เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมบนมหาเจดีย์พุทธคยา และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10 ปฎิบัติธรรมพุทธคยา
และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10
 |
28 พ.ย. ถึง4 ธ.ค.
2557 |
 |
 |
คำขวัญเมืองพาราณสี
เมืองฮินดูเรืองนาม
เมืองนามอมตะ
เมืองพระโพธิสัตว์
เมืองประวัติค้าไหม
เมืองมหาลัยเก่าแก่
เมืองแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์
เมืองสถิตพระศิวะ
เมืองฌาปนริมคงคา
เมืองศาสดาประกาศธรรม
|
 |
คำขวัญเมืองพาราณสี
เมืองเรืองนามความเก่าแก่ เมืองแม่น้ำคงคาธาราสินธุ์
เมืองเคี้ยวหมากปากแดงแข่งกันกิน เมืองผ้าซิ่นแพรไหม (ส่าหรี)
เมืองแม่ม่ายทูนหัวผัวตามปะ เมืองมรณะปละปล่อยที่ที่ลอย
เมืองหมุนล้อจักรหลักพระธรรม เมืองเลิศล้ำสรรพวิชามหาลัย
เมืองมหาเทพเสพองค์พระศิวะ เมืองมฤคทายวันไพรสณฑ์ใหญ่
เมืองมนต์ขลังติดตรึงจนฝังใจ
|
 |
สาเหตุที่มาคงคา
มา...บูชาพระบรมสารีริกธาตุ มา...ดูการประกาศศาสนา
มา...ดูคนอาบสรงในคงคา มา...ดูการน้อมวันทาดวงอาทิตย์
มา...ดูพิธีกรรมการเผาศพ มา...ดูการเคารพน้ำศักดิ์สิทธิ์
มา...ดูการปลงสัจจะแห่งชีวิต มา...เพ่งพินิจสองฟากฝั่งอย่างเห็นธรรม
|
 |
คำอธิษฐานที่สารนาถ
๑.ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนพระโกณฑัญญะ
๒.ให้สุขภาพแข็งแรง พลานามัยสมบูรณ์ อายุยืนเหมือนพระพากุละ
๓.ไปไกล้ไกลให้ปลอดภัยเหมือนพญากวางทอง
๔.ให้ศรัทธาตั้งมั่นเหมือนบิดาพระยสะ หรือ
๕.ให้ได้บริวารเป็นมิตร ปิดศัตรู ได้ความไม่วุ่นวายไม่ขัดข้อง ได้ดวงตาเห็นธรรมล้ำเลิศ
|
 |
ความสำคัญของสารนาถคือ เมืองปฐม
ปฐมเทศนาอริยสัจ ปฐมอุบัติพระอริยะสงฆ์
ปฐมพรรษาพระพุทธองค์ ปฐมวงศ์เหล่ากออุบาสิกา
ปฐมวงศ์เหล่ากออุบาสก ปฐมศกเผยแพร่พุทธศาสนา
ปฐมความงามแห่งปฏิมา ปฐมพาราพุทธสัญจร
|
 |
 |
อโห พุทโธ พระพุทธเจ้าน่าอัศจรรย์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สุดยอดศาสดาผู้มีปัญญาเลิศ
สุดยอดลูกผู้ประเสริฐกตัญญูต่อพ่อแม่
สุดยอดพี้-น้อง ปกป้องดูแล
สุดยอดเพื่อนแท้มิแปรผันคำสัญญา
สุดยอดผู้นำความเป็นอยู่
สุดยอดครูผู้เพียรฝึกให้ศึกษา
สุดยอดพระธรรมราชา
สุดยอดกตเวทิตาต่อแผ่นดิน |
 |
คำบูชาสถานที่ตรัสรู้
วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง โพธิรุกขะเจติยัง, สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุลละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อิธะ คะยาสีเส, ตะถาคะเตนะ สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพรหมมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อภิสัมพุทธังฯสาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะนะมามิ, มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ
คำแปล
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ได้มาถึงแล้วต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระเจดีย์นี้ อันเป็นสังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรทัสสนา เป็นสถานที่พระตถาคต ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ณ ที่ตำบล คยาสีสะประเทศแห่งนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอบูชาโดยยิ่ง ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ และขอน้อมระลึกถึงพระธรรม ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ขอการบูชาสักการะในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนาน เทอญฯ |
