ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่.6 เพื่อเป็นพุทธบูชา 20-27 มี.ค.55

ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 6
20-27 มี.ค.55

 

 

เมืองนาลันทา

          เมือง...พระราชาอุปถัมภก                          เมือง...ยอยกการศึกษา

          เมือง...คลังสติ-ปัญญา                              เมือง...มหาวิทยาลัย

          เมือง...มาตุภูมิอัครสาวก                            เมือง..วิปโยคเมื่อล่มสลาย

          เมือง...พระสงฆ์หลบลี้หนีตาย                     เมือง...เป้าหมายทำลายล้างคลังพระธรรม

          เมือง...พระถังฯ พากเพียรเรียนพระไตรปิฏก  เมือง...ยาจกโห่ก้องร้องระส่ำ

          เมือง...หลวงพ่อพุทธองค์ดำ                       เมือง...คราคร่ำผู้คนจน-มี

          เมือง...สารีบุตรฉุดแม่จากมิจฉาฯ                 เมือง...รถม้าเอื้ออาทรตามวิถี

          เมือง...นิพพานพระธรรมเสนาบดี                เมือง...เจดีย์ธาตุขันธ์ลูกกตัญญูฯ

ประวัติศาสตร์นาลันทา

-            สมัยพุทธกาล เป็นชานเมืองนามว่า “นาลันทา” มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ผู้คนหนาแน่น เลื่อมใสในพระพุทธองค์ (เกวัฎฎสูตร ทีฆนิกาย) อยู่ทางทิศเหนือของเมืองราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร)

-            พระศาสดา เสด็จมาประทับหลายครั้ง ณ ปาวาริกกัมพวัน ของท่านทุสสปาวาริกเศรษฐี

-            เป็นสถานที่เกิดและนิพพานของท่านพระสารีบุตร

-            นาลันทา (พระถังฯ) มาจาก น อลํ ททามิ = ไม่พอในการให้ทาน และมาจาก นาลํ ทา = ให้ความชื่นใจ

-            บางตำนาน แปลว่า เมืองให้ดอกบัว นาลํ = ดอกบัว ทาน = ให้

-            บางตำนาน แปลว่า เมืองพญานาค นาลันทา

-            สมัยพุทธกาล ชื่อหมู่บ้านนาลกะ พระสารีบุตรและพระโมคคับบานะเกิดที่นี่

-            เมื่อพระสารีบุตรนิพพานที่นี่ ชาวเมืองถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงพากันปรับแต่งห้องเกิดและนิพพานของท่านให้เป็นเจติยสถาน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาศิษยานุศิษย์ของท่านพระสารีบุตรสร้างกุฎิและวิหารรอบเจดีย์ ใช้เป็นที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

  นาลันทามหาวิทยาลัยของโลก    

          ฯพณฯ ศรีเยาวหราลเนห์รู (ใน Glimpses of World History) ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพในอินเดียยุคนั้นมี ๔ เมือง คือ ตักกสิลา, มถุรา, อุชเชนี และนาลันทา แต่ต่างประเทศยอมรับคือ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”

 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

          หลังสังคายนาครั่งที่ ๓ ประมาณ พ.ศ.๒๓๕ พระเจ้าอโศกฯ เสด็จมาสร้างเจดีย์บูชาไว้ ๒ องค์ เพื่อบูชาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ และสร้างกุฎิวิหาร ณ บริเวณวัดปาวาริกัมพวันใกล้ๆ พระเจดีย์ ให้เป็นที่พำนักแก่พระสงฆ์ผู้คงแก่เรียน

 สมัยนาคารชุนเป็นสมภาร

          สมัยนี้นิยมเรียนเรื่องสุญญตา ความว่าง ความปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มีการสอนสัมภาษณ์ปฏิภาณผู้เข้าเรียน

 

 สมัยราชวงศ์คุปตะ

          พ.ศ.๘๐๐ เศษ พระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ (ศักราทิตยีราชา) มานาลันทาเห็นกาศึกษาเจริญรุ่งเรืองจึงให้การอุปถัมภ์สร้างสังฆรามถวายสงฆ์

          พระเจ้าพุทธคุปตะ – พระเจ้าตถาคตคุปตะ – พระเจ้าพาลาทิตยะและพระเจ้าวัชระ ต่างสร้างวัดถวายและให้ความอุปถัมภ์อย่างดี

          พ.ศ.๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียนมาแต่ไม่มีบันทึกอะไรมากนัก

 สมัยพระเจ้าหรรษวรรธนะ

          พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑ พระองค์ให้ความอุปถัมภ์เป็นอย่างดีเยี่ยม เมตตาพระราชทานหมู่บ้าน ๑๐๐ ตำบล เพื่อผลประโยชน์ของนาลันทา จัดอาสาสมัครหมู่บ้านละ ๒ คน ต่อมาเพิ่มอีก ๑๐๐ ตำบล เป็น ๒๐๐ ตำบล พระองค์นิมนต์พระสงฆ์ประชุมและฉันที่วัง ณ เมืองกาโนช ปีหนึ่ง ๒๑ วัน จนถือเป็นประเพณีปฏิบัติ

          พ.ศ.๑๑๗๒-๑๑๘๗ พระถังซัมจั๋ง มาสืบพระศาสนาได้บันทึกไว้ว่า มีนักศึกษา ๑๐,๐๐๐ ท่าน ครู อาจารย์ ๑,๕๐๐ ท่าน วิชาการที่เล่าเรียนมา ๕ วิชา ได้แก่ ๑) พุทธปรัชญา ๒) ตรรกวิทยา ๓) ไวรากรณ์ หรือ วรรณคดี ๔) ศาสนาพราหมณ์ ๕) แพทย์ศาสตร์ วิชาบังคับ คือ พระไตรปิฏกทั่งของเถรวาทและมหายาน

          ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันโมริยะสร้างพระพุทธรูปทองแดงขนาดสูง ๘๐ ศอก ในวิหาร ๖ แห่ง และมีห้องสมุด ๓ แห่ง คือ รัตนาคร – รัตนรัญชกะ – รัตโนทธิ ขนาดสูง ๙ ชั้น มีนักศึกษาจากต่างประเทศ เช่น จีน, ชวา, สุมาตรา, มองโกเลีย, ธิเบต และเกาหลี

