ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เทียนเต็ก ซินแส ถวายผ้าไตร "องค์พุทธเมตตา" 1ธ.ค.2552 ที่พุทธคยา(คริก) article

 

 


(โครงการพาพ่อลัดฟ้าจาริกแดนพุทธภูมิ)

1ธ.ค.52

 

 
 พระพุทธลักษณะขององค์พระพุทธเมตตา

แกะสลักจากหินสีดำเนื้อละเอียด ศิลปะสมัยราชวงศ์ปาละ
คนไทยเรียกว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางชนะมาร 
คนอินเดียเรียกว่า ปางภูมิสัมผัส หรือปางภูมิผัสสะ
แปลว่า ทรงชี้ให้แผ่นดินเป็นพยานแห่งการทำความดีในอดีต 
เพราะตอนที่พระยามารพร้อมเสนามาร
มาผจญไล่พระพุทธองค์ให้ลุกหนีไปเสียจากพุทธบัลลังก์ที่ประทับ 
ทรงชี้ให้พระแม่ธรณีมาเป็นพยานในการทำความดีในอดีตของพระองค์ 
โดยพระแม่ธรณีได้บีบน้ำในมวยผม
ที่พระพุทธองค์ได้ทรงฝากไว้ตอนตรวจน้ำทำบุญทุกครั้ง 
กระทั่งในที่สุดทำให้พระยามารต้องพ่ายแพ้ต่อพระพุทธบารมี

 
 
 

 

 

 

 คำบูชาสถานที่ตรัสรู้
วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง โพธิรุกขะเจติยัง, สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุลละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อิธะ คะยาสีเส, ตะถาคะเตนะ สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพรหมมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อภิสัมพุทธัง สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะนะมามิ, มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล 
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ได้มาถึงแล้วต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระเจดีย์นี้  อันเป็นสังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรทัสสนา  เป็นสถานที่พระตถาคต  ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ณ ที่ตำบล คยาสีสะประเทศแห่งนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ขอบูชาโดยยิ่ง  ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้  และขอน้อมระลึกถึงพระธรรม  ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว  ขอการบูชาสักการะในครั้งนี้  จงเป็นไปเพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนาน เทอญฯ
 พุทธคยามหาสังฆาราม
เมือง.....บำเพ็ญทุกรกิริยา               เมือง.....ตำรามธุปายาส
เมือง.....ลอยถาดอธิษฐาน              เมือง.....ศาสดาจารย์ตรัสรู้
เมือง.....บรมครูชนะมาร                 เมือง.....อธิษฐานแล้วสำเร็จ
เมือง.....๗สถานอันศักดิ์สิทธิ์           เมือง.....สถิตพระพุทธเมตตา
เมือง.....ภาวนาใต้โพธิ์ศรี               เมือง.....มหาเจดีย์สูงเสียดฟ้า
เมือง.....ลอยชฏาสามฤาษี              เมือง.....พรหมโยนีน่าศึกษา
เมือง.....เนรัญชรานทีทราย              เมือง.....น้อมใจ-กายแนบพระธรรม
เมือง.....เวรกรรมย้ำชาดก               เมือง.....สวรรค์บนบก-นรกบนดิน
  ประวัติศาสตร์พุทธคยา

...พุทธคยา  คือสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร  อยู่ด้านทิศตะวันตก  บริเวณเป็นที่เนินสูง  เพราะเป็นซากของมหาสังฆารามโบราณ  ที่นี่เคยเป็นที่พักของพระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป  ล้วนใฝ่ใจในการศึกษา  ปฏิปทางดงามตามพระธรรมวินัย  มหาชนเลื่อมใส่ศรัทธามาก  พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ได้เจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ ถึงพ.ศ. ๗๐๐  หลังจากนั้นก็เริ่มอ่อนกำลังลง

...ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้เล่าว่า  ท่านเป็นศิษย์ของพระเรวตแห่งพุทธคยามหาสังฆาราม  ได้เดินทางไปแปลพระคัมภีร์ พระไตรปิฏกจากภาษาสิงหล  กลับมาเป็นภาษามคธที่เกาะลังกา

...พุทธคยาเป็นเขตอิทธิพลของพวกฮินดู  คยาเกษตรใช้เป็นที่ถวายบิณฑ์ ๑ ใน ๑๖ แห่ง  เป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์  ที่นี่จึงเรียก  "พุทธคยา"

...ปัจจุบัน  เป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่  มีนักแสวงบุญจากทั่วโลกมาไหวพระและสวดมนต์ตลอดทั้งปี

...หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว  จึงได้เสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์  แล้วเสด็จไปเมืองพาราณสี  เมื่อมีสาวกมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา  ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาเพื่อโปรดชฏิลสามพี่น้อง  พร้อมบริวารจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์  จากนั้นพระองค์ก็บำเพ็ญพุทธกิจยังแคว้นต่างๆ  จนเข้าสู่การปรินิพพาน

 ...พ.ศ. ๒๒๘-๒๔๐  พระเจ้าอโศกได้เสด็จมาสักการะ  ณ. สถานที่ตรัสรู้  ได้สร้างพระสถูปขนาดย่อมๆ เพื่อบูชา  และปักเสาศิลาไว้เป็นเครื่องหมาย  สร้างพระแท่นวัชรอาสน์นี้  รั้วทำด้วยหินล้อมรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์

...พ.ศ. ๖๗๔-๖๙๔  พระเจ้าหุวิชกะ  ทรงสร้างเสริมให้เป็นศิลปต้นแบบ  เป็นสถูปใหญ่  หลวงจีน "ถังซำจั๋ง" เรียกว่า "มหาโพธิ์วิหาร"

...เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมแหลม  ทรงกรวย  ห่างจากต้นโพธิ์ ๒ เมตร  มีพระแท่นวัชรอาสน์ขั้นกลาง  ขนาดสูง ๑๗๐ ฟุตวัดรอบฐานขนาด ๘๕ ฟุตเศษ  มี ๒ ชั้น  มีเจดีย์บริวารอีก ๔ องค์  ทรงเดียวกันอยู่บนฐานชั้นที่ ๒ สูง ๔๕ ฟุต  ส่วนชั้นล่างนั้นประดิษฐานพระพุทธเมตตา "ปางมารวิชัย" สร้างจากหินแกรนิตสีดำ  สมัยของปาละอายุประมาณ ๑,๔๐๐ ปีเศษ

...ชั้นบนประดิษฐานพระพุทธปฏิมาปางประทานพร  สร้างในสมัยเดียวกัน

...พ.ศ.  ๙๔๕-๙๕๐  หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาสักการะสถานที่ตรัสรู้  และได้พรรณาถึงความงดงาม ของพระมหาเจดีย์พุทธคยา  เห็นพระสงฆ์เถรวาทและพุทธศาสนิกชนมาสักการะกันอย่างมิขาดสาย

 ...พ.ศ. ๑๑๔๕ กษัตริย์รัฐเบงกอล นามสสางกาได้ประกาศอิสระภาพจากมคธยกทัพมาทำลายพุทธสถานอย่างย่อยยับ

...พ.ศ. ๑๑๔๕  กษัตริย์ปูรณวรมา  ตีทัพเบงกอลแตกแล้วทำการบูรณะซ่อมแซม

...พ.ศ. ๑๔๙๑  อมรเทวพราหมณ์  ปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์  แห่งเมืองมัลวาบอกไว้ในหนังสืออมรโฆษว่าออกแบบวิหารโพธิ์ใหม่ให้เป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

...พ.ศ.  ๑๕๗๘  พม่าส่งคณะช่าง  นำโดยธรรมราชครู  เพื่อบูรณะแต่เกิดข้อพิพาทกับอินเดีย  พม่าเลยต้องหยุดการซ่อมแซม

...พ.ศ. ๑๖๒๒  พม่าส่งช่างชุดที่ ๒ มาฟื้นฟูบูรณะใช้เวลา ๗ ปี เสร็จเมื่อ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๑๖๒๙  พุทธคยามีชีวิตกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

...พ.ศ. ๑๗๔๓  พระธัมมรักขิตรับทุนจากพระเจ้าอโศกมัลละแห่งแคว้นสีวะสิกะอินเดีย มาปฏิสังขรณ์ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

..พ.ศ. ๑๗๖๐  อิสลามกองทัพเติร์กยึดครองมคธทำลายล้างพุทธสถานทั้งหมด  พร้อมยกพุทธคยานี้ให้อยู่ในการดูแลของฮินดูนิกายมหันต์  โดยอ้างเมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๗  จักรพรรดิ์โมกุลนามมูฮัมหมัดชาห์  ได้มอบพุทธคยาทั้งหมดเป็นสมบัติของมหันต์  องค์ที่ ๔ ชื่อ โคสายฆมันดีคีรี

...พ.ศ. ๒๑๓๕  อังกฤษยึดครองอินเดีย

...พ.ศ. ๒๓๕๔  พระเจ้าแผ่นดินพม่าเสด็จมาเห็นจึงได้ส่งทูตมาเจรจาขอบูรณะ  ตามบันทึกของ ดร. บุคานัน  แฮมิตัล  บอกว่าพุทธคยา อยู่ในสภาพย่อยยับไม่ได้รับการดูแล

 

 

 

 ...พ.ศ. ๒๔๑๗  พระเจ้ามินดงเจรจาผ่านรัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษแล้ว อังกฤษส่งคนมาช่วย ๒ นาย เพื่อกำกับคือ  "อเล็กซานเดอร์  คันนิ่งแฮม กับ  ด.ร. ราเชนทร  ลาลมิตระ"

...พ.ศ. ๒๔๑๙  พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษ  งานบูรณะจึงต้องหยุด