 |
ลำดับเหตุการณ์พุทธประวัติ
๑.ตรัสรู้ เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ ตามหาคนสอน พิจารณาสัตว์โลกเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า
๒.ออกเดินทางไปพาราณสี พบอุปกาชีวกก่อน
๓.พบปัญจวัคคีย์ทั้ง๕
๔.แสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร, ตรัสอนัตตลักขณสูตร
๕.โปรดยสะและบิดา พร้อมทั้งเพื่อน ๕๕ คน
๖.วันอาสาฬหบูชา และเข้าพรรษา
๗.ออกพรรษาส่งพระไปประกาศศาสนา พระองค์โปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ คน
๘.นันทิยมาณพถวายทาน ได้ปราสาทบนสวรรค์
๙.นางสุปปิยาถวายเนื้อขา
๑๐.ธัมมทินนอุบาสก ฟังธรรม |
 |
สถานที่สำคัญ (บรรยายในสถานที่)
๑.ธัมมราชิกสถูป
๒.เสาอโศก
๓.มูลคันธกุฏี
๔.สถูปยสะ
๕.ธัมเมกขสถูป
๖.เจาคันธี
๗.พิพิธภัณฑ์
๘.วัดนานาชาติ |
 |
คำอธิษฐานที่สารนาถ
๑.ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนพระโกณฑัญญะ
๒.ให้สุขภาพแข็งแรง พลานามัยสมบูรณ์ อายุยืนเหมือนพระพากุละ
๓.ไปไกล้ไกลให้ปลอดภัยเหมือนพญากวางทอง
๔.ให้ศรัทธาตั้งมั่นเหมือนบิดาพระยสะ หรือได้บริวารเป็นมิตร ปิดศัตรู
ได้ความไม่วุ่นวายไม่ขัดข้อง ได้ดวงตาเห็นธรรมล้ำเลิศ |
 |
 |
ธรรมะจากสารนาถ
๑.อริยสัจจ์ ๔
๒.มรรคมีองค์ ๘
๓.อนิจจลักษณะ
๔.คุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ |
 |
ที่คงคา
- เล่าตำนานคงคา ท่าน้ำมี ๘๔ ท่า ท่าเพื่อคนเป็น ๘๒ ท่า ท่าเพื่อคนตาย ๒ ท่า คือหริจันทระ
และมณิกรรณิการ์ฆาฏ ตำนานพระศิวะ
- แมน้ำคงคายาว ๒๕๕๖ กิโลเมตร กำเนิดที่โคมุข ลงอ่าวที่เบงกอล
- สาเหตุที่มาคงคา มาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ มาดูการประกาศพระศาสนา
มาดูคนอาบสรงในคงคา มาดูการน้อมวันทาดวงอาทิตย์ มาดูพิธีกรรมการเผาศพ
มาดูการเคารพน้ำศักดิ์สิทธิ์ มาดูการปลงสัจจะแห่งชีวิต มาเพ่งพินิจสองฟากฝั่งอย่างเห็นธรรม
|
 |
ที่สารนาถ
-อธิบายคำว่าสารนาถ, อิสิปตนมิคทายวัน อธิบายสาเหตุที่ได้ชื่อเหล่านี้
- ความสำคัญของสารนาถ คือเมืองปฐม เช่น ปฐมเทศนาอริยสัจจ์ ปฐมอุบัติพระอริยสงฆ์ ปฐมพรรษา พระพุทธองค์ ปฐมวงศ์เหล่ากออุบาสิกา ปฐมเหล่ากออุบาสก ปฐมศกเผยแพร่พระพุทธศาสนา ปฐม ความงามแห่งปฏิมา ปฐมพาราพุทธสัญจร
|
 |
พาราณสีที่เกี่ยวพันกับพุทธศาสนา
๑.เป็นที่ผลิตพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์กำเนิดที่นี่กว่า ๕๔๐ ชาติ ในชาดก ๑๐ ชาติ (พระเจ้าสิบชาติ)
เกิดเป็นสุวรรณสามและเตมีย์ใบ้
๒.เป็นเมืองที่รองรับพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก
๓.เป็นที่กำเนิดพระพุทธเจ้านามว่าศรีอริยเมตไตย
๔.เป็นที่กำเนิดตำนานสุรา
๕.เป็นที่กำเนิดบทสวดขันธโมรปริตรคาถา
๖.เป็นที่กำเนิดการจองเวรครั้งแรกระหว่างพระเทวทัตต์กับพระพุทธองค์
๗.เป็นที่กำเนิดมหาโจรกินเนื้อมนุษย์
|
 |
พาราณสีที่เกี่ยวพันกับศาสนาฮินดู
๑.เป็นศูนย์กลางศาสนาฮินดู
๒.เป็นบ่อเกิดศาสนา ประเพณี พิธีกรรมหลายอย่าง
๓.เป็นที่แต่งเรื่องรามเกียรติ |
 |
 |
ตำนานลูกฆ่าพ่อ
พระเจ้าพิมพิสาร ถูกอชาตศัตรูกุมารปลงพระชนม์
อชาตศัตรูกุมาร ถูกอุทัยภัทร์ปลงพระชนม์
อุทัยภัทร์ ถูกอนุรุทธกุมารปลงพระชนม์
อนุรุทธกุมาร ถูกมุณฑกุมารปลงพระชนม์