          พ.ศ.๑๒๒๓ นาลันทามีนักศึกษามาเพิ่มอีกถึง ๓-๔ พัน และเจริญรุ่งเรืองต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ

 สมัยราชวงศ์ปาละ

          ราชวงศ์ปาละปกครองชมพูทวีป ในปี พ.ศ.๑๓๐๓-๑๖๘๕ ประมาณ ๔๐๐ ปีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์  ได้สร้างสังฆารามเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายสาขาของมหาวิทยาลัยเพิ่มอีก ๔ แห่ง คือ

                    ๑) มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา                         ๓) มหาวิทยาลัยโอทันตะ บุรี

                    ๒) มหาวิทยาลัยโสมปุระ                           ๔) มหาวิทยาลัยซากัททละ

          พ.ศ.๑๓๕๓-๑๓๙๓ สมัยพระเจ้าปาละ ได้มีกษัตริย์จากสุมาตราพระนามว่าพาลาปุตตาเทวะ ส่งพระ นักศึกษามาเรียน และขออนุญาตสร้างสังฆารามถวาย ๑ แห่ง เพื่อเป็นที่พัก

 สมัยเสื่อม

          พ.ศ.๑๑๗๒ มุสลิมเติร์กรุการานอินเดีย ขยายพื้นที่ยึดครองจากทางด้านทิศตะวันตก

          พ.ศ.๑๗๖๖ มาถึงนาลันทา มีแม่ทัพใหญ่คือภักทียะซิลจิ มอบหมายลูกชาย คือ “อิคทียะ ชิลจ” กรีฑาทัพมาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา และเผาอาคาร, วิหาร, สถานที่, ตำรา บรรดาพระสงฆ์ถูกฆ่า ถูกทำร้ายบ้างก็หนีตาย เผาห้องสมุด ทำลายพระพุทธรูป เมื่อพวกเขาทำลายอย่างสาแก่ใจแล้ว จึงถอยทัพกลับไปที่ค่ายใหญ่

          ครูอาจารย์ ประมาณ ๗๐ ท่าน นำโดยท่านมุทิตาภัทร พากันดับไฟซ่อมแซมทำการสอนต่ออีก ๑๒ ปี ในปี พ.ศ.๑๗๗๘  มีนักบวชฮินดูหมางใจกับพระสงฆ์ในนาลันทา ก็ทำการเผาซ้ำอีกเป็นครั้งที่ ๒ จนวอดวายไม่สามารถฟื้นฟูได้ ถูกฝังจมอยู่ใต้ดินกินเวลาถึง ๖๒๕ ปี

พ.ศ. ๒๓๕๘ ท่านหลอดฮามินตัน อ่านบันทึกของถังซัมจั๋ง จึงเริ่มทำการขุดค้นพบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป ๒ องค์

พ.ศ.๒๔๐๓ ท่านเชอร์คันนิ่งแฮมจึงทำการขุดค้นใหม่ โดยมี MR. M.M. บรอดเล่ย์ และดร.สปูนเนอร์ เป็นผู้ช่วยจึงประสบความสำเร็จ มหาวิทยาลัยจึงได้ปรากฏร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่อลังการให้เราได้ชม

 สถานที่สำคัญ

          ๑) มหาวิทยาลัยนาลันทาเก่า

          ๒) มหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่ ราเชนประสาทวางศิลาฤกษ์ พ.ศ.๒๔๙๔ ฯพณฯ ศรีเยาวหราลเนห์รู เป็นประธานเปิด พ.ศ.๒๔๙๗

          ๓) พิพิธภัณฑ์นาลันทา (หมวดจารึก – หมวดพระปฏิมา – หมวดเครื่องหมาย – หมวดเครื่องปั้น)

          ๔) วิหารพระพุทธองค์ดำ

          ๕) เจดีย์สารีบุตร

          ๖) วัดไทยนาลันทา (๒๕๑๗)

 

 

 

 
 พระสูตรสำคัญ               สาระธรรมสำคัญ             บุคคลสำคัญ

          ๑) เกวัฏฏสูตร                     ๑) ปาฏิหาริย์                      ๑) พระสารีบุตร

          ๒) อุบาสีสูตร                      ๒) กรรม๓ (พุทธ)                ๒) พระโมคคัลลานะ

                                                  ๓) ทัณฑ์ ๓ (นิครนถ์)           ๓) ปาวาริกเศรษฐี

                                                                                          ๔) อุบาลีคหบดี

 
 คำอธิษฐาน ณ เจดีย์สารีบุตร นาลันทา

          ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ได้บูชาสักการะ พระเจดียสถานที่เกิดและนิพพาน ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ในวันนี้ ขอจงเป็นบารมี ให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๙ ประการ

          ๑. ขอให้มีความสำเร็จในกิจดังจิตปรารถนา  

๒. ขอให้กตัญญูต่อบิดรมารดาดั่งพระสารีบุตร

          ๓.ขอให้ฉุดบุตรหลานผ่านพ้นปัญหา

          ๔. ขอให้มีปัญญาคุ้มครองผองญาติ

          ๕. ขอให้ทุกภพชาติพบศาสนาพุทธ   

          ๖. ขอให้บริสุทธิ์ดุจคู่อัครสาวก

          ๗. ขอให้แตกฉานในไตรปิฎกดั่งพระถังซัมจั๋ง 

          ๘. ขอให้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน

          ๙. ขอให้เจริญศีลทานเมตตาภาวนา

          ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน เทอญฯ

 