...พ.ศ. ๒๔๒๓  เซอร์อเล็กซานเดอร์ , ดร. ราเชนทร, เซอร์อีแดน  แต่งตั้งให้นาย เจ ดี เบคลาร์  ทำการปฏิสังขรณ์  เสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ (ใช้เวลา ๔ปี)

...พ.ศ. ๒๔๓๓  ท่านเซอร์ เอ็ดวิน  อาร์โนลด์  ฝรั่งอังกฤษชาวพุทธได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า  "The Light  Of  Asia" 

...พ.ศ. ๒๔๓๔  อนาคาริก  ธัมมปาละ  ชาวศรีลังกามากราบพุทธคยาเกิดศรัทธาปรารถนาเรียกร้องสิทธิ์ของความเป็นเจ้าของพุทธคยา  ๓๑ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๓๔    ได้ประชุมชาวพุทธสากลที่พุทธคยา  มีพม่า, ลังกา, จีน, ญี่ปุ่น, แล้วญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะหาเงินมาซื้อพุทธคยาคืน  อังกฤษระแวงญี่ปุ่นเพราะเพิ่งรบชนะรัสเซียจึงไม่ยอมให้ครอบครอง  จึงเกิดขบวนการกอบกู้พุทธคยา  (แมคมึล, เอ็ดวินฯ, วิลเลี่ยม, พ.อ. โอลคอตต์) ออกปราศัยที่ พม่า - อังกฤษ - สิงคโปร์ - ไทย - ลังกา หาผู้สนับสนุน

 

 ...พ.ศ. ๒๔๓๖  อนาคาริก ธัมมปาละ  กลับมาพุทธคยาพร้อมกับ โอลคอตต์  และ  MR. เอดซ์  นักเทววิทยาได้เห็นพระ ๔ รูป ถูกพวกมหันต์ทุบตีเกือบตาย  ซ้ำร้ายเขายังกีดกันมิให้พวกธรรมยาตราเข้าสักการะพุทธคยา

...พ.ศ.  ๒๔๓๘  ชาวพุทธขอนำพระพุทธรูปอายุ ๗๐๐ ปี เข้าไปประดิษฐานแต่พวกมหันต์ก็ไม่เห็นด้วย  อ้างว่า  "พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอวตาลปางที่ ๙ ของพระนารายณ์"

...พ.ศ. ๒๔๔๕  มีความเคลื่อนไหวทั่วโลก  โดยเอดวิน  อาร์โนล,  ดร. ริดเดวิด, ศ. แม็กมึลเลอร์   ชาวพุทธเริ่มมีพลัง  พวกมหันต์เพิ่มความรังเกียจชาวพุทธมากขึ้น

...พ.ศ. ๒๔๖๗  ชาวพุทธพม่า, ลังกา, เนปาล,  ร้องเรียนรัฐบาลพรรคคองเกรสส์  ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณา  โดยมี ดร.ราเชนทร์  ประสาท  (ประธานาธิบดีเป็นประธาน) ตั้งกรรมการชาวพุทธ ๕ คน ฮินดู ๕ คน ดูแลพุทธคยา  โดยออกกฏหมายบังคับ

 ...ความเห็นของ  มหาตมคานธี คือ  "วิหารพุทธคยานี้ควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรม  การนำสัตว์ไปฆ่าทำพลีกรรมในวิหารมหาโพธิ์ไม่สมควร  เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา  เป็นการประทุษร้ายต่อจิคใจของชาวพุทธทั่้วไป"

 

 ...ความเห็นของ  ระพินทรนาถฐากูร  คือ  "ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้   เพราะศาสนาอื่นไม่เกี่ยวข้องอะไร  และไม่มีเยื่อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา" 
 ...พ.ศ. ๒๔๙๐  อินเดียเป็นเอกราชจากอังกฤษ  มหาโพธิ์สมาคมรบเร้าสิทธิพุทธคยา

...พ.ศ. ๒๔๙๑  ดร. ศรีกฤษณะ  ซิงค์  นายกรัฐมนตรีพิหาร  ได้เสนอให้ร่างพระราชบัญญัติวิหารพุทธคยา

...พ.ศ. ๒๔๙๒  เดือนพฤษภาคม  จัดตั้งคณะกรรมการดูแล ๙ คน  มีผู้ว่าจังหวัดคยาเป็นประธาน  และมีกรรมการ ๘ คน  เป็นชาวพุทธ ๔ คน ฮินดู ๔ คน

...พ.ศ. ๒๔๙๖  นายกรัฐมนตรีพม่ามาเยือน  พวกมหันต์บอกว่าได้ยกพุทธคยาให้ชาวพุทธ

 

 

 

 

 
 ...พ.ศ. ๒๕๓๐  ภิกษุไซไซ  ชาวญี่ปุ่นนำชาวพุทธจากนาคปูร์  ในรัฐมหารชตะเรียกร้องให้นำศพมหันต์ที่ฝังไว้และปัญจปาณฑปพร้อมศิวลึงค์ที่กลางวิหารออกไปที่อื่น

...พ.ศ. ๒๔๙๙  บูรณะเล็กน้อยเพื่อฉลองพุทธคยาชยันตีพุทธศาสนาอายุ ๒๕๐๐ ปี

...พ.ศ. ๒๕๑๒  พระสุเมธาธิบดี  ได้นำชาวพุทธบริษัทชาวไทยประดับไฟแสงจันทร์

...พ.ศ. ๒๕๑๙  พุทธบริษัทชาวไทย  สร้างกำแพงแก้ว  ๘๐ ช่อง  ซุ้มประตูอโศก ๒ ซุ้ม เสร็จในปี ๒๕๒๐

...พ.ศ. ๒๕๓๑  ชาวพุทธเนปาลปูหินอ่อน

 
 สิ่งสำคัญที่พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

     ๑.  พระมหาเจดีย์พุทธคยา สูง ๑๗๐ ฟุต  วัดรอบฐาน ๘๕ เมตรเศษ  เป็นเจดีย์ ๒ ชั้น  มีเจดีย์รอบฐาน     ๔ องค์  สูง ๔๕ ฟุต  ชั้นบนประดิษฐาน  พระปางประทานพร  ส่วนชั้นล่าง ประดิษฐานพระปางมารวิชัยหรือพระพุทธเมตตา  อายุ ๑,๔๐๐ ปีเศษ

       ๒.  ต้นพระศรีมหาโพธิ์  (โพธิ์บัลลังค์) ปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔ ปลูกเมื่อพ.ศ. ๒๔๒๓  ปัจจุบันอายุได้ ๑๓๘ ปี อธิษฐานปลูกโดย  "คันนิ่งแฮม"

               ๒.๑ ต้นที่ ๑ เป็นสหชาติ เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า มีอายุได้ ๓๕๒ ปี  สาเหตุที่หมดอายุเพราะ พระชายาของพระเจ้าอโศกให้หญิงสาวใช้มาทำลาย

                ๒.๒ ต้นที่ ๒ เกิดจากแรงอธิษฐานของพระเจ้าอโศกมหาราช  อายุได้ ๘๙๑ ปี  ถูกกษัตริย์ศสางกา  สั่งทหารทำลาย ประมาณปีพ.ศ. ๑,๑๐๐ เศษ

                 ๒.๓ ต้นที่ ๓ เกิดจากแรงอธิษฐานของกษัตริย์ปูรณะวรมา  มีอายุประมาณ ๑๒๕๘ ปี  หมดอายุขัยเอง

 
  ๓. พระแท่นวัชรอาสน์  พระเจ้าอโศกสร้างแทนรัตนบัลลังก์  เมื่อพ.ศ. ๒๓๘ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แกะสลักจากหินทราย  มีขนาดยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว  และกว้าง ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว หนา ๑ ฟุต ๖ นิ้ว  ส่วนด้านบนจะแกะสลักเหมือนหัวแหวนเพชร  ด้านข้างมีดอกบัว หงส์ และดอกมณฑารพ

       ๔.อนิมิสสเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๒ เป็นเจดีย์สีขาวอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์

       ๕.รัตนจงกลมเจดีย์  คือ สถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๓ อยู่ทางทิศเหนือ เป็นหินทราบแกะสลัก เป็นดอกบัวบาน ๑๙ ดอก

       ๖.รัตนฆรเจดีย์  คือสถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๔ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคา  พระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาธิเพชร  พิจารณาพระอภิธรรมปิฏก  และสมันตปัฏฐานอนันตนัย

 

 
   ๗. อชปาลนิโครธเจดีย์ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ อยู่ระหว่าง แม่น้ำโมหะนีกับแม่น้ำเนรัญชรา  เป็นที่รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา  ที่พิจารณาบุคคลเหมือนอุบล ๔ เหล่า  ที่ท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม ที่นางมารมาเล้าโลมพระพุทธเจ้า

      ๘.สระมุจลินทร์  คือ สถานที่เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๖ เกิดพายุฝนตลอด ๗ วัน  พญามุจลินทร์นาคราชได้ถวายอารักขา  พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า  "ความสงัดเป็นสุขของบุคคลสันโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก"

       ๙.ต้นราชายตนะ คือ สถานที่เสวยวิมุติสุขในสัปดาห์ที่ ๗  พานิชสองพี่น้อง คือ "ตปุสสะและพัลลิกะ" จากอุกกลชนบทได้ถวายสัตตุชนิดผงและชนิดก้อน  ท้าวเทวราชทั้ง ๔ นำบาตรศิลามาถวายให้รับ   พานิชสองพี่น้องประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสอง คือ "พระพุทธกับพระธรรม" เป็นสรณะ

          ในอรรถกถาพระวินัยปีฏก  มหาวรรค  กล่าวว่าพระพุทธองค์  ทรงลูบพระเศียร  เส้นพระเกศาติดที่พระหัตถ์  ทรงมอบให้พานิช ๒ พี่น้อง  นำพระเกศาธาตุไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ในนครของตน

