เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน
วันที่ 22 -26 ส.ค.57
ต้นแบบพระพุทธรูป ปางบรมสุข
ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด
วัดแดงประชาราษฏร์ นนทบุรี
 |
ภูฏาน
มีชื่อเสียงในความเป็นเมืองทางพุทธศาสนา
บนเทือกเขาหิมาลัย
มีธรรมชาติสวยงามบริสุทธิ์
จนได้รับการยกย่องว่าเป็น สวรรค์บนดิน |
 |
ภูฏาน ได้ชื่อว่าเป็นมังกรสายฟ้า |
 |
|
 |
|
 |
ดูให้ดี |
 |
มีแต่ได้ |
 |
ไม่มีเสีย |
 |
เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น |
 |
ของคนภูฏาน |
 |
เมืองนาลันทา
เมือง...พระราชาอุปถัมภก เมือง...ยอยกการศึกษา
เมือง...คลังสติ-ปัญญา เมือง...มหาวิทยาลัย
เมือง...มาตุภูมิอัครสาวก เมือง..วิปโยคเมื่อล่มสลาย
เมือง...พระสงฆ์หลบลี้หนีตาย เมืองเป้าหมายทำลายล้างคลังพระธรรม
เมือง...พระถังฯ พากเพียรเรียนพระไตรปิฏก เมือง...ยาจกโห่ก้องร้องระส่ำ
เมือง...หลวงพ่อพุทธองค์ดำ เมือง...คราคร่ำผู้คนจน-มี
เมือง...สารีบุตรฉุดแม่จากมิจฉาฯ เมือง...รถม้าเอื้ออาทรตามวิถี
เมือง...นิพพานพระธรรมเสนาบดี เมือง...เจดีย์ธาตุขันธ์ลูกกตัญญูฯ
|
 |
ประวัติศาสตร์นาลันทา
- สมัยพุทธกาล เป็นชานเมืองนามว่า “นาลันทา” มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ผู้คนหนาแน่น เลื่อมใสในพระพุทธองค์ (เกวัฎฎสูตร ทีฆนิกาย) อยู่ทางทิศเหนือของเมืองราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร)
- พระศาสดา เสด็จมาประทับหลายครั้ง ณ ปาวาริกกัมพวัน ของท่านทุสสปาวาริกเศรษฐี
- เป็นสถานที่เกิดและนิพพานของท่านพระสารีบุตร
- นาลันทา (พระถังฯ) มาจาก น อลํ ททามิ = ไม่พอในการให้ทาน และมาจาก นาลํ ทา = ให้ความชื่นใจ
- บางตำนาน แปลว่า เมืองให้ดอกบัว นาลํ = ดอกบัว ทาน = ให้
- บางตำนาน แปลว่า เมืองพญานาค นาลันทา
|
 |
สมัยพุทธกาล ชื่อหมู่บ้านนาลกะ พระสารีบุตรและพระโมคคับบานะเกิดที่นี่ เมื่อพระสารีบุตรนิพพานที่นี่ ชาวเมืองถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงพากันปรับแต่งห้องเกิดและนิพพานของท่านให้เป็นเจติยสถาน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาศิษยานุศิษย์ของท่านพระสารีบุตรสร้างกุฎิและวิหารรอบเจดีย์ ใช้เป็นที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
|
 |
นาลันทามหาวิทยาลัยของโลก
ฯพณฯ ศรีเยาวหราลเนห์รู (ใน Glimpses of World History) ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพในอินเดียยุคนั้นมี ๔ เมือง คือ ตักกสิลา, มถุรา, อุชเชนี และนาลันทา แต่ต่างประเทศยอมรับคือ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
|
 |
สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
หลังสังคายนาครั่งที่ ๓ ประมาณ พ.ศ.๒๓๕ พระเจ้าอโศกฯ เสด็จมาสร้างเจดีย์บูชาไว้ ๒ องค์ เพื่อบูชาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ และสร้างกุฎิวิหาร ณ บริเวณวัดปาวาริกัมพวันใกล้ๆ พระเจดีย์ ให้เป็นที่พำนักแก่พระสงฆ์ผู้คงแก่เรียน
|
 |
การไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน |
 |
สมัยนาคารชุนเป็นสมภาร
สมัยนี้นิยมเรียนเรื่องสุญญตา ความว่าง ความปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มีการสอนสัมภาษณ์ปฏิภาณผู้เข้าเรียน
|
 |
สมัยราชวงศ์คุปตะ
พ.ศ.๘๐๐ เศษ พระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ (ศักราทิตยีราชา) มานาลันทาเห็นกาศึกษาเจริญรุ่งเรืองจึงให้การอุปถัมภ์สร้างสังฆรามถวายสงฆ์
พระเจ้าพุทธคุปตะ – พระเจ้าตถาคตคุปตะ – พระเจ้าพาลาทิตยะและพระเจ้าวัชระ ต่างสร้างวัดถวายและให้ความอุปถัมภ์อย่างดี
พ.ศ.๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียนมาแต่ไม่มีบันทึกอะไรมากนัก
|
 |
สมัยพระเจ้าหรรษวรรธนะ
พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑ พระองค์ให้ความอุปถัมภ์เป็นอย่างดีเยี่ยม เมตตาพระราชทานหมู่บ้าน ๑๐๐ ตำบล เพื่อผลประโยชน์ของนาลันทา จัดอาสาสมัครหมู่บ้านละ ๒ คน ต่อมาเพิ่มอีก ๑๐๐ ตำบล เป็น ๒๐๐ ตำบล พระองค์นิมนต์พระสงฆ์ประชุมและฉันที่วัง ณ เมืองกาโนช ปีหนึ่ง ๒๑ วัน จนถือเป็นประเพณีปฏิบัติ
พ.ศ.๑๑๗๒-๑๑๘๗ พระถังซัมจั๋ง มาสืบพระศาสนาได้บันทึกไว้ว่า มีนักศึกษา ๑๐,๐๐๐ ท่าน ครู อาจารย์ ๑,๕๐๐ ท่าน วิชาการที่เล่าเรียนมา ๕ วิชา ได้แก่ ๑) พุทธปรัชญา ๒) ตรรกวิทยา ๓) ไวรากรณ์ หรือ วรรณคดี ๔) ศาสนาพราหมณ์ ๕) แพทย์ศาสตร์ วิชาบังคับ คือ พระไตรปิฏกทั่งของเถรวาทและมหายาน
ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันโมริยะสร้างพระพุทธรูปทองแดงขนาดสูง ๘๐ ศอก ในวิหาร ๖ แห่ง และมีห้องสมุด ๓ แห่ง คือ รัตนาคร – รัตนรัญชกะ – รัตโนทธิ ขนาดสูง ๙ ชั้น มีนักศึกษาจากต่างประเทศ เช่น จีน, ชวา, สุมาตรา, มองโกเลีย, ธิเบต และเกาหลี
พ.ศ.๑๒๒๓ นาลันทามีนักศึกษามาเพิ่มอีกถึง ๓-๔ พัน และเจริญรุ่งเรืองต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ
|
 |
สมัยราชวงศ์ปาละ
ราชวงศ์ปาละปกครองชมพูทวีป ในปี พ.ศ.๑๓๐๓-๑๖๘๕ ประมาณ ๔๐๐ ปีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ได้สร้างสังฆารามเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายสาขาของมหาวิทยาลัยเพิ่มอีก ๔ แห่ง คือ
๑) มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ๓) มหาวิทยาลัยโอทันตะ บุรี
๒) มหาวิทยาลัยโสมปุระ ๔) มหาวิทยาลัยซากัททละ
พ.ศ.๑๓๕๓-๑๓๙๓ สมัยพระเจ้าปาละ ได้มีกษัตริย์จากสุมาตราพระนามว่าพาลาปุตตาเทวะ ส่งพระ นักศึกษามาเรียน และขออนุญาตสร้างสังฆารามถวาย ๑ แห่ง เพื่อเป็นที่พัก
|
 |
สมัยเสื่อม
พ.ศ.๑๑๗๒ มุสลิมเติร์กรุการานอินเดีย ขยายพื้นที่ยึดครองจากทางด้านทิศตะวันตก
พ.ศ.๑๗๖๖ มาถึงนาลันทา มีแม่ทัพใหญ่คือภักทียะซิลจิ มอบหมายลูกชาย คือ “อิคทียะ ชิลจ” กรีฑาทัพมาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา และเผาอาคาร, วิหาร, สถานที่, ตำรา บรรดาพระสงฆ์ถูกฆ่า ถูกทำร้ายบ้างก็หนีตาย เผาห้องสมุด ทำลายพระพุทธรูป เมื่อพวกเขาทำลายอย่างสาแก่ใจแล้ว จึงถอยทัพกลับไปที่ค่ายใหญ่