 
 เมืองราชคฤห์

                    เมือง...เลื่องลือศาสนา                     เมือง...ภูฝาคิชฌกูฏ

                    เมือง...บุตรฆ่าพ่อ                           เมือง...หมอเทวดา

                    เมือง..มหาเศรษฐี                           เมือง...เบญจคีรีนคร

                    เมือง...สอนธรรมวันมาฆะ                เมือง...พระบรมสารีริกธาติ

                    เมือง...มหาราชลือชา                      เมือง...ม้าชื่นชม

                    เมือง...ขนมขาชา                            เมือง...สังคายนาครั้งแรก

                    เมือง...แขกแบ่งชนชั้น                      เมือง...เวฬุวันวัดป่า

                    เมือง...อัครสาวก                            เมือง...เปรตนรกขอส่วนบุญฯ

 
 ประวัติศาสตร์เมืองราชคฤห์

-            กรุงราชคฤห์เป็นชื่อเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ตามภาษาบาลีเรียกว่า “ราชคฤห์” ปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาเป็น “ราชคีร์” คนไทยเรียกว่า “ราชคฤห์” เพราะเป็นที่ประทับของพระจักรพรรดินามว่า “มันตุราช” มีพระมหาโกวินทะปุโรหิตตาจารย์ เป็นสถาปนิกใหญ่ออกแบบ

-            ในอรรถกถาวิมานวัตถุ นครนี้ชื่อว่า “ศิริพชนะนคร” เพราะตั้งอยู่กลางเขา ๕ ลูก คือ อิสิคิ, ลิเวปุลละ, เวภาระ, บัณฑวะ และคิชฌกูฎ

-            จินตกวีผู้ประพันธ์ กามนิตวาสิฏฐี ได้ขนานนามนครนี้ว่า “เบญจคีรีนคร”

-            ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ พรรณนาความยิ่งใหญ่แข็งแรงของเมืองว่ามีประตูใหญ่ ๓๒ ประตู  ประตูเล็กอีก ๖๔ ประตู มีประชากร ๑๘ โกฏิ

-            เมืองราชคฤห์ยิ่งใหญ่ทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และศาสนา ยากที่จะหาเมืองใดเทียบได้

 
 -            การเมือง มีความเกี่ยวพันธ์ฉันพี่น้องกับแคว้นโกศล และได้เป็นเมืองหลวง ๒ แคว้น คือ แคว้นอังคะและแคว้นมคธ

-            เศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางทางการค้าขาย สมัยพุทธกาลมีมหาเศรษฐีถึง ๙ ท่าน คือ ราชคหเศรษฐี, ปุณณเศรษฐี, โชติกเศรษฐี, เมณฑกเศรษฐี, ธนัญชัยเศรษฐี, ปาวาริกเศรษฐี, วิสาขาเศรษฐี, โกสิยเศรษฐี, กากวัลลิยเศรษฐี

-            ศาสนา เป็นที่ชุมนุมของเจ้าลัทธิทั้งหลาย เช่น อาฬารดาบส, อุทกดาบส, ปูรณะกัสสปะ, มักขลิกโคศาล, อชิตเกลกัมพล, ปกุธะกัจจายนะ, นิครนถนาฏบุตร และสัญชัยเวลัฏฐบุตร

-            ก่อน พ.ศ.๕๐ เจ้าชายสิทธัตถะถือบวชเสด็จมานครนี้เป็นครั้งแรก ศึกษาในสำนึกอาฬารดาบสได้ สมาบัติ ๗ ศึกษาในสำนักอุททกดาบสได้สมาบัติ ๘ ได้พบกับพระเจ้าพิมพิสารเป็นครั้งแรก

 

 

 
 -            ก่อน พ.ศ.๔๔ พระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสารเพื่อเปลี้องปฏิญญาและประทับจำพรรษาที่นี่ใน พรรษาที่ ๒-๔ รวม ๓ พรรษา รับปฐมสังฆกรรมเวฬุวันจากพระเจ้าพิมพิสาร

-            ก่อน พ.ศ.๒ ปี หลังออกพรรษาที่ ๔๔ พระพุทธองค์ได้มาประทับเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสด็จไปจำพรรษาเมืองไพสาลี พรรษาที่๔๕

-            หลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูทำปิตุฆาตจ จึงย้ายเขตพระราชฐานไปอยู่ด้านนอกเบญจคีรีนครทางทิศเหนือเขาเวปุลละและเขาเวภาระ

-            พ.ศ.๒๓๘ พระเจ้าอโศกเสด็จสักการะพุทธสถานในเมืองราชคฤห์ สร้างสถูปเจดีย์ และปักเสาอโศกเป็นอนุสรณ์

-            หลังพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน จึงทำการสังคายนาครั้งที่ ๑ ณ ถ้ำสัตตบัณณคูหา เขาเวภาระบรรตมีพระมหากัสสปะเป็นประธานปุจฉา พระอานนท์วิสัชชานาพระสูตรและพระอภิธรรม พระอุบาลีวิสัชชนา พระวินัย พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้ถวายศาสนูปถัมภ์

 
 -            พ.ศ.๘๐๐ เศษ ได้รับการดูแลและอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธจึงเจริญรุ่งเรือง

-            พ.ศ.๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียนมาจาริกธรรม เห็นวัดวาอารามมากมายเห็นพระสงฆ์ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญภาวนา บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์

-            พ.ศ.๑๑๔๙-๑๑๙๑ ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ราชวงศืหรรษวรรธนะ

-            พ.ศ.๑๑๗๒-๑๑๘๗ หลวงจีนถังซัมจั๋ง มาสืบศาสนาบันทึกว่า พบสถูปที่พระเจ้าอโศกสร้างไว้สูงประมาณ ๖๐ ฟุต ข้างสถูปมีแท่งหินกับคำจารึก

-            พ.ศ.๑๓๐๓-๑๖๘๕ อยู่ในการอุปถัมภ์ของราชวงศ์ปาละเป็นเวลานานกว่า ๔๐๐ ปี

-            พ.ศ.๑๗๔๓ ถูกกองทัพอิสลามย่ำยีจนไม่มีโบราณสถานใดเหลือเป็นชิ้นดี

-            พ.ศ.๒๐๐๐ เศษ ท่านศรีอัศวินีกุมาทัตต์ ชาวเมืองพาริศาลในแคว้นเบงกอล เป็นคนแรกที่มาค้นคว้าแหล่งสำคัญของพระพุทธศาสนาในเมืองราชคฤห์

-            พ.ศ.๒๓๖๙ ภิกษุชาวพม่าได้มาสำรวจอย่างจริงจัง

 
 -            พ.ศ.๒๔๐๕ เชอร์คันนิ่งแฮมจึงพาคณะนักโบราณคดีสำรวจขุดค้นพุทธสถานเมืองราชคฤห์