มุณฑกุมาร ถูกนาคทสกกุมารปลงพระชนม์
นาคทสกกุมาร ถูกสุสูนาคมหาอำมาตย์ปลงพระชนม์ |
 |
เมืองสาวัตถี
มหานครแห่งคนดี
เมือง...เศรษฐีลือนาม เมือง...หญิงงามลือชื่อ
เมือง...มหาวิหารล่ำลือ เมือง...เลื่องลือโพธิ์อานนท์
เมือง...เดียรถีย์เสียท่า เมือง...๒๕ จำกาลฝน
เมือง...ปราบโหราจารย์พาลชน เมือง...แสดงมงคล ๓๘ ประการ
เมือง...กฐินถูกยอยก เมือง...แสดงยมกปาฏิหาริย์
เมือง...จอมโจรรองคุลีมาล เมือง...ตำนานพระสิวลี
เมือง...ธรณีสูบคนบาป เมือง...กำราบคนหมองศรี
เมือง...มากหมู่พระกุฎี เมือง...สร้างบารมี ศีล ทาน ภาวนาฯ
|
 |
ประวัติศาสตร์เมืองสาวัตถี
- เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล เจ้าผู้ครองนคร คือพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธองค์ได้เสด็จมานั่งประทับที่นี่ทั้งหมด ๒๕ พรรษา อยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ๑๘ พรรษา และอยู่ที่บุพพาราม ๖ พรรษา มีประชากร ๗ โกฏิ ปัจจุบันเหลือเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ๓๒ เอเคอร์
- พระพุทธเจ้าเสด็จไปสาวัตถีครั้งแรกปลายพรรษาที่ ๒ ต้นพรรษาที่ ๓
- สิ้นสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล อำนาจแคว้นโกศลก็ลดลง
- สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช วัดเชตะวันก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ พระองค์ได้เสด็จมาในปี พ.ศ.๒๓๖ พ.ศ.๒๔๐ ปักเสาอโศกไว้ที่นี้ มีหลักฐาน ๖ ต้น คือ ณ สถานที่แสดงยมกปกฏิหาริย์, เชตะวันมหาวิหาร บุพพาราม, บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี, บ้านขององคุลีมาล, ที่พระสารีบุตรได้แสดงธรรม
- พ.ศ.๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียน ได้มาจาริกธรรม บันทึกว่าตัวเมืองถูกทิ้งร้างแต่พระเชตะวันยังเป็นสำนักสำคัญที่มีถึง ๗ขั้น
|
 |
- พ.ศ.๑๑๗๓-๑๑๘๖ หลวงจีนถังซัมจั๋งมาบันทึกว่าตัวเมืองร้างมานาน พระเชตะวันก็เริ่มมีพระสงฆ์น้อยลง ผู้คนก็น้อยลง
- พ.ศ.๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ ได้ทำการบูรณะวัดเชตะวันขึ้นมาใหม่
- พ.ศ.๑๕๖๐ กองทพอิสลาม นำโดย มะหะหมัด ดัชนี ได้ยทัพมาทำลายล้างพระเชตะวัน
- พ.ศ.๑๖๕๐ พระนางกุมาราชเทวี พระมเหสีของพรเจ้าโควินทจันทร์แห่งมหานครกาโนช ได้ทำการบูรณะใหม่
- พ.ศ.๑๖๗๑ อิสลามในราชวงศ์ทาสปกครองอินเดีย ได้ยกทัพมาตีทำลายทุกสิ่งทุกอย่างฝังลงไว้ใต้พื้นปฐพีจนไม่เหลือซากใด ๆ ร้างหายไปเกือบ ๗๐๐ ปี
- พ.ศ.๒๔๐๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจเมืองสาวัตถีขุดค้นหลักฐานตามบันทึกของท่านฟาเหียน และพระถังซัมจั๋ง
- พ.ศ.๒๔๕๒ เซอร์จอร์น มาร์แชล ได้ขุดค้นพบหลักฐานทั้งหมดจนปรากฏ ณ ปัจจุบันนี้
|
 |
สถานที่สำคัญ
๑) วัดเชตะวันมหาวิหาร คนท้องถิ่นเรียกว่า “สาเหตุ” ๘) วัดบุพพาราม
๒) พระมูลคันธกุฎี ๙) มิลลิกาอาศรม
๓) กุฎิเหล่าพระอรหันต์ ๑๐) บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
๔) สังฆสภา ๑๑) สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์
๕) ต้นโพธิ์อานนท์ ๑๒) ที่ธรณีสูบคนบาป
๖) ศาลาโรงธรรม ๑๓) บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดา
องคุลีมาล
๗) ตัวเมืองสาวัตถีเป็นเขตพระราชฐานของพระเจ้าปเสนทิโกศล คนท้องถิ่นเรียกว่า “มาเหต”
|
 |
 |
ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์