           ต่อมาทั้ง ๒ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ฟังธรรมและบรรลุเป็นพระโสดาบัน  ตปุสสะอยู่เป็นอุบาสก  ภัลลิกะบวชได้บรรลุอรหันต์พร้อมอภิญญา ๖ ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้เลิศกว่าอุบาสกผู้ถึงรัตนะก่อนผู้ใด"

 
  ๑๐. พระพุทธเมตตา เป็นพระปฏิมากร  สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ  สมัยปาละ ปางมารวิชัย  อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี  เป็นพระปฏิมากรที่คนทุกศาสนามาสักการะด้วยความศรัทธา

      ๑๑.แม่น้ำเนรัญชรา  ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์มาทางตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร  ไหลใสสะอาดจากใต้ไปเหนือ  ชฏิล ๓ พี่น้องอาศัยอยู่ลุ่มลำน้ำนี้

      ๑๒. บ้านนางสุชาดา  อยู่ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ  ๒๐๐ เมตร อยู่กลางหมู่บ้าน

      ๑๓. ท่าสุปปติฏฐะ  คือสถานที่ลอยถาดอธิษฐาน  รับหญ้ากุสะจากโสตถิยมานพ  และเสวยข้าวมธุปายาสก่อนตรัสรู้

 

www.henghengheng.com/index.php

 

 

ผ้าไตรศักดิ์สิทธิ์จากองค์พุทธเมตตา

ตำนานพระพุทธเมตตา


ภายในพระวิหารพระเจดีย์พุทธคยา มีพระพุทธปฏิมากรที่สร้างด้วยหินแกรนิตสีดา ในสมัยปาละ ปางมารวิชัย มีอายุกว่า ,๔๐๐ ปีเศษ ๆ ทั้งลักษณะและขนาดพอ ๆ กับพระพุทธรูปปางภูมิสัมผัสที่มถากัวร์วิหาร นครกุสินารา ปิดทองเหลืองอร่าม มีเครื่องตั้งบูชาตรงหน้าพระพุทธรูปที่ชาวไทยเรียกกันว่า องค์พ่อพระพุทธเมตตานั้น มีหินทรงกลมที่มองเห็นเฉพาะฐาน เจ้าหน้าที่ทำไม้เป็นสี่เหลื่ยมมาครอบไว้ ฯ

มีการเล่าประวัติพระพุทธรูปนี้ไว้ในบันทึกของหลวงจีนเสวียนจ้าง (พระถังซัมจั๋ง) ว่าคราวเมื่อศศางกากษัตริย์จากเบงกอล ได้เสด็จเข้าไปในพระวิหารมหาโพธิ์ ได้พบพระพุทธปฏิมากรตั้งไว้บูชาองค์หนึ่ง ทีแรกที่ได้เห็นก็คิดจะทำลายด้วยมือของตัวเอง แต่เมื่อทรงเห็นพระพักตร์ของพระพุทธปฏิมากรอันเปี่ยมด้วยพระเมตตา ก็ประหารไม่ลง จึงเสด็จกลับนคร ฯ ในระหว่างทางนั้นได้ทรงดำริว่า ถ้าขืนยังปล่อยให้พระพุทธรูปองค์นี้ตั้งอยู่ในพระวิหารต่อไป พุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็คงจะฟื้นฟูสถานที่นี้ขึ้น มาอีกได้เป็นแน่แท้ จึงรับสั่งให้นายทหารผู้หนึ่งไปทำลายพระพุทธรูปองค์นั้นเสีย แล้วให้ประดิษฐานรูปพระมเหศวรขึ้นแทนที่

นายทหารผู้นั้นครั้นได้รับคำสั่งก็มุ่งหน้าสู่วิหารมหาโพธิ์ เมื่อมาถึงได้แลดูพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นั้นก็ประหารไม่ลงอีก และรำพึงว่าถ้าหากทำลายพระพุทธรูปนี้ เราคงจะต้องตกนรกหมกไหม้ไปหลายกัปป์หลายกัลป์เป็นแน่ ซ้ำยังจะไร้โอกาสที่จะได้มาเกิดมาพบกับพระศรีอริยเมตไตยอีกด้วย แต่ถ้าเราไม่ทำลาย พระราชาคงจะทรงกริ้วพร้อมรับสั่งทำลายชีวิตเราและครอบครัวเป็นแน่ฯ นายทหารผู้นั้น คิดกลับไปกลับมาหลายตลบว่า จะปฏิบัติตามพระบัญชาดี หรือ ขัดพระบัญชาดี

ในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะไม่ทำลายพระพุทธรูป แต่จะต้องซ่อนเสียให้พ้นจากสายตาประชาชน จึงได้ไปตามชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั้งหลายมาประชุมปรึกษากันแล้วก็พากันลงมือสร้างกำแพงขึ้นหน้าพระพุทธรูป กั้นไว้ไม่ให้คนภายนอกรู้ว่าข้างในพระวิหารนี้มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เอารูปพระมเหศวรตั้งไว้หน้ากำแพง และกลับไปกราบทูลศศางกากษัตริย์ให้ทรงทราบ ฯ

ศศางกากษัตริย์กลับได้รับทราบแทนที่จะทรงยินดีกลับทรงหวาดหวั่น หวาดกลัว ว้าวุ่นพระทัย ด้วยเกรงว่า เหตุร้ายจักเกิดขึ้นกับตนเป็นแน่แท้จึงทรงประชวรนับแต่นั้นมาโดยมีอาการเจ็บปวดทั่วทั้งพระวรกาย ในไม่ช้าชิ้นเนื้อเริ่มหลุดออกจากพระวรกายของพระองค์เป็นชิ้น ในที่สุดพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยความทรมาน ฯ เมื่อศศางกากษัตริย์สิ้นพระชนม์แล้ว นายทหารผู้รับพระบัญชาให้ไปทำลายพระพุทธรูปพระองค์นั้นก็ได้กลับไปยังแดนพุทธคยา ณ มหาวิหารพุทธคยา และรีบทำลายกำแพงที่สร้างกั้นหน้าพระพุทธรูปนั้นออก เกิดความประหลาดใจยิ่งนักที่ตะเกียงน้ำมันที่ตั้งจุดบูชานั้นยังลุกโพลงอยู่เหมือนเดิม

 

 


พระพุทธเมตตา ภายในวิหารพระเจดีย์ 
มีอายุประมาณ 1,400 ปีเศษ


พระพุทธเมตตาห่มผ้าสีทองเหลืองอร่ามงามตายิ่งนัก


พระภิกษุต่างชาติที่ดูแลพระวิหารช่วยเปลี่ยนผ้าห่ม
(ผ้าไตรจีวร)ที่โยม ปิติสิริ  ศรีทองฉิม  (แป้ง)
เป็นเจ้าภาพเตรียมมาจากประเทศไทย

ขณะที่พระสงฆ์กำลังเปลี่ยนผ้าไตร
พวกเราก็พนมมือ
ร่วมอนุโมทนาบุญ  พลอยยินดี
กับโยม ปิติสิริ  ศรีทองฉิม (แป้ง) ด้วย สาธุ.


จนบางครั้งพระอ.มาโนชญ์ซึ่งเป็นพระอินเดีย
ที่เป็นกรรมการและผู้ดูแลวิหารอยู่ถึงกับเอ่ยปากพูดว่า
ผมไม่เข้าใจทำไมต้องเปลี่ยนผ้าทุกวัน 

แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นประเพณีแล้ว

 

 

 

คำบูชาพระพุทธเมตตา

       วันทามิ  อิมัง  พุทธะเมตตาปะฏิมัง  อิมัสมิง  คะยาสีเส  ปูชาระเห  สักการะภูเต  เจติเย  สุปะติฏฐิตังฯ

       อิมินา  ปะนะ  วันทะมาเนนะ  มา  เม  ทะลิททิยัง  อะหุ  พะหุชะนานัง  ปิโย  โหมิ  มะนาโป  สาธุ  โน  ภันเต  อิเมหิ  สักกาเรหิ  อภิปูชะยามิ.

คำแปล

       ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระพุทธเมตตาปฏิมานี้  ซึ่งประดิษฐานตั้งมั่นดีแล้วในองค์พระเจดีย์ที่คยาสีสะประเทศนี้  อันเป็นสถานที่  ควรแก่เครื่องบูชาสักการะ

       ด้วยการกราบไหว้นี้  ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย  ขอให้ข้าพเจ้าเป็นที่รักเป็นที่พอใจ  ของคนทั่วไป  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง  ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้

 


เมื่อห่มจีวร  พาดสังฆาฏิ 
และวางผ้าสไบสีทองเหลืองอร่าม 
ที่ตักหลวงพ่อพุทธเมตตาซึ่ง  ท่านศิริเดชนำมาจากเมืองไทย

ขณะที่พวกเราพนมมือและเพ่งมอง
องค์พระพุทธเมตตาอยู่นั้นมีความรู้สึกปีติ  อิมเอิบ
หลับตาลงภาพของหลวงพ่อก็ยังคงอยู่

พุทธังสะระนังคัจฉามิ  ธัมมังสะระนังคัจฉามิ  สังฆังสะระนังคัจฉามิ

ท่านศิริเดชบังเกิดความปีติเป็นอย่างยิ่ง
ที่ได้มีโอกาสวางผ้าสีทองที่ตักหลวงพ่อพุทธเมตตา
 
 

 

อาตมาดูจากตารางการเดินทางแล้วปรากฏว่าในวันที่ 3 ยังมีโอกาสที่จะได้มาปฏิบัติธรรมที่บริเวณต้นศรีมหาโพธิ์อีกครั้ง และคงจะได้มากราบหลวงพ่อพุทธเมตตาอีกครั้งหนึ่ง ตั้งใจว่าจะขออนุญาติเปลี่ยนผ้าให้กับองค์หลวงพ่อพุทธเมตตา  สักครั้ง เพื่อความเป็นศิริมงคล