-            พ.ศ.๒๔๗๕ เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โบราณสถานบางแห่งสูญสลาย

-            พ.ศ.๒๔๙๙ รัฐบาลอินเดียได้บูรณะพัฒนาเพื่อฉลองมหาพุทธชยันตี พุทธสถานทั้งหลายในนครราชคฤห์

จึงมีปรากฏแก่สายตาบรรดานักแสวงบุญจากทั่วทุกสารทิศ

 
 สถานที่สำคัญ

          ๑. เวฬุวนาราม วัดแรกในพระพุทธศาสนา

                    - ต้นกำเนิดวันมาฆบูชาเกิดที่นี้        

- พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบวชที่นี่

                    - ต้นกำเนิดการทำบุญอุทิศถึงเปตชน

- สถานที่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์หัวใจพระพุทธศาสนา

          ๒. เมืองราชคฤห์ แบ่งเป็น ๓ สมัย คือ พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรู และราชคฤห์ปัจจุบัน

          ๓. เขาคิชฌกูฎ เป็นยอดเขา ที่พระพุทธเจ้าเลือกประทับเป็นการส่วนพระองค์บนเขาลูกนี้ประกอบด้วย

                    ๓.๑  โจรปปาตะ เหวทิ้งโจร

                    ๓.๒ มาตาตุจฉิวิหาร สถานที่พระนางโกศลเวเทหิหมายแท้งควรรภ์

                    ๓.๓ เจติยสถานพระเจ้าพิมพิสารลงจากหลังช้าง

                    ๓.๔ เจติยสถานพระเจ้าพิมพิสารลงจากวอพระที่นั่ง

                    ๓.๕ สะพานข้ามสู่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์

 
 ๓.๖ ถ้ำพระมหาโมคคัลลานะ ที่พักอาศัยของพระมหาโมคคัลลานะ

                    ๓.๗ ที่สันนิษฐานพระเทวทัตต์กลิ้งก้อนหินหมายปลงพระชนม์พระพุทธองค์

                    ๓.๘ ถ้ำสุกรขาตา ที่พระสารีบุตรสำเร็จอรหันต์

                    ๓.๙ เจติยสถานพระถังซัมจั๋งสักการะพุทธสถาน

                    ๓.๑๐ อานนทกุฎี ที่พักพระอานนทพุทธอุปัฏฐาก

                    ๓.๑๑ พระมูลคันธกุฏี ที่ประทับของพระพุทธเจ้า

          ๔. ตโปธาราม บ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ต้นบัญญัติ ๑๕ วัน อาบน้ำ (ที่นี่) ได้ ๑ ครั้ง

          ๕. สัตตบรรณคูหา บนเชาเวภารบรรพตที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๑

          ๖. ชีวกัมพวัน โรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกในโลก หมอชีวกโกมารภัจจ์ถวาย

          ๗. ลัฎฐิวัน สวนตาลหนุ่ม ที่พระเจ้าพิมพิสาร และข้าราชบริพาร ๑๒๐,๐๐๐ เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และฟังธรรม

          ๘. เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร ถูกพระโอรสอชาตศัตรูกุมารจับมากักขังบริเวณจนสิ้นพระชนม์ที่นี่

 

 - พระเจ้าพิมพิสารถูกอชาตศัตรูกุมารปลงพระชนม์

                    - อชาติศัตรูกุมารถูกอทัยภัทร์ปลงพระชนม์

                    - อุทัยภัทร์ถูกอนุรุทธกุมารปลงประชนม์

                    - อนุรุทธกุมารถูกมุณฑกุมารปลงพระชนม์

                    - มุณฑกุมารถูกนาคทสกกุมารปลงพระชนม์

                    - นาคทสกกุมาถูกสุสูนาคมหาอำมาตย์ปลงพระชนม์

          ๙. มนิยามัฐ สถานที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ๗ หัวเมือง

          ๑๐. วิศวะศานติสถูป เป็นวัดญี่ปุ่น โดยท่านสมณฟูจินำศรัทธามาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา ณ ยอดเขารัตนคีรี

 บุคคลสำคัญ

          ๑) พระเจ้าพิมพิสาร                                  ๘) หมอชีวกโกมารภัจจ์

          ๒) พระเจ้าอชาตศัตรู                                ๙) นางสิริมา

          ๓) ชราสูตร                                             ๑๐) เปรตเขาคิชฌกูฎ

          ๔) พระมหากัสสปะ                                  ๑๑) ทีฆนขอัคคิเวสนปริพาชก

          ๕) พระนางเขามาเถรี                                ๑๒) มหาปันถกะ – จูฬปัณถกะ

          ๖) สิงคาลมานพ                                      ๑๓) พระปิลินทวัจฉะ

          ๗) ลาชเทพธิดา (เทพธิดาข้าวตอก)

 พระสูตรและสาระธรรมสำคัญ

          ๑) โอวาทปาฏิโมกข์                                  ๑๒) ปารชิก สิกขาบททที่ ๒ (ลักทรัพย์)

         ๒) สามัญญผลสูตร                                  ๑๓) สัตตาหกรณียะ ระหว่างเข้าพรรษา

          ๓) ชราสูตร                                             ๑๔) การทอดผ้าบังสุกุล

          ๔) วนโรปมสูตร                                       ๑๕) การทำอุโบสถกรรม

          ๕) สักกปัณหสูตร                                     ๑๖) อนุญาตที่อยู่ ๕ ชนิด

          ๖) มหาสาโรปสูตร                                   ๑๗) เหตุทำให้ศาสนาเสื่อม

          ๗) ชีวกสูตร                                            ๑๘) กรรมกิเลส ๔ อบายมุข ๖ และทิศ๖

          ๘) มหากัมมวิภังคสูตร                              ๑๙) ธุดงค์ ๓ (บังสุกุล – บิณฑบาต – อยู่ป่า)

          ๙) อิสิคิลิสูตร                                          ๒๐) ห้ามคนป่วยโรค ๕ อย่าง บวช