เป็นจุดที่พระพุทธองค์แสดงยมกปกฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือลัทธิเชนนั่นเอง ตั้งอยู่ริมถนนเข้าเมืองสาวัตถี ห่างจากพระเชตะวันประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นสภาพเนินดินที่ใหญ่โต เดิมเป็นสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการขุดค้นไปแล้วบางส่วน
|
 |
พระเชตะวัน, อานนทโพธิ์
เป็นอารามที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณแถบนี้ สร้างในบริเวณที่เดิมของเจ้าเชต ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล อนาถปิณฑิกะมีนามเดิมว่า สุทัตตะ เป็นพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี ได้ไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาจนบรรลุโสดาบัน จึงอาราธนาพระองค์มาโปรดชาวเมืองสาวัตถี เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว จึงได้ซื้อที่ของเจ้าเชต ในเบื้องต้นถูกโก่งราคาอย่างหนักด้วยการให้เศรษฐีปูทองคำเต็มบริเวณเศรษฐ๊ทำตามจนเจ้าเชตทึ่งเห็นใจจึงขายให้พร้อมกับขอร้องให้ใช้นามตนเองตั้ง จนกลายเป็นเชตวนาราม พระองค์ประทับอยู่ที่นี่นานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองสราวัสดี จังหวัดสราวัสดี รัฐอุตตรประเทศ ปัจจุบันนิยมเรียกว่าศราวัสดี อันเป็นนามตามภาสันสกฤต ส่วนคำว่า สาวัตถี ตามนามบาลีมีคนรู้จักน้อยมาก ส่วนภายในพระเชตะวัน มีกุฎิปลูกสร้างอยู่มากมาย ทั้งพระมูลคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า และอานนทโพธิ์ซึ่งพระมหาโมคคัลลานะนำมาจากพุทธคยามาปลูกไว้ที่นี่ จึงนับว่าเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่มากที่สุดต้นหนึ่ง
|
 |
บ้านอนาถปิณฑิกเศรษฐี
เป็นซากบ้านโบราณภายในเขตพระราชฐานเมืองสาวัตถี คำว่า อนาถปิณฑิกะ แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวสำหรับผู้ไม่มีที่พึ่ง เป็นเศรษฐีที่มั่งคั่งที่สุดและยากจนที่สุดในคราวเดียวกัน เป็นมหาอุบาสกที่ค้ำชูพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เป็นผู้สร้างเชตะวันมหาวารถวายพระพุทธองค์ ปัจจุบันเหลือเพียรซากโบราณสถานให้เราได้เห็นกฎแห่งอนิจจัง
|
 |
บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดาองคุลีมาล
เชื่อกันว่าเป็นซากคฤหาสน์ของพราหมณ์ปุโรหิต ผู้เป็นบิดาของจอมโจรองคุลีมาลหรืออหิงสกะ หลังจาก ๗ ขวบ บิดาจึงให้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา
|
 |
วัดบุพพาราม
สร้างโดยวิสาขามหาอุบาสิกา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่สมบูรณ์ด้วยเบญจกัลยาณี อายุได้ ๗ ขวบ บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธองค์มาประทับที่วัดนี้ถึง ๖ พรรษา ตรัสพระธรรมเทศนาหลายพระสูตร ปัจจุบันนี้ อารามถูกแม่น้ำอจิรวดีเซาะจนพังเกือบไม่เหลืออะไรเป็นหลักฐาน
|
 |
 |
พระสูตรต่างๆ
พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรที่เมืองสาวัตถีทั้งสิ้น ๘๗๑ พระสูตร คือ เชตะวันมหาวิหาร ๘๔๔ พระสูตร นอกนั้นเป็นของบุพพาราม ๒๓ พระสูตร และของอื่นๆ อีก ๔ พระสูตร เป็นพระสูตรในสังยุตตนิกาย ๗๓๖ พระสูตร, มัชฌิมนิกาย ๗๕ พระสูตร, อังคุตตรนิกาย ๕๔ พระสูตร อละทีฆนิกาย ๖ พระสูตร เช่น มงค,สูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานิสังสสูตร, ศิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนาถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปสาทสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อริยชนสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร ฯลฯ