 


ในวันที่ 3 ได้มีโอกาสเข้ามากราบหลวงพ่อพุทธเมตตา 
จึงได้ขออนุญาติห่มผ้าผ้าไตรให้กับองค์หลวงพ่อพุทธเมตตา 
ปรากฏว่าเกิดปาฏิหารย์  คือพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าหน้าดูแลได้อนุญาติ 
และช่วยเปลี่ยนให้อย่างเรียบร้อย

ขณะที่พระเจ้าหน้าที่กำลังเปลี่ยนผ้าให้กับองค์ 
พระพุทธเมตตา  อยู่นั้น 
อาตมาอธิษฐานว่า 
ขอให้ได้ผ้าไตรที่เคยห่มองค์หลวงพ่อพุทธเมตตา
กลับไปบูชาที่วัดสักชุดก็จะเป็นมงคลอย่างยิ่ง

ปรากฏว่าอาตมาได้ทั้งผ้าไตร
ที่เคยใช้ห่มองค์หลวงพ่อพุทธเมตตาแล้ว 1 ชุด
และยังได้ผ้าห่มคลุมสีทองที่เคยห่มหลวงพ่ออีกหนึ่งชุดเป็นของแถม 
นับว่าเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง

อาตมายังได้อธิษฐานต่อหน้าองค์หลวงพ่อว่าถ้ามีบุญ 
ขอให้ได้มากราบหลวงพ่ออีก

การกราบพระพุทธเจ้ายังต้องกล่าวคำว่า
พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง  ที่สำคัญยังต้องมีทุติ  ตะติ 
คือต้องย้ำถึง 3 คร้ง  เพราะฉะนั้นอาตมาตั้งใจว่า
จะต้องได้มากราบหลวงองค์หลวงพ่อเป็นครั้งที่ 3 อย่างแน่นอน.

 

 

 


ผ้าไตรศักดิ์สิทธิ์  (ผ้าไตรเก่าที่ห่มองค์หลวงพ่อ  พุทธเมตตา
ที่หัวหน้าทัวร์ซึ่งมีความคุ้นเคยกับพระสงฆ์ที่ดูแลวิหารพุทธคยา 
ขออนุญาติจากพระสงฆ์ให้นำกลับมาบูชา  เพื่อความเป็นศิริมงคล)

ผ้าสบงที่ห่มองค์หลวงพ่อพุทธเมตตาที่ได้รับอนุญาตินำกลับมา 
(ธรรมดาแล้วเจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาติให้ใครนำออกมา 
แต่ว่าคราวนี้ถือว่าโชคดี 
ที่หัวหน้าทัวร์มีความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพระวิหารพุทธคยา.

 

พุทธคยาในปัจจุบันเป็นบุญสถานและที่ท่องเที่ยวอันมีชื่อของประเทศอินเดียแม้ว่าชุมชนจะไม่ใหญ่โต  แต่พอถึงฤดูกาลไหว้พระประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม  จะมีนักแสวงบุญจากทั่วโลกมาที่นี่  โดยเฉพาะชาวธิบต  ภูฐาน  จะลงจากภูเขามาปักหลักไหว้พระสวดมนต์  จุดไฟบูชา  เหมือนกับว่าเป็นอาณาจักรของชาวพุทธธิเบตไปชั่วขณะหนึ่ง

พระมหาเจดีย์มหาโพธิ์  สันนิษฐานกันว่าพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้นไว้ก่อนขนาดคงจะย่อมกว่านี้  แต่ด้วยแรงศรัทธาต่อพระพุทธองค์  จึงมีผู้มาต่อเติมเสริมสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์กันต่อมาตามยุคสมัย  เช่นราว พ.ศ. 674  พระเจ้าหุวิชกะ  กษัตริย์แคว้นมคธ  ทรงช่วยสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบ  เป็นสถูปใหญ่ของพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแผ่ไปไกล  หลวงจีนถังซัมจั๋ง  เรียกว่ามหาโพธิ์วิหาร  อันเป็นผลิตผลทางสถาปัตยกรรมของอินเดีย  มหาวิหารหลังนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นโพธิ์

บริเวณมหาโพธิ์วิหาร  ได้กลายเป็นที่ๆสำคัญที่สุด  เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์นี้  ประกอบกับที่นี้เป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ที่คนโบราณนับถืออยู่แล้วเท่ากับว่าบริเวณนี้เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก

มหาชนทั้งหลายกล่าวกันว่า  ที่ต้นโพธิ์ตรัสรู้แห่งนี้เป็นสะดือของโลก  หรือปัถวินาภิมณฑล  เพราะเป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาทรงตรัสรู้ที่นี่ทั้งนั้น  และไม่มีสถานที่อื่นจะมาสามารถรองรับน้ำหนักของการตรัสรู้ได้โพธิรุกขะ  คือ  ต้นไม้โพธิ์นี้ย่อมถือว่าเป็นเสมือนขวัญใจของชาวพุทธทั่วโลก

เมื่อพุทธศตวรรษที่ 13  หลวงจีนท่านบันทึกไว้ว่า  “ทางตะวันออกของต้นโพธิ์นั้น  มีวิหารสูงประมาณ  160-170  ฟุต  กำแพงเบื้องล่างของวิหารด้านนอก  สูงประมาณ  29 ฟุต  หรือกว่านั้น  ตัวอาคารทำด้วยกระเบื้องสีฟ้า  (อิฐ) ทาทับด้วยปูนขาว  ทุกห้องในชั้นต่างๆ  บรรจุรูปที่ทำด้วยทองคำมากมาย  ตัวตึกทั้ง 4 ด้าน  ประดับประดาด้วยลวดลายอันมหัศจรรย์  รูปไข่มุกที่ร้อยเป็นสายประดับไว้ที่หนึ่ง”

 

 

 

หลวงจีนยังบันทึกไว้อีกว่า  “ตัวอาคารล้อมรอบดด้วยทองแดงชุบ  ประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายอันวิจิตร  ประดับด้วยทอง  เงิน  มุก  และรัตนต่างๆ  ด้านขวาซ้ายประตูนอก  เป็นซอกคล้ายๆ  ห้อง  ด้านซ้ายมือมีรูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์  ด้านขวาเป็นรูปพระเมตไตรยโพธิสัตว์  รูปเหล่านี้ทำด้วยเงินขาว  สูง  60  ฟุต “  คันนิ่งแฮมถือว่าวิหารหลังปัจจุบัน  แม้จะได้รับการซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว  ก็คือวิหารหลังเดียวกันกับที่นักจาริกแสวงบุญชาวจีนท่านนั้นได้พรรณนาไว้

พระเจดีย์มหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์  โดยมีแท่นวัชรอาสน์อยู่ตรงกลาง  สูงตามรูปทรงกรวย  ประมาณ  170  ฟุต  วัดรอบฐานได้ประมาณ  85  เมตรเศษ  ตั้งอยู่บนอาคารรองรับ  2 ชั้น  มีเจดีย์บริวารทั้ง 4 ด้าน

รอบบริเวณ  มีเสาหินทรายที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก  มีรั้วล้อมไว้อย่างแข็งแรง  ปรากฏร่องรอยการบูรณะสืบต่อกันมาหลายยุค  โดยเฉพาะสมัยพระสุเมธาธิบดี (ทัตตสุทธิ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา  ได้นำศรัทธาของพุทธบริษัทชาวไทย  บูรณะเสาหินล้อมรอบพระเจดีย์  และห้องปฏิบัติสมาธิชั้นบนของพระเจดีย์  โดยมี  พระราชโพธิวิเทศ  (ทองยอด  ภูริปาโล)  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน  (2544) เป็นแม่กองงาน  พร้อมทั้งติดโคมไฟที่สาดแสงส่องได้สูงถึงยอด

รุ่งเช้าของวันใหม่
กราบลาพระพุทธเจ้า

ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดสถานที่
ในช่วงเทศกาลสาธยายพระไตรปีฏก 3 วัน 3 คืน ที่พุทธคยา

สัตตมหาสถาน

          สัตตมหาสถาน  คือ  สถานที่ทรงยับยั้งอยู่เพื่อเสวยวิมุตติสุข  หลังจากทรงตรัสรู้แล้ว 7 แห่งๆ  ละ  7 วัน  รวม 49 วัน  เพื่อพิจารณาพระโพธิญาณที่ได้ทรงตรัสรู้นั้นให้แน่พระทัย  ตามสถานที่ต่างๆ  คือ  โพธิบัลลังก์  อนิมิสเจดีย์  รัตนจงกรมเจดีย์  รัตนฆรเจดีย์  ต้นอชปาลนิโครธ  ต้นมุจลินทร์  ต้นราชายตนะ  สถานที่ประทับทั้ง  7  แห่งนี้  ต่อมาถือกันว่าเป็นที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา  เรียกว่า  สัตตมหาสถาน  นับเป็นพุทธเจดีย์ประการหนึ่งด้วย  ผู้ใดจาริกมาแล้ว  ควรที่จะได้ถวายการสักการะให้ครบทุกแห่งด้วยว่าการพิจารณาธรรมตามพุทธสถานเหล่านั้น  จัดว่ามีอานิสงค์มากแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ

มหาเจดีย์พุทธคยา

พระมหาเจดีย์มหาโพธิ์  สันนิษฐานกันว่าพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้นไว้ก่อนขนาดคงจะย่อมกว่านี้  แต่ด้วยแรงศรัทธาต่อพระพุทธองค์  จึงมีผู้มาต่อเติมเสริมสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์กันต่อมาตามยุคสมัย  เช่นราว พ.ศ. 674  พระเจ้าหุวิชกะ  กษัตริย์แคว้นมคธ  ทรงช่วยสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบ  เป็นสถูปใหญ่ของพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแผ่ไปไกล  หลวงจีนถังซัมจั๋ง  เรียกว่ามหาโพธิ์วิหาร  อันเป็นผลิตผลทางสถาปัตยกรรมของอินเดีย  มหาวิหารหลังนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นโพธิ์ 