          ๑๐) สิงคาลสูตร                                      ๒๑) ห้ามข้าราชการบวช

          ๑๑) อาฏานาฏิยสูตร

 ๒๒) อุบายแก้ง่วง ๗ อย่าง ที่พระศาสดาบอกพระโมคคัลลานะ

                    ๑) พิจารณาธรรมที่ได้สดับแล้ว                   ๒) สารบรรยายธรรมที่ได้สดับแล้ว

                    ๓) ยอนช่องหูทั้ง ๒ ข้างและเอามือลูบ          ๔) ลุกขึ้นยืนรับ ล้างหน้า ดูทิศ ดูดาว

                 ๕) ทำจิตใจในอาโลกสัญญา(สำคัญว่าสว่าง) ๖) เดินจงกรม

                    ๗) สำเร็จสีหสยาสน์ ซ้อนเท้าเหลี่ยมเท้า มีสตุสัมปชัญญะในการนอน-หลับ-ตื่น

 ๒๓) สัตตบท ๗ อย่าง

                    ๑) บำรุงบิดามารดา                                  ๒) อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล

                    ๓) พูดคำสัตย์                                         ๔) ไม่พูดคำหยาบ

                    ๕) ไม่พูดส่อเสียด                                    ๖) ไม่ตระหนี่

                    ๗) ไม่โกรธ

 

 
 ๒๔) ข้อปฏิบัติ ๕ ข้อ ของเทวทัตต์

                    ๑) อยู่ป่า        ๒) บิณฑบาต            ๓) บังสุกุล      ๔) มังสวิรัติ     ๕) อยู่โคนไม้

          ๒๕) บาตรไม้จันทร์แดงของราชคหเศรษฐี สาเหตุห้ามแสดงฤทธิ์

          ๒๖) ความปรารถนา ๕ อย่างของพระเจ้าพิมพิสาร

 
 คำอธิษฐาน ณ เวฬุวัน ปฐมสังฆาราม

          ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ได้บูชาสักการะ ณ เวฬุวัน ปฐมสังฆารามในวันนี้ ขอตงเป็นบารมีให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๘ ประการ

          ๑. ขอให้เป็นเศรษฐีธรรมนำทางสร้างสมบุญ 

๒. ขอให้เป็นเศรษฐีทุนหนุนนำศาสนา

          ๓. ขอให้เป็นเศรษฐีทานหว่านไมตรีมีเมตตา 

๔. ขอให้เป็นเศรษฐีศรัทธาเชื่อมั่นสัพพัญญู

          ๕. ขอให้เป็นเศรษฐีศีลกินอยู่ดูพอเพียง        

๖. ขอให้เป็นเศรษฐีเสียงเลื่องลือยศปรากฏหรู

๗. ขอให้เป็นเศรษฐีปราชญ์ฉลาดกตัญญู

๘. ขอให้เป็นเศรษฐีพุทธสุดรอบรู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน

ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน เทอญฯ

 
 คำอธิษฐาน ณ พระมูลคันธกุฎี ยอดเขาคิชฌกูฎ

          ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ได้บูชาสักการะ พระมูลคันธกุฎีขอดเขาคิชฌกูฎ ในวันนี้ ขอตงเป็นบารมีให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๙ ประการ

          ๑. ขอให้เจริญในธรรมคำสอนพระพุทธองค์

          ๒. ขอให้การงานมั่นคงดั่งเขาคิชฌกูฎ

          ๓. ขอให้ศรัทธาบริสุทธิ์ดุจคู่อัครสาวก

          ๔. ขอให้ไม่ตกอบายในวัฎสงสาร

          ๕. ขอให้ปัญญาแตกฉานในพระสัทธรรม

          ๖. ขอให้ร่ำรวยร่มเย็นเป็นมหาเศรษฐี

          ๗. ขอให้สุขภาพดีไม่มีโรคภัยเบียดเบียน

          ๘ ขอให้มีความเพียรถึงฝั่งพระนิพพาน

          ๙. ขอให้ญาติมิตรบริวารเป็นคนดีมีศีลธรรม

          ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน เทอญฯ

 
 คำอธิษฐาน ณ ชีวกัมพวัน โรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรก (ของพ่อหมอชีวกโกมารภัจจ์)

         ๑. โรคเจ็บอย่ามาใกล้                     ๒. โรคใจอย่ามาราย

          ๓. โรคร้ายอย่ามากล้ำ                     ๔. โรคกรรมอย่ามาเจอ

          สุขภาพเข้มแข็ง แรงใจดีเสมอ มีสติอย่าพลาด เฉลียวฉลาดอย่าเผลอ ประพฤติธรรมอันเลิศเลย ได้เสนอสนองคุณพระศาสดา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน เทอญฯ

 
 เมืองโกสัมพี

          มหานครโกสัมพี                                       เมือง...ราชีนีอมตะ

          เมือง...กงกรรมกงเกวียน เวียนชำระ             เมือง...คหบดีเศรษฐีใจงาม

          เมือง...พระเจ้าอุเทนจอมกษัตริย์                 เมือง...เทวทัตต์วัตรวิปริตจิตหยาบหยาม

          เมือง...หนุมานทหารกล้าสีดา-ราม               เมือง...พลิ้วงามคลื่นนทียมุนา

เมือง...จุฬาตรีคูณแหล่างบุญใหญ่               เมือง...จอมไตรประกาศศาสนา

เมือง...ชุมนุมมหากุมภาเมลา                      เมือง...คุปต้าศิลาแกร่งลายแทงธรรม

เมือง...อภิเศกอักบาร์มหาราช                     เมือง...อัลละห้าบาท ทุกอย่างช่างน่าขำ

เมือง...ชำระเคราะห์เข็ญล้างเวรกรรม           เมือง...ผู้นำศรียวหราลเนห์รูฯ

 

 
 ประวัติศาสตร์เมืองโกสัมพี

-            นครโกสัมพีเป็นเมืองหลวงแคว้นวังละ ๑ ใน ๔ แคว้นมหาอำนาจสมัยพุทธกาลคือ วัชชี่ = การปกครอง โกศล = ทางการทหาร มคธ = ทางการศึกษา และวังสะ = ทางการพานิช