|
 |
บุคคลสำคัญ
๑) พระเจ้าปเสนทิโกศล ๗) พระกุมารกัสสปะ
๒) อนาถบิณฑิกเศรษฐี ๘) พระพาหิยะเถระ
๓) วิสาขามหาอุบาสิกา ๙) พระสิวสีเถระ
๔) องคุลีมาล ๑๐) เศรษฐีตีนแมว
๕) ปฏาจาราเถรี ๑๑) ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยรัฐ ๓๐ รูป
๖) กีสาโคตรมี ๑๒) วังคีสพราหมณ์
|
 |
การเดินชมเชตะวันฯ
เขตสังฆวาส
๑) หมู่กฎิภิกษุชาวโกสัมพี ๗) กุฎิพระโมคคัลลานะ
๒) หมู่กุฎิพระอุบาสี – ราหลุ ๘) กุฏิพระองคุลีมาล
๓) ธัมมิการามที่พิจารณาอธิกรณ์ประจำวัด ๙) กุฏิพระอานนท์
๔) เจดีย์อรหันต์ ๘ ทิศ ต้นกำเนิดสรภัญญะ ๑๐) กุฏิพระสารีบุตร
๕) กุฎิพระสิวลีเถระ ๑๑) อานนทโพธิ์
๖) กุฎิพระมหากัสสปะ ๑๒) ราชิการาม คือ สำนักของภิกษุณี
|
 |
เขตพุทธาวาส
๑) พระคันธกุฎีฤดูหนาว ๔) ศาลาโรงธรรม (อุโบสถ)
๒) พระคันธกุฎีฤดูร้อน ๕) ธรรมสภา (สถานที่ฟังธรรมของชาวเมือง)
๓) พระคันธกุฎีฤดูฝน ๖) บ่อน้ำพุทธมนต์
|
 |
สาระธรรมสำคัญ
๑) มงคล ๓๘ ประการ ๖) พรจากการถวายผ้ากฐิน
๒) อานิสงค์เมตตา ๑๑ ประการ ๗) การถวายผ้าอาบน้ำฝน
๓) เบญจกัลยาณี ๕ ประการ ๘) อาคันตุกภัตต์
๔) โอวาท ๑๐ ข้อ ที่ธนัญชัยเศรษฐีสอนวิสาขา ๙) คมิกภัตต์
๕) ไม่ควรดูหมิ่น ๔ อย่างว่าเล็กน้อย (กษัตริย์ – งู – ไฟ – ภิกษุ ๑๐) ศิลานภัตต์
|
 |
 |
ตรงนี้เรียกว่าเสมา
เป็นรูประฆังคว่ำ
ถ้าใครมาพุทธคยาแล้วไม่สักการะที่เสมา
ถือว่ายังมาไม่ถึงพุทธคยา |
 |
นี่ก็เป็นกิ่งพระศรีมหาโพธิ์อีกส่วนหนึ่ง |
 |
จีวรของพระต่างชาติ |
 |
พระต่างชาติก็นิยมมาบวชที่บริเวณ
ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
สงสัยว่าจะเป็นชาวเวียตนาม |
|
|
พระพุทธวจนะ
“ดูก่อนอานนท์ สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู สังเวชนียสถาน 4 แห่งอะไรบ้าง คือ
1. สถานที่พระตถาคตเจ้าบังเกิดแล้ว
2. สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
3. สถานที่พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักร
4. สถานที่พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพาน
สถานที่ทั้งสี่ตำบลนี้แลควรที่พุทธบริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาผู้มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้าจะดูจะเห็นให้เกิดความสังเวชทั่วกัน “อานนท์” ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เที่ยวไปยังเจดีย์สังเวชนียสถานเหล่านี้ด้วยความเลื่อมใส ชนเหล่านั้นครั้นทำกาลกิริยาลง จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ฯ
มหาปรินิพพานสูตร
ทีฆ.มหาวรรค. 10/131
พระไตรปีฏกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
|
 |
เทียนเต็ก ซินแส
"มีคนเขาว่ามาอินเดีย เพื่อไหว้พระรับพร
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"
วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ
ตามรอยพระศาสดา
ณ สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า
เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ
ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
ส่วนการบริการจะดีหรือไม่ดีไว้เป็นอันดับหลัง
(คิดว่าของแพงต้องดี)
|
|