพ.ศ....และข้อสุดท้ายช่วยแจ้งด้วยว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของดวง ข้อมูลยิ่งมากการทำนายยิ่งแม่น ถ้าภายใน 24 ชั่วโมง(หนึ่งวัน)ยังไม่ได้รับคำทำนาย อาตมาอนุญาติให้โทรเข้ามาถามดวงสดสดได้ 
เวปไซด์ของอาตมา เป็นเวป เพื่อการศึกษาและเผยแผ่ธรรมะ และถ้าโยมช่วยบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบมากเท่าใดยิ่งได้บุญมากเท่านั้น 
www.maleeseacon.com เวปเพื่อการสะสมพระเครื่อง บูชาเครื่องของขลัง ณ ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ ชั้น 3 โซนโลตัส ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กทม 10250 Wireless Home Automation 
ท่านไม่ต้องเป็นวิศวกรหรือมีความรู้ทางด้านอิเลคโทรนิคส์ และไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม ท่านก็สามารถออกแบบและติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยตัวท่านเอง  
ชุมนุมผู้เป็นปฏิปักษ์กับหัว ขโมย มหาหมอดู PostJung.com เวบเพลง Online เพลง Update Intrend, หาเพื่อน MSN, Diary, Webboad โพสท์รูปซะใจ, PhotoAlbum ฯลฯ...Click เลย ชุมชนคนช่างฝัน สุดยอดแห่งสาระ และ ความบันเทิง ศูนย์รวม CODE ทุกอย่าง โรจน์ จินตมาศ   จุ๊กกรู! ดอท คอม ..มุมสงบ ผ่อนคลาย ครื้นเครง ป็นกันเอง..ดูดวงฟรี หวย ฟังเพลง เกมส์ หาเพื่อน หากิ๊ก ข่าว ดูดวง  Give information about Thai orchids ตลาดนัดรถรถบ้านที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ Image Hosted by ImageShack.us ซื้อขายออนไลน์ 24 ชั่วโมง