บริเวณมหาโพธิ์วิหาร  ได้กลายเป็นที่ๆสำคัญที่สุด  เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์นี้  ประกอบกับที่นี้เป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ที่คนโบราณนับถืออยู่แล้วเท่ากับว่าบริเวณนี้เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก 

 มหาชนทั้งหลายกล่าวกันว่า  ที่ต้นโพธิ์ตรัสรู้แห่งนี้เป็นสะดือของโลก  หรือปัถวินาภิมณฑล  เพราะเป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาทรงตรัสรู้ที่นี่ทั้งนั้น  และไม่มีสถานที่อื่นจะมาสามารถรองรับน้ำหนักของการตรัสรู้ได้โพธิรุกขะ  คือ  ต้นไม้โพธิ์นี้ย่อมถือว่าเป็นเสมือนขวัญใจของชาวพุทธทั่วโลก

เมื่อพุทธศตวรรษที่ 13  หลวงจีนท่านบันทึกไว้ว่า  “ทางตะวันออกของต้นโพธิ์นั้น  มีวิหารสูงประมาณ  160-170  ฟุต  กำแพงเบื้องล่างของวิหารด้านนอก  สูงประมาณ  29 ฟุต  หรือกว่านั้น  ตัวอาคารทำด้วยกระเบื้องสีฟ้า  (อิฐ) ทาทับด้วยปูนขาว  ทุกห้องในชั้นต่างๆ  บรรจุรูปที่ทำด้วยทองคำมากมาย  ตัวตึกทั้ง 4 ด้าน  ประดับประดาด้วยลวดลายอันมหัศจรรย์  รูปไข่มุกที่ร้อยเป็นสายประดับไว้ที่หนึ่ง”


 

 

ในทางพุทธศาสนาจะสังเกตุได้ว่าการจะอธิษฐานสิ่งใดให้ประสพความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่  จะประกอบไปด้วยหลัก 3 ประการ   คือทำสิ่งใดจะทำซ้ำกัน 3 ครั้ง คือครั้งแรก  ครั้งที่ 2 (ทุติ) ครั้งที่ 3 (ตติ)  สิ่งใดๆก็จะประสพความสำเร็จ  เพราะฉนั้นพวกเรามีโอกาสที่จะได้มายังพุทธคยาได้อีก 2 ครั้ง
 

หลวงจีนยังบันทึกไว้อีกว่า  “ตัวอาคารล้อมรอบดด้วยทองแดงชุบ  ประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายอันวิจิตร  ประดับด้วยทอง  เงิน  มุก  และรัตนต่างๆ  ด้านขวาซ้ายประตูนอก  เป็นซอกคล้ายๆ  ห้อง  ด้านซ้ายมือมีรูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์  ด้านขวาเป็นรูปพระเมตไตรยโพธิสัตว์  รูปเหล่านี้ทำด้วยเงินขาว  สูง  60  ฟุต “  คันนิ่งแฮมถือว่าวิหารหลังปัจจุบัน  แม้จะได้รับการซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว  ก็คือวิหารหลังเดียวกันกับที่นักจาริกแสวงบุญชาวจีนท่านนั้นได้พรรณนาไว้

พระเจดีย์มหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์  โดยมีแท่นวัชรอาสน์อยู่ตรงกลาง  สูงตามรูปทรงกรวย  ประมาณ  170  ฟุต  วัดรอบฐานได้ประมาณ  85  เมตรเศษ  ตั้งอยู่บนอาคารรองรับ  2 ชั้น  มีเจดีย์บริวารทั้ง 4 ด้าน

รอบบริเวณ  มีเสาหินทรายที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก  มีรั้วล้อมไว้อย่างแข็งแรง  ปรากฏร่องรอยการบูรณะสืบต่อกันมาหลายยุค  โดยเฉพาะสมัยพระสุเมธาธิบดี (ทัตตสุทธิ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา  ได้นำศรัทธาของพุทธบริษัทชาวไทย  บูรณะเสาหินล้อมรอบพระเจดีย์  และห้องปฏิบัติสมาธิชั้นบนของพระเจดีย์  โดยมี  พระราชโพธิวิเทศ  (ทองยอด  ภูริปาโล)  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน  (2544) เป็นแม่กองงาน  พร้อมทั้งติดโคมไฟที่สาดแสงส่องได้สูงถึงยอด

 
 

เทียนเต็ก ซินแส

 

"มีคนเขาว่ามาอินเดีย  เพื่อไหว้พระรับพร  
แต่ไปเมืองจีนเพื่อไหว้เจ้ารับโชค"
วันนี้มีเรื่องเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความสนุกสนาน
ให้กับผู้ที่คิดว่าจะเดินทางจาริกไปยังดินแดนพุทธิภูมิ  
ตามรอยพระศาสดา  
  สาธารณรัฐอินเดีย
และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
จากการสอบถามผู้ที่ได้เดินทางร่วมมากับคณะ
ประมาณหลายสิบคนว่า
เพราะใดจึงได้เดินทางมากับทัวร์คณะนี้
 ได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะทัวร์คณะนี้มีราคาแพงที่สุด
      ได้สอบถามต่อไปอีกว่า
เมื่อรู้ว่ามันแพงแล้วทำไมยังเลือกมากับทัวร์คณะนี้
    ได้รับคำตอบว่าที่เลือกมากับทัวร์คณะนี้ก็เพราะว่ามันแพงนะซิ
  ก็เลยทราบว่าโยมคณะนี้เลือกเดินทางมากับ
ทัวร์ที่มีราคาแพงเป็นอันดับแรก
 ส่วนการบริการจะดีหรือไม่ดีไว้เป็นอันดับหลัง
(คิดว่าของแพงต้องดี)

 

 

 

สระมุจรินทร์  ที่พุทธคยา
 
 
 
เสาอโศก

 

คาถานมัสการพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้

       โพธิ ตัสสะ ภะคะวะโต        อัสสัตโถติ  ปะวุจจะติ

โหติ โย โคตะโม พุทโธ             สะระณัง สัพพะปาณีนัง

ฐะปะยิตวานะ ธัมโมกกัง             ปัจฉิมะ ชะนะโพธะนัง.

       โส รุกโข โพธิคะยายัง        ฐิโต พิหาระคามะเก

มหาโพธิพุทธะคะยานาเม           ยัตถะ ทัยยัสสะ สันตะโก

อาวาโส ทัยยะภิกขูนัง               สัลเลขะ วุตติ โยคินัง

       วันทิเต โพธิรุกขัมหิ           สัมพุทโธ ปุนะ วันทิโต

สัทธัมโม วันทิโต เยวะ              สุสังโฆ โหติ วันทิโต

วันทะนาชะนิตัง ปุญญัง             อิติยัง ระตะนัตตะเย.

       อันตะรายา วิสัสสันตุ          โหตุ โสตถี จะ เตชะสา

โลเก รัฎฐัง สุขัง เสติ                นิมมะลัง สัพพะสาสะนัง

ทีฆายุกา ปะชา สัพเพ               อะนีฆา นิรุปัททะวาติ

 

คำแปล

       ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมพุทธเจ้า  ผู้เป็นที่ระลึกถึงของสรรพสัตว์  เพราะทรงประดิษฐานพระธรรมไว้ให้ชนภายหลังได้รู้  ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นผู้คนขนานนามว่า อัสสัตถพฤกษ์

       ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น  ตั้งอยู่ใกล้วัดไทยพุทธคยามหาวิหารซึ่งเป็นวัดไทยของชาวไทย  เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสของพระสงฆ์ไทยผู้ประกอบความเพียร

       เมื่อเราทั้งหลายกราบไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ชื่อว่าได้กราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระสัทธรรมเจ้า  พระสงฆ์เจ้าผู้ปฏิบัติดี  บุญใดอันเกิดแล้วจากการกราบไหว้  พระรัตนตรัยด้วยประการฉะนี้ขอเดชแห่งบุญนั้น  บันดาลให้อันตรายทั้งหลายจงพินาศไป  ด้วยสวัสดีจงบังเกิดมี  ทุกประเทศในโลกนี้อยู่เป็นสุข  ทุกศาสนาในโลกนี้จงปราศจากมลทิน  ประชากรทุกหมู่เหล่า  จงมีอายุยืนยาว  ไม่มีทุกข์  ปราศจากอุปัทวะทุกประการฯ

 

 

ตรัสรู้

          พระมหาบุรุษทรงเจริญญาณ  อันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูงทั้ง  3  ประการ  ยังองค์พระโพธิญาณให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ  ตามระยะกาลแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรีนั้นคือ  ในปฐมยาม  ทรงบรรลุปุพเพนิวาสนุสสติญาณ  สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้  ในมัชฌิมยาม  ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ  บางแห่งเรียกว่าทิพยจักษุ  สามารถหยั่งรู้การเกิดการตาย  ตลอดจนการเวียนว่ายของสรรพสัตว์อื่นได้หมด  ในปัจฉิมยาม  ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ  ทรงปรีชาสามารถทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปด้วยพระปัญญา  ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมและปฏิโลม  ก็ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาแต่กาลก่อน  ถึงกับทรงเปล่งพระอุทานเย้ยตัณหาอันเป็นตัวการก่อให้เกิดสังสารวัฏฏทุกข์แก่พระองค์เป็นอเนกชาติได้ว่า  อเนกชาติสังสารัง  เป็นอาทิ