-            รุ่งเรืองด้วยศิลปะวิทยา เป็นศูนย์กลางการค้าขาย

-            พระพุทธองค์เสด็จมาหลายครั้ง และมาประทับในพรรษาที่ ๙

-            สมับพุทธกาลมีวัดอยู ๔ วัด คือ โฆสิตาราม กุกกุฎาราม ปาวาริการามหรือปาวาริกัมพวัน และพัทริการาม

-            พรรษาที่ ๑๐ พระสงฆ์วัดโฆสิตารามทะเลาะกัน พระพุทธองค์จึงไปจำพรรษาที่รักชิตวันแห่งป่าปาริไลยะออกพรรษาแล้วไปเชตะวัน เมืองสาวัตถี

-            หลังพุทธกาล วัดทั้ง ๔ แห่งยังเจริญรุ่งเรืองและมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดพรรษาเรื่อยๆ มา

 
 -            พ.ศ.๒๒๘-๒๓๔ พระเจ้าอโศกได้เสด็จจาริกธรรมปักเสาอโศกไว้เป็นอนุสรณ์สร้างสถูปสูง ๒๐๐ ฟุต

-            พ.ศ.๙๐๐ หลวงจีนฟาเหียนได้เดินทางมาบันทึก เมืองวัด ยังมีผู้คนมีคนอยู่อาศัยทำการค้าขาย

-            พ.ศ.๑๓๐๐ หลวงจีนถังซัมจั๋ง มีการบันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า “มหานครแห่งนี้” กว้าง x ยาว ประมาณ ๖,๐๐๐ ลี้ (ตาราง) เมืองหลวง กว้าง x ยาว ๓๐ ตารางลี้ ( ๑ ลี้ =๑๐ เส้น) มีการเกษตรเพาะปลูกอย่างอุดมสมบูรณ์ ผู้คนขยันหมั่นเพียรศึกษา มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มุ่งหน้าทำความดี มีวัดอยู่ประมาณ ๑๐ แห่ง พระเถรวาท ๓๐๐ รูป เทวาลัย ๕๐ แห่ง

-            พ.ศ.๑๕๖๘ กองทัพอิสลามจากอัฟกานิสถานเข้ามาทำลาย เมืองโกสัมพีและวัอวาอารามอย่างย่อยยับอัปปาง

-            พ.ศ.๒๓๗๔ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้เริ่มขุดค้นพบซากเมืองโบราณและวัดวาอารามทั้งหลาย

 
 ปัจจุบัน

          โกสัมพี เหลือไว้แต่ซากปรักหักพัง กองอิฐหินจากการพังทลายของปราสาทราชมณเฑียร เหมือนเมืองร้างทั้งหลาย มีหมู่บ้านเล็ก ๆ เชื่อว่า โกสัมพี อยู่ริมน้ำยมุนา มีซากกำแพงเมือง มีซากวัดวาอาราม แม้แต่เขตพระราชฐานชาวบ้านยังยึดทำการเกษตร

 
 สถานที่สำคัญ

          ๑) ซากวังปราสาทเดิม                               ๖) สังคำจูฬาตรีคูณ

          ๒) คูเมืองเดิม                                         ๗) เมืองอัลละหะบาด

๓) สังฆรามร้าง ๔ แห่ง                              ๘) พิพิธภัณฑ์อัลละหะบาด

๔) เสาอโศก                                            ๙) บ้านท่านศรีเยาวหราล เนห์รู

๕) แม่น้ำยมุนา

 
 บุคคลสำคัญ

          ๑) ธิดาช่างทองหูก                                   ๗) ช้างปาริไลยก์

          ๒) พระนางสามาวดี                                 ๘) บุรุษเข็ญใจตามโค

          ๓) พระเจ้าอุเทน                                      ๙) พระพากุละ

          ๔) พระนางวาสุลทัตตา                             ๑๐) โฆสิตเศรษฐี

          ๕) พระนางมาคันทิยา                               ๑๑) พระปิณโฑละภารัทวาชะ

          ๖) พระเจ้าจัณฑปัชโชติ

 

 
 สาระธรรมสำคัญ

          ๑) กล่าวโทษผู้ไม่มีความผิดถึงความฉิบหาย ๑๐ ประการ

          ๒) กงกรรมกงเกวียน

          ๓) ธรรมกำมือเดียว

          ๔) โทษของการทะเลาะ

          ๕) การบัญญัติสังฆาทิเลส ข้อ ๑๒

 
 คำอธิษฐาน ณ เมืองโกสัมพี

          ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ได้บูชาสักการะ ณ พุทธสถานวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี ในวันนี้ ขอจงเป็นบารมีให้ได้รับพรอันประเสริฐ ๙ ประการ

          ๑. ขอให้มีเมตตาเหมือนสามาวดี                ๒. ขอให้เป็นเศรษฐีเหมือนโฆสกะ

          ๓. ขอให้ชนะเหมือนพระเจ้าอุเทน                ๔. ขอให้ร่มเย็นเหมือนสายน้ำยมุนา

          ๕. ขอให้ไร้โรคาเหมือนพระพากุล                ๖. ขอให้มีบุญได้เทิดทูนศาสนา

          ๗. ขอให้มีปัญญารักษาพระไตรรัตน์            ๘ ขอให้มีศีลสัตย์ในพระพุทธองค์

          ๙. ขอให้จิตมั่นคงตรงต่อพระนิพพาน

          ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน เทอญฯ

 

************

 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

ฝากวัตถุมงคลเพิ่มพลังหนึ่งราตรี

เปลี่ยนผ้าไตรพุทธเมตตา
ดูคริปได้ที่ www.tiantek.com

พาแม่มาส่งแดนพุทธภูมิอีกครั้ง

กิ่งพระศรีมหาโพธิ์ตกลงมาตรงหน้า
แต่เป็นกิ่งที่เบาไม่สามารถจะแกะสลักเป็นพระได้

ฝากพระพุทธเมตตาไม้เสริมพลัง

อธิษฐานจิต
(บริเวณมุมซ้ายมือนี้มีเทวดาดูแลรักษาอยู่)

พาแม่มาเขาคิชฌกูฎ  คันธกุฏีพระพุทธเจ้า

วัตถุมงคลที่พรรคพวกฝากมาเข้าพิธีเสริมพลัง

ประคำสอพระศิวะฝากหลวงพ่อดำเสริมพลัง

หลวงพ่อดำ  นาลันทา

วัตถุมงคลที่ญาติโยมฝากมา

 