ครูอาจารย์ ประมาณ ๗๐ ท่าน นำโดยท่านมุทิตาภัทร พากันดับไฟซ่อมแซมทำการสอนต่ออีก ๑๒ ปี ในปี พ.ศ.๑๗๗๘ มีนักบวชฮินดูหมางใจกับพระสงฆ์ในนาลันทา ก็ทำการเผาซ้ำอีกเป็นครั้งที่ ๒ จนวอดวายไม่สามารถฟื้นฟูได้ ถูกฝังจมอยู่ใต้ดินกินเวลาถึง ๖๒๕ ปี
พ.ศ. ๒๓๕๘ ท่านหลอดฮามินตัน อ่านบันทึกของถังซัมจั๋ง จึงเริ่มทำการขุดค้นพบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป ๒ องค์
พ.ศ.๒๔๐๓ ท่านเชอร์คันนิ่งแฮมจึงทำการขุดค้นใหม่ โดยมี MR. M.M. บรอดเล่ย์ และดร.สปูนเนอร์ เป็นผู้ช่วยจึงประสบความสำเร็จ มหาวิทยาลัยจึงได้ปรากฏร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่อลังการให้เราได้ชม
|
 |
สถานที่สำคัญ
๑) มหาวิทยาลัยนาลันทาเก่า
๒) มหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่ ราเชนประสาทวางศิลาฤกษ์ พ.ศ.๒๔๙๔ ฯพณฯ ศรีเยาวหราลเนห์รู เป็นประธานเปิด พ.ศ.๒๔๙๗
๓) พิพิธภัณฑ์นาลันทา (หมวดจารึก – หมวดพระปฏิมา – หมวดเครื่องหมาย – หมวดเครื่องปั้น)
๔) วิหารพระพุทธองค์ดำ
๕) เจดีย์สารีบุตร
๖) วัดไทยนาลันทา (๒๕๑๗)
|
 |
พระสูตรสำคัญ สาระธรรมสำคัญ บุคคลสำคัญ
๑) เกวัฏฏสูตร ๑) ปาฏิหาริย์ ๑) พระสารีบุตร
๒) อุบาสีสูตร ๒) กรรม๓ (พุทธ) ๒) พระโมคคัลลานะ
๓) ทัณฑ์ ๓ (นิครนถ์) ๓) ปาวาริกเศรษฐี
๔) อุบาลีคหบดี
|
 |
|
คำอธิษฐาน ณ เจดีย์สารีบุตร นาลันทา
ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ได้บูชาสักการะ พระเจดียสถานที่เกิดและนิพพาน ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ในวันนี้ ขอจงเป็นบารมี ให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๙ ประการ
๑. ขอให้มีความสำเร็จในกิจดังจิตปรารถนา
๒. ขอให้กตัญญูต่อบิดรมารดาดั่งพระสารีบุตร
๓.ขอให้ฉุดบุตรหลานผ่านพ้นปัญหา
๔. ขอให้มีปัญญาคุ้มครองผองญาติ
๕. ขอให้ทุกภพชาติพบศาสนาพุทธ
๖. ขอให้บริสุทธิ์ดุจคู่อัครสาวก
๗. ขอให้แตกฉานในไตรปิฎกดั่งพระถังซัมจั๋ง
๘. ขอให้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน
๙. ขอให้เจริญศีลทานเมตตาภาวนา
ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน เทอญฯ
|
 |
รินโปเช่ น้อย (เจ้าชายแห่งภูฏาน) ระลึกชาติได้ 824 ปี
บอกว่าชาติปางก่อนเคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา |
|
 |
 |
มองเห็นหมอกยอดเขา เหมือนกับดวงตา |
 |
|
 |
|
 |
คนภูฏานชอบกีฬายิงธนู |
 |
เป้าธนูอยู่ประมาณ 100 เมตร |
 |
กองเชียร์มากันเยอะ เชียร์กันสนุก |
 |
สอบถามพรรคพวกกันแล้วทั้งคนจัด |
 |
และลูกทัวร์ ว่ามาภูฏานครั้งนี้ครั้งแรกเหมือนกันหมด |
 |
คณะทัวร์ประมาณ 27 ท่าน |
 |
เป็นฆราวาส 23 |
 |
เป็นพระภิกษุ 4 รูป |
ครั้งแรกก็ไม่รู้ว่าเป็นพิธีบวช
พอได้ยินคำว่ามนุษย์โสซิเท่านั้น
ตามขบวนลามะเข้าไปร่วมพิธีบวชลามะที่ชั้น 4
ความจริงเขาให้เข้าไปได้แค่ชั้นเดียว
แต่ลามะน้อยพาไป4ชั้น
และมีโอกาสได้กราบไหว้พระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ทุกชั้น
ถือว่ายังมีวาสนาที่ได้มา
เขาห้ามถ่ายรูปจึงไม่มีรูปมาให้ดู