ความว่า  นับแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหาตัวนายช่างผู้กระทำเรือน  คือตัวตัณหา  ตลอดชาติสงสาร  จะนับประมาณมิได้  ก็มิได้พานพบ  ดูกร  ตัณหา  นายช่างเรือน  บัดนี้ตถาคตพบท่านแล้ว  แต่นี้สืบไป  ท่านจะทำเรือนให้ตถาคตอีกไม่ได้แล้ว โครงเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว  ช่อฟ้าเราก็หักทำลายเสียแล้ว  จิตของเราเข้าถึงพระนิพพาน  อันเป็นธรรมที่ปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งใดๆ  ได้ถึงความดับสูญสิ้นไปแห่งตัณหา  อันหาส่วนเหลือมิได้โดยแท้

ในวาระนั้น  อัศจรรย์ก็บังเกิดมี  พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็ไหวหวั่น  พฤกษชาติทั้งหลายก็ผลิดอกออกช่องามตระการ  เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าก็แซ่ซ้องสาธุการ  โปรยบุปผามาลัย  ถวายสังการะ  เปล่งวาจาว่า  พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก  ด้วยปีติยินดี  เป็นอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาในกาลก่อน

ในปฐมสมโพธิ์กล่าวว่า  ในวันที่ทรงตรัสรู้นั้น  หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น  ก็ได้มีการตกแต่งประดับประดา  แผ่นผ้าธงทิวทั้งหลายยกขึ้นที่ปลายของขอบจักรวาล  ทั่วสารทิศตลอดพื้นดินจรดพรหมโลก  ต้นไม้ดอกไม้ในหมื่นจักรวาลก็ออกดอกออกผลไปทั่ว  ปทุมชนิดที่ลำต้นก็ออกดอกที่เครือเถา  ปทุมชนิดที่ห้อยในอากาศก็ออกดอกในอากาศ  ปทุมชนิดที่เป็นก้านก็ทำลายพื้นศิลาทึบชูช่อขึ้นซ้อนๆกัน  หมื่นโลกธาตุก็ได้เกลื่อนกลาดไปด้วยบุผผานานาพันธ์ โลกันตริกนรกกว้าง 8 พันโยชน์ในระหว่างจักรวาลทั้งหลายไม่เคยสว่างด้วยแสงอาทิตย์  7  ดวง  ในกาลนั้นก็มีแสงสว่างไปทั่ว  น้ำในมหาสมุทรลึก  84,000 โยชน์  ได้กลายเป็นน้ำหวาน  แม่น้ำทั้งหลายหยุดนิ่งไม่ไหลคนตาบอดแต่กำเนิดได้แลเห็นรูป  คนหูหนวกแต่กำเนิดได้ยินเสียง  คนง่อยเปลี้ยแต่กำเนิดก็เดินได้  บรรดาเครื่องจองจำทั้งหลาย  คือ  ขื่อคา  เป็นต้นก็ขาดหลุดไป

พระจากธิเบต  กำลังสาธยายพระไตรปีฏก

 

 

 
 
 

รัตนจงกรมเจดีย์

            บริเวณข้างพระเจดีย์ด้านทิศเหนือ  มีหินทรายสลักเป็นดอกบัวบานรับแสงอาทิตย์  จำนวน  19  ดอก  มีแท่นหินทรายแดงยาวประมาณ  6  เมตร  และมีป้ายหินอ่อนปักไว้ให้รู้ว่า  นี้คือรัตนจงกรมเจดีย์  (Ratna  Cakra  Chataya)  ที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุข  ในสัปดาห์ที่  3  อยู่ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสเจดีย์

          พระบรมศาสดาทรงนิรมิตที่สำหรับจงกรม  ระหว่างโพธิบัลลังก์  กับที่ประทับ  ยืนเพ่งอนิมิสเจดีย์  เพื่อเสด็จจงกรมจากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก  ทรงปฏิบัติเช่นนี้ตลอด  7  วัน  สถานที่นี้จึงมีชื่อ  รัตนจงกรมเจดีย์

โพธิ์บัลลังก์

          โพธิ์บัลลังก์อยู่ในปริมณฑลที่ทรงตรัสรู้  ด้านทิศตะวันตกของพระมหาเจดีย์  นับได้ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ศูนย์รวมใจของชาวพุทธทั่วโลก  ผู้มีศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ต่างพากันมาสักการะจากทั่วทุกมุมของโลกมิได้ขาด

          พระพุทธองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่    บริเวณต้นศรีมหาโพธิ์  เป็นสัปดาห์แรก  ทรงใคร่ครวญปฏิจจสมุปบาท  ทั้งปฏิโลมและอนุโลม  ทั้งสายเกิดและสายดับ  ทรงเปล่งอุทานว่า  เราท่องเที่ยวมานาน  4  อสงไขย  กำไรอีกแสนกัปป์    บัลลังก์แห่งนี้  เป็นวิชัยบัลลังก์  เป็นมงคลบัลลังก์  เราจะนั่งอยู่เหนือบัลลังก์นี้ตลอด  ตราบใดดำริของเรายังไม่บริบูรณ์  จักไม่ลุกขึ้น  แล้วทรงเข้าสมาบัติ  ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข  โดยโพธิบัลลังก์ตลอด  7  วัน

 

คำบูชาสถานที่ตรัสรู้

       วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง โพธิรุกขะเจติยัง, สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุลละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อิธะ คะยาสีเส, ตะถาคะเตนะ สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพรหมมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อภิสัมพุทธังฯ

       สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะนะมามิ, มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล

       ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ได้มาถึงแล้วต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระเจดีย์นี้  อันเป็นสังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรทัสสนา  เป็นสถานที่พระตถาคต  ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ณ ที่ตำบล คยาสีสะประเทศแห่งนี้.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระพุทธเจ้า  ขอบูชาโดยยิ่ง  ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้  และขอน้อมระลึกถึงพระธรรม  ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว  ขอการบูชาสักการะในครั้งนี้  จงเป็นไปเพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนาน เทอญฯ


 

อนิมิสเจดีย์

          เจดีย์ทาสีขาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์  ทางขวามือเมื่อเข้าไปในบริเวณโพธิมณฑล  ที่แห่งนี้เรียกว่า  อนิมิสเจดีย์  เป็นที่พระพุทธองค์ประทับเสวยวิมุติสุข  ในสัปดาห์ที่  2  หลังจากทรงตรัสรู้แล้ว  โดยที่ประทับยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์  ตลอด  7  วัน

          หลวงจีนฟาเหียน  กับ  พระถังซัมจั๋งได้พรรณาไว้เหมือนกันว่า  “ด้านขวาทางทิศเหนือของสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จ  (จงกรม)  มีหินก้อนใหญ่วางอยู่  และบนก้อนหินใหญ่นี้  มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่  พระพุทธรูป  องค์นี้ลืมพระเนตรกว้างชำเลืองขึ้นบนท้องฟ้า”

          พระพุทธองค์ทรงออกจากสมาบัติ  เป็นวันที่ 8  นับแต่ทรงตรัสรู้  ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เพื่อระงับความปริวิตกของเทวดาที่พระพุทธองค์ประทับอยู่  7  วันนั้น  เพราะยังไม่ทรงละความอาลัยในบัลลังก์  ทรงบันดาลท่อน้ำท่อไฟให้พวยพุ่งออกจากส่วนของพระวรกายเป็นคู่เป็นต้น

          พระบรมศาสดาประทับยืนทางด้านทิศเหนือ  ทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และต้นโพธิ์  อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีทั้งหลาย  ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบอยู่ตลอด  7 วัน  สถานที่นี้จึงชือว่า  อนิมิสเจดีย์

บริเวณลานโพธิ์พุทธคยา  ชาวพุทธจากทั่วโลกมานั่งสวดมนต์  สาธยายพระไตรปีฏก  จนไม่มีที่จะนั่ง  ต้องล้นออกนอกบริเวณ  แต่ทุกคนก็มีความอิ่มเอิบใจที่ได้มาถึง

รัตนฆรเจดีย์

          สถานที่ด้านทิศเหนือของพระมหาเจดีย์  ลักษณะรูปทรงเป็นวิหารสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคามุง  กว้างประมาณ  11  ฟุต  ยาวประมาณ  14  ฟุต  รอบข้างเต็มไปด้วยเจดีย์โบราณ  มีพระพุทธรูปสมัยคุปตะและสมัยปาละ  พิจารณาแล้วเห็นว่าน่าจะมีผู้นำมาตั้งไว้ในสมัยหลัง  หน้าประตูเข้าด้านตะวันตก  มีป้ายบอกว่า  รัตนฆรเจดีย์  (Ratnagrha  Chatiya)  สถานที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่  4  ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี    สถานที่นี้อยู่  7  วัน

          อรรถกถาเล่าว่า  เทวดาทั้งหลาย  เนรมิตเรือนแก้วทางทิศพายัพทางต้นโพธิ์ถวายพระพุทธองค์ให้ประทับนั่งขัดสมาธิเพ็ชรในเรือนแก้วนั้น  และทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฏก  และสมันตปัฏฐานอนันตนัย  ซึ่งมีนัยไม่สิ้นสุดในพระอภิธรรมนั้น  โดยพิสดาร  ทรงปฏิบัติอยู่เช่นนี้ตลอด  7 วัน  สถานที่นี้จึงชื่อว่า  รัตนฆรเจดีย์