ศูนย์รวมพลังอยู่ที่รูประฆังคว่ำ

ทุกคนที่มาที่พุทธคยาต้องมาเสริมพลังที่ตรงนี้

อธิษฐาน  เป็นครั้งที่ 6  ถ้าไม่ตาย  ยังจะมาอีก

อธิษฐานเป็นครั้งแรก  จะกลับมาอีก

อธิษฐานเป็นครั้งที่จำไม่ได้  จะกลับมาอีก

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
สถานที่ชาวพุทธ  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  และผู้มีอำนาจมาอธิษฐานที่นี่แล้ว
ประสพความสำเร็จสมหวังดังใจ

 
 
 
 

เทียนเต็ก ซินแส

 

"มีคนเขาว่ามาอินเดีย  เพื่อไหว้พระรับพร  
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"
วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ  
ตามรอยพระศาสดา  
  สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า
เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
 ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
      ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
    ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ
  ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
 ส่วนการบริการจะดีหรือไม่ดีไว้เป็นอันดับหลัง
(คิดว่าของแพงต้องดี)

การให้ทาน
กับคนยากจนที่พุทธคยา

 

แจกจาปาตีให้กับคนยากจนจำนวน 100 คน
หลังจากปฏิบัติธรรมใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เวลา04.00 นทุกวัน

ถ้าคนยากจนมาจำนวน 100 คน แจกคนละ 1 แผ่น
ใช้เงินประมาณ 600 รูปี

ถ้าคนจนมา 100 คน แจกจาปาตีคนละ 2 แผ่น
จะใช้เงินประมาณ 1200 รูปี

แต่คนยากจนที่มารับแจกในคราวนี้
ไม่ถึงร้อยคน  ประมาณ 70-80 คนเท่านั้น

ส่วนมากจะได้รับแจกประมาณ 2-3 แผ่น

ได้รับแจกอย่างทั่วถึง

นั้งอย่างมีระเบียบไม่มีการยื้อแย่งเหมือนกับที่ผ่านมา

โดยให้หัวหน้าดูแลกันเอง  ไม่ต้องพูดจา  ถึงพูดก็ไม่รู้เรื่อง

แจกเสร็จเรียบร้อยยังมีแถมการำจายอีกคนละ 1 ถ้วย
ราคาถ้วยละ 3 รูปี
เฉลี่ยกันออกเงินคิดแล้วเป็นเงินไทยไม่กี่บาท

 

 




โครงการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญบุญต่างๆ

เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชวนชาวพุทธร่วมสร้างเจดีย์ที่วัดแดงประชาราษฏร์ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส มอบพระพุทธรูปที่ประเทศอินเดีย
เทียนเต็ก ซินแส 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท ( 76 จังหวัด )
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดโสธรวรารามวรวิหาร)
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท"
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท" ภาคอีสาน
เทียนเต็ก ซฺนแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๓
เทียนเต็ก ซินแส โครงการ หลวงพ่อถวายพระสู่วัดป่า
เทียนเต็ก ซินแส ถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดจอมศรี ถวายเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส มอบรอยพระพุทธบาทที่อินเดีย
โครงการ "หลวงพ่อมาเยี่ยม"
โครงการ "วัดปันสุข"
"พระสังฆราชมีพระบัญชา" ตั้งโรงทานทั่วประเทศ
"พระสังฆราช" มีพระบัญชา ตั้ง"โรงทาน"ทั่วประเทศ
ทอดผ้าป่าสามัคคี มหากุศล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยา และสร้างวัดที่ 4 ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๒
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๙ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๘ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๗ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ๑๖ - ๒๑ พ.ค.๖๒. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๖ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๕ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๔ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 13 "ถ้ำอชันต้า เอลโลร่า" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๒ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 (คริก)
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรม นำพระบรมสุขขึ้นประดิษฐานบนพระธาตุพนม (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ถวายผ้าไตร "องค์พุทธเมตตา" 1ธ.ค.2552 ที่พุทธคยา(คริก) article
เทียนเต็ก ซินแส แนะนำชุมชนพุทธในประเทศอินเดีย (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ "ส่งแม่สู่สรวงสวรรค์" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเเกิดแผ่นดินไหวโอซาก้า (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศศรีลังกา ๒๑-๓๑ ม.ค. ๒๕๖๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 ตอน 2
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชาวพุทธดาวโหลด หนังสือธุดงค์อินเดียฟรี. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 1 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45 วัน ครั้งที่ 3. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค. 2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ เวียตนามใต้ครั้งแรก 4-7 ก.ค. 62 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค.2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมประเทศพม่าครั้งที่ 3 เยี่ยมชมพุกาม
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ 2
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมบนมหาเจดีย์พุทธคยา และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแส ร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 9 วันที่ 27ม.ค.-7ก.พ.57
เทียนเต็ก ซินแสร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ 30 พ.ย. - 9 ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรม แดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 8 วันที่30พ.ย.-8ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแส เศร้าใจต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาหักโค่น
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 7 เพื่อเป็นพุทธบูชา 25พ.ย.-4ธ.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ครั้งที่.5 วันที่ 29 ม.ค.-6 ก.พ. 55
เทียนเต็ก ซินแสอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากประเทศจีน พ.ศ.51 article
เทียนเต็ก ซินแสขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา 2553 (คริกดูรายละเอียด)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล หลั่งน้ำตาที่กุสินารา 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมพุทธคยา ถวายผ้าไตร "พระพุทธเมตตา" 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซฺนแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูตรพระพุทธเจ้า 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย- เนปาล สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมครั้งที่ ๓ ตามรอยบาทพระศาสดา วันที่ 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ มหาวิทยาลัยนาลันทาภาค 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เขาคิชฌกูฏ 2ธ.ค.52 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สู่แม่น้ำคงคา 4ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา article
นิลกาย สัตว์ป่าหิมพานต์ เชิงเขาหิมาลัย เนปาล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๒ article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินี สถานที่ประสูตร 5ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล วัดเชตวันมหาวิหาร บ้านอนาถะบิณทิกะเศรษฐี article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล กราบบาทพระศาสดา กุสินารา 7ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล (รอยพระพุทธบาท) article
เทียนเต็ก ซินแส เยี่ยมวิหารท่านธรรมะปาละ 3ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ขอเชิญร่วมต่อเศียรองค์พระประธาน
เทียนเต็ก ซินแส แจกพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา article
สมโภชวิหารเจ้าแม่กวนอิม 3 ปาง วัดแดงประชาราษฎร์
สมโภชศาลาพระพุทธเจ้า ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดแดงประชาราษฏร์
พิธีเททองหล่อ พระราหู
ทอดกฐินสามัคคี วัดแดงประชาราษฏร์
งานสมโภชน์ฉลองพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รอบอุโบสถ วัดแดงประชาราษฏร์
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมล้านนา
เทียนเต็ก ซินแส ถวายพระพุทธรูปในแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา
โครงการถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส จะถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยาสร้างวัดพุทธวัดที่ 3 เป็นพุทธบูชา (คริก)
ชาวสยามร่วมกันมอบพระประธานให้กับวัดพุทธ ในประเทศบังกลาเทศ
ปี่เซี๊ยะดีที่สุด 貔貅 ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รายได้ทุกบาท ทุกสตางค์เข้าวัดทั้งหมด article