ต้นอชปาลนิโครธ

          สถานที่แห่งนี้อยู่ระหว่างแม่น้ำโมหนีกับ  แม่น้ำเนรัญชรา  ไม่ห่างกันเท่าไหร่นักกับเนินดินบ้านนางสุชาวดี  มีเทวาลัยของชาวฮินดู  ลักษณะยอดแหลมเช่นเดียวกับสถูปทั่วไป  บริเวณนั้นมีต้นไทรใบใหญ่  อายุประมาณ  100  ปีขึ้นไป  5-6  ต้น  เด็กสองสามคนกำลังใช้ไม้ดึงกิ่งไม้  เพื่อนำมาเลี้ยงแพะที่เดินไปเดินมาหากินอยู่  ทำให้ระลึกถึงครั้งพุทธกาลว่า    ที่แห่งนี้เป็นที่ตั้ง  อยู่ของต้นอชปาลนิโครธ  (The  Ahapala Tree)  ต้นไทรที่เด็กเลี้ยงแพะชอบมาพักอาศัยหลบลมร้อน  ฝูงแพะได้เก็บกินใบที่ตกลงมา

          พระพุทธองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่  5    ควงไม้ที่มีชื่อว่า  อชปาลนิโครธ  ตลอด  7  วัน  ทรงตรึกถึงบุคคลที่สมควรรับฟังคำสอน    ที่แห่งนี้เกิดคำอุปมาแห่งบุคคล  เหมือนบุคคล  4  เหล่า  และท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอาราธนาแสดงธรรม  สถานที่แห่งนี้เมื่อก่อนจะตรัสรู้  พระมหาบุรุษได้ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา  ธิดากุฎุมพีแห่งอุรุเวลาเสนานิคม    ภายใต้ควงไม้ไทรแห่งนี้เช่นกัน

          การที่จะไปให้ถึงควงไม้ไทรที่มีชื่อ  อชปาลนิโครธ  จะต้องเดินลัดทุ่งข้าวสาลีโดยตั้งต้นเดินจากบ้านนางสุชาดา  ลัดเลาะผ่านหมู่บ้านของชาวอินเดียไปไม่นานก็ถึงหรือมิฉะนั้น  ก็ใช้วิธีชี้ชวนให้ชมจากเนินดินบ้านนางสุชาดา  พอได้ชื่อว่าได้เห็นแล้ว

 
 
 
 

 

โครงการพาพ่อลัดฟ้าจาริกแดนพุทธภูมิ
วันที่ 1 ธันวาคม 2552  วันแรกของการเดินทาง
สถานที่แห่งแรกที่คณะจาริกไปถึงก็คือพระมหาเจดีย์พุทธคยา  มหาสังฆาราม  อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรูพระสัมมาสัมโพธิญาณแห่งพระบรมศาสดา 

อาตมาและหมู่คณะได้เข้าไปภายในวิหารพระเจดีย์  ซึ่งประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรที่ทราบมาว่าสร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ  สร้างในสมัยปาละ  ปางมารวิชัย  มีอายุประมาณ 1400 ปีเศษแล้ว  ปิดทองเหลืองอร่าม  สวยงามมาก  ชาวไทยพากันเรียกว่า  หลวงพ่อพุทธเมตตา (องค์หลวงพ่อตั้งอยู่ในห้องกระจก  แต่มองเห็นได้อย่างชัดเจน) พวกเราได้กราบไหว้หลวงพ่อพุทธเมตตา  และมีสิ่งหนึ่งที่ยังความปีติให้กับชาวคณะของเราจนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เป็นครั้งหนึ่งที่ได้จาริกมายังสังเวชนียสถานก็คือได้รับอนุเคาะห์จากพระสงฆ์ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่ทำหน้าที่ดูแลวิหารพระเจดีย์  อนุญาติให้คณะของเราได้เปลี่ยนผ้าไตรจีวร  ซึ่งพวกเราได้เตรียมนำมาจากเมืองไทยให้กับองค์หลวงพ่อพุทธเมตตา  ถึง 2 ครั้ง (ช่วงค่ำของวันที่ 1 ธ.ค. 52  และในช่วงเช้าของวันที่ 2 ธ.ค. 52) และที่สำคัญอาตมายังได้รับมอบผ้าไตรจีวรเก่าที่เคยใช้ห่มคลุมองค์หลวงพ่อพุทธเมตตาอยู่ก่อนไว้เป็นอนุสรณ์และพุทธานุสติว่าครั้งหนึ่งผ้าไตรจีวรผืนนี้เคยใช้ห่มคลุมองค์หลวงพ่อพุทธเมตตา  จึงถือว่าเป็นมหามงคลอย่างยิ่ง

พวกเราได้ไปกราบไหว้  เยี่ยมชมสัตตมหาสถาน  (สถานที่ทรงยับยั้งอยู่เพื่อเสวยวิมุตติสุข  หลังจากที่ทรงตรัสรู้แล้ว  7 แห่งๆ ละ 7 วัน  รวม 49 วัน) คือ
1. โพธิบัลลัง
2. อนิมิสเจดีย์
3. รัตนจงกรมเจดีย์
4. รัตนฆรเจดีย์
5. ต้นอชปาลนิโคตร
6. ต้นมุจลินทร์
7. ต้นราชายตนะ

จากสถิติมีนักแสวงบุญต่างๆที่ได้เดินทางจาริกไปยังแดนพุทธภูมิเป็นอันดับหนึ่งก็คือนักแสวงบุญจากประเทศศรีลังกา  ส่วนนักแสวงบุญจากประเทศไทยที่ได้เดินทางจาริกไปยังแดนพุทธภูมินั้นเป็นแค่อันดับ 7

เทียนเต็ก ซินแส
โทร.081-936-6908

พระพรหมคุณาภรณ์

“การที่ได้มายังสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเกี่ยวข้อง
เคยปรากฏรูปกายของพระองค์นั้น  เมื่อได้ทำใจให้ถูกต้องมีโยนิโสมนสิการแล้ว
ก็ย่อมเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่การที่จะปฏิบัติเพื่อการเห็นธรรมกายได้
เพราะว่าเมื่อได้เดินทางมายังสถานที่นี้แล้ว
บังเกิดความสังเวชตามหลักที่ถูกต้องว่า  การกระตุ้นจิตสำนึกให้ได้เกิดความคิด
มีความไม่ประมาทก็ดี  หรือเป็นเครื่องเจริญศรัทธาในคำสอนของพระองค์แล้ว
มีฉันทะ  มีวิริยะ  ในการที่จะบำเพ็ญปฏิบัติก็ดี
เกิดมีปีติความเอิบอิ่มปลาบปลื้มใจว่าได้มาเฝ้า
  สถานที่ที่พระองค์เคยประทับ  แล้วมีจิตใจเบิกบานผ่องใส
เกิดความสุขสงบในใจ  จนถึงเกิดเป็นสมาธิก็ดี  อันนั้นล้วนเป็นเครื่องเกื้อหนุน
ให้เราสามารถเดินทางไปเฝ้าไปเห็นธรรมกายประจักษ์แจ้งในใจของตนได้ทั้งนั้น”

(จาก...ตามทางพุทธกิจ หน้า 97)

 

 

ความในใจ

ครั้งแรกที่ได้มาปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย 

ได้ไปอธิษฐานขอพรต่อหน้าพระพุทธเมตตา

และที่บริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 

อธิษฐานว่าหากยังมีวาสนา ขอให้ได้มาอีก

ครั้งที่สอง

ได้ไปอธิษฐานขอพรที่เขาคิชฌกูฏ

อธิษฐานว่าหากยังมีวาสนา ขอให้ได้มาอีก

ครั้งที่สาม

ได้ไปอธิษฐานขอพรที่กุสินารา

สถานที่ปรินิพพาน

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรน้ำตามันไหลออกมาเป็นสายน้ำ

กลั้นเท่าไหรก็เอาไม่อยู่

ได้แต่ก้มหน้าเพียงอย่างเดียว

ไม่กล้ามองหน้าใคร

แต่พอเอาหน้าผากไปแตะตรงบริเวณส้นพระบาท

เหมือนกับมีพลังบางอย่างวิ่งเข้ามา

ทำให้เกิดปีติอย่างแรงกล้า

ได้แต่อธิษฐานว่าหากยังมีวาสนา ขอให้ได้มาอีก

พอครั้งที่ 4 - 5 - 6 - 7

ได้แค่อธิษฐานว่าถ้าข้าพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่

จะมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทุกปี

อย่างน้อยปีละครั้ง

แต่จะไม่ไปที่ไหน

จะอยู่ที่พุทธคยา บริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เดียว

เพราะบริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในเวลากลางคืนมีแต่ความสงบ

มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า

"จงกินอยู่แต่พอดี  ไม่ใช่อยู่ดีกินดี"

ก่อนลากลับอาตมาได้อธิษฐานเหมือนดังที่เคยอธิษฐานคือ

ถ้ายังมีชีวิตอยู่จะยังมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทุกปี

และได้อธิษฐานเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยว่า

 