dot
www.henghengheng.com
dot
dot
Web Link
dot
bullettiantekpro.com
bullettiantek.net
bullettiantek.com
bullethorawej.com
dot
Llink
dot
bullethotmail.com
bulletyahoo.com
bulletgmail.com
bulletgoogle.co.th
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
Newsletter

dot
bulletแลก ลิ้ง ได้ที่นี่



อ.รุ่งนภา พยากรณ์
(แม้นเมือง
)

พิมพ์ปารีณา
รับพยากรณ์
จัดฮวงจุ้ยและรับสอน

ติดต่อได้ที่
โทร.
085-3253709

http://
pimandfriends.
blogspot.com/



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Best View 1024 x 768 pixels.............
พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม (เทียนเต็กซินแซ).....e-mail address tiantek@hotmail.com และ tiantek@henghengheng.com
วัดแดงประชาราษฎร์ ถ. บางกรวยไทรน้อย ต. บางสีทอง อ. บางกรวย จ.นนทบุรี รหัส 11130
โทร 0-2447-3593, 0-1936-6908

javascript hit counter

View My Stats


รวมสุดยอกของเฮง รับพยากรณ์ดวงชะตาและสอนเลข 7 ตัว 9 ฐานประยุกต์ ต้องการมีเวปไซด์ของตัวเอง คลิกที่นนี่ Enter to M T h
A ! 100HOT Sites and Vote for this Site!!! www.horawej.com เวปนิตยสาร โหราเวสม์  เพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งโปรแกรมผูกดวงต่าง ๆ มากมาย ทางเรายินดี เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ ความรู้ทางศาสตร์ แห่งโหรศาสตร์ และอื่น ๆ ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใดหากท่านใดต้องการรับการพยากรณ์เชิญในห้องกระทู้ มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิคอย ตอนรับท่าน อยู่หลายท่าน เรียนเชิญครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง webmaster horawej@horawej.com web 10 luckastro.com เป็นเว็ปเพื่อการศึกษาโหราศาสตร์ 10 ลัคนา และโหราศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทุกสาขาวิชา เว็ป 10 luckastro.com เป็นศูนย์รวมของนักพยากรณ์ทุกระดับทุกสาขาวิชา เป็นจุดนัดพบและสื่อสารในระหว่างนักศึกษาโหราศาสตร์ด้วยกัน และในระดับครูบาอาจารย์ เว็ป 10 luckastro.com ยินดีในการให้บริการตอบปัญหาทั้งปัญหาชิวิตและปัญหาทางโหราศาสตร์ www.tiantek.com เวปเพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์จีน และ เลือกหัวข้อที่ต้องการดู (ดูได้ทุกเรื่องโดยไม่จำกัด) บอกวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากตามหลักสากล และบอกเหตุการณ์ที่ผ่านมา...เช่นแต่งงาน...มีบุตร ทำงานหรือทำธุรกิจ.เมื่อปีพ.ศ....และข้อสุดท้ายช่วยแจ้งด้วยว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของดวง ข้อมูลยิ่งมากการทำนายยิ่งแม่น ถ้าภายใน 24 ชั่วโมง(หนึ่งวัน)ยังไม่ได้รับคำทำนาย อาตมาอนุญาติให้โทรเข้ามาถามดวงสดสดได้ 
เวปไซด์ของอาตมา เป็นเวป เพื่อการศึกษาและเผยแผ่ธรรมะ และถ้าโยมช่วยบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบมากเท่าใดยิ่งได้บุญมากเท่านั้น 
www.maleeseacon.com เวปเพื่อการสะสมพระเครื่อง บูชาเครื่องของขลัง ณ ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ ชั้น 3 โซนโลตัส ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กทม 10250 Wireless Home Automation 
ท่านไม่ต้องเป็นวิศวกรหรือมีความรู้ทางด้านอิเลคโทรนิคส์ และไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม ท่านก็สามารถออกแบบและติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยตัวท่านเอง  
ชุมนุมผู้เป็นปฏิปักษ์กับหัว ขโมย มหาหมอดู PostJung.com เวบเพลง Online เพลง Update Intrend, หาเพื่อน MSN, Diary, Webboad โพสท์รูปซะใจ, PhotoAlbum ฯลฯ...Click เลย ชุมชนคนช่างฝัน สุดยอดแห่งสาระ และ ความบันเทิง ศูนย์รวม CODE ทุกอย่าง โรจน์ จินตมาศ   จุ๊กกรู! ดอท คอม ..มุมสงบ ผ่อนคลาย ครื้นเครง ป็นกันเอง..ดูดวงฟรี หวย ฟังเพลง เกมส์ หาเพื่อน หากิ๊ก ข่าว ดูดวง  Give information about Thai orchids ตลาดนัดรถรถบ้านที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ Image Hosted by ImageShack.us ซื้อขายออนไลน์ 24 ชั่วโมง