ขอให้คนไทยทุกคนมีความสุข

กลับมารักกันเหมือนเดิม

88888888 




โครงการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญบุญต่างๆ

เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชวนชาวพุทธร่วมสร้างเจดีย์ที่วัดแดงประชาราษฏร์ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส มอบพระพุทธรูปที่ประเทศอินเดีย
เทียนเต็ก ซินแส 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท ( 76 จังหวัด )
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท (วัดโสธรวรารามวรวิหาร)
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท"
เทียนเต็ก ซินแส "โครงการ 1 จังหวัด 1 รอยพระพุทธบาท" ภาคอีสาน
เทียนเต็ก ซฺนแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๓
เทียนเต็ก ซินแส โครงการ หลวงพ่อถวายพระสู่วัดป่า
เทียนเต็ก ซินแส ถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดจอมศรี ถวายเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส มอบรอยพระพุทธบาทที่อินเดีย
โครงการ "หลวงพ่อมาเยี่ยม"
โครงการ "วัดปันสุข"
"พระสังฆราชมีพระบัญชา" ตั้งโรงทานทั่วประเทศ
"พระสังฆราช" มีพระบัญชา ตั้ง"โรงทาน"ทั่วประเทศ
ทอดผ้าป่าสามัคคี มหากุศล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยา และสร้างวัดที่ 4 ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๒
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ชั้นสองครั้งที่ ๒๐ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๙ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๘ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๗ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ๑๖ - ๒๑ พ.ค.๖๒. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๖ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๕ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๔ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 13 "ถ้ำอชันต้า เอลโลร่า" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมบนพระมหาเจดีย์พุทธคยาชั้นสอง ครั้งที่ ๑๒ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 (คริก)
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรม นำพระบรมสุขขึ้นประดิษฐานบนพระธาตุพนม (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส แนะนำชุมชนพุทธในประเทศอินเดีย (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ "ส่งแม่สู่สรวงสวรรค์" (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเเกิดแผ่นดินไหวโอซาก้า (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศศรีลังกา ๒๑-๓๑ ม.ค. ๒๕๖๑ (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 11 ตอน 2
เทียนเต็ก ซินแส เชิญชาวพุทธดาวโหลด หนังสือธุดงค์อินเดียฟรี. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 1 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45วัน ครั้งที่ 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส อบรมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่เขาใหญ่ 45 วัน ครั้งที่ 3. (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค. 2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ เวียตนามใต้ครั้งแรก 4-7 ก.ค. 62 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่ประเทศ ภูฏาน วันที่ 22 -26 ส.ค.2557 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมประเทศพม่าครั้งที่ 3 เยี่ยมชมพุกาม
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ 2
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมบนมหาเจดีย์พุทธคยา และร่วมสาธยายพระไตรปิฏกครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแส ร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติครั้งที่ 10
เทียนเต็ก ซินแสปฎิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 9 วันที่ 27ม.ค.-7ก.พ.57
เทียนเต็ก ซินแสร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ 30 พ.ย. - 9 ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรม แดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 8 วันที่30พ.ย.-8ธ.ค.56
เทียนเต็ก ซินแส เศร้าใจต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาหักโค่น
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่ 7 เพื่อเป็นพุทธบูชา 25พ.ย.-4ธ.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิครั้งที่.6 เพื่อเป็นพุทธบูชา 20-27 มี.ค.55
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ครั้งที่.5 วันที่ 29 ม.ค.-6 ก.พ. 55
เทียนเต็ก ซินแสอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากประเทศจีน พ.ศ.51 article
เทียนเต็ก ซินแสขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา 2553 (คริกดูรายละเอียด)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล หลั่งน้ำตาที่กุสินารา 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมพุทธคยา ถวายผ้าไตร "พระพุทธเมตตา" 20-27พ.ย.53
เทียนเต็ก ซฺนแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูตรพระพุทธเจ้า 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย- เนปาล สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมครั้งที่ ๓ ตามรอยบาทพระศาสดา วันที่ 20-27 พ.ย. 53
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ มหาวิทยาลัยนาลันทาภาค 2 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เขาคิชฌกูฏ 2ธ.ค.52 (คริก)
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล สู่แม่น้ำคงคา 4ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา article
นิลกาย สัตว์ป่าหิมพานต์ เชิงเขาหิมาลัย เนปาล
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๒ article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ ลุมพินี สถานที่ประสูตร 5ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล วัดเชตวันมหาวิหาร บ้านอนาถะบิณทิกะเศรษฐี article
เทียนเต็ก ซินแสปฏิบัติธรรมอินเดีย-เนปาล กราบบาทพระศาสดา กุสินารา 7ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ ๑
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมแดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล (รอยพระพุทธบาท) article
เทียนเต็ก ซินแส เยี่ยมวิหารท่านธรรมะปาละ 3ธ.ค.52
เทียนเต็ก ซินแส ขอเชิญร่วมต่อเศียรองค์พระประธาน
เทียนเต็ก ซินแส แจกพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา article
สมโภชวิหารเจ้าแม่กวนอิม 3 ปาง วัดแดงประชาราษฎร์
สมโภชศาลาพระพุทธเจ้า ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดแดงประชาราษฏร์
พิธีเททองหล่อ พระราหู
ทอดกฐินสามัคคี วัดแดงประชาราษฏร์
งานสมโภชน์ฉลองพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รอบอุโบสถ วัดแดงประชาราษฏร์
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมล้านนา
เทียนเต็ก ซินแส ถวายพระพุทธรูปในแดนพุทธภูมิ เป็นพุทธบูชา
โครงการถวายรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา
เทียนเต็ก ซินแส จะถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา ในแดนพุทธภูมิ
เทียนเต็ก ซินแส ปฏิบัติธรรมที่พุทธคยาสร้างวัดพุทธวัดที่ 3 เป็นพุทธบูชา (คริก)
ชาวสยามร่วมกันมอบพระประธานให้กับวัดพุทธ ในประเทศบังกลาเทศ
ปี่เซี๊ยะดีที่สุด 貔貅 ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รายได้ทุกบาท ทุกสตางค์เข้าวัดทั้งหมด article



dot
www.henghengheng.com
dot
dot
Web Link
dot
bullettiantekpro.com
bullettiantek.net
bullettiantek.com
bullethorawej.com
dot
Llink
dot
bullethotmail.com
bulletyahoo.com
bulletgmail.com
bulletgoogle.co.th
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
Newsletter

dot
bulletแลก ลิ้ง ได้ที่นี่



อ.รุ่งนภา พยากรณ์
(แม้นเมือง
)

พิมพ์ปารีณา
รับพยากรณ์
จัดฮวงจุ้ยและรับสอน

ติดต่อได้ที่
โทร.
085-3253709

http://
pimandfriends.
blogspot.com/



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Best View 1024 x 768 pixels.............
พระอาจารย์ธงชัย ธมฺมกาโม (เทียนเต็กซินแซ).....e-mail address tiantek@hotmail.com และ tiantek@henghengheng.com
วัดแดงประชาราษฎร์ ถ. บางกรวยไทรน้อย ต. บางสีทอง อ. บางกรวย จ.นนทบุรี รหัส 11130
โทร 0-2447-3593, 0-1936-6908

javascript hit counter

View My Stats


รวมสุดยอกของเฮง รับพยากรณ์ดวงชะตาและสอนเลข 7 ตัว 9 ฐานประยุกต์ ต้องการมีเวปไซด์ของตัวเอง คลิกที่นนี่ Enter to M T h
A ! 100HOT Sites and Vote for this Site!!! www.horawej.com เวปนิตยสาร โหราเวสม์  เพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งโปรแกรมผูกดวงต่าง ๆ มากมาย ทางเรายินดี เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ ความรู้ทางศาสตร์ แห่งโหรศาสตร์ และอื่น ๆ ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใดหากท่านใดต้องการรับการพยากรณ์เชิญในห้องกระทู้ มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิคอย ตอนรับท่าน อยู่หลายท่าน เรียนเชิญครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง webmaster horawej@horawej.com web 10 luckastro.com เป็นเว็ปเพื่อการศึกษาโหราศาสตร์ 10 ลัคนา และโหราศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทุกสาขาวิชา เว็ป 10 luckastro.com เป็นศูนย์รวมของนักพยากรณ์ทุกระดับทุกสาขาวิชา เป็นจุดนัดพบและสื่อสารในระหว่างนักศึกษาโหราศาสตร์ด้วยกัน และในระดับครูบาอาจารย์ เว็ป 10 luckastro.com ยินดีในการให้บริการตอบปัญหาทั้งปัญหาชิวิตและปัญหาทางโหราศาสตร์ www.tiantek.com เวปเพื่อการศึกษาค้นคว้า โหราศาสตร์จีน และ เลือกหัวข้อที่ต้องการดู (ดูได้ทุกเรื่องโดยไม่จำกัด) บอกวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากตามหลักสากล และบอกเหตุการณ์ที่ผ่านมา...เช่นแต่งงาน...มีบุตร ทำงานหรือทำธุรกิจ.เมื่อปีพ.ศ....และข้อสุดท้ายช่วยแจ้งด้วยว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของดวง ข้อมูลยิ่งมากการทำนายยิ่งแม่น ถ้าภายใน 24 ชั่วโมง(หนึ่งวัน)ยังไม่ได้รับคำทำนาย อาตมาอนุญาติให้โทรเข้ามาถามดวงสดสดได้ 
เวปไซด์ของอาตมา เป็นเวป เพื่อการศึกษาและเผยแผ่ธรรมะ และถ้าโยมช่วยบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบมากเท่าใดยิ่งได้บุญมากเท่านั้น 
www.maleeseacon.com เวปเพื่อการสะสมพระเครื่อง บูชาเครื่องของขลัง ณ ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ ชั้น 3 โซนโลตัส ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กทม 10250 Wireless Home Automation 
ท่านไม่ต้องเป็นวิศวกรหรือมีความรู้ทางด้านอิเลคโทรนิคส์ และไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม ท่านก็สามารถออกแบบและติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยตัวท่านเอง  
ชุมนุมผู้เป็นปฏิปักษ์กับหัว ขโมย มหาหมอดู PostJung.com เวบเพลง Online เพลง Update Intrend, หาเพื่อน MSN, Diary, Webboad โพสท์รูปซะใจ, PhotoAlbum ฯลฯ...Click เลย ชุมชนคนช่างฝัน สุดยอดแห่งสาระ และ ความบันเทิง ศูนย์รวม CODE ทุกอย่าง โรจน์ จินตมาศ   จุ๊กกรู! ดอท คอม ..มุมสงบ ผ่อนคลาย ครื้นเครง ป็นกันเอง..ดูดวงฟรี หวย ฟังเพลง เกมส์ หาเพื่อน หากิ๊ก ข่าว ดูดวง  Give information about Thai orchids ตลาดนัดรถรถบ้านที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ Image Hosted by ImageShack.us ซื้อขายออนไลน์ 24 ชั่วโมง